ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2565

ค้นพบ กล้วยไม้หายากสายพันธุ์ใหม่ 3 สายพันธุ์ถูกค้นพบในเทือกเขา Ecuadoran Andes

ค้นพบ กล้วยไม้หายากสายพันธุ์ใหม่ 3 สายพันธุ์ถูกค้นพบในเทือกเขา Ecuadoran Andes

เอกวาดอร์ (Ecuador) เป็นหนึ่งในประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพที่ซ่อนไว้อีกมากมายเพื่อรอการสำรวจ สำหรับขนาดของมัน เอกวาดอร์มีความหลากหลายทางชีวภาพที่น่าประทับใจ โดยเป็นแหล่งรวมของชนิดพันธุ์และระบบนิเวศที่มีเอกลักษณ์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพันธุ์เฉพาะถิ่นหรือถูกคุกคาม เนื่องจากความหลากหลายทางชีวภาพที่ยิ่งใหญ่นี้ แม้ไม่ค่อยมีใครทราบเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้จริงๆ แต่การศึกษาส่วนใหญ่ยังคงเน้นไปที่การบันทึกความสมบูรณ์ของสายพันธุ์

นี่คือเหตุผลที่ในปี 2017 Dr. Catherine H. Graham จากสถาบันวิจัยป่าไม้ หิมะ และภูมิทัศน์แห่งสหพันธรัฐสวิส (Swiss Federal Institute for Forest, Snow and Landscape Research / WSL) ได้รับการสนับสนุนจากสภาวิจัยแห่งยุโรป (European Research Council) และองค์กรคุ้มครองสัตว์ Aves y Conservation ของ NGO ในท้องถิ่น ริเริ่มโครงการที่มีความทะเยอทะยานทางตะวันตกเฉียงเหนือของเทือกเขา Andes ในเอกวาดอร์ เพื่อศึกษานิเวศวิทยาของปฏิสัมพันธ์ระหว่างพืชกับนก hummingbird ตามแนวลาดชันและพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน

ด้วยเหตุนี้ นักวิจัยจึงได้สร้าง 18 ภาพตัดขวางในพื้นที่ของป่าเมฆที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างดีนี้ รวมทั้งไซต์ต่างๆ ที่มีระดับความสูง และระดับการรบกวนที่แตกต่างกัน โดยเดินทางเข้าไปทุกเดือนเพื่อนับดอกไม้ที่ดึงดูดนก hummingbird และวางกล้อง time-lapse ไว้ในพืชดอกเหล่านั้น ในระหว่างการศึกษา
ทางพฤกษศาสตร์อย่างเข้มข้นดังกล่าว มากกว่า 400 สายพันธุ์พืชถูกบันทึกไว้โดยการสำรวจและกล้อง รวมทั้งกล้วยไม้พันธุ์ใหม่ 3 สายพันธุ์



ถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติของ L.microprosartima บนเนินเขาด้านตะวันตกของภูเขาไฟ Pichincha

(A) เขตสงวน Yanacocha และ (B) เขตสงวน Verdecocha Cr.ภาพ Suarez et al 2021

กล้วยไม้พันธุ์ใหม่ทั้งสามสายพันธุ์ได้รับการอธิบายไว้ในวารสารพฤกษศาสตร์ออนไลน์ PhytoKeys ฉบับปรับปรุงใหม่เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2021 ระบุว่าเป็นกล้วยไม้ในสกุลใหญ่ Lepanthes ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความหลากหลายอย่างยิ่งประมาณ 1,100 สายพันธุ์ สายพันธุ์ใหม่นี้ถูกบันทึกไว้ในป่าดิบเขา ป่าดิบชื้น และในระบบนิเวศ Páramo Andino ในเทือกเขา Andes การค้นพบเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยต่างๆ 3 โครงการที่ดำเนินการในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ระหว่างปี 2016 - 2021 โดยชื่อที่กำหนดสำหรับ Lepanthes ใหม่ ได้แก่ oro-lojaensis, microprosartima

และ caranqui Lepanthes นั้นเป็นกล้วยไม้สกุลใหญ่ที่กระจายอยู่ใน Neotropics (หนึ่งในแปดอาณาจักรทางชีวภูมิศาสตร์ที่ประกอบเป็นพื้นผิวโลก) ตั้งแต่กลุ่มเกาะ Antilles เม็กซิโกตอนใต้ เทือกเขา Andes ทางใต้ไปจนถึงโบลิเวีย โดยมีเพียงไม่กี่สายพันธุ์ที่รู้จักในบราซิล ในขณะที่จำนวนสปีชีส์ที่ใหญ่ที่สุดกระจุกตัวอยู่ในเทือกเขา Andes ของโคลัมเบีย เอกวาดอร์ และเปรู แต่ส่วนหนึ่งที่สำคัญยังกระจายอยู่ในคอสตาริกาและปานามาด้วย

ในเอกวาดอร์ Lepanthes มีประมาณ 350 สปีชีส์ โดย 240 สายพันธุ์ถูกจัดว่าเป็นพืชเฉพาะถิ่น อย่างไรก็ตาม ความสมบูรณ์ของพวกมันยังห่างไกลจากการถูกค้นพบอย่างเต็มที่ เนื่องจากมีการค้นพบและอธิบายสายพันธุ์ใหม่ของพวกมันจากการสำรวจป่าอย่างต่อเนื่องตลอดมา และล่าสุดโดย Dr.Graham

L.microprosartima ขนาด 13 ซม. (5 นิ้ว) ภาพโดย Diego Francisco Tobar Suàrez

หนึ่งในกล้วยไม้สายพันธุ์ใหม่เรียกว่า Lepanthes microprosartima ถูกพบบนเนินเขาด้านตะวันตกของภูเขาไฟ Pichincha ทางตอนเหนือของเอกวาดอร์ มีถิ่นกำเนิดในเขตสงวน Yanacocha และ Verdecocha ซึ่งเติบโตที่ระดับความสูง 3200 - 3800 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ในป่าดิบเขียวชอุ่ม ที่มีร่มเงา
กว่าสามปีของการตรวจสอบพบว่า L. microprosartimaเพียง 40 ต้นเท่านั้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นสายพันธุ์ที่หายาก และเนื่องจากพบได้ในพื้นที่เล็กๆ เท่านั้น ดังนั้น สายพันธุ์นี้จึงได้รับการประเมินในเบื้องต้นว่าใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่งตามเกณฑ์ของ IUCN Red List

ภายในโครงการตรวจสอบพืช - นกเดียวกัน ยังพบกล้วยไม้ชนิดใหม่อีกชนิดหนึ่งคือ Lepanthes caranqui ใน Pichincha ตะวันออก ช่วงเวลาเดียวกัน กลุ่มวิจัยอื่นจากมหาวิทยาลัย Pontifical Catholic University of Ecuador ก็พบสายพันธุ์นี้ในเมือง Imbabura ขณะที่ใน Pichincha มันเติบโตในป่าดิบเขาที่เขียวชอุ่มตลอดปี แต่ที่พบใน Imbabura มันเจริญเติบโตในพุ่มไม้ paramo กลุ่มเล็กๆ ริมถนน ซึ่งทั้งสองที่นี้ ส่วนใหญ่จะเติบโตบนลำต้นหรือกิ่งของต้นไม้

กล้วยไม้ดอกสีเหลืองและสีแดงอันสง่างามนี้ ได้รับการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่วัฒนธรรม Caranqui ที่เคยอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่พืชเจริญเติบโตในปัจจุบัน เนื่องจากพบพืชที่โตเต็มที่มากกว่า 500 ชนิด นักวิทยาศาสตร์จึงให้พืชชนิดนี้อยู่ในหมวด IUCN Red List ที่มีความกังวลน้อยที่สุด

L.caranqui ดอกมีขนาดเล็กมากเพียง 8 มิลลิเมตร Cr.ภาพ Diego Francisco Tobar Suàrez

แต่ความมหัศจรรย์ของความหลากหลายทางชีวภาพของเอกวาดอร์ไม่ได้หยุดเพียงแค่นั้น โครงการวิจัยของสถาบันความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติของเอกวาดอร์พบสายพันธุ์ใหม่อีกชนิดที่ให้ชื่อว่า Lepanthes oro-lojaensis มีขนาดเล็กแค่ 3 ซม. ทางตะวันตกเฉียงใต้ของ El Oro ซึ่งที่มาของชื่อมาจากที่ L.oro-lojaensis ถูกค้นพบที่พรมแดนระหว่างจังหวัด El Oro และ Loja

เนื่องจาก L.oro-lojaensis ถูกพบจากท้องถิ่นแห่งเดียวเท่านั้น แต่การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากการเลี้ยงปศุสัตว์ การกระจายตัวของภูมิประเทศที่เกิดจากไฟไหม้ และการเพาะปลูกของชนิดพันธุ์ต่างถิ่น ทำให้นักวิจัยเชื่อว่าควรได้รับการระบุสายพันธุ์นี้ว่า " ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง " ตามเกณฑ์ของ IUCN


สำหรับภูเขาไฟ Pichincha หรือที่รู้จักในภาษาสเปนว่า Rucu Pichincha นั้น แม้ว่าจะยังคงเป็นภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่นอยู่ แต่ก็เป็นเส้นทางปีนเขาที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ด้วยความสูงที่ 4,784 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล (15,695 ฟุต) ซึ่งเหมาะสำหรับการเดินป่าและชมวิวที่สวยงาม หรือจะปั่นจักรยานตามเส้นทางคดเคี้ยวลาดชันรอบปากปล่องก็ได้

Pichincha มีภูเขาไฟ 2 ยอดที่ยังคุกรุ่น ยอดหนึ่งของภูเขาไฟชื่อ Guagua แปลว่า “เด็ก” อีกยอดชื่อว่า Ruku หมายถึง “คนแก่” ซึ่งเป็นคำในภาษาเกชัว
วิวอันงดงามจากยอดเขาสามารถมองเห็นยอดเขาอื่นในเทือกเขาแอนดีส ภูเขาไฟนี้ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำหรับหลายวัฒนธรรมของชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคนี้เป็นเวลาหลายพันปีก่อนที่จะพบกับชาวสเปนและชาวยุโรปอื่นๆ

Lepanthes oro-lojaensis เติบโตในที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ 

เทือกเขา Andes นั้นเป็นเทือกเขาที่ยาวที่สุดในโลกทางด้านตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ ที่มีรูปแบบเขาสูงอย่างต่อเนื่อง เทือกเขามีความสูงเฉลี่ยประมาณ 13,000 ฟุต มีความยาวประมาณ 4,300 ไมล์ และกว้างระหว่าง 120 ถึง 430 ไมล์ เทือกเขาแบ่งออกเป็นหลายช่วงตามความกดอากาศ โดยเทือกเขาถูกแบ่งออกเป็นสามกลุ่ม (Wet Andes, Dry Andes และ Tropical Andes) ตามสภาพอากาศ และยังเป็นเทือกเขาที่สูงที่สุดในโลกที่ตั้งอยู่นอกเอเชีย
Andes เป็นพื้นที่ที่สำคัญที่สุดในโลกสำหรับสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำซึ่งมีประมาณ 1,000 สปีชีส์ โดยเป็นสปีชีส์ปลาประมาณ 400 ชนิด สปีชีส์เลี้ยงลูกด้วยนม 600 ชนิด สปีชีส์สัตว์เลื้อยคลาน 600 ชนิด และสปีชีส์นก 1,700 ชนิด รวมทั้งอีก 4 สายพันธุ์ของนก Toucan ภูเขา กว่าสองในสามของสัตว์ทุกชนิดในเทือกเขา Andes เป็นสัตว์เฉพาะถิ่นในภูมิภาค

เนื่องจาก Andes ตัดผ่านพื้นที่ดอกไม้และธรรมชาติจำนวนมากจากการขยายผ่านเจ็ดประเทศ ทำให้มีกลุ่มพันธุ์พืชขนาดใหญ่ที่เรียกว่า Tracheophyta มากกว่าสามหมื่นชนิด และครึ่งหนึ่งเป็นพืชเฉพาะถิ่นของเทือกเขา Andes โดยเฉพาะ Cinchona pubescens (พืชสมุนไพรในการผลิตยาควินิน) ที่พบได้ทั่วไปบนเทือกเขา รวมทั้งป่า polylepis (ป่าที่มีสีสันสดใสมาก) ที่อยู่สูงในเขตแอนเดียนของชิลี โบลิเวีย โคลอมเบีย เปรู และเอกวาดอร์

นกทูแคนภูเขา plate-billed หนึ่งในสี่สายพันธุ์ที่เหลืออยู่ของนกทูแคนที่พบในเทือกเขาแอนดีสในปัจจุบัน

นกทูแคนภูเขา plate-billed หนึ่งในสี่สายพันธุ์ที่เหลืออยู่ของนกทูแคนที่พบในเทือกเขาแอนดีสในปัจจุบัน

ทือกเขา Andes ตามแนวชายแดนอาร์เจนตินา-ชิลี

Ecuador - Puro & new species

วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2565

Triantha occidentalis พืชกินเนื้อชนิดใหม่ที่มีเอกลักษณ์ทางพฤกษศาสตร์ในรอบ 20 ปี

Triantha occidentalis พืชกินเนื้อชนิดใหม่ที่มีเอกลักษณ์ทางพฤกษศาสตร์ในรอบ 20 ปี

(Triantha occidentalis พืชกินเนื้อชนิดใหม่ ที่มีลักษณะเด่นของวิธีดักจับเหยื่อตัวเล็กๆ บนก้านดอกได้)

การค้นพบนี้นำโดยนักพฤกษศาสตร์ Dr. Qianshi Lin และ Dr. Sean Graham ศาสตราจารย์ภาควิชาพฤกษศาสตร์จาก UBC (University of British Columbia) ซึ่งร่วมมือกับ Tom Givnish และ Cecile Ané ศาสตราจารย์ด้านพฤกษศาสตร์และด้านสถิติของ UW–Madison (University of Wisconsin-Madison) ผู้เขียนร่วม โดยผลการวิจัยของพวกเขาได้รับการตีพิมพ์ ในวารสารทางวิทยาศาสตร์ Proceedings of National Academy of Sciences (PNAS) เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2021 ที่ผ่านมา

ดอกไม้เป็นสายพันธุ์ของ Asphodels ซึ่งมีหลายชนิด เป็นดอกไม้ที่ไม่ค่อยโดดเด่นโดยผลิดอกสีขาวออกตามก้านสีเขียวเข้ม ปลูกขึ้นเพื่อความสวยงามตามแนวชายฝั่งตะวันตกของอเมริกาเหนือ แต่ Asphodels สายพันธ์ " Triantha occidentalis " ที่พบในอลาสก้าทางใต้และแคลิฟอร์เนีย มันซ่อนความลับจากเผ่าพันธุ์มนุษย์ไว้ นั่นคือ มันเป็นสัตว์กินเนื้อ มันจึงถูกเรียกว่า " false asphodel " โดยเป็นพืชกินเนื้อชนิดแรกที่ถูกค้นพบในรอบ 20 ปี

Triantha occidentalis ถูกกล่าวถึงครั้งแรกในวรรณกรรมทางวิทยาศาสตร์ในปี 1879 ก่อนหน้านี้ไม่มีใครรู้ว่ามันสามารถใช้ลำต้นเหนียวในการจับและย่อยแมลง จนเมื่อเร็ว ๆ นี้นักพฤกษศาสตร์ Lin รับรู้จาก Dr. Graham ว่า พืชที่มีโครงสร้างดักกาวเหนียวเล็ก ๆ บนก้านดอกที่ใช้เพื่อจับแมลงได้เหมือนพืชกินเนื้ออื่น ๆ

เช่น หยาดน้ำค้าง ดังนั้น ทั้งคู่จึงตัดสินใจจะค้นหาว่าดอกไม้ดอกนี้จะเป็นเช่นเดียวกันหรือไม่

นักวิจัยกล่าวว่า ผึ้ง แมลงวันขนาดใหญ่ และแมลงผสมเกสรที่สำคัญอื่นๆมีแนวโน้มว่าจะใหญ่เกินไปที่จะโดนลำต้นเหนียวของTriantha occidentalis จับได้ แต่แมลงที่ตัวเล็กกว่านั้นไม่โชคดีนัก

ทั้งนี้ มีพืชน้อยกว่า 1,000 สายพันธุ์ที่กินเนื้อเป็นอาหาร พืชเหล่านี้มักจะอาศัยอยู่ในสถานที่ที่มีแสงแดดและน้ำมาก แต่ไม่ชอบอยู่ในดินที่มีสารอาหารต่ำโดย Dr. Graham กล่าวว่า " พืชที่กินเนื้อเป็นอาหารดึงดูดผู้คนมาตั้งแต่ยุควิกตอเรีย เพราะพวกมันเปลี่ยนลำดับของชั้นที่อยู่สูงกว่าได้ นั่นคือสัตว์กินพืช ซึ่งตอนแรก เราไม่รู้ว่ามันเป็นสัตว์กินเนื้อ และไม่เคยพบสิ่งที่แปลกใหม่นี้ในเขตร้อน แต่ตอนนี้ มันอยู่ในแวนคูเวอร์ใกลๆนี้เอง "

สำหรับการศึกษานี้ นักวิจัยได้ตรวจสอบตัวอย่าง Triantha ที่เติบโตในบึงโคลนที่ขาดแคลนสารอาหาร บนภูเขา Cypress ในนอร์ทแวนคูเวอร์, บริติชโคลัมเบีย พื้นที่สว่างบนชายฝั่งตะวันตกของอเมริกาเหนือตั้งแต่แคลิฟอร์เนียไปจนถึงอลาสก้า อย่างไรก็ตาม จากการวิจัยก่อนหน้าในห้องทดลองของ Dr. Graham พบว่า Triantha ขาดยีนเฉพาะที่มักจะหายไปในพืชที่กินเนื้อเป็นอาหารอื่นๆ

เพื่อตรวจสอบว่าพืชมีส่วนในการกินแมลงหรือไม่ Dr. Lin จึงติดแมลงวันผลไม้ที่มีสารประกอบไอโซโทปไนโตรเจน -15 ไว้ที่ก้านดอก สารประกอบรังสีจะทำหน้าที่เหมือนเครื่องติดตาม

ทำให้ Dr. Lin สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงของไนโตรเจนที่พืชดูดเข้าไปได้ จากนั้น เขาก็เปรียบเทียบผลลัพธ์กับการทดลองที่คล้ายคลึงกันในสายพันธุ์อื่นที่เติบโตในพื้นที่เดียวกัน โดยเฉพาะพืชที่กินเนื้อเป็นอาหาร "หยาดน้ำค้าง" รวมถึงพืชที่ไม่กินเนื้ออีกหลายชนิด

"หยาดน้ำค้าง" (Sundews)

จากการวิเคราะห์ไอโซโทปแสดงให้เห็นการดูดซึมไนโตรเจนอย่างมีนัยสำคัญ โดยไนโตรเจนจากแมลงที่ตายแล้วเข้าสู่พืชจริงๆ และ Triantha ได้รับไนโตรเจนจากเหยื่อมากกว่าครึ่งหนึ่ง เมื่อเทียบกับหยาดน้ำค้างในแหล่งอาศัยเดียวกัน และพืชกินเนื้ออื่นๆ ในที่อื่นๆ การศึกษายังพบว่าขนเหนียวบนก้านดอกนั้นผลิตฟอสฟาเตส (phosphatase) เอนไซม์ย่อยอาหารที่พืชกินเนื้อหลายชนิดใช้เพื่อให้ได้ฟอสฟอรัสจากเหยื่อ

จากการวิจัยของ Dr. Lin แสดงให้เห็นว่า false asphodel เป็นพืชที่จับและฆ่าแมลงขนาดเล็กได้ ซึ่งข้อเท็จจริงนี้เป็นที่รู้จักมานานกว่าศตวรรษ และผลการศึกษาใหม่ที่ตีพิมพ์เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ยังพบว่า " vital nutrient " ไนโตรเจนเกือบสองในสามที่เป็นสารอาหารที่สำคัญพบได้ในใบของสัตว์เหล่านี้

Dr. Lin ซึ่งปัจจุบันเป็นนักวิจัยด้านดุษฏีบัณฑิตที่มหาวิทยาลัยโตรอนโตกล่าวว่า "พืชชนิดนี้จะทำให้สัตว์กินแมลงเป็นอาหารซึ่งค่อนข้างเจ๋ง" ทั้งยังอ้างว่า การค้นพบนี้เป็นวิวัฒนาการอิสระ (independent evolution) ครั้งที่สิบสองของลักษณะนี้ โดยก่อนการศึกษา นักวิทยาศาสตร์ทราบดีว่าสัตว์กินเนื้อมีวิวัฒนาการถึง 11 ครั้งในพืชประเภทต่างๆ

แม้ว่า นี่คือวิวัฒนาการอิสระครั้งที่ 12 ของสัตว์กินเนื้อในอาณาจักรพืช แต่เป็นครั้งแรกที่มีการค้นพบลักษณะนี้ในลำดับของ Alismatales กลุ่มของพืชที่ออกดอกในน้ำเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ ยังเป็นเพียงตัวอย่างที่ 4 ของสัตว์กินเนื้อในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มพืชดอกที่สำคัญ

สมาชิกของห้องทดลองของ Dr. Graham ที่นำมาทำการวิจัยภาคสนาม
และเปิดเผยดอกไม้ที่น่าสนใจในบึงที่ Cypress Provincial Park นอกเมืองแวนคูเวอร์ รัฐบริติชโคลัมเบีย Cr.ภาพ Qianshi Lin

ในขณะที่ Triantha สายพันธุ์อื่นๆบางชนิด รวมถึง Triantha glutinosa ในรัฐวิสคอนซิน มีขนเหนียวที่ดักจับแมลง แต่บางชนิดก็ไม่มี ซึ่งในอนาคต นักวิจัยวางแผนที่จะศึกษาสปีชีส์เพิ่มเติมเพื่อดูว่าสัตว์กินเนื้อที่แพร่หลายในสกุล Triantha เป็นอย่างไร และด้วยยีนจากพืชที่กินเนื้อเป็นอาหาร นักวิจัยตั้งเป้าที่จะปลูกพืชที่แข็งแรงขึ้นด้วย

false asphodel นั้น มีความคล้ายคลึงกันบางอย่างกับ " หยาดน้ำค้าง "

ซึ่งเป็นพืชที่มีพืชมากกว่า 150 ชนิดที่จับแมลงโดยใช้ขนที่เหนียว และมักมีสีสันสดใส ก่อนที่จะหลั่งเอนไซม์ออกมาย่อยให้สัตว์เป็นของเหลว เพื่อดูดซับทั้งตัว ดอกไม้ลุ่มเหล่านี้เป็นไม้ยืนต้นตระกูลเล็ก ๆ ที่เรียกว่า "Tofieldiaceae "ที่มีฤดูที่พืชพันธุ์เจริญงอกงามสั้นๆ โดยเริ่มเติบโตหลังจากหิมะละลายในเดือนพฤษภาคม ออกดอกในเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม และเมล็ดจะเหี่ยวเฉาไปในต้นฤดูใบไม้ร่วง

ถึง false asphodel จะพบได้ในพื้นที่ที่มีธาตุอาหารในดินไม่ดี แต่เนื่องจากว่าพวกมันได้ประโยชน์จากความสามารถย่อยแมลงได้ อย่างไรก็ตาม การสร้างโครงสร้างที่สามารถจับและกินสัตว์ได้นั้นต้องใช้พลังอย่างมาก และไม้ดอกเพียง 0.2% เท่านั้นที่มีความสามารถนี้ อีกเหตุผลหนึ่งที่พืชกินเนื้อชนิดนี้ถูกมองข้ามไป เพราะขนเหล่านี้มีขนาดเล็กและอยู่ที่ก้านดอกเท่านั้น ซึ่ง Dr. Lin ไม่เชื่อว่าพืชที่กินเนื้อเป็นอาหารชนิดอื่นๆ จะมีคุณสมบัตินี้

false asphodel ( TRIANTHA GLUTINOSA ) เป็นดอกไม้ทางซ้ายและผลทางขวา บนเส้นทางเส้นทางอุทยานแห่งชาติ Blue Ridge Parkway ใกล้ Wolf Mountain ที่งดงามพืชหลายชนิดใช้ประโยชน์จากแสงและความชื้นที่มีอยู่อย่างเพียงพอ แม้ถนนจะถูกตัดผ่านเพื่อสร้างสวนสาธารณะ


cypress mountain ในแวนคูเวอร์ แคนาดาCypress Mountain จริงๆแล้วเป็นภูเขาสามลูกคือ Black Mountain, Mount Strachan และ Hollyburn Mountain

ชื่อ 'Cypress' มาจากต้นซีดาร์สีเหลืองที่พบได้ทั่วไปในอุทยาน โดยเฉพาะระหว่าง Mount Strachan และ Black Mountain
มีสภาพหิมะในฤดูหนาวที่ดีที่สุดบนยอดเขาที่สูงที่สุด ในการเล่นสกี สโนว์บอร์ด และ การเดินเขา

Cypress Mountain ยังเป็นสถานที่เล่นสกีและสโนว์บอร์ดฟรีสไตล์อย่างเป็นทางการสำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวในปี 2010

This Sweet White Flower Is Actually A Sneaky Carnivore Scientists

Eocene Grass Spikelet หญ้าดึกดำบรรพ์ชนิดแรกในอำพัน..บอลติก

Eocene Grass Spikelet หญ้าดึกดำบรรพ์ชนิดแรกในอำพัน..บอลติก

มุมมองด้านข้างของ Eograminis balticus / Cr. Poinar & Soreng, doi: 10.1086/716781.



การวิจัยเรื่องอำพันโดยวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอเรกอน (Oregon State University College of Science) ได้จัดทำการระบุชนิดของหญ้าในเรซินต้นไม้ที่เป็นซากดึกดำบรรพ์เป็นครั้งแรก จากภูมิภาคบอลติก ซึ่งเป็นแหล่งสะสมอำพันที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในโลก

จากตัวอย่างที่ศึกษาโดย George Poinar Jr. จาก Oregon State University และ Dr.Roberg Soren จากสถาบัน Smithsonian ระบุว่าซากดึกดำบรรพ์ชื่อ Eograminis balticus เป็นตัวแทนของหญ้าชนิดแรกและสมาชิกฟอสซิลตัวแรกของ Arundinoideae ซึ่งเป็นวงศ์ย่อยของตระกูล Poaceae ที่แพร่หลาย รวมถึงหญ้า ธัญพืช ไผ่ และอีกหลายชนิดที่พบในสนามหญ้าและทุ่งหญ้าตามธรรมชาติ โดยขณะนี้ผลการวิจัยอยู่ในแบบพิมพ์ล่วงหน้าที่จะได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร International Journal of Plant Sciences

ศาสตราจารย์ Poinar กล่าวว่า การค้นพบนี้ไม่เพียงเพิ่มกลุ่มพืชใหม่ให้กับพืชพรรณที่กว้างขวางซึ่งอธิบายไว้ก่อนหน้านี้จากอำพันบอลติกเท่านั้น แต่ยัง

ให้ข้อมูลเชิงลึกใหม่เกี่ยวกับนิเวศวิทยาของที่อยู่อาศัยในป่าที่ได้อำพันมา ซึ่งเป็นหัวข้อที่ถกเถียงกันในด้านการศึกษานี้ ในการใช้รูปแบบชีวิตของพืชและสัตว์ที่เก็บรักษาไว้ในอำพัน เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับชีววิทยาและนิเวศวิทยาของอดีตอันไกลโพ้น

อย่างไรก็ตาม ซากดึกดำบรรพ์เป็นหลักฐานแรกที่แน่ชัดว่ามีหญ้าอยู่ท่ามกลางพืชหลายชนิดในป่าอำพันบอลติก ที่เป็นไปได้ว่าเมื่อประมาณ40 - 50 ล้าน

ปีก่อน (ยุค Eocene) หญ้าอาจปลิวไปกระแทกกับต้นไม้ที่ผลิตเรซิน จนสูญเสียหนึ่งในช่อดอกย่อย (spikelets) ของมันพร้อมด้วยแมลงที่กำลังกินมัน

ซากดึกดำบรรพ์ได้รับการเก็บรักษาไว้อย่างดีและมีดอกย่อยหลายชุด ในอำพันประกอบด้วยฟองอากาศและเศษซากอื่นๆ จำนวนมาก

วิธีการสังเกตชิ้นส่วนอำพันที่บรรจุซากฟอสซิลนั้น อำพันจะถูกเปลี่ยนรูปร่างด้วยใบเลื่อยเจียระไนเพชร เครื่องขัด และการขัดเงา จนกระทั่งสามารถมองเห็นก้านหญ้าจากทุกมุมได้ และเนื่องจากการเก็บรักษาก้านดอกไว้อย่างดีเยี่ยม การสังเกต ช่อใบย่อย (glumes), กาบบนขนาดเล็กที่แทรกอยู่ในดอกหญ้า (paleae) และกาบล่าง (lemmas) สามารถทำได้ภายใต้แสงโดยตรงด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบสามมิติและแบบผสม

บน Spikelet ยังพบแมลงตัวน้อยกลุ่ม Orthoptera ที่คล้ายตั๊กแตน สปอร์ของเชื้อราเป็นจุดๆ ที่ใบ และเศษไม้โอ๊คจำนวนมาก สิ่งเหล่านี้สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยขนาดเล็กของหญ้าฟอสซิล แม้ Spikelet จะเป็นลักษณะโครงสร้างและการพัฒนาที่มีอยู่ในต้นหญ้า Cenozoic ในยุคแรกๆ แต่มันได้สร้างจุดสอบเทียบมาตรฐานที่สำคัญสำหรับการศึกษาในเวลาต่อมา เกี่ยวกับต้นกำเนิดและการแยกสกุลในสายพันธุ์ย่อย (subtribe)

หลังจากการสังเกต ศาสตราจารย์ Poinar บอกว่า เป็นเรื่องยากที่จะจัด Eograminis balticus กับสกุลสมัยใหม่ใดๆ เนื่องจากขาดการเข้าถึง ใบ เกสรตัวเมีย และเกสรตัวผู้ที่สมบูรณ์ แต่ช่อ spikelet กลับมีคุณสมบัติบางอย่างเหมือนสมาชิกของสกุล Molinia ซึ่งเป็นสกุลของสายพันธุ์ย่อยในพื้นที่ชุ่มน้ำที่ยังหลงเหลืออยู่โดยกระจุกตัวอยู่รอบทะเลบอลติก

สำหรับ Molinia หรือที่รู้จักกันอย่างไม่เป็นทางการว่า Moor Grass เป็นพืชในสกุลพื้นที่ชุ่มน้ำ นอกจากภูมิภาคบอลติกแล้ว ยังพบได้ในทรายในแหล่งที่อยู่อาศัยตั้งแต่ชายฝั่งไปจนถึงส่วนของพื้นที่เฉพาะ (subalpine) เช่น ในที่ลุ่มชายเลน บึงมอส(sphagnum bogs) ในป่า และพื้นที่ชุ่มน้ำที่สะสมพรุซึ่งได้รับอาหารจากน้ำผิวดินหรือน้ำบาดาลที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุ

ทั้งนี้ ประเภทของป่าไม้ที่มีดอกหญ้าสีเหลืองอำพันบอลติกเติบโตที่กำลังถกเถียงกันอยู่นี้ นักวิทยาศาสตร์บางคนเสนอว่า อำพันฟอสซิลมาจากภูมิภาคบอลติก ที่ก่อตัวขึ้นในป่าเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปตอนเหนือ ส่วนคนอื่น ๆ บอกว่ามันมาจากป่าชื้นที่หลากหลาย แต่หญ้าชนิดใหม่ชี้ให้เห็นว่าอย่างน้อยก็มีช่วงหนึ่งที่ที่อยู่อาศัยมีอากาศอบอุ่นเหมือนในป่าเบญจพรรณและป่าสนปัจจุบัน

โดยตัวอย่าง Eograminis balticus spikelet มีต้นกำเนิดจากคาบสมุทร Samland ในเขต Kalinin ของสหพันธรัฐรัสเซีย (ชื่อสกุลมาจากคำภาษาละตินคือ aeon - ช่วงเวลาที่ยาวนานไม่สิ้นสุด และ graminis - หญ้า) ได้มาจากงานแสดงอัญมณี หิน และแร่ในเมืองReno รัฐเนวาดาในปี 1993 และนำไปไว้ในคอลเล็กชันประเภทธรณีวิทยาของ California Academy of Sciences ในเมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย

ในอดีต อำพันบอลติก (Baltic amber) เป็นอำพันที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก การศึกษาอัญมณีชิ้นนี้เริ่มต้นโดยผู้เฒ่าพลินี (Pliny the Elder - Gaius Plinius Secundus) ในศตวรรษที่หนึ่ง พลินีอธิบายว่าอำพันบอลติกยังมีชื่อว่า succinite เพราะเป็นที่ชื่นชอบของนักทำเครื่องประดับ เนื่องจากมีสีสวยและไม่มีข้อเสียใดๆ จึงเป็นที่ต้องการของงานแกะสลัก ลูกปัด และเครื่องประดับหลากหลายประเภทก่อนที่จะตระหนักถึงคุณค่าทางวิทยาศาสตร์

อำพันยังถูกนำมาใช้เป็นยามานานหลายศตวรรษเนื่องจากภูมิคุ้มกันส่งเสริม, การรักษาบาดแผลที่ยาแก้ปวดต้านการอักเสบ, ป้องกันการติดเชื้อเชื้อราและคุณสมบัติต้านมะเร็ง แม้จะมีการใช้กันอย่างแพร่หลายในการแพทย์พื้นบ้าน แต่การศึกษาอย่างละเอียดเกี่ยวกับองค์ประกอบออกฤทธิ์ทางชีวภาพของอำพันบอลติกยังไม่ได้ดำเนินการเพื่ออธิบายผลการรักษา

อำพันบอลติกเป็นชื่อที่กำหนดให้กับเรซินฟอสซิลธรรมชาติชนิดหนึ่ง ที่เป็นจุดสนใจของการค้าทางไกลระหว่างประเทศทั่วยุโรปและเอเชีย

ซึ่งเริ่มต้นอย่างน้อย 5,000 ปีก่อน มันถูกรวบรวมและใช้งานโดยมนุษย์เป็นครั้งแรกในยุคหิน Upper Paleolithic

อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาล่าสุดจากนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Minnesota (MN, USA) ที่นำเสนอในที่ประชุมของสมาคม American Chemical

(5-30 เมษายน 2021) สามารถแยกสารประกอบชุดหนึ่งออกจากอำพันที่มีคุณสมบัติออกฤทธิ์ทางชีวภาพได้ ซึ่งรวมถึงผลต่อยาปฏิชีวนะ โดยผลการวิจัยอาจมีนัยสำหรับการพัฒนายาปฏิชีวนะชนิดใหม่ เพื่อรักษาแบคทีเรียที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะซึ่งมีผู้เสียชีวิต 35,000 รายต่อปีในสหรัฐอเมริกา

สุดท้าย แม้จะมีแนวคิดแรกๆ เกี่ยวกับอำพันที่รักษา DNA โบราณ (aDNA) ในแมลงที่จับได้ (และนำไปสู่ภาพยนตร์ยอดนิยม เช่น ไตรภาคของ Jurassic Park) แต่ก็ไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะการศึกษาล่าสุดชี้ให้เห็นว่า แม้ว่า DNA ที่หลงเหลืออยู่ อาจมีอยู่ในตัวอย่างอำพันที่มีอายุน้อยกว่า 100, 000 ปี แต่กระบวนการปัจจุบันที่ใช้ในการดึงกลับ จะทำลายตัวอย่างซึ่งอาจเรียก DNA สำเร็จหรือไม่ก็ได้ ในขณะที่แน่นอนที่สุดก็คืออำพันบอลติกนั้นเก่าเกินไปที่จะทำสิ่งนี้ได้

ปัจจุบัน ยังคงมีความเป็นไปได้ที่จะพบชิ้นส่วนของอำพันบอลติกซัดขึ้นบนชายหาดตามแนวทะเลเหนือหรือริมชายฝั่งทะเลบอลติก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากเกิดพายุ เมื่อการกระทำของคลื่นทำให้อำพันหลุดออกจากชั้น blue earth ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 15-20 ฟุต รวมทั้งการทำเหมืองที่ตั้งอยู่ตามแนวชายฝั่งทะเลบอลติกเช่น ในบริเวณคาบสมุทร Samland และที่เหมืองอำพัน Yantarny Amber Quarry ใกล้เมือง Kaliningrad ซึ่งได้ให้อำพันจากทะเลบอลติกเป็นส่วนใหญ่

สารประกอบที่พบในอำพันบอลติกอาจมีนัยสำคัญต่อการพัฒนายาที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ

วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2565

ต้นไม้ที่กลายเป็นแหล่งน้ำพุธรรมชาติในมอนเตเนโกร นี่คือ ความมหัศจรรย์ของธรรมชาติ


ต้นไม้ที่กลายเป็นแหล่งน้ำพุธรรมชาติในมอนเตเนโกร นี่คือ ความมหัศจรรย์ของธรรมชาติ

ต้นไม้ที่กลายเป็นแหล่งน้ำพุธรรมชาติในมอนเตเนโกร

บางสิ่งบางอย่างที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ ยังไม่สามารถหาคำตอบหรือสาเหตุที่แน่ชัดได้ว่า ‘เกิดขึ้นจากอะไร’ และทำไมถึงออกมาเป็นเช่นนั้น

ต้นมัลเบอร์รี่พ่นน้ำ

ภายในหมู่บ้านเล็กๆ Dinoša ประเทศมอนเตเนโกร เกิดปรากฎการณ์แปลกประหลาดกับต้นมัลเบอร์รี่ต้นหนึ่ง ที่กลายมาเป็นน้ำพุธรรมชาติทุกครั้ง หลังจากที่มีฝนตกหนักในบริเวณดังกล่าวจนกลายเป็นแอ่ง


ตามปกติทั่วไปแล้ว ต้นไม้จะไม่พ่นน้ำออกมาในแบบลักษณะน้ำพุเช่นนี้ อย่างไรก็ตามคำอธิบายปรากฎการณ์ดังกล่าว ถูกบอกเล่าผ่านในคลิปวิดีโอของเว็บไซต์ Radio Free Europe

เมื่อพิจารณาในเรื่องของพื้นที่ทุ่งหญ้าที่ต้นมัลเบอร์รี่เติบโต จะพบว่ามีหลุมน้ำซับเป็นจำนวนมาก (Underground Spring การไหลของน้ำใต้ดินที่ตัดกับผิวดินโดยธรรมชาติ) ซึ่งในพื้นที่บริเวณนี้มักเกิดน้ำท่วมขังทุกครั้งเมื่อมีฝนตกหนัก

ด้วยแรงของน้ำซับที่สามารถผุดออกมาจากผิวดินได้โดยแรงโน้มถ่วง จึงเกิดเป็นแรงดันน้ำแทรกซึมขึ้นตรงกลางลำต้น รวมไปถึงผุดออกมาจากหลุมบนพื้นดินทั่วบริเวณ

ทางด้านชาวบ้านในท้องถิ่น Emir Hakramaj ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับปรากฎการณ์ดังกล่าวว่า ต้นมัลเบอร์รี่ต้นนี้ มีอายุมากกว่า 100 ปี หรืออาจจะ 150 ปี และปรากฎการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นต่อเนื่องมานาน 20 – 25 ปีแล้ว ผมไม่เห็นว่ามันจะแปลกตรงไหน!

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นไม่มีใครเข้าไปทำให้เกิดขึ้นหรือบังคับให้มันเป็น ไม่มีใครไปประดิษฐ์ใส่ใส้อะไรข้างในต้นไม้ ทุกอย่างที่เห็นเป็นไปตามกระบวนการทางธรรมชาติ ด้วยเหตุผลของแรงดันจากน้ำซับและเป็นพื้นที่แอ่งน้ำในช่วงฝนตกหนัก

ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งในประเทศมอนเตเนโกรมีปรากฏการณ์ธรรมชาติอันน่าแปลกตาเกิดขึ้นเป็นประจำในช่วงสิ้นสุดของฤดูหนาว นั่นคือการที่น้ำพุธรรมชาติพรั่งพรูออกจากต้นหม่อนอายุ 100 ปี

เอเมียร์ ฮาคราเมจ ชาวบ้านในท้องถิ่นเล่าว่า ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นจากการที่มีแหล่งน้ำพุธรรมชาติอยู่ใต้ต้นไม้ ส่งผลให้เมื่อหิมะละลาย หรือฝนตกหนัก น้ำพุธรรมชาติจะเอ่อท้นขึ้นมา แรงดันทำให้น้ำขึ้นไปทางรากต้นไม้แล้วสะสมอยู่ในโพรงไม้ จนกระทั่งล้นเอ่อออกมาในที่สุด

Montenegro's Gushing Water Tree

วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2565

มะพร้าว กลายพันธุ์เป็น มะแพร้ว ได้ยังไง


มะพร้าว กลายพันธุ์เป็น มะแพร้ว ได้ยังไง?
ค้นหา
เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับสัตว์โลก แต่เป็นต้นไม้ที่ใครๆ ก็รู้จัก นั้นก็คือต้นมะพร้าว แต่ผมเชื่อว่ามีน้าหลายคนที่ไม่รู้ว่ามีต้นชื่อ "มะแพร้ว" อยู่ด้วย โดยเจ้าต้นมะแพร้วมีการกำเนิดที่ไม่ธรรมดา หรือก็คือผิดธรรมชาติ มันเป็นดังการกลายพันธุ์ของต้นไม้ ถ้าเทียบกับปลาก็คงคล้ายการเปลี่ยนแปลงของยีน จนทำให้ปลาตัวนั้นมีหน้าตา สี ที่ต่างออกไป เอาล่ะเดี๋ยวผมจะเล่าเรื่องมะแพร้วให้น้าๆ ได้รู้จักกัน

มะแพร้วเกิดขึ้นมาได้ยังไง?
ถึงแม้ว่า “มะแพร้ว” จะมีมานานแล้วมันนานจนลืมจุดกำเนิดของมันเลยทีเดียว รวมถึงวิธีการที่มันเปลี่ยนจาก “มะพร้าว” เป็น “มะแพร้ว” ก็ไม่มีรายงานที่ชัดเจนด้วยเช่นกัน มีรายงานบอกไว้เพียง “เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของยีน หรืออีกนัยหนึ่งก็คือการกลายพันธุ์” .. จึงต้องขอเน้นว่า “มะแพร้ว” คือต้นไม้ที่เกิดจากการกลายพันธุ์โดยธรรมชาติ

มะพร้าว กับ มะแพร้ว มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนทุกประการจนแทบจะแยกไม่ออก “หากพบเห็นต้นมะแพร้วก็จะเข้าใจว่าเป็นมะพร้าว” แต่ทั้งสองมีความแตกต่างกันอยู่เล็กน้อย เช่น ช่อดอกหรือทะลายของผลบนต้น ก็จะเห็นความแตกต่างของต้นไม้ทั้ง 2 อย่างชัดเจน เดี๋ยวลองดูจากภาพ เปรียบเทียบจะได้เข้าใจง่าย

มะแพร้วไม่มีหางหนู (ระแง้) และดอกเพศผู้ ดอกเพศเมียหรือผลอ่อนจะเกิดอย่างหนาแน่นบนแกนกลาง (หรืองวง) โดนตรง มะแพร้วจะติดผลน้อยกว่ามะพร้าว มาก นั้นคือ 4-5 ผลต่อทะลายเท่านั้น นั่นเป็นเพราะไม่มีดอกเพศผู้ หรือมีดอกเพศผู้น้อยกว่าปกติ

“มะพร้าวมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cocos nucifera L. และ มะแพร้วมีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Cocos nucifera L. var. spicata K.C.Jacob จะเห็นว่ามะแพร้วแตกต่างจากมะพร้าวเพียง variety เท่านั้น”
ปลูกมะแพร้วเหมือนการเสี่ยงดวง
การปลูกมะแพร้วมันก็เหมือนการเสี่ยงดวง นั้นเพราะเมื่อเอา “ต้นมะแพร้ว” (แน่ใจว่าใช่มะแพร้ว) มาปลูก ก็ยังไม่สามารถเชื่อได้ว่ามันจะเป็นมะแพร้วในท้ายที่สุด เพราะเมื่อต้นมะแพร้วโตขึ้น มีโอกาสสูงมากเมื่อมันโตขึ้น และกลายเป็น “มะพร้าว” ..ว่ากันว่าเอามะแพร้วมาปลูก 10 ต้น เมื่อโตขึ้น มันอาจกลายเป็นมะพร้าว 8 ต้น

ภาพชัดๆ ทะลายของมะแพร้ว
เขียนมาซะยาว เชื่อว่าสิ่งที่น้าๆ อยากรู้คือ สรรพคุณของมะแพร้วคืออะไร?
น้ำของของมะแพร้ว ช่วยลดดับกระหาย คลายร้อน รู้สึกสดชื่น ช่วยลดอาการบวมน้ำ มีส่วนในการเสริมสร้างคอลลาเจนและอิลาสติน ทำให้ผิวพรรณกระชับ ลดการเกิดริ้วรอย ช่วยรักษาอาการไอ รักษาอาการอ่อนเพลียอันเนื่องจากการสูญเสียน้ำภายในร่างกายจากโรคท้องร่วง ช่วยรักษาอาการอาเจียนเป็นเลือด ช่วยรักษาอาการเมาค้าง ช่วยถอนพิษเบื่อเมา รักษาโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ ช่วยขับปัสสาวะ
น้ำและเนื้อของมะแพร้วมีวิตามินและแร่ธาตุอยู่เป็นจำนวนมาก อาทิ กรดอะมิโน แคลเซียม เป็นต้น
ดอกของมะแพร้วช่วยในการบำรุงโลหิต รักษาอาการเจ็บคอ ลดเสมหะ
น้ำของมะแพร้วสามารถฉีดเข้าเส้นเลือดได้ กรณีผู้ป่วยมีอาการขาดน้ำหรือมีปริมาณเลือดน้อย
น้ำของมะแพร้วอ่อนมีปริมาณของสารที่เรียกว่า ฮอร์โมนเอสโตรเจน อยู่สูง ช่วยในการป้องกันโรคอัลไซเมอร์หรือสมองเสื่อมได้ ช่วยป้องกันและรักษาการเกิดโรคหัวใจ
ใช้เปลือกหุ้มรากของมะแพร้วรักษาโรคคอตีบได้
ช่วยรักษาอาการระคายเคืองดวงตาโดยใช้เนื้อมะแพร้วอ่อนนำมาวางบนเปลือกตา
ใช้รากหรือจั่นน้ำของมะแพร้ว รักษาโรคไข้ทับระดู
การอมน้ำกะทิสดของมะแพร้วประมาณ 3 วันช่วยในการรักษาปากเป็นแผล ปากเปื่อย
รากของมะแพร้วใช้อมบ้วนปากเพื่อรักษาอาการเจ็บคอ
น้ำมันของมะแพร้วช่วยรักษาอาการปวดกระดูกและเส้นเอ็น ช่วยรักษาแผลติดเชื้อ แผลเรื้อรัง ใช้ทาผิวหนังใช้ทารักษาแผลที่เกิดจากไฟไหม้หรือแผลถูกน้ำร้อนลวกเพื่อป้องกันแสงแดดและทำให้ผิวชุ่มชื้นในหน้าหนาว
ใบของมะแพร้วใช้ต้มน้ำดื่มเพื่อรักษาโรคอีสุกอีใส
และนี่คือเรื่องราวของต้นมะแพร้ว จริงๆ ต้องบอกว่าต้นไม้ชนิดนี้เสี่ยงสูญพันธุ์ด้วย นั้นเพราะเมื่อปลูกมันแล้ว โอกาสน้อยที่จะเป็นมะแพร้วอย่างที่ใจคิด สุดท้ายก็หวังว่าจะชอบเรื่องนี้กัน ยังไงก็ช่วยกันแชร์หน่อย

พืชที่เปลี่ยนเป็นซอมบี้ Zombie Plants

This Parasite Turns Plants Into Zombies

พืชที่เปลี่ยนเป็นซอมบี้ Zombie Plants 

( ปกติ Arabidopsis จะมีดอกไม้สีขาวมากมาย แต่หลังจากที่ติดเชื้อแบคทีเรีย Phytoplasmaมันทำให้ใบไม้แค่มีชีวิตอยู่เพื่อช่วยควบคุมแบคทีเรียเท่านั้น Cr. JIC Photography)

แม้ดูเหมือนวิดีโอเกม Plants Vs Zombies ยอดนิยมที่แปลกประหลาดในปัจจุบัน แต่พืช " ซอมบี้ (zombie) " มีรายงานจากเกษตรกรมาตั้งแต่ต้นปี 1600 โดยระบุว่า พืชจะมีลักษณะเป็นสีเหลืองซีด และเติบโตในโครงสร้างคล้ายใบแปลก ๆ หรือการเจริญเติบโตเป็นพวงแทนที่จะออกดอกและขยายพันธุ์

ตั้งแต่ปี 1967 นักวิจัยทราบแล้วว่านี่เป็นผลงานของแบคทีเรียที่เรียกว่า phytoplasma ซึ่งแพร่ระบาดในพืชที่ออกดอกหลายสายพันธุ์ รวมทั้งต้นแอปเปิล
ต้นมะพร้าว ดอก coneflower ต้น mulberry ต้นไม้จันทน์ อ้อย และองุ่นที่ใช้ทำเหล้า มันมีผลกระทบส่วนใหญ่ในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน แน่นอนว่าพืชที่ติดเชื้อยังมีชีวิตอยู่ แต่ไม่สามารถขยายพันธุ์ได้ พวกมันมักจะแตกหน่อแปลกๆ แทนที่ดอกไม้ปกติของมัน และกลายเป็น 'ซอมบี้' ที่อาศัยอยู่เพียงเพื่อรักษาเจ้านายของมัน

Günter Theißen นักพันธุศาสตร์กล่าวว่า พืชเหล่านี้กลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้ว นั่นเป็นเพราะ phytoplasma จี้วงจรชีวิตของพืช เพื่อช่วยให้การติดเชื้อแพร่กระจายและแพร่พันธุ์ของแบคทีเรียเท่านั้น

ซึ่งในการวิจัยของ Florian Rümpler นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา Florian Rümpler ที่มหาวิทยาลัย Friedrich Schiller University Jena ในเยอรมนีและทีมของเขาระบุว่า นี่ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ phytoplasma มีวิวัฒนาการเพื่อเลียนแบบโปรตีนของโฮสต์เพื่อแย่งชิงระบบสืบพันธุ์ของพืช ผลงานของพวกเขาได้รับการตีพิมพ์ไว้ในวารสาร Trends in Plant Science

นี่คือสิ่งที่พืช Arabidopsis ที่มีสุขภาพดีควรมีลักษณะเช่นนี้ ที่เต็มไปด้วยดอกไม้สีขาวเล็กๆแต่เมื่อปรสิตจี้เนื้อเยื่อดอกไม้ของมัน มันจะกลายเป็นผู้ผลิตแต่ใบไม้ 

ต่อมาในปี 2014 จากการศึกษาเพิ่มเติมของนักชีววิทยา Saskia Hogenhout ในห้องทดลอง Prof. Hogenhout ของ John Innes Center ในเมือง Norwich, อังกฤษ และเพื่อนร่วมงานของเขาในห้องปฏิบัติการของ Prof.Angenent และ Prof. Immink ที่มหาวิทยาลัย Wageningen University ในเนเธอร์แลนด์ ได้แสดงให้เห็นว่า ปรสิตแบคทีเรียจำเพาะที่ก่อให้เกิดปัญหาพัฒนาการในพืชผล สามารถจัดการกับพืชในลักษณะที่ให้พวกมันผลิตใบแทนที่จะเป็นดอกไม้ได้ด้วยโปรตีนที่ผลิตได้เฉพาะใบ

การจัดการนี้ช่วยเพิ่มโอกาสที่แบคทีเรียจะแพร่กระจายไปยังพืชชนิดอื่น โดยเพลี้ยจักจั่นที่กินพืชเหล่านั้น กล่าวคือ แบคทีเรียจะจับตัวแมลงรวมทั้งต่อมน้ำลาย หากแมลงน้ำลายไหลในขณะที่มันดูดพืชอื่น แบคทีเรียก็สามารถแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อพืชใหม่ได้ นอกจากนี้ ยังสามารถระบุโปรตีนจากพืชที่แบคทีเรียกำหนดเป้าหมาย และกลายเป็นสิ่งที่น่าดึงดูดใจสำหรับเพลี้ยจักจั่น

โดยโปรตีนของแบคทีเรียที่เป็นกาฝาก เรียกว่า SAP54 ซึ่งจำเป็นต่อกระบวนการนี้ และขึ้นอยู่กับการทำงานของมันในตระกูลโปรตีนจากพืชที่เรียกว่า RAD23 เพื่อนำพืชไปสู่สิ่งมีชีวิตที่ผลิตใบโดยไม่มีดอกไม้ ในลักษณะที่พืชกลายเป็นซอมบี้ ตายไปในอนาคต และถูกลิขิตให้เป็นประโยชน์ต่อการอยู่รอดของแบคทีเรียเท่านั้น ผลการศึกษาเกี่ยวกับปรสิตของพืชจากการตั้งข้อสังเกตของ Hogenhout และทีมงานของเธอดังกล่าว ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร PLOS Biology ในปีนั้น

ไม้กวาดแม่มดในต้นแฮ็คเบอร์รี่

นักวิจัยอธิบายเพิ่มเติมว่า ปรสิตจะจัดการสิ่งมีชีวิตที่พวกมันอาศัยอยู่เพื่อให้เหมาะกับความต้องการ บางครั้งด้วยวิธีที่รุนแรง เมื่ออยู่ภายใต้มนต์สะกดของปรสิต พืชบางชนิดได้รับการเปลี่ยนแปลงอย่างมากจนถูกเรียกว่า "ซอมบี้" ซึ่งจะหยุดการสืบพันธุ์ และทำหน้าที่เป็นที่อยู่อาศัยของปรสิตเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ในขณะนั้น นักวิจัยยังไม่ค่อยเข้าใจว่าสิ่งนี้เกิดขึ้นได้อย่างไรในระดับโมเลกุลและกลไก จนกระทั่งการศึกษาครั้งใหม่เมื่อต้นปี 2021 ของ
นักวิจัยเหล่านี้ ได้เปิดเผยถึงโมเลกุลจัดการที่ผลิตโดยแบคทีเรีย Phytoplasma ที่พัฒนาขึ้นภายในพืช โปรตีนนี้จะทำให้สารควบคุมการเจริญเติบโตที่สำคัญถูกทำลายลง ทำให้เกิดการเติบโตที่ผิดปกติ

สำหรับแบคทีเรีย phytoplasma นั้น เป็นกลุ่มของจุลินทรีย์ที่มีชื่อเสียงในด้านความสามารถในการตั้งโปรแกรมการพัฒนาพืชที่เป็นโฮสต์ใหม่ แบคทีเรียกลุ่มนี้มักเป็นสาเหตุของ 'ไม้กวาดแม่มด' (witches brooms) ที่เห็นในต้นไม้ซึ่งมีกิ่งก้านจำนวนมากขึ้นใกล้ๆกัน สิ่งเหล่านี้ เป็นผลมาจากพืชที่ติดอยู่ในสถานะ "ซอมบี้" พืชที่ไม่สามารถแพร่พันธุ์ได้ ดังนั้นจึงก้าวหน้าไปสู่สถานะ 'เด็กตลอดไป'

แบคทีเรีย Phytoplasma ยังสามารถทำให้เกิดโรคพืชทำลายล้าง เช่น โรคพืชเรื้อรัง Aster Yellows ซึ่งทำให้เกิดการสูญเสียผลผลิตอย่างมีนัยสำคัญ
ทั้งในพืช เมล็ดพืช และใบ เช่น ผักกาดหอม แครอท และซีเรียล ศาสตราจารย์ Saskia Hogenhout ผู้เขียนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกล่าวว่า Phytoplasma เป็นตัวอย่างที่น่าทึ่งของ การที่ยีนสามารถขยายออกไปได้ไกลกว่าสิ่งมีชีวิต เพื่อส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมโดยรอบ

phytoplasma effector SAP05 กระตุ้นไม้กวาดของแม่มดใน Arabidopsis / Cr.John Innes Center
กลไกการจัดการที่เพิ่งค้นพบ ซึ่งใช้โดยแบคทีเรียที่เป็นกาฝากเพื่อชะลอความแก่ของพืช อาจนำเสนอวิธีการใหม่ในการปกป้องพืชอาหารที่คุกคามต่อโรค

นอกจากนั้น การค้นพบใหม่ชี้ให้เห็นถึงกลไกระดับโมเลกุลที่อยู่เบื้องหลัง phenotype ที่ขยายออกไป ในลักษณะที่สามารถช่วยแก้ปัญหาสำคัญสำหรับการผลิตอาหารได้ โดยเน้นถึงกลยุทธ์ที่มีแนวโน้มดีสำหรับพันธุวิศวกรรมพืช เพื่อให้ได้ระดับความทนทานของพืชต่อ Phytoplasma จากโปรตีนของแบคทีเรียที่เรียกว่า SAP05 สามารถจัดการกับพืชได้ ด้วยการใช้ประโยชน์จากกลไกระดับโมเลกุลของโฮสต์เอง

นั่นคือ SAP05 จะแย่งชิงกระบวนการที่เรียกว่า proteasome ในพืช ซึ่งจะสลายโปรตีนที่ไม่ต้องการภายในเซลล์พืชอีกต่อไป แต่แทนที่จะทำลายโปรตีนที่ไม่จำเป็นอีกต่อไป กระบวนการนี้มุ่งเป้าไปที่โปรตีนจากพืชที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและการควบคุมของพืชแทน ด้วยเหตุนี้ การพัฒนาของพืชจะถูกตั้งโปรแกรมใหม่อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เหมาะกับแบคทีเรีย

เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตของยอดและเนื้อเยื่อพืชหลายชนิด และหยุดการแก่ชราของพืช ซึ่งกลไกที่เพิ่งค้นพบจากแบคทีเรียที่เป็นกาฝากเพื่อชะลอความแก่ของพืชนี้ อาจนำเสนอวิธีการใหม่ในการปกป้องพืชอาหารที่คุกคามต่อโรคได้ โดยไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง แต่เข้าไปรบกวนโปรตีนดังกล่าว

เพื่อทดสอบรายละเอียดของบทบาทของ SAP05 ที่น่าสนใจ ทีมงานได้ทำการทดลองทางพันธุกรรมและทางชีวเคมีในพืชต้นแบบ Arabidopsis thaliana พบว่า SAP05 เชื่อมโยงโดยตรงกับทั้งโปรตีนพัฒนาพืชและ proteasome และการรวมโดยตรงนี้เป็นวิธีที่ค้นพบใหม่ในการย่อยสลายโปรตีน โดยผลงานวิจัยใหม่จากกลุ่ม Hogenhout ที่ John Innes Center และผู้ทำงานร่วมกันนี้ ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารชีววิทยาการทดลอง Cell ในเวลาต่อมา

การศึกษาใหม่ค้นพบวิธีป้องกันไม่ให้พืชกลายเป็นซอมบี้หลังการโจมตีของปรสิต
และอาจนำเสนอวิธีการใหม่ในการปกป้องพืชอาหารที่คุกคามต่อโรค

How plants become zombies

ก็อย่างว่าละนะครับผมชอบหาข้อมูลอะไรไปเรื่อยเปื่อยและพยายามจะทำความเข้าใจกับมัน ผมหวังว่า บทความต่างๆมันก็มีคุณค่าในตัวของมันเองถ้าคุณสนใจ และเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่นะครับ

https://www.sciencenewsforstudents.org/article/wily-bacteria-create-zombie-plants

สุดท้ายก่อนจะจบ บทความนี้ผมก็อยากจะนำเสนอคลิป ที่ผมตัดต่อเองไว้ดูยามเหงาจินตนาการไปเรื่อยเปื่อย..ก็เอาคลิปสั้นๆหลายๆคลิปมาตัดต่อดูเองก็อยากจะเอามาให้เพื่อนๆดูบ้างสักนิดหวังว่าคงไม่รบกวนนะครับ..ถ้าชอบก็ดูไม่ชอบก็ไม่ต้องดู

zombie party

รายการบล็อกของฉัน