ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2564

“ต้นคีไย” ในชิลี ความหวังใหม่สำหรับการผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19

“ต้นคีไย” ในชิลี ความหวังใหม่สำหรับการผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19

ที่ฟาร์มแห่งหนึ่งในประเทศชิลีซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตไวน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านป่าไม้กำลังดูแลสวนกล้าไม้ที่เปลือกไม้มีศักยภาพในการผลิตวัคซีน

ต้นคีไย (Quillay) หรือที่รู้จักกันในชื่อทางวิชาการว่า Quillaja saponaria เป็นพันธ์พืชป่าหายากที่เติบโตได้ตลอดปีและมีถิ่นกำเนิดอยู่ในชิลีที่ชนเผ่ามาปูเช (Mapuche) ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองใช้กันมานานในการทำสบู่และยารักษาโรคต่างๆ แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ต้นไม้เหล่านี้ยังถูกนำไปใช้เพื่อผลิตวัคซีนป้องกันโรคงูสวัดและวัคซีนมาลาเรียชนิดแรกของโลกที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง ตลอดจนใช้เป็นสารที่ทำให้เกิดฟองสำหรับผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม และใช้ในกิจการเหมืองแร่อีกด้วย

ตอนนี้โมเลกุลซาโปนิน (saponin) สองตัวจากเปลือกของกิ่งไม้ซึ่งตอนมาจากต้นไม้เก่าแก่ในป่าของชิลีถูกใช้ในการผลิตวัคซีนโควิด-19 ที่พัฒนาโดยบริษัทผู้ผลิตยา Novavax Inc สารเคมีดังกล่าวถูกใช้เป็นสารช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน

ในอีกสองปีข้างหน้าบริษัท Novavax ซึ่งตั้งอยู่ในรัฐแมรี่แลนด์ มีแผนจะผลิตวัคซีนหลายพันล้านโดส โดยส่วนใหญ่จะผลิตให้ประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง ซึ่งจะทำให้ Novavax เป็นหนึ่งในผู้ผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 รายใหญ่ที่สุดในโลก

เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับจำนวนต้นคีไยที่แข็งแรงที่เหลืออยู่ในชิลี ผู้เชี่ยวชาญและเจ้าหน้าที่ในวงการอุตสาหกรรมจึงมีความคิดที่แตกต่างกันในเรื่องของต้นไม้เก่าแก่นี้ที่อาจจะหมดลงอย่างรวดเร็วเนื่องจากความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น แต่เกือบทุกคนเห็นพ้องต้องกันว่า อุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพาสารสกัดจากต้นคีไยนี้ อาจจะต้องเปลี่ยนไปใช้ต้นไม้ที่ปลูกในสวนป่าเพื่อการค้าหรือปลูกในห้องทดลองแทน

การวิเคราะห์ของรอยเตอร์เกี่ยวกับข้อมูลการส่งออกจากผู้ให้บริการข้อมูลการค้า ImportGenius แสดงว่าซัพพลายของต้นไม้ที่มีอายุมากนี้อยู่ใต้แรงกดดันที่เพิ่มมากขึ้น โดยการส่งออกผลิตภัณฑ์คีไยเพิ่มขึ้นกว่าสามเท่าตัวเป็นปีละ 3,600 ตันในช่วงทศวรรษก่อนการเกิดโรคระบาดใหญ่

Ricardo San Martin ผู้พัฒนากระบวนการตัดแต่งกิ่งและการสกัดที่นำไปสู่อุตสาหกรรมจากต้นคีไยในยุคใหม่กล่าวว่า ผู้ผลิตต้องดำเนินการหาผลิตภัณฑ์คีไยจากต้นไม้ที่อายุน้อยกว่าซึ่งปลูกเพื่อการค้าโดยไม่รอช้า

San Martin กล่าวว่าเขาได้ทำงานหนักในช่วงที่เกิดการระบาดของโควิด-19 ที่ห้องใต้ดินในบ้านพักริมทะเลของเขาที่เมือง Sea Ranch รัฐ California เพื่อปรับแต่งกระบวนการที่สามารถช่วยผลิตซาโปนินจากใบและกิ่งไม้เพื่อเพิ่มผลผลิตให้ได้มากที่สุด และเขาได้สนับสนุนโครงการเพื่อส่งโดรนขึ้นบินสำรวจต้นคีไยในพื้นที่ป่าซึ่งห่างไกลและยากต่อการเข้าถึงเพื่อประมาณจำนวนต้นคีไยที่ยังเหลืออยู่ในป่าของชิลีด้วย

บริษัท Novavax กล่าวในแถลงการณ์ถึงรอยเตอร์ว่า ทางบริษัทยังคงติดตามสถานการณ์ในชิลีด้วยความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับบรรดาซัพพลายเออร์ แต่ในขณะนี้บริษัทยังมั่นใจในจำนวนต้นไม้ที่มีอยู่ และยังมั่นใจด้วยว่าจะจัดลำดับความสำคัญสำหรับวัคซีนเพื่อช่วยชีวิตนี้

Andres Gonzalez ผู้จัดการของบริษัทในชิลีบอกกับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า ทางบริษัทเตรียมผลิตสารสกัดคีไยจากต้นไม้ที่มีอายุมากพอเพื่อผลิตวัคซีนได้ถึง 4,400 ล้านโดสในปีค.ศ. 2022 นี้ และด้วยซัพพลายเพิ่มเติมจากป่าของภาคเอกชน ก็คาดได้ว่าจะมีวัตถุดิบเพียงพอต่อความต้องการสำหรับการผลิตวัคซีนในช่วงที่เหลือของปีนี้และในส่วนหนึ่งของปีหน้า

แม้ว่าการผลิตวัคซีนต้องใช้สารสกัดจากต้นคีไยในปริมาณเพียงเล็กน้อย คือเพียงไม่ถึงหนึ่งมิลลิกรัมต่อวัคซีนหนึ่งโดสก็ตาม แต่อุตสาหกรรมยาก็ต้องแข่งขันกับอุตสาหกรรมด้านอื่นเช่นกัน เพราะมีการใช้สารสกัดจากต้นคีไยในอาหารสัตว์ ในยาฆ่าแมลงแบบชีวภาพ รวมทั้งเพื่อเป็นสารลดมลภาวะในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ด้วย

และถึงแม้ต้นคีไยสามารถเติบโตได้นอกประเทศชิลีก็ตาม แต่ชิลีเป็นเพียงประเทศเดียวที่มีการนำสารสกัดจากต้นคีไยซึ่งโตเต็มที่ในป่ามาใช้ประโยชน์ได้ในปริมาณมากๆ

วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2564

Dieffenbachia หรือสาวน้อยปะแป้ง


Dieffenbachia หรือสาวน้อยปะแป้ง ถือว่าเป็นต้นไม้ที่มีความสวยงาม ต้นใหญ่ ใบสวย เมื่อนำมาแต่งบ้าน ก็ทำให้บ้านดูดี 

แต่ต้นไม้ชนิดนี้หากนำมาไว้ภายในบ้านก็ต้องระวังเช่นกัน เพราะเป็นอันตรายต่อเด็ก และสัตว์เลี้ยง 

ทั้งใบ ลำต้น และรากของมันมีพิษตามธรรมชาติเซลล์ของต้นไม้นี้มี Calcium oxalate และ Asparagine หากนำใบของมันมาเคี้ยวจะก่อให้เกิดอาการชา เกิดความระคายเคืองในปาก น้ำลายไหล บวม 

ในกรณีที่อาการหนักทำให้เกิดอาการบวมและหายใจลำบาก

Philodendron หรือ ฟิโลเดนดรอน นับว่าเป็นต้นไม้ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะเป็นไม้ที่ปลูกง่าย


Philodendron หรือ ฟิโลเดนดรอน นับว่าเป็นต้นไม้ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะเป็นไม้ที่ปลูกง่าย ไม่ต้องการการดูแลมากนัก แต่ต้นไม้ชนิดนี้มี Calcium oxalate เรียกว่า Raphite ซึ่งมีองค์ประกอบที่เป็นพิษ แม้ว่าจะมีผลเพียงเล็กน้อยต่อมนุษย์ 

แต่ก็อาจจะก่อให้เกิดอันตรายได้เช่นกัน อย่างในกรณีของคนที่แพ้ง่าย แค่ไปสัมผัสเนื้อเยื่อก็อาจจะทำให้ผิวหนังเกิดความระคายเคือง มีรอยไหม้ เกิดอาการบวมแดงที่ปากและลิ้นได้ Calcium oxalate นี้ เป็นพิษต่อสัตว์เลี้ยงอย่างสุนัขและแมว หากไปกัดแทะก็จะมีปัญหากับระบบการย่อยอาหาร 

อาจมีน้ำลายไหล ลิ้นบวม อาเจียน หายใจและกลืนลำบากด้วย หากคุณมีต้นไม้ชนิดนี้ในบ้าน และสังเกตเห็นว่าสัตว์เลี้ยงเคยมีอาการดังกล่าว ก็ควรจะนำต้นไม้ออกไปไว้ที่อื่น เช่น ไว้ในที่สูง ที่เด็ก และสัตว์เลี้ยงขึ้นไปไม่ได้

ต้นไม้อะไรเหมือนนกฮูก พบเฉพาะดอยหัวหมด เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง


พิศวงไทยทอง ต้นไม้อะไรเหมือนนกฮูก พบเฉพาะดอยหัวหมด เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง

วันที่ 13 ตุลาคม เฟชบุ๊ก ประชาสัมพันธ์กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เผยแพร่บทความจาก สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช เรื่อง “พิศวงไทยทอง” พรรณไม้ชนิดใหม่ของโลก โดยระบุว่า ไม้ชนิดนี้ ถูกพบครั้งแรกโดย ดร.กนกอร สีม่วง นักวิจัยมหาวิทยาลัยพะเยา ซึ่งร่วมกับ นายสุชาติ จันทร์หอมหวล ช่างภาพอิสระ ต่อมารองศาสตราจารย์ ดร.สหัช จันทนาอรพินท์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และดร. สมราน สุดดี นักวิจัยกลุ่มงานพฤกษศาสตร์ป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ร่วมกันตีพิมพ์เป็นพันธุ์ไม้ชนิดใหม่ของโลก ลงในวารสาร Phytotaxa เล่มที่ 333(2) หน้า 287

สำหรับคำระบุชนิด “thaithonggiana” ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่นัก รองศาสตราจารย์ ดร.อบฉันท์ ไทยทอง อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งปูชนียบุคคลของวงการพรรณไม้ของไทยตัวอย่างพรรณไม้ต้นแบบ เก็บจากดอยหัวหมด จังหวัดตาก เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2557

ทั้งนี้ ดร.กนกอร ศรีม่วง นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยพะเยา ผู้ค้นพบ ได้ให้ข้อมูลไว้เมื่อตอนค้นพบว่า ตอนแรกยังไม่ทราบว่าเป็นพืชชนิดใด จึงเก็บตัวอย่างและบันทึกภาพ ส่งให้ รศ.ดร.สหัช จันทนาอรพินท์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตรวจสอบ จนกระทั่งทราบว่าเป็นพืชชนิดใหม่ของไทย “พิศวงตานกฮูก” ที่มีชื่อสามัญเรียกว่า “พิศวงไทยทอง” และชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Thismia thaithongiana ซึ่งพิศวงไทยทองนี้เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็กเท่าหัวไม้ขีด ที่จะออกดอกในช่วงปลายฝนเท่านั้น

พืชชนิดนี้เป็นพืชที่มีความสัมพันธ์กับเชื้อราในดิน และมีระบบนิเวศหรือการดำรงชีวิตอย่างสลับซับซ้อนกับพืชชนิดอื่นๆ ซึ่งแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ หรือความสมดุลของป่าแห่งนี้ ซึ่งในอนาคตจะได้มีศึกษานิเวศวิทยาของพืชชนิดนี้ว่ามีความเกี่ยวข้องหรือมีความสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ อย่างไร รวมไปถึงพิศวงตัวอื่นๆ ในสกุลนี้ด้วย ซึ่งความสัมพันธ์กับพืชชนิดอื่นอาจจะซ่อนอยู่ในพืชชนิดนี้ ที่ยังคงทำให้เราแปลกใจ ประหลาดใจ และเป็นปริศนาสมดังชื่อประจำสกุล “พิศวง”

สำหรับพิศวงไทยทอง หรือพิศวงตานกฮูก เป็นพันธุ์ไม้ถิ่นเดียวของไทย พบเฉพาะที่ดอยหัวหมด ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง จังหวัดตาก ขึ้นในป่าเต็งรังบนเขาหินปูนมีสถานภาพเป็นพันธุ์ไม้ที่ใกล้สูญพันธุ์ เป็นพืชล้มลุกอาศัยรา ลำต้นตั้งตรง สูงน้อยกว่า 2 มม.เรียกได้ว่ามีขนาดเล็กเท่าหัวไม้ขีดเพียงเท่านั้น

รายการบล็อกของฉัน