ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันอังคารที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ต้นสนเควกกิงแอสเพน ป่าแห่งชาติฟิชเลก

ต้นสนเควกกิงแอสเพน, 
ป่าแห่งชาติฟิชเลก, ยูทาห์
🌲สนแพนโดโคลน (Pando clone) ซึ่งประกอบด้วยต้นสน 47,000 ต้น ครอบคลุมพื้นที่เกือบ 270 ไร่ นี่ถือเป็นสิ่งมีชีวิตเดี่ยว ที่อาจถือกำเนิดขึ้นเมื่อหลายหมื่นปีก่อน จากเมล็ดพันธุ์สนเควกกิงแอสเพนเมล็ดเดียว 

และแพร่พันธุ์ด้วยการแตกหน่อ จากระบบรากที่ขยายตัวต่อเนื่อง แต่ละลำต้นมีเอกลักษณ์ทางพันธุกรรมเหมือนกันทุกประการ และมีอายุไม่เกิน 150 ปี แต่ระบบรากอาจเป็นสิ่งมีชีวิตที่อายุยืนที่สุดในโลก

ทุกวันนี้ ต้นเอล์มสูงกว่า 12 เมตร มีเรือนยอดแผ่กว้างถึง 18 เมตร พอย่างเข้าเดือนพฤศจิกายน ใบสีทองก็ร่วงจวนหมดสิ้น ก่อนเหลือเพียงลำต้นและกิ่งก้านในเดือนมกราคม เมื่อเดือนเมษายนมาถึงจึงเริ่มแตกใบอ่อน 
และในเดือนมิถุนายน ต้นเอล์มก็อวดใบเขียวเต็มต้นพร้อมสำหรับฤดูร้อนอีกครั้ง
“ราวกับว่าต้นเอล์มมุ่งมั่นที่จะอยู่รอดครับ” มาร์ก เบย์ส เจ้าหน้าที่ป่าไม้ประจำเมือง ผู้ช่วยฟื้นฟูและดูแลต้นเอล์มต้นนี้ กล่าว 
“มันเข้าใจดี ขณะที่พวกเราไม่มีใครเข้าใจ ว่ามันจะต้องยืนหยัดต่อไป”

ต้นเบาบับในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียต้นนี้เป็นที่รู้จักในนามต้นไม้คุกแห่งดาร์บี

ต้นเบาบับในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย
🌲ต้นนี้เป็นที่รู้จักในนามต้นไม้คุกแห่งดาร์บี ทว่าคริสติน ฮาร์แมน นักประวัติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแทสเมเนีย และเอลิซาเบท แกรนต์ นักมานุษยวิทยาสถาปัตย์ จากมหาวิทยาลัยแอดิเลด เห็นว่าผิดถนัด
แม้จะเล่าลือกันว่า ต้นไม้นี้เป็นที่คุมขังหรือพื้นที่กักกันนักโทษชาวอะบอริจินระหว่างขนย้ายไปดาร์บี ทั้งฮาร์แมนและแกรนต์แย้งว่า เรื่องเล่าดังกล่าวเป็น “ความจงใจที่จะนำเสนอต้นเบาบับให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับ ชัยชนะที่นักล่าอาณานิคมมีเหนือชาวอะบอริจิน”

หากด้านมืดของความเป็นมนุษย์ถือกำเนิดจากใต้ต้นไม้ ก็คงเหมาะสมแล้วที่ร่มไม้เขียวขจีช่วยปลอบประโลมใจ ดังเช่นต้นเอล์มอเมริกันต้นหนึ่งในเมืองโอกลาโฮมาซิตี้ 
เมื่อวันที่ 9 เมษายน ปี 1995 เหตุระเบิดที่วางแผนและก่อการโดย ทิโมที แมกเว ทหารผ่านศึกผู้ต่อต้านรัฐบาล ถล่มอาคารอัลเฟรด พี. เมอร์ราห์ สูงเก้าชั้น ของรัฐบาลกลางในย่านใจกลางเมือง และคร่าชีวิตผู้คน 168 คน

แรงระเบิดเผาไหม้ลำต้น ทำให้ใบร่วงหล่นจนหมดสิ้น พร้อมฝังสะเก็ดและเศษซากลงในเนื้อไม้ของต้นเอล์มสูง 10 เมตร ที่เติบโตในลานจอดรถใกล้เคียง ทุกวันนี้ “ต้นไม้ผู้รอดชีวิต” ไม่เพียงเป็นจุดเด่นของพิพิธภัณฑ์และอนุสรณ์สถานแห่งชาติโอกลาโฮมาซิตี้  
แต่ยังช่วยปลอบประโลมใจคนอย่างดอริส โจนส์ ผู้สูญเสียแคร์รี แอนน์ เลนซ์ ลูกสาววัย 26 ปี ที่กำลังตั้งครรภ์ไปในเหตุระเบิดครั้งนั้น เธอบอกว่า 
“ฉันรู้สึกดีขึ้นเมื่อได้เห็นต้นเอล์มค่ะ มันเป็นสิ่งดีๆ ที่รอดพ้นเหตุการณ์เลวร้ายมาได้”

รายการบล็อกของฉัน