ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2559

หยาดน้ำค้าง

หยาดน้ำค้าง

ในบทความนี้เราก็ยังอยู่ที่เรื่องของต้นไม้ครับ ในตอนนี้เรามาดูในเรื่องของต้นไม้กินแมลงกันหน่อย และต้นไม้กินแมลงที่เราพบได้โดยทั่วไปนั่นก็คือหยาดน้ำค้างครับ ถ้างั้นเรามาลองดูเจ้าหยาดน้ำค้าง ต้นไม้กินแมลงของเมืองไทย กันหน่อยว่ามันรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร และมันมีความสำคัญอย่างไร

หยาดน้ำค้าง หรือ จอกบ่วายเป็นต้นไม้ที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์  Drosera Burmanii จัดอยู่ในวงศ์ CROSERACEAE
หยาดน้ำค้างจัดอยู่ในกลุ่มพืชกินแมลง ลำต้นจะแนบอยู่กับพื้นดิน ที่เห็นในภาพไม่ใช่ลำต้นแต่เป็นใบ เจริญเติบโตในช่วงฤดูฝน
ใบเป็นแผ่นมนรี ค่อนข้างหนา ลักษณะคล้ายช้อน เรียงกันเป็นรูปวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง ตั้งแต่ ๑.๕ - ๓ เซนติเมตร ช่วงต้นฤดูฝนใบจะเป็นสีเขียวพอถึงปลายฤดูฝนใบจะมีสีแดงเรื่อตามขอบใบ ใบจะมีขนเล็กๆเป็นจำนวนมาก ปลายขนจะมีน้ำหวานเหนียวๆเกาะอยู่ คล้ายกับหยาดน้ำค้าง มีไว้เพื่อดักจับมดแมลงไว้ย่อยสลายเป็นอาหาร
ดอกจะออกระหว่างเดือนกันยายน - ตุลาคม ออกเป็นช่อจากใจกลางต้น ช่อดอกสูง ๕ - ๑๕ เซนติเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของต้น
โดยส่วนใหญ่สามารถพบตามภูเขาที่หินทราย บริเวณริมลำธารหรือที่ชื้นแฉะ ในประเทศไทยพบที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น อุทยานแห่งชาติภูกระดึง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง

รายการบล็อกของฉัน