ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555

ลักษณะและประโยชน์ของหญ้าแฝก


ลักษณะของหญ้าแฝก

หญ้าแฝกมีชื่อสามัญว่า Vetiver Grass มีอยู่ 2 สายพันธุ์คือ หญ้าแฝกดอน (Vetiveria nemuoralis A. Camus) และหญ้าแฝกหอม (Vetiveria zizanioides Nash) เป็น พืชที่มีอายุได้หลายปี ขึ้นเป็นกอแน่น มีใบเป็นรูปขอบขนานแคบปลายสอบแหลม ยาว 35-80 ซม. มีส่วนกว้างประมาณ 5-9 มม. สามารถขยายพันธุ์ได้ทั้งแบบไม่อาศัยเพศ โดยการแตกหน่อจากส่วนลำต้นใต้ดิน หรือแบบอาศัยเพศ โดยการใช้ดอกและเมล็ดได้เช่นกัน ช่อดอกที่พบในประเทศไทย สูงประมาณ 20-30 ซม. แต่การขยายพันธุ์โดยดอกและเมล็ดเป็นไปค่อนข้างยาก หญ้าแฝกจึงไม่ใช่วัชพืชเช่นหญ้าคา
ปกติหญ้าแฝกจะมีการการขยายพันธุ์ที่ได้ผลรวดเร็ว โดยการแตกหน่อจากลำต้นใต้ดิน นอกจากนี้จากการศึกษาพบว่า หญ้าแฝกในบางโอกาสสามารถแตกแขนงและรากออกในส่วนของก้านช่อดอกได้ เมื่อแขนงดังกล่าวมีการเจริญเติบโตจะเพิ่มน้ำหนักมากขึ้น ทำให้หญ้าแฝกโน้มลงดินและสามารถเจริญเติบโตเป็นกอหญ้าแฝกใหม่


การใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ

1. การปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวตามระดับขวางความลาดชัน การปลูกแบบนี้จะเห็นผลดียิ่ง เมื่อหญ้าแฝกมีความเจริญและแตกกอขึ้นเต็มตลอดแนวจนไม่มีช่องว่าง ซึ่งถือว่ามีประโยชน์สูงสุด เพราะเมื่อมีน้ำไหลบ่าหรือมีการพัดพาดินไปกระทบแถวของหญ้าแฝก แฝกจะทำหน้าที่ชะลอความเร็วของน้ำลงและดักเก็บตะกอนดินไว้ ส่วนน้ำจะไหลบ่าซึมลงไปสู่ดินชั้นล่างได้มากขึ้น อันจะเป็นการเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ดินเบื้องล่างและน้ำที่ผิวดินก็ไหลผ่าน แนวต้นหญ้าแฝกไปได้ ส่วนรากหญ้าแฝกนั้นก็หยั่งลึกลงไปในดินอาจลึกถึง 3 เมตร ซึ่งสามารถยึดดิน ป้องกันการชะล้างได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการชะล้างแบบเป็นหน้ากระดาน หรือเป็นร่องลึก และแบบอุโมงค์เล็กใต้ดิน เมื่อแถวหญ้าแฝกทำหน้าที่ดักตะกอนดินเป็นระยะเวลานานขึ้น ก็จะเกิดการสะสมทับถมกันของตะกอนดินบริเวณหน้าแถวหญ้าแฝกเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี กลายเป็นคันดินธรรมชาติในที่สุด

2. การปลูกหญ้าแฝกเพื่อแก้ปัญหาการพังทลายของดินที่เป็นร่องน้ำลึก เทคนิคการปลูกหญ้าแฝกเพื่อแก้ปัญหาบริเวณร่องน้ำลึกโดยการปลูกหญ้าแฝกในแนว ขวาง 1 แถวเหนือบริเวณร่องลึก และใช้ถุงทรายหรือดินเรียงเป็นแนวเพื่อช่วยชะลอความเร็วของน้ำที่ไหลบ่าใน ระยะที่แฝกเริ่มตั้งตัว

3. การปลูกในพื้นที่ที่มีความลาดชัน โดยเฉพาะทางแถบภาคเหนือและภาคใต้ มาตรการที่เหมาะสม คือการปลูกหญ้าแฝกให้เป็นแนวรั้วบริเวณคันคูขอบเขา หรือริมขั้นบันไดดินด้านนอก โดยควรปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวตามแนวขวางความลาดเทในช่วงฤดูฝน โดยการไถพรวนดินนำร่องแล้วปลูกหญ้าแฝกลงในร่องไถ ระยะปลูกระหว่างต้นต่อหลุม 3-5 เหง้าต่อหลุม ระยะห่างระหว่างแถวแฝกจะไม่เกิน 2 เมตรตามแนวตั้ง หญ้าแฝกจะเจริญเติบโตแตกกอชิดกันภายใน 4-6 เดือน ในพื้นที่แห้งแล้งควรตัดหญ้าแฝกให้สูงประมาณ 30-50 ซม. เพื่อเร่งให้มีการแตกกอควรตัด 1-2 เดือนต่อครั้ง ทั้งนี้ การตัดหญ้าแฝกต้องกระทำในทุกพื้นที่และใช้ใบคลุมดินด้วย

4. การปลูกหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ความชุ่มชื้นในดิน เป็นการปลูกไม้ผลร่วมกับแถวหญ้าแฝกในระยะแรกเริ่ม หรือปลูกแฝกสลับกับต้นไม้ที่ต้องการใช้ประโยชน์ เช่น ในมาเลเซียมีการปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวในระหว่างแถวปลูกยางพารา เมื่อต้นหญ้าแฝกเจริญเติบโตประมาณ 1 ปี ก็สามารถตัดใบใช้ประโยชน์ในการเป็นวัสดุคลุมดินบริเวณโคนยางพาราเพื่อรักษา ความชุ่มชื้น โดยที่เศษใบแฝกจะไม่เป็นพาหะของโรคและแมลง การปลูกหญ้าแฝกเพื่อรักษาความชุ่มชื้นในดิน กระทำได้ 3 วิธีการ คือ

ปลูก หญ้าแฝกขนานไปกับแถวของไม้ผลประมาณ 1 เมตร และนำใบของหญ้าแฝกมาคลุมโคนต้น เพื่อช่วยรักษาความชุ่มชื้นและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน

ปลูกแบบครึ่งวงกลมรอบไม้ผล ซึ่งทรงเรียกว่า "ฮวงซุ้ย" โดยปลูกเป็นรูปครึ่งวงกลมรอบไม้ผลแต่ละต้น รัศมีจากโคนต้นไม้ผล 1.5-2 เมตร

ปลูกแบบครึ่งวงกลมหันหน้าเข้าหาแนวลาดชัน แนวหญ้าแฝกจะดักตะกอนดินที่จะไหลบ่าลงมาเก็บกักไว้ที่โคนต้นไม้

5. การปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการเสียหายของขั้นบันไดดินหรือคันคูรับน้ำรอบ เขา ในพื้นที่ลาดชันมักนิยมปลูกบนขั้นบันไดดินหรือมีการก่อสร้างคันคูดินรอบเขา ซึ่งเป็นการลงทุนสูงการป้องกันการเสียหายก็โดยการปลูกหญ้าแฝกเป็นแนวใน บริเวณขอบขั้นบันไดดิน หรือคันคูดิน

6. การปลูกเพื่อควบคุมร่องน้ำ โดยการนำหญ้าแฝกไปปลูกในร่องน้ำด้วยการขุดหลุมปลูกขวางร่องน้ำเป็นแนวตรง หรือแนวหัวลูกศรย้อนทางกับทิศทางไหล ในลักษณะตัว V คว่ำ ซึ่งทรงเรียกว่า "บั้งจ่า" เพื่อควบคุมการเกิดร่องน้ำแบบลึกหรือการปลูกในร่องน้ำล้น โดยปลูกตามแนวระดับเพื่อกักน้ำและช่วยกระจายน้ำไปใช้ในพื้นที่เพาะปลูกผลของ การปลูกหญ้าแฝกแบบนี้จะช่วยดักตะกอนและสามารถชะลอความเร็วของน้ำให้ลดลงด้วย

7. การปลูกหญ้าแฝกในการป้องกันตะกอนดินทับถมลงสู่คลองส่งน้ำ ระบายน้ำและอ่างเก็บน้ำในไร่นาตลอดจนปลูกรอบสระเพื่อกรองตะกอนดิน โดยการปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวบริเวณสองข้างทางคลองส่งน้ำ จะช่วยกันตะกอนดินที่ไหลลงมาซึ่งในส่วนของการปลูกรอบขอบสระเพื่อกรองตะกอน ดินนั้น ใช้วิธีการปลูกตามแนวระดับน้ำสูงสุดท่วมถึง 1 แนว และควรปลูกเพิ่มขึ้นอีก 1-2 แนวเหนือแนวแรก ซึ่งขึ้นอยู่กับความลึกของขอบสระ ในระยะแรกควรดูแลปลูกแซมให้แถวหญ้าแฝกเจริญเติบโตหนาแน่น เมื่อน้ำไหลบ่าลงมาตะกอนดินจะติดค้างอยู่บนแถวหญ้าแฝก ส่วนน้ำจะค่อยๆ ไหลซึมลงสระและรากหญ้าแฝกจะช่วยยึดดินรอบๆ สระ มิให้พังทลายได้เป็นการลดค่าใช้จ่ายในการขุดลอกสระด้วย

8. การปลูกเพื่อฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรม ดำเนินการในโครงการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมเขาชะงุ้ม จังหวัดราชบุรีและตำบลหนองพลับ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยการปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวขวางความลาดเทในดินลูกรังที่เสื่อมโทรมจากการถูกชะ ล้างของผิวหน้าดิน จนกระทั่งเกิดความแห้งแล้งและมีผิวหน้าดินแข็ง ขาดพืชพรรณธรรมชาติปกคลุม การปลูกหญ้าแฝกแบบนี้จะช่วยชะลอความเร็วของน้ำไหลบ่า ทำให้น้ำซึมลงดินได้ลึกเกิดความชุ่มชื้นต้นไม้สามารถเจริญเติบโตได้

9. การปลูกในพื้นที่ดินดาน ดำเนินการศึกษาที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย ทรายแข็ง ดินเหนียว หินปูน และแร่ธาตุต่าง ๆ รวมตัวกันเป็นแผ่นแข็งคล้ายหิน ยากที่พืชชั้นสูงจะเจริญเติบโตได้ เมื่อทำการปลูกหญ้าแฝกในดินดานพบว่ารากหญ้าแฝกสามารถหยั่งลึกลงไปในเนื้อ ดินดานทำให้ดินแตกร่วนขึ้น สำหรับหน้าดินจะมีความชื้นเพิ่มขึ้น ในแนวของหญ้าแฝกสามารถปลูกพันธุ์ไม้ได้หลายชนิด เช่น กระถินเทพา สะเดา ประดู่ ฯลฯ เมื่อมีการปลูกหญ้าแฝกร่วมกับไม้ผล รากของหญ้าแฝกสามารถหยั่งลึกลงไปในดินดาน เป็นการสลายดินล่วงหน้าก่อนที่รากไม้ผลจะหยั่งลึกลงไปถึง

10. การปลูกเพื่อป้องกันการพังทลายของดินบริเวณไหล่ถนน ดำเนินการในพื้นที่ดินตัดและดินถมข้างทางเป็นการปลูกเพื่อป้องกันการพังทลาย ของดินในส่วนของไหล่ทางที่เปิดและไหล่ทางด้านข้าง โดยปลูกหญ้าแฝกเพื่อยึดดินและเบี่ยงเบนทางน้ำไหลบริเวณไหล่ทางและปลูกขวาง แนวลาดเทเพื่อป้องกันการพังทลายและเลื่อนไหลของดิน

11. การปลูกเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของสารพิษในแหล่งน้ำ ในปัจจุบันได้มีการใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อการเจริญเติบโตและเพื่อการเพิ่มผลผลิต ของพืชกันมากขึ้น โดยเฉพาะการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนที่ดินในประเทศเขตร้อนมักขาดอยู่เสมอ ๆ นอกจากนี้เกษตรกรและผู้ประกอบการเกษตรได้มีการนำสารเคมีมาใช้ในการปลูกพืช มากขึ้น เช่น สารไนไตรทที่เกิดจากการใส่ปุ๋ยก็ดี โลหะหนักและสารเคมีที่เป็นพิษอันเนื่องมาจากการฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดวัชพืช และศัตรูพืชก็ดี สารเหล่านี้หากถูกชะล้างลงในแหล่งน้ำ จะทำให้เกิดมลพิษต่อสภาพแวดล้อม การศึกษาทดลองที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ พิสูจน์ได้ว่ากอหญ้าแฝกที่ปลูกเป็นแนวขวางตามลาดเทของพื้นที่สามารถจะ ยับยั้ง และลดการสูญเสียหน้าดินบนพื้นที่ลาดชัดได้ระดับหนึ่ง ขณะเดียวกันรากหญ้าแฝกที่มีการแพร่กระจาย อย่างหนาแน่นและหยั่งลึก จะเป็นกำแพงกักกั้นดินและสารพิษที่ปะปนมากับน้ำ ไม่ให้ไหลลงสู่แหล่งน้ำเบื้องล่าง นอกจากนี้ตัวของรากหญ้าแฝกเอง น่าจะมีประสิทธิภาพในการที่จะดูดซับธาตุโลหะหนักและสารเคมีบางอย่างได้ดี กว่าพืชชนิดอื่นๆ ทั้งนี้เนื่องจากความสามารถของรากหญ้าแฝกในการที่หยั่งลึกและแผ่กว้างได้ มากกว่ารากหญ้าชนิดอื่น ๆ

ประโยชน์อเนกประสงค์อื่นๆ จากหญ้าแฝก

ปลูก หญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและนิเวศวิทยา โดยการปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวขนานไปตามคลองส่งน้ำ หรือแม่น้ำลำคลอง ซึ่งแถวหญ้าแฝกจะช่วยในการดักตะกอนดิน และกรองขยะมูลฝอยไม่ให้ลงไปสู่แม่น้ำลำคลอง ซึ่งจะเป็นเป็นสาเหตุให้เกิดการตื้นเขินและน้ำเน่าเสีย การปลูกหญ้าแฝกจะช่วยให้น้ำในแหล่งน้ำมีความสะอาดยิ่งขึ้น

ใบ และต้นหญ้าแฝกเป็นอาหารสัตว์และทำปุ๋ยหมัก ใบของหญ้าแฝกเป็นอาหารสัตว์ได้ พบว่าจากแหล่งพันธุ์กำแพงเพชร 2 มีคุณค่าทางอาหารสัตว์ดีกว่าพันธุ์อื่นๆ ทั้งปริมาณโปรตีนหยาบ วัตถุแห้งที่ย่อยได้ค่า NDS และแร่ธาตุต่าง ๆ ส่วนหญ้าแฝกที่มีอายุการตัด 4 สัปดาห์ มีความเหมาะสมที่สุดทั้งด้านการให้ผลผลิตและคุณค่าทางอาหารสัตว์ นอกจากนี้ยังพบว่าใบอ่อนของหญ้าแฝกสามารถนำมาบดเลี้ยงปลาและเป็นอาหารสัตว์ ได้ แต่ใบแก่ใช้ไม่ได้ผลเนื่องจากมีคุณค่าทางอาหารสัตว์น้อยกว่าหญ้าชนิดอื่น ๆ มีความสากคาย นอกจากนั้นต้นและใบของหญ้าแฝกนำมาทำปุ๋ยหมัก ภายใน 60-120 วัน สภาพของต้นและใบแฝกจะมีการย่อยสลายเป็นปุ๋ยหมักอย่างสมบูรณ์มีปริมาณธาตุ อาหารที่สำคัญให้สารปรับปรุงบำรุงดินอีกด้วย

ปลูก หญ้าแฝกเพื่อใช้ประโยชน์มุงหลังคาและอื่นๆ ในบ้าน โดยการใช้ใบที่แห้งแล้งมาสานเรียงกันเป็นตับเพื่อทำเป็นหลังคาบ้านเรือน ที่พักผ่อนหย่อนใจ หลังคาร้านค้า เป็นต้น ตับหลังคาที่ทำจากหญ้าแฝกสามารถผลิตจำหน่ายได้ ส่วนรากที่มีความหอมนั้นคนไทยรุ่นเก่าเคยนำมาแขวนในตู้เสื้อผ้า ทำให้มีกลิ่นหอมและช่วยไล่แมลงที่จะทำลายเสื้อผ้าได้

หญ้า แฝกใช้ทำสมุนไพรและน้ำหอมได้ มีสรรพคุณช่วยขับลมในลำไส้ แก้อาการท้องอืดเฟ้อ และแก้ไขได้ ส่วนรากสามารถนำมาสกัดทำน้ำมันที่มีประโยชน์และคุณค่าทางการค้าได้ เช่น ฝรั่งเศสผลิตน้ำหอมจากรากหญ้าแฝก ชื่อ "Vitiver"

ทฤษฎีป้องกันดินเสื่อมโทรมโดยใช้ หญ้าแฝก


ทฤษฎีป้องกันดินเสื่อมโทรมและการพังทลายของดิน โดยใช้ หญ้าแฝก (Vetiver Grass)

การชะล้างพังทลายของดินก่อให้เกิดการสูญเสียหน้าดิน ที่ประกอบไปด้วยสารอาหารที่ซึ่งสะสมในดินรวมทั้งความอุดมสมบูรณ์จากธรรมชาติ

สภาพความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดินส่วนใหญ่ เกิดจากกรณีผิวหน้าดินถูกกัดเซาะจากฝนที่ตกลงมาและน้ำที่ไหลบ่าหน้าดินเป็น จำนวนมากเช่นนี้ ทำให้หน้าดินสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ไป บางครั้งยังเกิดปัญหาดินพังทลาย ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อพื้นที่ทางการเกษตรกรรมสูง ทำให้ผลผลิตลดลง แม้ว่าจะเป็นพื้นที่ที่ได้รับปริมาณน้ำฝนมากเพียงพอ

จากการไหลบ่าของน้ำฝนเป็นจำนวนมากนี้เองเมื่อไม่มีสิ่งใดมากั้นชะลอไว้ ทำให้พื้นดินไม่สามารถเก็บกักน้ำฝนได้เต็มที่ และผิวหน้าดินจะถูกกัดเซาะพังทลายอย่างรุนแรง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงสภาพปัญหาและสาเหตุที่เกิดขึ้น โดยทรงศึกษาถึงศักยภาพของ "หญ้าแฝก" ซึ่งเป็นพืชที่มีคุณสมบัติพิเศษในการช่วยป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดิน และอนุรักษ์ความชุ่มชื้นใต้ดินไว้ อีกทั้งเป็นพืชพื้นบ้านของไทย วิธีการปลูกก็ใช้เทคโนโลยีแบบง่ายๆ เกษตรกรสามารถดำเนินการได้เองโดยไม่ต้องให้การดูแลหลังการปลูกมากนัก อีกทั้งประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าวิธีอื่น ๆ อีกด้วย จึงได้มีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินการศึกษาทดลองเกี่ยว กับหญ้าแฝก มีใจความสรุปได้ว่า

* หญ้าแฝกเป็นพืช ที่มีระบบรากลึก แผ่กระจายลงไปในดินตรงๆ เป็นแผงเหมือนกำแพง ช่วยกรองตะกอนดินและรักษาหน้าดินได้ดี จึงควรนำมาศึกษาทดลองปลูก ให้ทดลองปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการพังทลายของดินในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการ พัฒนาและพื้นที่อื่นๆ ที่เหมาะสมอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริและศูนย์ศึกษา การพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
* การดำเนินการศึกษาทดลองการปลูกหญ้าแฝก ให้พิจารณาลักษณะของภูมิประเทศ ซึ่งแบ่งตามลักษณะของพื้นที่ ดังนี้
o การปลูกหญ้าแฝก บนพื้นที่ภูเขา ให้ปลูกหญ้าแฝกตามแนวขวางของความลาดชันและในร่องน้ำของภูเขาเพื่อป้องกันการ พังทลายของหน้าดินและช่วยเก็บความชื้นในดินไว้ด้วย
o การปลูกหญ้าแฝกบนพื้นราบให้ดำเนินการในลักษณะ ดังนี้
+ ปลูกโดยรอบแปลง
+ ปลูกลงในแปลง ๆ ละ 1 หรือ 2 แนว
+ สำหรับแปลงพืชไร่ให้ปลูกตามร่องสลับกับพืชไร่
o การปลูก หญ้าแฝกรอบสระน้ำ เพื่อป้องกันอ่างเก็บน้ำมิให้ตื้นเขิน อันเนื่องมาจากตะกอนจากการพังทลายของดิน ตลอดจนช่วยรักษาดินเหนืออ่างและช่วยให้ป่าไม้ในบริเวณพื้นที่รับน้ำให้ทวี ความอุดมสมบูรณ์ขึ้นอย่างรวดเร็ว
o การปลูกหญ้าแฝกเหนือบริเวณแหล่งน้ำ ปลูกเป็นแนวป้องกันตะกอนดินและกรองของเสียต่าง ๆ ที่ไหลลงแหล่งน้ำ

การทำหญ้าหมัก






















การทำหญ้าหมัก

หญ้าหมัก หมายถึง พืชอาหารสัตว์ต่าง ๆ ที่นำมาเก็บถนอมไว้ในสภาพอวบน้ำ ในภาชนะปิดที่ป้องกันอากาศ จากภายนอกจนเกิดการหมัก ซึ่งจะช่วยทำให้คุณค่าทางอาหารของพืชเหล่านั้นคงอยู่ สามารถถนอมไว้ใช้ได้ใน ช่วงที่ขาดแคลนหญ้าสด พืชอาหารสัตว์ที่นำมาใช้ในการหมักได้มาจากพืชอาหารสัตว์ที่มีอยู่มากมายในช่วงฤดูฝน ซึ่งเจริญงอกงามดี และมีปริมาณมากเกินพอสำหรับสัตว์เลี้ยง นอกจากนี้ยังไม่สามารถเก็บถนอมโดยการ ทำหญ้าแห้งได้

อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำหญ้าหมัก
1. เครื่องตัดหญ้า สับหญ้า

2. ภาชนะที่ใช้บรรจุหญ้าสำหรับหมัก เช่น หลุม ถัง ถุงพลาสติก

3. สารเสริมที่ทำให้การหมักดีขึ้น เช่น กากน้ำตาล เพื่อช่วยเพิ่มคุณภาพของหญ้าหมัก ถ้าใช้ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ไม่จำเป็นต้องเสริม

4. ผ้าพลาสติกสำหรับปิดภาชนะ หลุม หรืออุปกรณ์สำหรับปิดปากภาชนะอย่างอื่นเพื่อป้องกันอากาศจากภายนอก

วิธีการทำหญ้าหมัก

หั่นหรือสับหญ้าสดให้มีขนาด 2-3 ซม. บรรจุหญ้าสดที่หั่นแล้วลงในภาชนะสำหรับหมัก ซึ่งอาจเป็นถุง บ่อซีเมนต์ หลุม ย่ำอัดให้แน่นเพื่อไล่อากาศออกให้หมด ในขณะที่บรรจุหญ้าลงในภาชนะ ละลายกากน้ำตาล พรมให้ทั่ว ๆ เพื่อช่วยให้การหมักดียิ่งขึ้น แต่ถ้าไม่สามารถหาได้ก็ไม่ต้องใช้ จากนั้นทำการปิดภาชนะบรรจุหญ้า ด้วยแผ่นพลาสติกให้มิดชิดแล้วโรยทับด้วยทรายป้องกันอากาศและน้ำ หลังจากปิดภาชนะแล้ว หมักไว้ 3-4 สัปดาห์ หญ้าเหล่านั้นจะกลายเป็นหญ้าหมัก นำมาใช้เลี้ยงสัตว์ได้
หญ้าหมักที่มีคุณภาพดีสามารถเก็บไว้ได้นาน โดยที่คุณค่าทางอาหารไม่เปลี่ยนแปลง

การใช้หญ้าหมักเลี้ยงโครีดนม ไม่ควรใช้เกิน 15 กิโลกรัมต่อวัน และควรให้หลังการรีดนม กรณีเริ่มใช้หญ้าหมัก เลี้ยงควรแบ่งให้วันละน้อยและเพิ่มขึ้นเมื่อสัตว์เคยชิน
1. กลิ่นหอมเปรี้ยว ไม่เน่าเหม็น

2. เนื้อพืชไม่เป็นเมือก ไม่เละ

3. สีเขียวอมเหลือง

4. รสเปรี้ยวพอดี

5. ไม่มีเชื้อรา หรือส่วนบูดเน่า
ข้อควรระวังในการทำหญ้าหมัก
1. การอัดหญ้าลงในภาชนะที่ใช้หมักต้องอัดให้แน่นเพื่อไล่อากาศที่มีอยู่ในภาชนะออกให้มากที่สุด ซึ่งจะช่วยให้การหมักเกิดได้ดี และหญ้าหมักเสียน้อยที่สุด

2. การปิดภาชนะที่บรรจุต้องทำให้มิดชิดเพื่อป้องกันไม่ให้อากาศจากภายนอกเข้าไปในกองหญ้าหมัก

3. เมื่อเปิดภาชนะควรใช้ให้หมดในระยะเวลาอันสั้น และเปิดภาชนะอย่าให้กว้างมาก เพื่อช่วยให้หญ้าหมักเสื่อมช้าลง

4. หญ้าที่นำมาใช้หมักไม่ควรจะมีความชื้นสูงมากเพราะจะทำให้เกิดน้ำในภาชนะหมักมากเกินไป และหญ้าหมักเก็บได้ไม่นาน

5. ระมัดระวังหนูหรือแมลงสาบที่จะมากัดภาชนะหรือพลาสติกที่ปิดให้เป็นรู อากาศจะเข้าไปทำให้หญ้าหมักเสียได้

รายการบล็อกของฉัน