ช่วงนี้จะเห็นว่ามีข่าวเกี่ยวกับข้าวเยอะแยะมากมาย ซึ่งแน่นอนอยู่แล้วที่หลายท่านคงต้องกังวลกันเพราะเราต้องรับประทานข้าวกันทุกวันอยู่แล้ว ซึ่งมีหลายคำถามที่พบเจอกับข่าวที่ออกมา ว่ากินแล้วจะตายหรือไม่ มีพิษอย่างไร หรือจะทำให้ให้เป็นมะเร็งหรือไม่ วันนี้จึงอยากนำความรู้ดีๆเกี่ยวกับสารที่ใช้รมข้าวหรือสารที่ใช้รมข้าวมีอะไรบ้างมาฝากกันครับ...
การรมสารในการป้องกันกำจัดแมลงและศัตรูพืชในโรงเก็บที่ไทยใช้อยู่มี 2 ชนิดคือ เมทิลโบรไมด์ (MB) และฟอสฟิน (PHOSFINE) มีการใช้สารทั้งสองชนิดกันทั่วโลกอย่างกว้างขวาง เนื่องจากสามารถทำลายแมลงศัตรูพืชได้ทุกชนิด และทุกระยะการเจริญเติบโต ไม่มีพิษตกค้างเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้สารฆ่าแมลง
**Methylbromide**
CAS No. 74-83-9 UN/ID NO. 1062
สารเมทิลโบรไมด์เป็นก๊าซไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่ติดไฟ ไม่ระเบิด และไม่มีพิษตกค้าง สารชนิดนี้เป็นที่นิยมใช้เพราะเบากว่าอากาศ จะใช้การระเหยขึ้นด้านบน สามารถแทรกในช่องว่างระหว่างเม็ดข้าวได้ และราคาถูกกว่าสารชนิดอื่น
ชื่อพ้อง Bromomethane; Curafume; Embafume; Haltox; Iscobrome ; Terabol; Brom-O-Sol; Brom-O-Gas; Meth-O-Gas; Terr-O-Gas; Brom-O-Gaz; Celfume; Kayafume; MeBr; Halon 1001; Dowfume mc-2; Dowfume mc-33; EDCO; MB; MBX; Metafume; Methogas; Profume; Rotox; Terr-o-gas 100; Zytox; Dowfume; Bromomethane ;
1.สัมผัสทางหายใจ
- การหายใจเอาสารที่ความเข้มข้นต่ำเข้าไป จะก่อให้เกิดอาการเวียนศีรษะ, ง่วงนอน, ปวดศีรษะ, สูญเสียการทรงตัว, กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน, โรคลมบ้าหมู, สายตาพร่ามัว, สับสน, ทำลายปอดและไต
2.สัมผัสทางผิวหนัง
- การสัมผัสถูกผิวหนัง ทำให้แสบ เป็นแผลไหม้
3.กินหรือกลืนเข้าไป
- ไม่มีข้อมูล
4.สัมผัสถูกตา
- การสัมผัสถูกตา ทำให้ตาแดง และอาจทำให้เกิดการมองไม่เห็นชั่วคราว...
- สารนี้มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง โรคปอดอักเสบ ทำลายไต
- เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์
- บุคคลที่มีโรคหัวใจ, ตับไม่ควรทำงานหรือใช้สารเคมีนี้
- ความคงตัวทางเคมี : สารนี้มีความเสถียร
- สภาวะที่ควรหลีกเลี่ยง : อุณหภูมิสูง
- สารเคมีอันตรายที่เกิดจากการสลายตัว : ไฮโดรเจนโบรไมด์, คาร์บอนิลโบรไมด์, คาร์บอนมอนนอกไซด์
**phosphine***
CAS No. 7803-51-2 UN/ID NO. 2199
ชื่อพ้อง Hydrogen phosphide, Phosphorus hydride; Phosphorated hydrogen; Phosphorus trihydride; Detia gas EX-B; GAS EX-B; Phosphine ;
เป็นสารที่มีความเป็นพิษสูง กรมวิชาการเกษตรจึงเตือนผู้รมยาว่า ต้องหลีกเลี่ยงการได้รับสารนี้ แม้ในปริมาณน้อยก็ตาม เพียงสูดดมระยะเวลาสั้นๆ ที่ความเข้มข้น 2.8 กรัมต่อลูกบาศก์เมตร สามารถทำให้เสียชีวิตได้
- การหายใจเข้าไปจะก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะ, วิงเวียนศีรษะ, เจ็บหน้าอก, ง่วงนอน
2.สัมผัสทางผิวหนัง
- การสัมผัสถูกผิวหนัง จะก่อให้เกิดอาการเนื้อเยื่อตาย เนื่องจาก การสัมผัสกับความเย็น ( FROSTBITE ) เกิดผื่นแดง และปวดได้
3.กินหรือกลืนเข้าไป
-ไม่มีข้อมูล
4.สัมผัสถูกตา
- การสัมผัสถูกตา จะก่อให้เกิดอาการเนื้อเยื่อตาย เนื่องจาก สัมผัสกับความเย็น ( FROSTBITE ) เกิดอาการตาแดง และปวดตาได้
5.ความผิดปกติ,อื่น ๆ- สารนี้ทำลายระบบหายใจสารเคมีอันตรายที่เกิดจากการสลายตัว : กรดฟอสฟอริก, ไฮโดรเจน
สารทั้งสองชนิดถูกควบคุมตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย ดังนั้น ผู้ที่ครอบครองและใช้สารจะต้องผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่กรมวิชาการเกษตรกำหนด ต้องมีใบอนุญาตการรมจากกรมวิชาการเกษตร และต้องมีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบการรม เวลานำเข้าต้องมีแผนให้กรรมการพิจารณาว่าใช้เพื่ออะไร และไม่อนุญาตให้นำเข้าจำนวนมากมาเพื่อเก็บสต๊อกไว้ นอกจากนี้ ต้องได้รับใบประกาศเป็นผู้ควบคุมการใช้ รับจ้างรมยากำจัดแมลงศัตรูผลิตผลเกษตร ซึ่งใบประกาศมีอายุการใช้งาน 5 ปี และจะมีการตรวจสอบประเมินผู้ผ่านการอบรมอยู่อย่างสม่ำเสมอ เมื่อครบกำหนดต้องเข้ารับการอบรมใหม่
สารทั้งสองชนิดก่อให้เกิดมะเร็งหรือไม่
สารทั้งสองชนิดไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค เพราะสารจะระเหยได้เร็ว ส่วนปัญหาที่เป็นโรคมะเร็งนั้นอาจจะเกิดจากเชื้ออะฟลาทอกซิน (Aflatoxin) เป็นสารพิษชนิดหนึ่งที่มักพบปนเปื้อนอยู่ในอาหารจำพวกถั่วลิสง ข้าวโพด พริกแห้ง กระเทียม เต้าเจี้ยว เต้าหู้ยี้ เมล็ดฝ้าย ข้าวฟ่าง และมันสำปะหลัง เชื้อราเหล่านี้มักไปกินแป้งในข้าว เพราะหากข้าวที่เข้าโกดังไม่แห้งพอ หรือมีความชื้นเกินกว่า 14% ตามเกณฑ์กลางที่กำหนด จะเป็นต้นตอทำให้เกิดเชื้ออะฟลาทอกซินได้ เมื่อข้าวเกิดเชื้ออะฟลาทอกซินแล้ว สารชนิดใดก็ไม่สามารถรมให้เชื้อหายไปได้
ข้าวที่มักจะเกิดความชื้นและเชื้อราได้มากที่สุดคือ ข้าวกล้อง ที่ไม่ได้ขัดสีมากนัก เพราะบนเนื้อข้าวจะมีสารอาหารอยู่มาก และแม้ว่าข้าวทั้งข้าวสารและข้าวกล้องจะผ่านการรมยากำจัดแมลงมาดีเพียงใด หากผู้เก็บข้าวเก็บไว้ในที่มีความชื้น ข้าวก็จะเกิดเชื้ออะฟลาทอกซินได้อยู่ดี
แหล่งที่มา- ศูนย์ข้อมูลวัตถุอันตรายและเคมีภัณฑ์ , youtube
เรียบเรียงข้อมูลเพิ่มเติมโดย menmen