ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2560

ญี่ปุ่นไม่ตัดต้นไม้อายุ 700 ปี สร้างสถานีรถไฟใหม่ครอบทับแทน


เราอยู่ร่วมกันได้… ญี่ปุ่นไม่ตัดต้นไม้อายุ 700 ปี สร้างสถานีรถไฟใหม่ครอบทับแทน
สถานีรถไฟที่ตั้งอยู่ชานเมืองของโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น แสดงให้ว่าธรรมชาติที่แสนยิ่งใหญ่กับการปรับปรุงและพัฒนาของเทคโนโลยีสามารถอยู่ร่วมกันได้โดยไม่ต้องทำลายอย่างใดอย่างหนึ่งทิ้งไป

นี่คือเรื่องราวของมนุษย์ที่อยากอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน…
ต้นการบูร ต้นใหญ่ยักษ์ต้นนี้มีอายุมากกว่า 700 ปี ตั้งตระหง่านอยู่คู่กับประวัติศาสตร์ของชาวโอซาก้าและชาวญี่ปุ่นมาอย่างยาวนานตราบจนปัจจุบัน
แน่นอนว่ามันต้องมีคุณค่าทางจิตใจกับประชาชนที่อยู่อาศัยอยู่แถบนั้นเป็นอย่างมาก แต่การพัฒนาก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี้ยงไม่ได้
สถานีรถไฟ Kayashima ตั้งอยู่ถัดจากต้นการบูรนี้เมื่อปี 1910

หลังจากผ่านไปเป็นเวลา 60 ปี จำนวนประชากรของจังหวัดโอซาก้าก็เพิ่มขึ้น และสถานีรถไฟเองก็ต้องมีการปรับปรุงเพื่อรองรับผู้ใช้บริการที่เพิ่มขึ้น ทำให้ทางการตัดสินใจที่จะตัดต้นไม้ทิ้งไป

แต่ตามตำนานได้เล่าเอาไว้ว่าใครก็ตามที่พยายามจะตัดต้นการบูรนี้ล้วนแล้วแต่ถูกสาปทุกคน ไม่วาจะพยายามเผา หรือใช้เลื่อยตัด ก็มักจะประสบพบเจอกับเหตุการณ์ที่แตกต่างกันออกไป บ้างก็ประสบอุบัติเหตุ บ้างก็ป่วย บ้างก็เสียชีวิต…

แต่เมื่อชาวบ้านได้ทราบข่าวว่ามีการตัดต้นไม้อันเป็นที่รักนี้ ก็ได้ออกมาต่อต้านอย่างรุนแรง จนในที่สุดทางการก็ยอมและได้ทำการออกแบบรูปแบบสถานีที่จะคงไว้ซึ่งต้นการบูรที่มีอายุมากกว่า 700 ปี ต้นนี้เอาไว้ได้

เมื่อทางการเห็นการกดดันจากชาวบ้านในละแวกนั้น จึงยอมถอยเรื่องการตัดต้นไม้ และปรับปรุงแผนพัฒนาพื้นที่ รวมถึงออกแบบสถานีรถไฟแบบใหม่ให้ “ครอบ” ลงไปบนต้นไม้แทน

การก่อสร้างเริ่มต้นเมื่อปี 1973 และเสร็จสิ้นเมื่อปี 1980 จนถึงปัจจุบันนี้ต้นการบูรก็ยังคงเติบโตไปเรื่อยๆ พร้อมกับความภาคภูมิใจ และความทรงจำดีๆ ของชาวเมืองที่หมุนเวียนผ่านไปแต่ละรุ่น…

ถือว่าเป็นการผสมสานกันที่ลงตัว บางครั้งธรรมชาติกับความเจริญ ก็สามารถอยู่ร่วมกันได้ ถ้าเรามองเห็นความสำคัญของพวกมันมากพอ…

วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2560

Wind Tree ต้นไม้กังหันลม ผลิตไฟฟ้าสำหรับใช้ในบ้านตามพื้นที่ชุมชนเมือง


Wind Tree ต้นไม้กังหันลม ผลิตไฟฟ้าสำหรับใช้ในบ้านตามพื้นที่ชุมชนเมือง

การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานลมได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเป็นพลังงานสะอาดที่นำมาใช้ได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่ก็ต้องติดตั้งกังหันลมที่มีขนาดสูงใหญ่เกะกะตา มีเสียงดังรบกวน และต้องติดตั้งในพื้นที่ที่มีลมแรง ดูเหมือนคงเป็นไปไม่ได้ที่จะติดตั้งกังหันลมเพื่อผลิตไฟฟ้าตามพื้นที่ในเมือง

แต่บริษัท NewWind จากฝรั่งเศสได้ทำให้ต้องเปลี่ยนความคิดนั้นไปโดยสิ้นเชิง ด้วยนวัตกรรมใหม่ที่พวกเขาเรียกว่า “Wind Tree” โครงสร้างเหล็กรูปทรงต้นไม้สูง 3 เมตร มีใบไม้เทียม 72 ใบ เรียกว่า “aeroleaf”

ซึ่งก็คือกังหันลมแนวตั้งขนาดเล็กที่หมุนในกระแสลมอย่างเงียบเชียบ เกือบไม่มีเสียงให้ได้ยิน Wind Tree ต้นหนึ่งผลิตไฟฟ้าได้ 3.1 kW เพียงพอสำหรับสร้างความอบอุ่นในบ้าน ไฟแสงสว่าง รวมทั้งชาร์จไฟรถยนต์ไฟฟ้า

กังหันลม aeroleave ทำงานที่ความเร็วลมเพียง 11 กม./ชม. (กังหันลมผลิตไฟฟ้าทั่วไปต้องการความเร็วลมอย่างต่ำ 21 กม./ชม.) และรับลมได้ทุกทิศทาง เหมาะกับพื้นที่ในเมืองที่ความเร็วไม่สูงมากและทิศทางลมเปลี่ยนไปมาอยู่ตลอด

จึงทำให้มันมีศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าได้ถึง 280 วันในหนึ่งปี ถือว่ามีประสิทธิภาพสูง (กังหันลมทั่วไปผลิตได้ราว 200 วันต่อปี)

โครงสร้างต้นไม้ถูกออกแบบให้มีความแข็งแรงทนทานเหมาะสำหรับใช้งานภายนอกโดยเฉพาะ ใบเทียม aeroleaf ทำจากพลาสติกเบาผสมเรซินที่ทนต่อความชื้นและเกลือ (สำหรับพื้นที่ที่อยู่ใกล้ทะเล) เครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ต่อเชื่อมกับใบเทียมถูกซีลไว้เป็นอย่างดี กังหันลมจะต่อสายไฟไว้แบบขนาน นั่นหมายถึงถ้ากังหันตัวใดตัวหนึ่งมีปัญหา ที่เหลือก็ยังทำงานตามปกติ
ดูวิดีโอการติดตั้งต้นไม้ผลิตไฟฟ้าต้นนี้ได้

ด้วยรูปลักษณ์ที่ดูสวยงานกลมกลืนเข้ากับสภาพแวดล้อมและประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้า Wind Tree จึงถูกเลือกไปติดตั้งในหลากหลายสถานที่ ถ้าคุณสนใจก็ติดต่อกับพวกเขาได้ พวกเขามีบริการออกแบบตามความต้องการของลูกค้าด้วยล่


วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2560

ทะเลทรายซาฮาร่า เคยเขียวชอุ่ม เมื่อกว่า 6,000 ปีที่แล้ว


รู้หรือไม่? ทะเลทรายซาฮาร่า เคยเขียวชอุ่ม เมื่อกว่า 6,000 ปีที่แล้ว

ถ้าพูดถึงทะเลทรายที่กว้างใหญ่ไพศาลที่สุดบนโลกนี้ หลายๆ คนคงเคยได้ยินชื่อทะเลทรายซาฮาร่า ซึ่งถือว่าเป็นทะเลทรายที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยกินพื้นที่กว่า 9 ล้านตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1 ใน 3 ของทวีปแอฟริกา

แต่สิ่งที่หลายคนอาจยังไม่เคยรู้คือ มนุษย์เราเคยอยู่อาศัยอยู่บนพื้นที่ทะเลทรายซาฮาร่า ที่ในอดีตเคยเขียวชอุ่มและอุดมสมบูรณ์ อยู่ใน ‘ยุคเปียก’ หรือเมื่อประมาณ 8,000 ที่ผ่านมา

จากการวิเคราะห์ตะกอนที่ทับถมกันโดยทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแอริโซนาพบว่า มีร่องรอยของปริมาณน้ำฝนในซาฮาร่าเมื่อประมาณ 6,000 ปีก่อน ซึ่งนักวิจัยระบุว่า รูปแบบของสภาพอากาศในช่วงนั้นได้ทำให้เกิด “ซาฮาร่าสีเขียว” 

จาก 5,000 ถึง 11,000 ปีก่อน และมีปริมาณน้ำฝนมากกว่าปัจจุบันถึง 10 เท่า
นั่นหมายความว่า นอกจากมนุษย์แล้ว ซาฮาร่าในอดีตคือพื้นที่เขียวชอุ่ม มีป่าไม้ แม่น้ำ พืชพันธุ์มากมาย และเต็มไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด

“มันชุ่มฉ่ำกว่าตอนนี้ถึง 10 เท่า” เจสสิกา เทียร์นีย์ หนึ่งในทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยแอริโซนากล่าว “ปริมาณน้ำฝนประจำปีตอนนี้อยู่ระหว่าง 4 นิ้ว จนถึงน้อยกว่า 1 นิ้ว”

แม้ว่าการวิจัยอื่นๆ จะมีการระบุเอาไว้แล้วว่า
ซาฮาร่าสีเขียวมีอยู่จริง เจสสิกาและทีมงานของเธอก็ยังคงทำการรวบรวมและบันทึกข้อมูลปริมาณน้ำฝนที่เกิดขึ้นในภูมิภาคนี้ในช่วง 25,000 ปีที่ผ่านมา

สิ่งที่น่าสนใจอื่นๆ ก็คือมีหลักฐานทางโบราณคดี แสดงให้เห็นว่า มนุษย์เคยอาศัยอยู่ที่นี่ในระหว่างยุคเปียก ก่อนที่จะค่อยๆ ย้ายถิ่นฐานออกไปเมื่อประมาณ 8,000 ปีก่อน

และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของ ‘ยุคแห้ง’ ที่ค่อยๆ เกิดขึ้นในอีกหลายพันปีต่อมา ถึงแม้ว่ามนุษย์จะกลับมาหลังจากยุคแห้งในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน แต่การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศทำให้ที่นี่ค่อยๆ แห้งแล้งขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นทะเลทรายที่ร้อนระอุในที่สุด

ในพื้นที่โกเบโร ในประเทศไนเจอร์ 
มีการขุดค้นพบโครงกระดูกที่มีอายุราว 6,000 ปี โดยมีชิ้นส่วนของนิ้วกลางอยู่ในปาก โดยพื้นที่แหงนี้ มีอุณหภูมิเฉลี่ยราว 49 องศาในตอนกลางวัน ซึ่งแตกต่างจากซาฮาร่าสีเขียวในอดีตมากมายจริงๆ

ทหารชาวไนเจอร์คอยดูแลทีมนักโบราณคดี ที่เข้ามาขุดค้นโครงกระดูก โดยมีการพบโครงกระดูกกว่า 250 ชิ้น และรวมไปถึง หม้อ เครื่องประดับ อาวุธ และเครื่องมืออื่นๆ อีกมากมาย

ภาพแกะสลักรูปยีราฟบนก้อนหินที่มีอายุกว่า 8,000 ปีนี้ ถูกพบที่เมืองดาบูส์ โดยเป็นหนึ่งในภาพแกะสลักที่ดีที่สุดของโลกอีกด้วย

นอกจากนั้น จากการตรวจสอบร่องรอยความเสียหายของมหาสฟิงซ์แห่งกิซ่า นักวิจัยและนักธรณีวิทยาหลายคนเชื่อว่า มันถูกสร้างขึ้นมาหลายพันปีก่อนที่จะเกิดความแห้งแล้งขึ้นด้วย

รายการบล็อกของฉัน