ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2566

บัวบกหินพืชชนิดใหม่บัวบกหินนั้นกระจายตัวเฉพาะตามภูเขาหินปูนโดยไม่พบพืชชนิดนี้ในพื้นที่อื่นใดอีกในประเทศไทย


บัวบกหินพืชชนิดใหม่บัวบกหินนั้นกระจายตัวเฉพาะตามภูเขาหินปูนโดยไม่พบพืชชนิดนี้ในพื้นที่อื่นใดอีกในประเทศไทย


บัวบกหิน
พืชสกุลสบู่เลือด

เราก็มานำเสนอพืชแปลกๆที่มีชื่อว่าบัวบกหิน จริงๆแล้วเราเคยเห็นบัวบกกันมาบ้างแล้วนะครับแต่นั่นเป็นบัวบกธรรมดาๆเอาไว้กินก็ได้อะไรก็ดีตามแต่ใครอยากจะกิน แต่นี่มันเป็นบัวบกที่แปลกประหลาดและมีได้ที่เดียวที่ พบบัวบกหินได้ตามภูเขาหินปูนโดยไม่พบพืชชนิดนี้ในพื้นที่อื่นใดอีกในประเทศไทยเลย


บัวบกหิน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Stephania kaweesakii) เป็นไม้อวบน้ำมีโขด ในสกุลสบู่เลือด วงศ์บอระเพ็ด มีอายุยาวนานหลายปีอาศัยตามซอกผนังหินปูน ลักษณะลำต้นมีผิวเปลือกบาง ๆ หุ้มสีน้ำตาลเข้ม 

เมื่ออายุมากขึ้นผิวเปลือกจะซ้อนทับหนาขึ้นเป็นชั้นตามอายุ ลักษณะใบมีทรงกลมก้านใบอยู่แกนกลางใบคล้ายใบบัว เส้นใบนูนชัด ก้านใบยาว สีของใบตั้งแต่ใบอ่อนจนใบแก่จะมีหลายสีเช่น สีม่วง สีชมพู สีแดง สีน้ำตาล โดยเมื่อใบแก่จะเปลี่ยนสีเป็นสีเขียวและผิวใบมีแว็กซ์เคลือบสีเขียวอมฟ้า โดยปริมาณความฟ้าของแว็กซ์ที่เคลือบผิวใบนั้นจะมากขึ้นตามปริมาณแสงที่ได้รับ พืชชนิดนี้จะพักตัวทิ้งใบในฤดูหนาว

ข้อมูลเบื้องต้น บัวบกหิน, การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ ...

อนุกรมวิธาน
บัวบกหินถูกค้นพบครั้งแรกที่อำเภอทองผาภูมิจังหวัดกาญจนบุรีใน พ.ศ. 2537 โดยกวีศักดิ์ กีรติเกียรติ นักพฤกษศาสตร์ที่กำลังสำรวจพรรณไม้ในขณะนั้น จึงได้เก็บตัวอย่างพรรณไม้ต้นแบบและศึกษาเรื่อยมา จนมาถึง พ.ศ. 2563 จึงได้มีการอนุกรมวิธานบรรยายระบุชนิดอย่างเป็นทางการโดยนักพฤกษศาสตร์จากทีมวิจัยมหิดล 
ได้แก่ ทยา เจนจิตติกุล และ สาโรจน์ รุจิสรรค์สกุล และตีพิมพ์พืชชนิดใหม่นี้ในชื่อ Stephania kaweesakii และคำระบุชนิดพันธุ์ของพืชชนิดนี้ได้ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่กวีศักดิ์ กีรติเกียรติ ผู้ค้นพบและเก็บตัวอย่างพันธุ์ไม้ชนิดนี้


แหล่งกระจายพันธุ์
ถิ่นอาศัยในธรรมชาติของบัวบกหินนั้นกระจายตัวเฉพาะตามภูเขาหินปูนแนวเทือกเขาตะนาวศรีตั้งแต่ภาคตะวันตกไปจนถึงภาคเหนือ โดยพบตั้งแต่อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ขึ้นไปจนถึงภาคเหนือฝั่งตะวันตกตามแนวเขาชายแดนระหว่างประเทศไทยและประเทศเมียนมาร์ โดยไม่พบพืชชนิดนี้ในพื้นที่อื่นใดอีกในประเทศไทย

การขยายพันธุ์
ใช้เมล็ด

อรพิม คิ้วนาง พืชที่มีชื่อที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเองเป็น เถาไม้เนื้อแข็งสรรพคุณทางยาสมุนไพรมากมาย

อรพิม คิ้วนาง พืชที่มีชื่อที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเองเป็น เถาไม้เนื้อแข็งสรรพคุณทางยาสมุนไพรมากมาย


อรพิม
อรพิม หรือ คิ้วนาง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bauhinia winitii) ชื่อวิทยาศาสตร์ ตั้งขึ้นเป็นเกียรติแก่ พระยาวินิจวนันดร"บิดาแห่งพฤษศาสตร์ไทย"


อรพิมคิ้วนางเป็นเถาไม้เนื้อแข็งที่มีชื่อดูแล้วน่าจะเกี่ยวข้องกับผู้หญิงคงจะไม่ใช่ผู้ชายแน่นอนเลย...เพราะว่ามีชื่อว่าอรพิมคิ้วนาง จะมีประวัติความเป็นมาอย่างไรและใครเป็นผู้พบเดี๋ยวเรามาเข้ารายละเอียดของบทความกันเลยดีกว่านะครับ

เป็นไม้เถาเนื้อแข็งในสกุลชงโค มีมือเกาะ มีขนสีน้ำตาลที่กิ่งอ่อน ใบประกอบ ดอกมี 5 กลีบ สีขาว 4 กลีบ สีเหลือง 1 กลีบ ติดฝักเป็นรูปดาบ เปลือกบาง ผิวเรียน 


เมล็ดข้างในแบน มีจำนวนมาก แก้ท้องเสีย แก้ปวดศีรษะ ขับเสมหะ แก้บิด จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นที่พบได้ในประเทศไทยเท่านั้น และเป็นดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี


ข้อมูลเบื้องต้น อรพิม, การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ ...

โดยชื่อวิทยาศาสตร์นั้น ตั้งขึ้นเป็นเกียรติแก่ พระยาวินิจวนันดร (โต โกเมศ) นักพฤษศาสตร์ชาวไทย ที่ได้รับการยกย่องให้เป็น "บิดาแห่งพฤษศาสตร์ไทย


เป็นพืชที่มีดอกสวยงามนะครับและมีประโยชน์ทางยาสมุนไพร
ชื่อต้นไม้นี้ก็ดูดีมีสกุล ด้วยนะครับ ชื่ออรพิม คิ้วนาง ท่านใดสนใจก็ไปหามาปลูกสักต้นถ้ามันขึ้นจนรกกรุงรังก็ตัดแต่งแถมมีดอกไม้ที่สวยงามให้ชมด้วยนะครับต้นนี้

วันศุกร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2566

กะเรกะร่อนปากเป็ด คืออะไรรับรองคุณไม่ทราบแน่ๆ แต่คูณรูไหมว่า มันคือกล้วยไม้ชนิดหนึ่ง


ท่าถามว่าชื่อ  กะเรกะร่อนปากเป็ด คืออะไรรับรองคุณไม่ทราบแน่ๆ 
แต่คูณรูไหมว่า มันคือกล้วยไม้ชนิดหนึ่งนั้นเองชื่อแปลกๆๆกะเรกะร่อนปากเป็ด


กะเรกะร่อนปากเป็ด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cymbidium finlaysonianum เป็นกล้วยไม้ที่ลำต้นเจริญทางด้านข้าง ออกดอกเป็นช่อห้อย เก่า ยาว 20-60 เซนติเมตร ช่อดอกโปร่ง 


กลีบดอกรูปแถบแคบยาว สีเหลืองอมน้ำตาลเรื่อๆ หูกลีบปากกระดกตั้งขึ้นทั้งสองข้าง สีม่วงแดง กลีบปากสีขาว ปลายมีแถบรูปคล้ายเกือกม้า สีม่วงแดง มีสันนูนตามยาว 2 แนว ทยอยบานเป็นเวลานาน ออกดอกช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ในไทยพบที่นครศรีธรรมราช ตรัง และนราธิวาส


การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:
พืช (Plantae)
ไม่ได้จัดลำดับ:
Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ:
Monocots
อันดับ:
Asparagales


วงศ์:
Orchidaceae
วงศ์ย่อย:
Epidendroideae
เผ่า:
Cymbidieae
เผ่าย่อย:
Cymbidiinae
สกุล:
Cymbidium
ชื่อทวินาม
Cymbidium finlaysonianum
Lindl.


วิกิพีเดีย,คู่มือกล้วยไม้ฉบับพกพา. กทม. สารคดี. 2545

ทะเลทรายสีขาวพบเห็นได้ไม่ง่ายนักหรืออาจจะมีแค่หนึ่งเดียวในโลก


ทะเลทรายสีขาวพบเห็นได้ไม่ง่ายนักหรืออาจจะมีแค่หนึ่งเดียวในโลก
ทะเลทรายสีขาว (อังกฤษ: White Sands National Monument) 

ทะเลทรายสีขาว (อังกฤษ: White Sands National Monument) หรือ "ไวท์แซนด์" ตั้งอยู่ในรัฐนิวเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา ครอบคลุมอาณาเขตพื้นที่กว่า 700 ตารางกิโลเมตร หรือ 437,500 ไร่ ตั้งอยู่ระหว่างเทือกเขาซาคราเมนโตทางตะวันออก และเทือกเขาซาน อันเดรียส อยู่ระหว่างเทือกเขาทั้งสองทำให้ทะเลทรายสีขาวจึงอยู่ในแอ่งที่ชื่อว่าทูลาโรซา เป็นอนุสรณ์สถานแห่งชาติสหรัฐอเมริกา


ต้นกำเนิดทะเลทรายสีขาว
ทะเลทรายสีขาว เกิดจากเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว บริเวณแถบนี้เป็นทะเลมาก่อน เกิดแรงดันจากเปลือกโลกมหาศาลบีบอัดจึงเกิดเทือกเขาซาคราเมนโตและเทือกเขาซาน อันเดรียส ซึ่งมีตะกอนยิบซั่มมหาศาลถูกดันขึ้นมาด้วย หลังจากนั้นเกิดฝนตกชะล้างตะกอนยิปซัมจากเทือกเขาทั้งสองไหลลงสู่ทะเลสาบที่ชื่อว่าลูเซโรซึ่งก็ไหลลงสู่จุดที่ต่ำที่สุดคือแอ่งทูลาโรซานั้นเอง และเมื่อน้ำระเหยออกไปหมดจนทะเลสาบน้ำเค็มเหือดแห้งไปหมด 


ยิปซัมก็ได้แห้งแข็งเป็นผลึกยิปซัม หรือที่เรียกว่า ซีลีไนต์ แต่ผ่านไปในระยะเวลานาน ทำให้ผลึกยิบซัมถูกกัดกร่อนจนกลายเป็นยิปซัมผงละเอียดเต็มไปหมด และกลายเป็นทะเลทรายขาวในปัจจุบัน และก็เป็นแหล่งยิปซัมที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วยเช่นกัน

สิ่งมีชีวิต
เนื่องบริเวณทะเลทรายสีขาวเป็นผงยิปซัมละเอียด และเป็นปริมาณน้ำฝนต่ำมากและสภาพความเป็นด่างสูง จึงไม่เหมาะแก่การเติบโตของสิ่งมีชีวิต

พืชพรรณ มีเพียงไม่กี่ชนิดที่โตได้ เช่น ยักคา ซูเมก และ คัตตันวูด ซึ่งมีรากที่ยาวสามารถหยั่งได้ลึกถึง 30 เมตร

สัตว์ สำหรับสัตว์ที่อาศัยอยู่ก็ไม่เพียงไม่กี่ชนิดเช่นกัน เช่นกิ้งก่าเผือกไร้หู และ หนูกระเป๋าอาปาเช่
แต่บริเวณรอบนอกของทะเลทรายสีขาวยังพอมีแหล่งน้ำอยู่บ้าง จึงเป็นที่อยู่ของพืชและสัตว์กว่า 500 ชนิด รวมทั้งดอกไม้สีสดหลากสี และสัตว์ที่อาศัยอยู่บริเวณนี้ ได้แก่ หมาป่าไคโยตี สกั๊งค์ หนูจิงโจ้ กระรอกดินโกเฟอร์ เม่น และ งู

กลยุทธ์ชี้ต้นหม่อนด่าต้นไหว หมายถึงอะไรเรามีตำตอบมาให้แล้ว


กลยุทธ์ชี้ต้นหม่อนด่าต้นไหว หมายถึงอะไรเรามีตำตอบมาให้แล้ว

กลยุทธ์ชี้ต้นหม่อนด่าต้นไหว คืออะไรหมายถึงอะไร..ท่าเราอ่านผ่านๆไปเราอาจจะนึกไม่ถึงว่ามันหมายถึงอะไร เรามาหาคำตอบพร้อมกันเลยดีกว่า


กลยุทธ์ชี้ต้นหม่อนด่าต้นไหว หรือ จวื่อซ่างม่าไหว (อังกฤษ: Point at the mulberry tree while cursing the locust tree; จีนตัวย่อ: 指桑骂槐; จีนตัวเต็ม: 指桑罵槐; พินอิน: Zhǐ sāng mà huái) 

เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงเมื่อฝ่ายที่มีความเข้มแข็งมากกว่า หรือแคว้นที่มีกองกำลังทหารภายใต้สังกัดมากมาย 


ข่มเหงรังแกแคว้นเล็กหรือผู้ที่มีกำลังทหารน้อยกว่า ควรที่จะใช้วิธีการตักเตือนให้เกิดความเกรงกลัวและยำเกรง แม้นหากแสดงความเข้มแข็งให้ได้ประจักษ์ ก็จักได้รับความสนับสนุนจากผู้ที่อ่อนแอกว่า ถ้าหาญกล้าใช้ความรุนแรง ก็จักได้รับความยอมรับนับถือจากผู้ที่อ่อนแอกว่า 



คัมภีร์อี้จิงกล่าวว่า "แกร่งจึงต้อนรับ เสี่ยงจึงยอมสยบ นี่ถือหนทางปกครองแผ่นดินราษฏรจึงขึ้นต่อ" ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ชี้ต้นหม่อนด่าต้นไหวไปใช้ได้แก่สุมาอี้ที่บุกเข้าควบคุมตัวของครอบครัวโจซองภายหลังจากที่ลิดรอนอำนาจของสุมาอี้เพียงเพื่อหวังในตำแหน่งอุปราช

วันพฤหัสบดีที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2566

เข้ามาตรวจสอบ ไพ่ทาโรต์ 78 ใบ เกมกระดาน เกมกระดาน สําหรับทํานายความลึกลับ ในราคา ฿61 ที่ช้อปปี้เลยตอนนี้! https://shope.ee/3fcD2c4Kh6

วันอังคารที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2566

ต้นไม้ฉายาปู่ทวด อายุ 5,484 ปี อาจเป็นต้นไม้ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก


ต้นไม้ฉายาปู่ทวด อายุ 5,484 ปี อาจเป็นต้นไม้ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก

ไม้ที่มีอายุมากที่สุดในโลกเราอาจจะเคยได้ยินชื่อหรือเคยได้เห็นต้นไม้ที่มีอายุมากที่สุดในโลกมาว่างแล้วนะครับ

ต้นไม้ที่เราจะนำเสนอนี้เขาบอกว่าเป็นต้นไม้ที่มีอายุมากที่สุดกว่าต้นไม้อื่นๆที่เคยมีมาจนได้ชื่อว่าGran Abueloต้นไม้ฉายาปู่ทวด อายุ 5,484 ปี อาจเป็นต้นไม้ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก


เรามาเข้ารายละเอียดของต้นไม้ต้นนี้กันเลยดีกว่านะครับว่ามันจะมีอายุมากมายขนาดไหนจนได้ถึงกับว่าเป็นปู่ทวด

นักวิทยาศาสตร์ในชิลีเชื่อว่า ต้น Patagonian Cypress โบราณที่รู้จักกันในฉายาภาษาสเปนว่า Gran Abuelo ที่แปลว่า ‘ปู่ทวด’ มีอายุมากกว่า 5 พันปี และมันอาจเป็นต้นไม้ที่มีอายุมากที่สุดบนโลกใบนี้


Patagonian Cypress รู้จักกันดีในชื่ออเมริกาใต้ในชื่อต้น Alerce เป็นไม้สนพื้นเมืองที่พบได้ในประเทศชิลีและอาร์เจนตินา พวกมันอยู่ในตระกูลเดียวกับต้นซีคัวยายักษ์และต้นเรดวูด ที่ได้ชื่อว่าเป็นต้นไม้ที่ใหญ่โตและสูงที่สุดในโลก ซึ่งสามารถสูงได้ถึง 45 เมตร


Alerce เป็นต้นไม้ที่มีอัตราการเติบโต้ที่ช้ามากและมีชีวิตอยู่ได้หลายร้อยหรือหลายพันปี แต่ตัวอย่างที่เพิ่งถูกค้นพบเมื่อเร็ว ๆ นี้ ถือว่าน่าสนใจอย่างยิ่ง เนื่องจากมันมีอายุมากกว่าต้น Alerce อื่น ๆ ที่เคยถูกค้นพบมา

ทีมนักวิจัยของชิลีได้พบต้น Alerce ต้นนี้ในอุทยานแห่งชาติ Alerce Costero โดยคาดว่ามันน่าจะมีอายุประมาณ 5,484 ปี ซึ่งมีอายุมากกว่า Methuselah แชมป์เก่าถึง 600 ปี จนทำให้มันได้รับฉายาว่า Gran Abuelo หรือที่แปลว่า ปู่ทวด


ดร.โจนาธาน บาริชิวิช นักวิทยาศาสตร์ชาวชิลีจากห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมในกรุงปารีส ได้เผยแพร่ผลการศึกษาที่ชี้ให้เห็นว่า Gran Abuelo เป็นต้นไม้ที่มีอายุมากที่สุดในโลก เขาใช้แบบจำลองคอมพิวเตอร์ร่วมกับวิธีการคำนวณอายุของต้นไม้แบบดั้งเดิม และพบว่ามันมีอายุเกือบ 5,500 ปี

ดร.โจนาธานอ้างว่า ปู่ของเขาได้ต้นพบ Gran Abuelo มาตั้งแต่ปี 1972 เขาเคยมาที่นี่ตอนเป็นเด็กและรู้สึกทึ่งกับต้นไม้นี้อยู่เสมอ


จนกระทั่งในปี 2020 เขามีโอกาสเดินทางไปยังอุทยานแห่งชาติ Alerce Costero และใช้สว่านหมุนมือเจาะเนื้อไม้เข้าไปเพื่อสำรวจโดยไม่ทำอันตรายใด ๆ กับต้นไม้นี้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากต้นไม้มีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 4 เมตร เขาจึงไม่สามารถเจาะเข้าไปถึงแกนกลางของมันได้ ซึ่งทำให้เขาไม่สามารถนับวงปีการเจริญเติบโตของมันได้อย่างถูกต้อง


ดร.โจนาธานกล่าวว่า วิธีการคำนวณอายุต้นไม้ของเขาโดยยังไม่ได้นับวงปีทั้งหมดสามารถเชื่อถือได้มากกว่า 80% ซึ่งบ่งบอกได้ว่าต้นไม้ต้นนี้มีอายุมากกว่า 5 พันปีแล้ว ถึงแม้ว่านักวิทยาศาสตร์บางส่วนจะยังไม่เชื่อในคำกล่าวอ้างนี้ แต่ผู้เชี่ยวชาญหลายคนก็เชื่อในวิธีการของเขา

เมื่อถึงตอนนี้ Gran Abuelo หรือ ปู่ทวด จะต้องพิสูจน์ด้วยวิธีการนับวงปีแบบดั้งเดิมอย่างเป็นทางการอีกครั้ง และมันอาจเอาชนะ Methuselah ต้นสนบริสเทิลโคนที่มีอายุ 4,853 ปี ที่อยู่ในแคลิฟอร์เนียได้



ที่มา : odditycentral

เคต คันนิงแฮม หญิงสาวที่แต่งงานกับต้นไม้นาน 3 ปีเพื่อช่วยชีวิตมัน และเปลี่ยนนามสกุลเป็นชื่อต้นไม้


เคต คันนิงแฮม หญิงสาวที่แต่งงานกับต้นไม้นาน 3 ปีเพื่อช่วยชีวิตมัน และเปลี่ยนนามสกุลเป็นชื่อต้นไม้

อ่านข่าวนี้แล้วก็รู้สึกว่าเป็นอะไรที่น่าชื่นชมสำหรับหญิงสาวคนนี้มากๆเลยนะครับ 


เธอยอมแต่งงานกับต้นไม้เพื่อจุดประสงค์ของเธอก็คือเพื่อไม่ให้ทางการมาตัดต้นไม้ในสวนสาธารณะแห่งหนึ่ง ก็แค่นั้นเองเธออาจจะทำอะไรที่มันแปลกแตกต่างจากคนอื่นๆ

แต่หารู้ไม่ว่าสิ่งที่เธอทำนั้นมันช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดีเลยนะครับคิดดูสิครับต้นไม้ต้นหนึ่งมีอายุมากเป็นร้อยๆปีแต่ถ้าโดนตัดมันจะตายภายในพริบตา  ควรจะเก็บและอนุรักษ์ต้นไม้เอาไว้ให้เยอะๆนะครับโลกเราจะได้น่าอยู่ยิ่งขึ้นเราก็เข้าบทความนี้กันเลยดีกว่านะครับ


ย้อนกลับไปในปี 2019 เคต คันนิงแฮม หญิงสาวจากหมู่บ้านเซฟตัน ในย่านเมอร์ซีย์ไซด์ ของประเทศอังกฤษ ได้กลายเป็นข่าวดังมาแล้ว หลังจากที่เธอตัดสินใจแต่งงานกับต้นเอลเดอร์ที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้านที่เธออาศัยอยู่


ฟังดูเหมือนเรื่องประหลาด แต่จุดประสงค์ที่แท้จริงของคุณแม่ลูก 1 ที่ทำงานด้านสิ่งแวดล้อมก็คือ เธอต้องการต่อต้านแผนการสร้างถนนตัดผ่านสวนสาธารณะท้องถิ่นที่ต้นไม้ต้นนี้ตั้งอยู่ และหวังว่าเธอจะรักษาชีวิตของต้นไม้ทั้งหมดในบริเวณนี้ได้


เคตผู้รักต้นไม้รู้สึกผูกพันกับธรรมชาติมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นเอลเดอร์เก่าแก่ที่อยู่ในสวนสาธารณะแห่งนี้

เธอถูกดึงดูดด้วยสีอ่อน ๆ ของเปลือกไม้ และขนาดที่ใหญ่โตของมัน ต้นเอลเดอร์ต้นนี้โดดเด่นกว่าต้นโอ๊กสีเข้มในสวน

การแต่งงานของเธอกับต้นเอลเดอร์เกิดขึ้นอย่างจริงจัง เคตจัดพิธีแต่งงานของเธอกับต้นไม้ เธอสวมชุดเจ้าสาวที่มาในธีมดอกไม้และใบไม้ นอกจากนั้นเธอยังเปลี่ยนนามสกุลของตัวเองเป็น “เอลเดอร์” เพื่อให้เข้ากับต้นไม้ที่เป็นสามีของเธออีกด้วย


“ผู้คนยังคงถามคำถามและไม่แน่ใจถึงแรงจูงใจในการแต่งงานครั้งนี้” เคตกล่าว

“ฉันมักถูกถามว่า การแต่งงานได้เปลี่ยนชีวิตคุณให้ดีขึ้นหรือเปล่า … ใช่ แน่นอน”


“คุณรักต้นไม้ใช่ไหม … ใช่ฉันรัก” เคตกล่าว เธอบอกว่าเธอชื่นชอบให้ผู้คนถามเธอเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพราะมันจะทำให้พวกเขาได้รับรู้เรื่องราวที่เกิดขึ้นว่าเธอทำไปเพราะอะไร


ในขณะที่ครอบครัวของเคตรวมถึงแฟนหนุ่มของเธอสนับสนุนการแต่งงานของเธออย่างเต็มที่ เนื่องจากพวกเขาเข้าใจดีว่าเคตเป็นคนที่ผูกพันกับธรรมชาติอย่างลึกซึ้งเสมอมา

สำหรับเคต ต้นไม้ก็เปรียบเหมือนผู้คน พวกมันมีพลังงานและสามารถสร้างความผูกพันกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้


แต่ชีวิตคู่ของเคตอาจซับซ้อนสักเล็กน้อย เนื่องจากเธอมีสามีเป็นต้นไม้ที่ไปมาหาสู่กัน 5 วันต่อสัปดาห์ และเธอก็มีแฟนที่อาศัยอยู่กับเธออย่างจริงจัง แต่เขาก็สนับสนุนทางเลือกของเธออยู่เสมอ

ส่วนการแต่งงานทำให้เคตได้รับความเชื่อมั่นที่นำเธอไปสู่การเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อมต่อไป การแต่งงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์เพื่อช่วยไม่ให้สวนสาธารณะริมโรสวัลเลย์ ถูกเปลี่ยนเป็นเส้นทางเลี่ยงทางหลวงของเมือง

แน่นอนว่าถนนเส้นนี้จะกวาดล้างพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ รวมถึงการสร้างมลพิษที่จะเกิดขึ้นท่ามกลางธรรมชาติที่สวยงามได้


ปัจจุบัน เคตกำลังเตรียมฉลองคริสต์มาสกับต้นเอลเดอร์เป็นปีที่ 3 และเธอจะใช้เวลาช่วงบ็อกซิ่งเดย์กับสามีของเธออีกครั้ง ในขณะที่ปล่อยให้ครอบครัวของเธออยู่ที่บ้านในเมอร์ซีไซด์เหมือนเช่นเคย

สุดท้ายขอชื่นชมคุณผู้หญิงคนนี้เธอเป็นสุดยอดนักอนุรักษ์ธรรมชาติตัวจริงเลยนะครับทุ่มเทความคิดสร้างสรรค์ถึงกับยอมแต่งงานกับต้นไม้เพื่อรักษาต้นไม้เอาไว้แถมยังเปลี่ยนนามสกุลเป็นชื่อต้นไม้อีกด้วยนะครับเยี่ยมจริงๆ

รายการบล็อกของฉัน