ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

ปาล์มเลื้อยต้นปาล์มแปลกๆเป็นปาล์มกอทอดตัวเอนไปกับพื้นดิน และมีสรรพคุณทางยามากมาย

ปาล์มเลื้อยต้นปาล์มแปลกๆเป็นปาล์มกอทอดตัวเอนไปกับพื้นดิน และมีสรรพคุณทางยามากมาย

เวลาเรานึกถึงต้นปาล์มเราก็นึกถึงต้นไม้ใหญ่ๆขึ้นเป็นพุ่ม ต้นสูงใหญ่

แต่ที่เอยถึงคือปาล์มเลื้อยเป็นปาล์มชนิดเดียวที่เลื้อยเอนราบไปกับพื้นดิน..บ้านใครมีพื้นที่เยอะๆก็หามาปลูกเป็นไม้ประดับได้ครับ

👉🏿ปลูกเข้าไปเถอะต้นไม้ มีต้นไม้ดีกว่ามีแต่อิฐหินปูนทรายเต็มไปหมดแห้งแล้งและร้อน คุณเคยสังเกตไหมครับบางบ้านปลูกบ้านเต็มพื้นที่แต่ไม่มีที่ปลูกต้นไม้เลยสักนิด ถ้าไม่มีต้นไม้สภาพแวดล้อมในบ้านก็เลยดูหดหู่ห่อเหี่ยวแห้งแล้ง ไร้ชีวิตชีวา

เหมือนกับอพาร์ทเม้นท์หรือคอนโด บางที่ สร้างตึกเต็มพื้นที่ไปหมด แสดงถึงความงก เพราะควรจะปลูกต้นไม้ไว้บ้าง เพื่อเพิ่มร่มเงา ทัศนีภาพ สภาพแวดล้อม และแสดงถึงความใจกว้างไม่ใช่มีแต่ความงก สร้างตึกอะไร..เต็มพื้นที่หลังคาเกยกันแสดงถึงความงกมากๆมีต้นไม้ก็ตัดทิ้งหมด..

👉🏿บทความนี้เป็นบทความที่ผมเรียบเรียงเองผมก็บ่นไปตามเรื่องตามราวของผมนะครับใครชอบอ่านก็อ่านใครไม่ชอบอ่านก็ไม่ต้องอ่าน...ก็เข้าเรื่องกันเลยดีกว่านะครับ
😁ปาล์มเลื้อย (อังกฤษ: saw palmetto; ชื่อวิทยาศาสตร์: Serenoa repens)

เป็นปาล์มชนิดเดียวในสกุล Serenoa กระจายพันธุ์ในทางตอนใต้ของสหรัฐฯ เป็นปาล์มกอ สูงประมาณ 2 เมตร ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 25 เซนติเมตร ทอดตัวเอนไปกับพื้นดิน

ใบรูปพัด กว้างถึง 1 เมตร ขอบใบจักลึกเกือบถึงสะดือ แตกเป็นใบย่อย 10-15 แผ่น สีเขียวอมฟ้า ช่อดอกสมบูรณ์เพศสีขาว ออกระหว่างกาบใบ ยาว 1 เมตร

ผลกลม ขนาด 0.8 เซนติเมตร เมื่อสุกมีสีดำ

ข้อมูลเบื้องต้น ปาล์มเลื้อย, สถานะการอนุรักษ์ ...

👉🏿ปาล์มเลื้อยเป็นพืชทนแล้ง นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ 

👉🏾สารสกัดจากผลใช้รักษาโรคต่อมลูกหมากโต และการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ 

นอกจากนี้ยังรักษาอาการผมร่วงได้

อยากให้เห็นภาพชัดๆ..ก็ดูเอาตามคลิปวีดีโอนี้ก็แล้วกัน

ต้นแซะ ลำต้นใช้ก่อสร้าง สรรพคุณทางยาเป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช

ต้นแซะ ลำต้นใช้ก่อสร้าง สรรพคุณทางยาเป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช

วันนี้เราจะนำเสนอต้นไม้ที่ชื่อว่า ต้นแซะ
ชื่อสั้นๆแต่มีความหมายมากมายและมีสรรพคุณทางยา และ สามารถเอาลำต้นมาทำงาน ใช้ในการก่อสร้าง สารพัด ประโยชน์ของต้นแซะและยังเป็นต้นไม้พระราชทานที่สามารถปลูกเป็นสิริมงคลปลูกแล้วจะโชคดีมีชัย ตามความเชื่อนะครับแต่ไม่รู้ว่าจะจริง หรือ เปล่าแต่ก็ดีกว่าไม่ได้ปลูกอะไรเลย... เพราะว่าปลูกต้นไม้ยังไงยังไง มันก็จะช่วยทำให้ลดโลกร้อน ใบให้ร่มเงา และ ความชุ่มชื้น และ เพิ่มออกซิเจน

ส่วนสิริมงคลอะไรก็แล้วแต่เป็นความเชื่อ..ถ้าเราเชื่อว่ามันดีก็ดี
แต่ถ้าเชื่อว่าไม่ดีก็ไม่ดี..อย่างเช่นต้นตะเคียน ต้นโพธิ์ ต้นไทร เขาบอกว่าถ้าปลูกแล้วมีผีสิงอันนั้นมันก็แล้วแต่ใครจะเชื่อก็เชื่อไป ..แต่ถ้าปลูกใกล้บ้านน่ะไม่ดีแน่ เพราะว่ารากต้นโพธิ์ต้นไทรมันจะชอนไชยบ้านพังหมด

ส่วนต้นตะเคียนจะสูงมากๆมันก็ล้มทับหักทับบ้านพังอีก....บ่นมากมายแล้วตอนนี้เรามาเข้าเรื่องต้นแซะกันดีกว่า

ต้นแซะ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Callerya atropurpurea Benth  ; ชื่ออื่น: กะแซะ (สุราษฏร์ธานี), ยีนิเก๊ะ (มลายู-นราธิวาส), แซะ (ทั่วไป)) เป็นไม้ต้นผลัดใบในวงศฺ LEGUMINOSAE เป็นไม้ยืนต้นสูง 20–30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ

เปลือกลำต้นเรียบ ผิวสีน้ำตาลหรือเทา มีพูพอน ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยออกตรงกันข้าม มีใบย่อยปลายก้านอีก 1 ใบ แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปหอก

ดอกออกเป็นช่อตามปลายกิ่งหรือง่ามใบ ทรงดอกถั่ว กลีบเลี้ยงสีเขียว เชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย กลีบดอกสีแดงแกมม่วงทึบ เกสรตัวผู้สีเหลืองอยู่กลางดอก กลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-เมษายน ผลเป็นผลเดี่ยว ผลอ่อนแบน เมื่อผลแก่ เมล็ดขยายใหญ่จนเกือบเป็นทรงกระบอก มี 1-3 เมล็ด

แซะขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด เหมาะสมกับสภาพดินทุกชนิด แสงแดดจัด ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง ถิ่นกำเนิดอยู่ตามชายป่าดิบชื้นภาคใต้ของไทย

การใช้ประโยชน์

ผลใช้เป็นอาหารสัตว์ ลำต้นใช้ก่อสร้าง เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลสำหรับจังหวัดนครศรีธรรมราช
แซะเป็นต้นไม้สูงใหญ่มีใบเขียวเข้มทรงทึบเวลากลางคืนดูน่ากลัว

คนปักษ์ใต้สมัยก่อนมีความเชื่อว่า ต้นแซะมีผีแรง จึงไม่นิยมปลูกแซะไว้ในบริเวณบ้าน อีกประการหนึ่ง แซะมี2 ชนิด คือ แซะ (ทั่วไป) กับ แซะคลาน เฉพาะ “แซะคลาน” ซึ่งขึ้นอยู่ตามป่าเสม็ด ลำต้นของแซะชนิดนี้จะเอนราบขนานไปกับพื้นและแตกกิ่งเป็นช่วงๆยอดอ่อนของ “แซะคลาน”จะเหมือน
ยอดแซะทั่วไป ทุกประการ แต่กินไม่ได้ จะทำให้คลื่นเหียนอาเจียร ดังนั้น การซื้อยอดแซะจากตลาดเพื่อใช้เป็นผักเหนาะ
จึงควรระวัง ข้อมูล – นจ. )

สรรพคุณทางยาของแซะ
ยอดอ่อน ช่วยเจริญอาหาร บำรุงกำลัง

วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

เฮียเฮียะ หรือ เหี่ยเฮี๊ยะ ต้นไม้สารพัดประโยชน์ของจีน..ใช้ได้สารพัด..ทั้งไล่ผีทั้งรักษาโรคภัย ใช้กินเป็นอาหารในเทศกาลเช็งเม้ง

เฮียเฮียะ หรือ เหี่ยเฮี๊ยะ ต้นไม้สารพัดประโยชน์ของจีน..ใช้ได้สารพัด..ทั้งไล่ผีทั้งรักษาโรคภัย ใช้กินเป็นอาหารในเทศกาลเช็งเม้ง

โลกใบนี้มันยังมีอะไรที่เราไม่รู้..อีกมากมายแม้แต่พืช สัตว์ หรือ อะไรอื่นๆที่แปลกๆและมีหลากหลาย ในต่างประเทศที่เราไม่รู้จักแต่เราก็มีสิทธิ์ ที่จะขนขวายหาความรู้ต่างๆเข้ามาใส่ตัวเราได้ ...โดยเฉพาะต้นไม้ต้นนี้ผมไม่รู้จักจริงๆครับ ต้น เฮียเฮียะ หรือ เหี่ยเฮี๊ยะ

👉🏾บางทีเราอ่านหรือเร็วๆไปมันก็อาจเพี้ยนเสียง จะเป็น....เหี้ยเฮี๊ยะๆๆ ก็ได้  มาครับเดี๋ยวจะพาเข้าไปดูรายละเอียดและคุณประโยชน์ของต้นเฮียเฮียะ หรือ เหี่ยเฮี๊ยะกัน

เฮียเฮียะ

เฮียเฮียะ หรือ เหี่ยเฮี๊ยะ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Artemisia argyi; จีนตัวย่อ: 艾叶; จีนตัวเต็ม: 艾葉; พินอิน: ài yè ไอ้เย่; แปลตามตัว ใบไอ้; จีนแต้จิ๋ว: hian7 hiêh8, /hĩã.hiεʔ/) เป็นชื่อในตำรับยาภาษาจีนที่ใช้ใบของพืชที่เรียก ไอ้เฉ่า (จีนตัวย่อ: 艾草; จีนตัวเต็ม: 艾葉; พินอิน: ài cǎo) หรือ โกฐจุฬาจีน ภาษามลายูเรียกอูลัมมักวัน เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปีอยู่ในสกุลโกฐจุฬาลัมพา และเป็นพืชท้องถิ่นในจีน ญี่ปุ่น และไซบีเรีย มีกลิ่นหอมแรง

ใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาตับ ม้าม และ ไตและใช้กินเป็นอาหารจีนเจ้อเจียงที่เรียก ชิงถฺวาน (青团) และอาหารจีนแคะ เฉ่าอากุ้ย (草仔粿)

👉🏿ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เฮียเฮียะ (A. argyi) เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี ลำต้นตั้งตรงสีเทา สูงประมาณหนึ่งเมตรมีกิ่งสั้น และมีเหง้า

ก้านใบเป็นรูปไข่ ใบรูปหอกกว้าง หยักเว้าลึก ขอบใบจัก สีเทาเขียวและปกคลุมด้วยต่อมผลิตน้ำมันขนาดเล็ก ใบด้านบนมีขนนิ่ม ๆ อยู่ประปราย ด้านล่างสีเทาขาว มีขนหนาแน่นจำนวนมาก ใบความยาวประมาณ 6 เซนติเมตร เป็นใบประกอบสามส่วน ใบประดับเรียบง่ายเป็นรูปใบหอกยาว

ช่อดอกเป็นช่อใบแคบ ดอกไม้แต่ละดอกมีสีเหลืองซีด มีลักษณะเป็นทรงกระบอก และฐานดอกกระจุกเป็นครึ่งทรงกลม ดอกกลางเป็นกะเทย ส่วนดอกข้างดอกเป็นตัวเมีย กลีบดอกแคบและพับเป็นทรงกระบอก

👉🏿ทั้งต้นมีกลิ่นหอมแรง
การแพร่กระจายและถิ่นที่อยู่
เฮียเฮียะเป็นพืชทนแล้ง (xerophile) ปรับตัวให้เจริญเติบโตในที่แห้งแล้ง ได้แก่บนเนินเขาที่แห้งแล้ง ริมฝั่งแม่น้ำสูงชัน ขอบของป่าโอ๊ค แนวชายฝั่ง ที่รกร้างว่างเปล่า ตามริมถนนและทางรถไฟ เจริญเติบโตได้ดีกว่าและมีกลิ่นหอมมากขึ้นเมื่อในพื้นที่แห้งแล้งและดินเลว

👉🏿การใช้ประโยชน์ในทางวัฒนธรรม
ชาวจีนภาคใต้ (ตอนใต้ของแม่น้ำแยงซี) ใช้ร่วมกับใบว่านน้ำแขวนประตูในช่วงเทศกาลเรือมังกรเพื่อปัดเป่าวิญญาณร้าย ส่งกลิ่นหอมระเรื่อ และสามารถใช้กินเป็นอาหารในเทศกาลเช็งเม้ง

การใช้เป็นอาหาร
เป็นอาหารพื้นเมืองทางตอนใต้ของจีน บริเวณมณฑลเจ้อเจียง เช่น ขนมนึ่งใส่เฮียเฮียะ ที่กินก่อนและหลังเทศกาลเช็งเม้ง โดยการบดนวดแป้งข้าวเหนียวไปพร้อมกับใบเฮียเฮียะสด อาจผสมด้วยถั่วลิสง งา น้ำตาล และไส้อื่นๆ (ในบางพื้นที่จะมีการใส่ถั่วเขียวเพิ่ม) แล้วนึ่ง เรียก ชิงถฺวาน และในอาหารจีนแคะก่อนนึ่ง ใช้ก้อนแป้งอัดลงแม่พิมพ์พร้อมใส้เป็นรูปต่าง ๆ เรียก เฉาอากุ้ย

ในลุ่มน้ำตงเจียงในกวางตุ้ง ชาวบ้านเก็บใบเฮียเฮียะสดและยอดอ่อนในฤดูหนาวและฤดูใบไม้ผลิเพื่อบริโภคเป็นผัก ในอาหารของชาวจีนแคะในเหมย์โจวใช้ใบแห้งหมัก และยัดลงในท้องไก่ ใส่ขิงหั่นบาง ๆ แล้วนึ่ง หรือต้มแกงไก่ รวมกับเนื้อลำไย และอื่นๆ

การใช้เป็นยาสมุนไพร
โดยการเก็บใบเฮียเฮียะ ในฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อนเมื่อขณะออกดอก และตากในที่ร่ม

ในการแพทย์แผนจีน ถือว่ามีคุณสมบัติขม ฉุน และอุ่น และสัมพันธ์กัการบรักษาตับ ม้าม และ ไตใบใช้เป็นยาแก้ไอขับเสมหะใช้เป็นยาห้ามเลือด บรรเทาปวด ช่วยการเพิ่มปริมาณเลือดไปยังบริเวณอุ้งเชิงกรานและกระตุ้นการมีประจำเดือน ช่วยรักษาภาวะมีบุตรยาก ประจำเดือน โรคหอบหืด และไอ

อาจใช้ในการรมยา (moxibustion) ซึ่งเป็นรูปแบบการรักษาด้วยการเผาสมุนไพรเฮียเฮียะ (โกศจุฬาลัมพา) ในรูปกรวยหรือแท่ง หรือเป็นลูกกลมอัดที่เสียบไว้กับปลายเข็มฝัง เพื่อรมบริเวณจุดฝังเข็มตามตำแหน่งของเส้นลมปราณ

ใช้ในยาต้มแบบอย่างเดียว หรือกับสารอื่น ๆ

ใบสดสามารถบดและปั่นและคั้นน้ำผลไม้ ชาวโอรังอัซลีในรัฐเปรัก ประเทศมาเลเซียใช้ใบสดเคี้ยวแก้ไอ

น้ำมันระเหยสามารถสกัดจากใบและใช้ในการรักษาโรคหอบหืดและหลอดลมอักเสบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อฉีดพ่นลงบนหลังลำคอและช่วยบรรเทาอาการได้อย่างรวดเร็ว ใบมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียและแสดงให้เห็นว่ามีประสิทธิภาพในการต่อต้าน Staphylococcus aureus, Bacillus dysenteriae, Bacillus subtilis, Bacillus typhi, Escherichia coli และ Pseudomonas

การวิจัย

ในการวิจัยใบของเฮียเฮียะ (A. argyi) พบสารประกอบระเหย 96 ชนิด ได้แก่ อัลฟา-ทูจีน, 1,8-ซินีโอล, การบูร และอาร์เตมิเซียแอลกอฮอล์

ดอกมีสารประกอบระเหยเกือบ 50 ชนิด และการใช้ดอกไม้เพื่อการรักษาอาจได้ผลดีพอ ๆ กับการใช้ใบ

สารสกัดจากเมทานอลที่เตรียมจากทุกส่วนยกเว้นรากของพืชช่วยลดการกลายพันธุ์ของเชื้อ Salmonella typhimurium ได้

สารสกัดจากเฮียเฮียะ มีฤทธิ์ต้านเชื้อรากับ Botrytis cinerea และ Alternaria alternata ที่ทำให้ผักและผลไม้ในที่เก็บเน่าได้ง่าย

สารฟลาโวนที่แยกได้จากสารสกัดจากเฮียเฮียะ พบว่ามีฤทธิ์ต้านเนื้องอก

มีการศึกษาตรวจสอบประสิทธิภาพทางคลินิกของการรมยา (moxibustion) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของใบของสายพันธุ์ต่าง ๆ ของเฮียเฮียะ (A. argyi) และตรวจสอบวิธีการนำยาที่มีประสิทธิภาพที่สุด และเพื่อเพิ่มผลการรักษาแบบนี้

เฮียเฮียะ หรือ เหี่ยเฮี๊ยะ ต้นไม้สารพัดประโยชน์ของจีน..ใช้ได้สารพัด..ทั้งไล่ผีทั้งรักษาโรคภัย ใช้กินเป็นอาหารในเทศกาลเช็งเม้ง

เจ้าชายซาอุฯเผยโครงการกรีน หารือร่วมมือ 5 ชาติอาหรับ ปลูกต้นไม้ 5 หมื่นล้านต้น ลดมลพิษ สู้โลกร้อน


เจ้าชายซาอุฯเผยโครงการกรีน หารือร่วมมือ 5 ชาติอาหรับ ปลูกต้นไม้ 5 หมื่นล้านต้น ผลักดันพลังงานหมุนเวียน ลดคาร์บอน ลดมลพิษ สู้โลกร้อน

มกุฎราชกุมาร Mohammed bin Salman แห่งซาอุดิอาระเบียได้ทรงเชิญผู้นำ คูเวต กาตาร์ บาห์เรน อิรัก และซูดาน หารือเผื่อผนึกกำลังในโครงการสีเขียว โดยต้องการปลูกต้นไม้พื้นที่มหาศาลกว่า 5 หมื่นล้านต้น และการส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ

โดยเจ้าชายทรงเผยโครงการที่ประสงค์จะปลูกต้นไม้กว่า 1 หมื่นล้านต้นในหลายสิบปีข้างหน้าในซาอุดิอาระเบีย และจะทำงานร่วมกับประเทศอาหรับในการปลูกต้นไม้ 4 หมื่นล้านต้น เพื่อลดก๊าซเรือนกระจก ต่อสู้กับมลพิษ และการเสื่อมโทรมของพื้นที่ 

รวมทั้งโครงการนี้ยังต้องการที่จะเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียนภายในประเทศ โดยตั้งเป้าหมายที่จะผลิตพลังงานในประเทศให้ได้มากกว่า 50% จากพลังงานหมุนเวียนภายในปี 2030 ผลักดันการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และเพิ่มพื้นที่อนุรักษ์ 

โครงการสีเขียวเป็นส่วนหนึ่งในแผนวิสัยทัศน์ ปี 2030 ของพระองค์เพื่อลดการพึ่งพารายได้จากน้ำมัน และพัฒนาคุณภาพชีวิต 

"ราชอาณาจักร ภูมิภาค และทั่วโลก จำเป็นต้องทำมากกว่านนี้และรวดเร็วกว่านี้ เพื่อแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง" มกุฎราชกุมาร Mohammed bin Salman แห่งซาอุดิอาระเบียตรัส 
.
ที่มา 

https://www.vision2030.gov.sa/en/vision/crown-message

https://www.reuters.com/article/us-saudi-environment-mideast/saudi-crown-prince-discusses-green-initiative-with-arab-leaders-idUSKBN2BK0S9

https://www.reuters.com/article/us-saudi-environment/saudi-arabia-sees-fields-of-green-with-major-tree-planting-drive-idUSKBN2BJ0O3

เจ้าหน้าที่ดับเพลิงรัฐแคลิฟอร์เนีย เร่งปกป้องต้น ‘ซีคัวญายักษ์’ พืชที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ภายในพื้นที่อุทยานแห่งชาติโยเซมิตี หลังเกิดไฟป่าขึ้นเมื่อวันที่ 7 ก.ค.


เจ้าหน้าที่ดับเพลิงรัฐแคลิฟอร์เนีย เร่งปกป้องต้น ‘ซีคัวญายักษ์’ พืชที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ภายในพื้นที่อุทยานแห่งชาติโยเซมิตี หลังเกิดไฟป่าขึ้นเมื่อวันที่ 7 ก.ค. ระบุขณะนี้ยังไม่มีต้นไหนได้รับความเสียหายหนัก

เมื่อวันที่ 7 ก.ค. ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ประจำอุทยานแห่งชาติโยเซมิตีได้รับแจ้งเหตุไฟป่า จากนักท่องเที่ยวที่มาเดินป่าภายใน Mariposa Grove of Giant Sequoias โดยพบว่าไฟป่าได้ขยายขนาด จากประมาณ 1 ตารางกิโลเมตร ไปเป็น 9.5 ตารางกิโลเมตรภายในเวลา 4 วัน และในวันจันทร์ที่ 11 ก.ค. เจ้าหน้าที่ดับเพลิงกว่า 545 นายได้เร่งควบคุมเพลิงแล้ว

แหล่งข่าวเผยว่า เจ้าหน้าที่มีการติดตั้งระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิงไว้ในบริเวณที่มีต้นซีคัวญายักษ์กว่า 500 ต้น เพื่อรักษาความชื้นของลำต้น โดยหวังว่าจะช่วยดับไฟในกรณีที่เพลิงไหม้ลุกลามเข้ามา ในขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเปิดเผยว่า ยังไม่มีซีคัวญายักษ์ต้นไหนได้รับความเสียหายหนัก รวมถึงต้นซีคัวญาชื่อ Grizzly Giant ซึ่งมีอายุมากกว่า 3,000 ปี

อย่างไรก็ตาม ในช่วงก่อนหน้านี้ เจ้าหน้าที่ดับเพลิงได้ประสบกับความยากลำบากในการเข้าถึงพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งมีความสุ่มเสี่ยงต่อเพลิงไหม้สูง ด้านผู้จัดการอุทยานเผยว่า มีการออกคำสั่งอพยพนักท่องเที่ยวกว่า 1,600 รายออกจากชุมชน จุดกางเต็นท์ และโรงแรมในบริเวณใกล้เคียง พร้อมทั้งปิดทางเข้าอุทยานที่ใกล้กับจุดเกิดเพลิงไหม้


สำหรับต้นสนซีคัวญายักษ์ หรือ giant sequoia เป็นพืชพื้นถิ่นของรัฐแคลิฟอร์เนีย มีความสูงประมาณ 50 - 85 เมตร จัดเป็นต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก สามารถมีอายุได้ถึง 3,000 ปี ปัจจุบันมีจำนวนลดน้อยลง เพราะภัยคุกคาม จากไฟป่าและภาวะโลกรวน ซึ่งทำให้สภาพอากาศร้อนและแห้งขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้

ที่มา
https://www.theguardian.com/us-news/2022/jul/11/yosemite-washburn-fire-giant-sequoias-grove

รายการบล็อกของฉัน