ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันอังคารที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2560

นักวิจัยมก. พบพืชใหม่ ช้างงาเอก

นักวิจัยมก. พบพืชใหม่ ‘ช้างงาเอก’
🌼นักวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พบ “ช้างงาเอก” พืชชนิดใหม่ของโลกเป็นไม้พุ่ม พบอยู่ในแถบภาคอีสานของไทย ชาวบ้านนิยมใช้รากไปดองเหล้าทำเป็นยาสมุนไพร เชื่อมีคุณสมบัติเพิ่มพละกำลัง จนเหลือเพียงน้อยนิดในธรรมชาติ หวั่นใกล้สูญพันธุ์

การค้นพบพืชพันธุ์ใหม่ของโลก เปิดเผยเมื่อวันที่ 22 ธ.ค. โดย ผศ.ดร.ฉัตรชัย เงินแสงสรวย อาจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า จากการออกสำรวจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แถบ จ.บึงกาฬ และนครพนม ได้ค้นพบ “ช้างงาเอก” พืชชนิดใหม่ของโลกที่ยังไม่เคยมีการจดบันทึกไว้ในวารสารด้านพันธพฤกษศาสตร์

โดยพบอยู่บริเวณป่าดิบแล้งและชายป่าดิบแล้งสูง จากระดับน้ำทะเล 150-220 ม. ซึ่งพืชชนิดนี้มักจะออกดอกเดือนธันวาคม ก่อนจะพัฒนาการกลายเป็นผลในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเมษายน ส่วนในต่างประเทศเคยพบได้เฉพาะที่ สปป.ลาว

ผศ.ดร.ฉัตรชัยเผยว่า “ช้างงาเอก” ที่พบครั้งนี้ เป็นพืชเป็นไม้พุ่มสูง 1-2 ม. เปลือกเรียบ เมื่ออ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่สีน้ำตาลเข้ม ส่วนต่างๆ มียางสีขาว แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน ส่วนดอกจะแยกเพศผู้ เพศเมียต่างต้นกัน ช่อดอกแบบกระจุกสั้น ออกตามซอกใบที่ปลายกิ่ง หรือตามซอกใบที่ใบร่วงแล้ว 
ดอกตูมมีกลีบเลี้ยงสีชมพูอมสีเหลืองอ่อน และเมื่อดอกบานจะมีสีเหลืองอ่อน หรือสีนวล ส่วนผลมีเนื้อหนึ่งถึงหลายเมล็ด รูปทรงกลมแป้น เส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 ซม. ยาว 5-7 มม. มี 4-6 พู เห็นชัด ขณะที่ผลยังดิบจะมีสีเขียว จุดขาว เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีแดง ผิวเกลี้ยงเป็นมัน มีกลีบเลี้ยงติดทน

ผศ.ดร.ฉัตรชัยกล่าวอีกว่า ช้างงาเอกจะกระจายพันธ์ุทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชาวบ้านที่รู้จัก งาช้างเอกมักจะใช้รากเป็นพืชสมุนไพร นำไปดองเหล้า มีความเชื่อว่าเป็นยาบำรุงกำลัง จึงกลายเป็นสาเหตุทำให้พืชชนิดนี้มีปริมาณในธรรมชาติลดลง จึงทำให้จัดอยู่ในสถานภาพพืชที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์

รายการบล็อกของฉัน