ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2566

“ย่านางแดง” สมุนไพรพื้นบ้าน ที่ไม่ควรมองข้ามสรรพคุณทางยาสมุนไพรมากมาย


“ย่านางแดง” สมุนไพรพื้นบ้าน ที่ไม่ควรมองข้ามสรรพคุณทางยาสมุนไพรมากมาย 

เครือขยัน หรือย่านางแดง 
นี่ก็เป็นสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่น่าจะหาปลูกเพราะสรรพคุณทางยาสมุนไพรมากมาย สมุนไพรไทยที่มีเอกลักษณ์และสรรพคุณทางสมุนไพรที่แตกต่างกันออกไปเป็นเป็นจุดเด่นที่หาไม่ได้ง่ายๆ
โดยเฉพาะสมุนไพรที่ชื่อว่าเครือขยัน หรือย่านางแดง 


ชื่อวิทยาศาสตร์: Bauhinia strychnifolia เป็นไม้เลื้อยในสกุลชงโค และวงศ์ถั่ว จัดเป็นพืชถิ่นเดียวในประเทศไทย เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง เปลือกรากขรุขระมีสีน้ำตาลเข้มถึงดำ มีรอยบากตามขวางเล็กๆทั่วไป เนื้อไม้ภายในรากสีน้ำตาลแดง 


เถาแบน มีร่องตรงกลาง เปลือกสีออกเทาน้ำตาล เมื่อแก่เถากลม สีน้ำตาลแดง ใบรูปไข่แกมขอบขนาน ผิวใบมัน สีเขียวเข้ม ปลายใบเว้าตื้น กึ่งเรียวแหลมถึงมีติ่งหนาม โคนใบกลมถึงรูปหัวใจตื้น ขอบใบเรียบ ผิวเกลี้ยงทั้งสองด้าน

ข้อมูลเบื้องต้น เครือขยัน, การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ ...

ในทางยาสมุนไพรมีฤทธิ์แก้ท้องเสีย ฝาดสมาน ใช้ ใบ เถา และราก เป็นยาเช่นเดียวกับย่านางแต่มีฤทธิ์แรงกว่า ใช้ถอนพิษยาเมา ยาเบื่อ ยาสั่ง แก้ไข้พิษทั้งปวง 


ขับพิษโลหิตและน้ำเหลือง แก้ท้องผูก ใช้ฝนกับน้ำ หรือต้มน้ำดื่ม ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้เป็นส่วนผสมของยาบำรุงโลหิต สำหรับสตรีหลังคลอด ขณะอยู่ไฟ ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น


อ่านมาจนถึงบรรทัดสุดท้ายเห็นคุณประโยชน์ของย่านางแดงแล้วรู้สึกว่ามันเป็นอะไรที่พิเศษมากๆเลยนะครับสำหรับต้นไม้ชนิดนี้ถ้าเป็นไปได้ก็หามาปลูกประจำบ้านไว้สักต้นสองต้นแถมยังมีดอกที่สวยงามด้วยนะครับ

บุกคางคกสรรพคุณทางยาสมุนไพรและให้คุณค่าทางอาหาร สามารถนำมาทำอาหารได้มากมาย


บุกคางคกสรรพคุณทางยาสมุนไพรและให้คุณค่าทางอาหาร สามารถนำมาทำอาหารได้มากมายถ้ารู้จักใช่พืชสมุนไพรชนิดนี้

บุกคางคก
ชื่อก็ไม่รู้ว่ามันจะเหมือนกับคางคกหรือเปล่าบุกคางคกแต่หารู้ไม่บุกชนิดนี้มีสรรพคุณทางยาและใช้เป็นอาหารได้อย่างดีถ้ารู้จักใช้และวิธีการนำมาใช้
บุกคางคก ชื่อวิทยาศาสตร์: Amorphophallus paeoniifolius (Dennst.) Nicolson. เป็นพืชในวงศ์ Araceae ชื่ออื่นๆ ได้แก่ มันซูรัน (กลาง) บุกคุงคก (ชลบุรี) เบีย เบือ บุกหนาม บุกหลวง (แม่ฮ่องสอน) หัวบุก (ปัตตานี) บักกะเดื่อ(สกลนคร) กระบุก(บุรีรัมย์) บุกรอ หัววุ้น เป็นพืชล้มลุก เจริญเติบโตในฤดูฝน 


และพักตัวในฤดูหนาว มีหัวใต้ดินขนาดใหญ่ สีน้ำตาล อายุหลายปี ลำต้นกลม อวบน้ำ ผิวขรุขระ มีลายสีเขียวสีแดงใบเดี่ยว ออกที่ปลายยอด ใบแผ่ออกคล้ายกางร่มแล้วหยักเว้าเข้าหาเส้นกลางใบ ขอบใบจักเว้าลึก กลม อวบน้ำ ดอกออกเป็นช่อแทงขึ้นมาจากหัวใต้ดิน บริเวณโคนต้น เป็นแท่งมีลายสีเขียวหรือสีแดงแกมสีน้ำตาล ดอกช่อ แทงออกมาจากหัวใต้ดิน 


ช่อดอกมีกาบหุ้ม ลักษณะเป็นแท่งสีแดงแกมน้ำตาล ก้านช่อดอกสั้น มีใบประดับ รูปกรวยหุ้มช่อดอก ขอบหยักเป็นคลื่น และบานออก ปลายช่อ ดอกเป็นรูปกรวยคว่ำขนาดใหญ่ ยับเป็นร่องลึก สีแดงอมน้ำตาลหรือสีม่วงเข้ม ดอกตัวผู้อยู่ตอนบน ดอกตัวเมียอยู่ตอนล่าง 

มีกลิ่นเหม็นคล้ายซากสัตว์เน่า ผลรูปทรงรียาว มีจำนวนมากติดกันเป็นช่อ หัวบุกมีลักษณะค่อนข้างกลม เนื้อในหัวสีชมพูสด เหลืองอมชมพู หรือขาวเหลือง ผลสด เนื้อนุ่ม เมื่ออ่อนสีเขียว สุกแล้วเป็นสีเหลือง สีส้มจนถึงแดง


หัวบุก
บุกคางคก, 
บุกคางคกเป็นพืชพื้นเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบตั้งแต่ ศรีลังกา ไปจนถึงอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ลำต้นของบุกคางคก ใส่แกงเป็นอาหารได้ ในรัฐเบงกอลตะวันตก ประเทศอินเดีย นำหัวไปทอดหรือใส่ในแกงกะหรี่ ลำต้นรับประทานเป็นผัก ชาวญี่ปุ่นใช้ทำอาหารลดความอ้วน หัวบุกมีสารสำคัญคือ กลูโคแมนแนน (glucomannan) เป็นโพลีแซคคาไรด์ มีคุณสมบัติคล้ายเพกติน ในทางยาสมุนไพร หัว ใช้กัดเสมหะ แก้เลือดจับเป็นก้อน หุงกับน้ำมัน ใส่บาดแผล กัดฝ้าและกัดหนองดี นำหัวมาต้มกับน้ำ แก้โรคตับ 


โรคท้องมาน ยากัดเสมหะ แก้ไอใช้แก้พิษงู ใช้เป็นยาแก้แผลไฟไหม้และน้ำร้อนลวก ช่วยลดระดับน้ำตาลในเส้นเลือด รักษาโรคเบาหวาน. การใช้ประโยชน์ด้านอุตสาหกรรมแปรรูป อุตสาหกรรมการแปรรูปส่วนใหญ่มี3รูปแบบ คือ แผ่นบุกแห้ง ผงวุ้นบุกหรือผงวุ้นกลูโคแมนแนนจะนำไปเป็นส่วนผสมอาหารหลายชนิด และบรรจุแคปซูลและในรูปผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสุขภาพสำเร็จรูป พร้อมนำไปประกอบอาหาร หรือนำไปรับประทานได้ทันที เช่น แท่งวุ้น เส้นวุ้น. 

สารพิษในบุก ยางที่พบในหัวบุก ลำต้นและใบ ประกอบด้วยสารแคลเซียมออกซาเลต (calcium oxalate) หากสัมผัสกับผิวหนังจะทำให้เกิดอาการคัน หากข้อตาจะทำให้เกิดการระคายเคือง มีการแสบตาอย่างรุนแรงและอาจทำให้ตาบอดได้ 
ข้อห้ามสำหรับการรับประทานบุก คือ หัวบุกจะมีรสเผ็ด เป็นยาร้อน มีพิษ ออกฤทธิ์ต่อม้าม ตับ และระบบทางเดินอาหาร ดังนั้น ในกลุ่มคนที่ ม้าม ตับ และระบบทางเดินอาหาร ไม่ดี ควรหลีกเลี่ยงรับประทาน และไม่รับประทานมากเกินไป



สมุนไพรทุกชนิดนะครับมีประโยชน์มันก็ต้องมีโทษควบคู่กันไป...ถ้ารู้การนำใช้และวิธีการใช้ที่จะนำมาทำเป็นยาหรือนำมารับประทาน..ก่อนเป็นดีที่สุดนะครับเรียนรู้เอาไว้ก็ก็จะเป็นประโยชน์ต่อตัวเองและบุคคลอื่น

รายการบล็อกของฉัน