ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2565

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศโลก…ช่วยให้พืชผลมีขนาดใหญ่ขึ้น จริงหรือ?


ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศโลก…ช่วยให้พืชผลมีขนาดใหญ่ขึ้น จริงหรือ?

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยออกมาพร้อมไอเสียจากรถยนต์และโรงงานอุตสากรรม คือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ เกิดภาวะโลกร้อน แต่ในขณะเดียวกันนักวิทยาศาสตร์ก็มีสมมติฐานมานานแล้วว่า ปริมาณก๊าซคาร์บอน ไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศโลกยิ่งมากก็จะยิ่งช่วยให้พืชผลที่ปลูกมีขนาดใหญ่ขึ้น และให้ผลผลิตมากขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม รายงานล่าสุดระบุว่าสมมติฐานดังกล่าวอาจ ผิดพลาดได้

รายงานการวิจัยของ American Economic Review สรุปว่าปริมาณก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมากในชั้น บรรยากาศโลกจะทำให้ภาคการเกษตรสหรัฐ มีผลกำไรเพิ่มขึ้นรวมแล้วกว่าพันล้านดอลล่าร์ในช่วงศตวรรษหน้า สมมุติฐานดังกล่าว เกิดจากการทดลองโดยมีการควบคุมตัวแปรต่างๆไว้นะครับ อย่างไรก็ตาม งานวิจัย ล่าสุดของคุณสตีฟ ลอง นักชีววิทยาที่มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ วิทยาเขตแชมเปญ-เออร์บาน่าภายใต้โครงการที่ชื่อ SoyFACE ปรากฎผลที่สร้างความประหลาดใจแก่นัก วิทยาศาสตร์ คุณสตีฟ ลอง ทำการทดลองภาคสนามในไร่จริงๆด้วยการปลูกพืชบน พื้นที่ที่ทำการทดลองขนาดประมาณสนามเทนนิส แล้วต่อท่อส่งก๊าซคาร์บอนได ออกไซด์เข้าไป จากนั้นใช้คอมพิวเตอร์ตรวจสอบความหนาแน่นของอากาศบริเวณ สถานที่ทดลอง

คุณสตีฟ ลองบอกว่าปัจจุบันความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้น บรรยากาศมีอยู่ประมาณ 380 ส่วนต่อล้านส่วน ในการทดลองนั้นกำหนดให้เพิ่มความ เข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จนถึงประมาณ 550 ส่วนต่อล้านส่วน ซึ่งเป็น ระดับที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจริงภายในปี ค.ศ.2050 นักชีววิทยาผู้นี้ทดลองปลูกพืชภายใต้ สิ่งแวดล้อมดังกล่าวเป็นเวลา 5 ปี ผลที่เกิดขึ้นสร้างความแปลกใจอย่างมากนะครับ คือพืชที่ปลูกมีขนาดใหญ่ขึ้นจริงและมีชีวิตยืนยาวกว่าพืชปกติ แต่กลับให้ผลผลิต น้อยกว่าที่คาดไว้ถึง 50% และศัตรูพืชยังมีจำนวนมากขึ้นด้วย

คุณสตีฟ ลอง ยกตัวอย่างด้วงญี่ปุ่นซึ่งกินใบถั่วเหลืองเป็นอาหาร มีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าภายใต้สภาพแวดล้อมจำลองของปี ค.ศ.2050 แมลงดังกล่าวมีชีวิตยืนยาวขึ้น สร้างตัวอ่อนเยอะขึ้น ผลผลิตที่เห็นว่ามีปริมาณมาก กลับลดลงเพราะถูกศัตรูพืช ที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้กัดกินหมด

หลังจากรายงานวิจัยของนักชีววิทยาแห่งมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ผู้นี้ตีพิมพ์ใน นิตยสาร Science เมื่อปีที่แล้ว ก็มีทั้งผู้เห็นด้วยและคัดค้าน นักวิทยาศาสตร์ บางคนเชื่อว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณมากเกินไปอาจส่งผลร้าย ต่อพืชผลมากกว่าจะช่วยให้ดีขึ้น เพราะวัชพืชจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น

คุณ Jeff Amthor จนท.กระทรวงพลังงานสหรัฐ ผู้ร่วมเขียนรายงานทีตั้งข้อ สงสัยต่อการทดลองที่ว่านี้ บอกว่ายังต้อง มีการวิจัยเพิ่มเติมภายใต้สภาพแวดล้อมจริง และเตือนว่าปัญหาสำคัญ ที่เป็นผลมาจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นก็คือ ปริมาณอาหารที่ไม่เพียงพอสำหรับประชากรโลกในอนาคต รายงานเรื่องนี้ มาจากองค์กร Field Note Production และรายงานสิ่งแวดล้อมมาจาก Michigan Radio ด้วยการสนับสนุนจาก มูลนิธิ Joyce มูลนิธิ George Gund และฝ่ายความ ร่วมมือของกระทรวงเกษตรสหรัฐ คุณผู้ฟังสามารถหาข้อมูล

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศโลก…ช่วยให้พืชผลมีขนาดใหญ่ขึ้น จริงหรือ?


ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศโลก…ช่วยให้พืชผลมีขนาดใหญ่ขึ้น จริงหรือ?

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยออกมาพร้อมไอเสียจากรถยนต์และโรงงานอุตสากรรม คือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ เกิดภาวะโลกร้อน แต่ในขณะเดียวกันนักวิทยาศาสตร์ก็มีสมมติฐานมานานแล้วว่า ปริมาณก๊าซคาร์บอน ไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศโลกยิ่งมากก็จะยิ่งช่วยให้พืชผลที่ปลูกมีขนาดใหญ่ขึ้น และให้ผลผลิตมากขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม รายงานล่าสุดระบุว่าสมมติฐานดังกล่าวอาจ ผิดพลาดได้

รายงานการวิจัยของ American Economic Review สรุปว่าปริมาณก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมากในชั้น บรรยากาศโลกจะทำให้ภาคการเกษตรสหรัฐ มีผลกำไรเพิ่มขึ้นรวมแล้วกว่าพันล้านดอลล่าร์ในช่วงศตวรรษหน้า สมมุติฐานดังกล่าว เกิดจากการทดลองโดยมีการควบคุมตัวแปรต่างๆไว้นะครับ อย่างไรก็ตาม งานวิจัย ล่าสุดของคุณสตีฟ ลอง นักชีววิทยาที่มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ วิทยาเขตแชมเปญ-เออร์บาน่าภายใต้โครงการที่ชื่อ SoyFACE ปรากฎผลที่สร้างความประหลาดใจแก่นัก วิทยาศาสตร์ คุณสตีฟ ลอง ทำการทดลองภาคสนามในไร่จริงๆด้วยการปลูกพืชบน พื้นที่ที่ทำการทดลองขนาดประมาณสนามเทนนิส แล้วต่อท่อส่งก๊าซคาร์บอนได ออกไซด์เข้าไป จากนั้นใช้คอมพิวเตอร์ตรวจสอบความหนาแน่นของอากาศบริเวณ สถานที่ทดลอง

คุณสตีฟ ลองบอกว่าปัจจุบันความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้น บรรยากาศมีอยู่ประมาณ 380 ส่วนต่อล้านส่วน ในการทดลองนั้นกำหนดให้เพิ่มความ เข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จนถึงประมาณ 550 ส่วนต่อล้านส่วน ซึ่งเป็น ระดับที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจริงภายในปี ค.ศ.2050 นักชีววิทยาผู้นี้ทดลองปลูกพืชภายใต้ สิ่งแวดล้อมดังกล่าวเป็นเวลา 5 ปี ผลที่เกิดขึ้นสร้างความแปลกใจอย่างมากนะครับ คือพืชที่ปลูกมีขนาดใหญ่ขึ้นจริงและมีชีวิตยืนยาวกว่าพืชปกติ แต่กลับให้ผลผลิต น้อยกว่าที่คาดไว้ถึง 50% และศัตรูพืชยังมีจำนวนมากขึ้นด้วย

คุณสตีฟ ลอง ยกตัวอย่างด้วงญี่ปุ่นซึ่งกินใบถั่วเหลืองเป็นอาหาร มีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าภายใต้สภาพแวดล้อมจำลองของปี ค.ศ.2050 แมลงดังกล่าวมีชีวิตยืนยาวขึ้น สร้างตัวอ่อนเยอะขึ้น ผลผลิตที่เห็นว่ามีปริมาณมาก กลับลดลงเพราะถูกศัตรูพืช ที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้กัดกินหมด

หลังจากรายงานวิจัยของนักชีววิทยาแห่งมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ผู้นี้ตีพิมพ์ใน นิตยสาร Science เมื่อปีที่แล้ว ก็มีทั้งผู้เห็นด้วยและคัดค้าน นักวิทยาศาสตร์ บางคนเชื่อว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณมากเกินไปอาจส่งผลร้าย ต่อพืชผลมากกว่าจะช่วยให้ดีขึ้น เพราะวัชพืชจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น

คุณ Jeff Amthor จนท.กระทรวงพลังงานสหรัฐ ผู้ร่วมเขียนรายงานทีตั้งข้อ สงสัยต่อการทดลองที่ว่านี้ บอกว่ายังต้อง มีการวิจัยเพิ่มเติมภายใต้สภาพแวดล้อมจริง และเตือนว่าปัญหาสำคัญ ที่เป็นผลมาจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นก็คือ ปริมาณอาหารที่ไม่เพียงพอสำหรับประชากรโลกในอนาคต รายงานเรื่องนี้ มาจากองค์กร Field Note Production และรายงานสิ่งแวดล้อมมาจาก Michigan Radio ด้วยการสนับสนุนจาก มูลนิธิ Joyce มูลนิธิ George Gund และฝ่ายความ ร่วมมือของกระทรวงเกษตรสหรัฐ คุณผู้ฟังสามารถหาข้อมูล

รายการบล็อกของฉัน