ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2567

ต้นไม้แปลก ต้นไทรในปล่องโรงสี ใจกลางกรุงเทพฯ


🌲ต้นไม้แปลก ต้นไทรในปล่องโรงสี ใจกลางกรุงเทพฯ
ฮือฮา !! Unseen Bangkok"ต้นไม้แปลก
ต้นไทรในปล่องโรงสี ใจกลางกรุงเทพฯ" 


ต้นไม้ที่มีลำต้นสี่เหลี่ยมนี้ คือต้นไทรที่เติบโตจนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับปล่องโรงสีข้าว อยู่ที่เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพฯ น่าจะเกิดจากนกกินลูกไทร แล้วถ่ายเมล็ดไทรทิ้งไว้ในปล่องโรงสีข้าวที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว เมื่อวันเวลาผ่านไป ก็เติบโตแผ่กิ่งก้านสาขา รากชอนไชจนเต็มด้านในของปล่องโรงสี แล้วแทรกลงดิน


คนท้องถิ่นที่มีอายุประมาณ50ปีเล่าว่าเห็นต้นไทรนี้ตั้งแต่จำความได้มีความสูงใหญ่มองเห็นได้แต่ไกล ฐานของปล่องไฟกว้าง 2.75 เมตร ต้นไทรรวมปล่องโรงสีข้าวสูงประมาณ 26 เมตร

เมื่อธรรมชาติอยู่ร่วมเป็นเนื้อเดียวกับสิ่งก่อสร้าง ก็กลายเป็นความแปลกตา น่าชม ไม่น่าเชื่อเลยว่า ในกรุงเทพฯ จะมีอย่างนี้


พิภพ บุษราคัมวดี ช่างภาพและนักเขียนสารคดีท่องเที่ยว ได้พบเห็นต้นไทรนี้ขณะล่องเรือเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมาได้เดินทางไปบันทึกภาพต้นไทรในปล่องโรงสีนี้หลายครั้ง
ภาพชุดนี้ถ่ายไว้เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ.2557

พบใบชาที่เก่าแก่ที่สุดในโลกในสุสานราชวงศ์ฮั่น


พบใบชาที่เก่าแก่ที่สุดในโลกในสุสานราชวงศ์ฮั่นพบใบชาโบราณอายุกว่า 2,150 ปีในสุสานจักรพรรดิจีน

นักโบราณคดีจีนขุดพบใบชาโบราณอายุเก่าแก่ย้อนไปถึงสมัยจักรพรรดิองค์ที่ 4 แห่งราขวงฮั่นตะวันตกหรือกว่า 2,150 ปีมาแล้ว ในบริเวณสุสานจักรพรรดิใกล้บริเวณเมืองซีอาน มณฑลส่านซี การขุดค้นเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 1998 แต่ต้องอาศัยเวลากว่า 18 ปีเพื่อจะได้รับการยืนยันอายุของใบชาที่พบในสุสานนี้


ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก อยู่ในช่วง 202 ปีก่อนคริสต์ศักราช ยาวนานมาจนถึงช่วง ค.ศ. 8 ตั้งเมืองหลวงอยู่ที่เมืองฉางอาน ยุคนี้ถือเป็นยุคทองของจีน บ้านเมืองมีความเงียบสงบปนะชาชนมังคั่ง จนคนจีนในยุคหลังจะเรียกตัวเองว่าเป็นชาวฮั่น แต่ความนิยมในการบริโภคชานั้น ตามหลักฐานแล้วกลับมาบูมเอาในอีกหลายร้อยปีถัดมา นั่นคือสมัยราชวงศ์ถัง หรือในช่วง ค.ศ.618- ค.ศ 907 ซึ่งเป็นสมัยหลังยุคสามก๊ก


การที่พบใบชาที่เก่าแก่จนเรียกว่าเป็นต้นกำเนิดใบชาครั้งนี้ นักวิจัยเชื่อกันว่าคนในสมัยฮั่นจะนำใบชามาบริโภคในลักษณะของยามากกว่าดื่มเพื่อความสำราญเหมือนในสมัยถังหรือสมัยหลังจากนั้นมาการค้นพบนี้ตีพิมพ์ในรายงาน The journal Scientific Reports

รายการบล็อกของฉัน