ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ตะลังตังช้าง พืชอันตราย


ตะลังตังช้าง พืชอันตราย
เมื่อไม่กี่วันก่อนหน้านี้ได้มีโอกาสได้เดินทางไปเที่ยวรีแล็กซ์ ที่จังหวัดเลย ได้ไปเที่ยวที่เชียงคาน ได้ไปเที่ยวที่ภูหลวงรู้สึกประทับใจมากเลยครับ ทั้งนี้ ก็เลยไปเก็บเอาบรรยากาศต่าง ๆ มาเพียบเลยครับ แต่ได้ไปอ่านป้ายตามเส้นทางเดินป่าที่เขียนว่า “อันตรายจากพืช” ผมสะดุดกับคำนี้มากเลยครับ ผมเลยนึกถึงพืชอันตรายชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า
“ตะลังตังช้าง”
ที่จริงผมเองรู้จักกับเจ้าพืชนี้มาได้พอสมควรแล้วล่ะครับ เพราะสมัยเรียนประถม ได้อ่านบันทึก เสด็จประพาสต้น ของ ร.5 และหลังจากนั้นผมก็ลืม 

จนกระทั้ง ผมได้ไปพบอีกครั้งที่จังหวัด นครศรีธรรมราช แต่ในการพบครั้งนั้น ผมยังไม่มีความสามารถพอที่จะเขียนบทความแบบนี้ มาถึงตอนนี้
เลยขอนำเสนอตะลังตังช้างครับ
ที่จริงแล้วพืชที่ชื่อ “ตะลังตังช้าง”
อาจมีลักษณะ ที่แตกต่าง กันไปตาม สภาพพื้นที่นะครับ แต่ถ้า ดูโดยรวมก็หมายถึงพืชมีพิษ ชนิดหนึ่ง ซึ่งที่มาของชื่อนี้ก็มาจากพิษของมันที่สามารถทำให้สัตว์ใหญ่อย่างช้างกลัวได้นั่นเองครับ

แต่ที่ผมจะนำเสนอ ผมจะนำเสนอ ดังนี้
พืชชนิดที่ 1เป็นพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ Laportea crenulata Wedl.  ชื่อพ้อง Dendrocnide sinuate Chew.  และมีชื่ออังกฤษ Devil Nettle; Elephant Nettle; Fever Nettle  จัดอยู่ในวงศ์ Urtiaceae
 
ตะลังตังช้างเป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ใบรูปไข่ปลายใบแหลมขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นช่อดอกออกที่ง่ามระหว่างใบกับลำต้น เป็นช่อดอกชนิดที่ดอกตรงกลางบานก่อน เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียแยกกันอยู่ต่างดอกบน
พืชต้นเดียวกัน
ส่วนที่เป็นพิษคือ Stinging hair
ซึ่งอยู่ตามลำต้น กิ่ง ใบ
ซึ่งสารพิษที่พบได้ในพืชชนิดนี้ก็คือ formic acid ซึ่งจะพบได้ในส่วน stinging hair นั่นเองครับ

ความเป็นพิษ กะลังตังช้างเป็นพืชที่มี
พิษมาก ถ้าขนถูกศีรษะทำให้ผมไหม้และเกิดการเจ็บปวดเป็นเวลานาน
หลายวัน ความเป็นพิษของพืชนี้
รุนแรงมากในขณะ
ที่มีดอก ถ้าถูกทำให้จามนอนไม่หลับเพราะความเจ็บปวด และเป็นไข้ ในบางท้องถิ่นของประเทศมาเลเซียใช้ขนของพืชนี้ผสมกับน้ำคั้นจากต้นยางน่อง (Antiaris toxicaria (Pers.) Lesch.) อาบลูกศร

ส่วนพืชชนิดที่ 2 นี้ มีชื่อเรียกเช่นเดียวกันคือจะเป็นพืชที่มีชื่อทางพฤษศาสตร์.....Laportea Stimolns  และจัดอยู่ในวงศ์ Urticaceae  ซึ่งมีชื่อเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า "กะลังตังช้าง" ท้องถิ่นเรียกว่า "รังตังช้าง" ปักษ์ใต้เรียก "ลังตังช้าง" ภาคพายัพเรียก "หานเดื่อ" ส่วนทางทหารเขียนว่า "ตะรังตังช้าง"

ลักษณะของพืชชนิดนี้.เป็นต้นไม้พุ่มขนาดใหญ่หรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีใบโตขนาดใบสัก เป็นขนสีขาวออกหนาตลอดต้น ไม้ชนิดนี้ ขนออกมันมีพิษ ถ้าไปถูกเข้า ขนของมันก็จะคายพิษออกมาทำให้เกิดอาการคัน ผู้ที่ถูกเข้าจะมีอาการคันและเกาจนหนังถลอกเป็นแผลเรื้อรัง อาการเจ็บปวดเป็นกำลัง น้ำเหลืองจะแตกออกเป็นแผล ซึมออกไปทำให้เป็นแผลต่อไปอีก บางทีมีอาการแสบปวดร้อน บวม และอาการแน่น ถึงตายได้ ถ้าถูกขนติดมากไป
ส่วนในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน บอกว่า

ตะรังตังช้างหมายถึง...ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Dendrocnide sinuata (Blume) Chew ในวงศ์ Urticaceae ใบใหญ่ ขอบจัก ถูกเข้าจะปวดคันและเป็นผื่นตามผิวหนัง

ว่านพญานาคาราช


สรรพคุณสมุนไพร
ว่าน เป็นพืชศักดิ์สิทธิ์ ที่มีสรรพคุณ เกินกว่าที่เรารู้จัก หากรู้จักวิธีปลูกว่าน รู้จักใช้ว่าน ว่านจะบันดาลให้เจ้าของที่ปลูก มีโชคลาภ อยู่เย็นเป็นสุข หรือ คงกระพันชาตรี ดังนั้นว่านจึงเป็นที่น่าศึกษาข้อมูลไว้เผื่อใช้ในอนาคต
▼สรรพคุณ ว่านพญานาคาราช

ว่านพญานาคราช
ลักษณะเป็นเถาเลื้อยต้นใหญ่เท่าขนาดหัวแม่มือ  มีต้นแข็งเป็นหนาม  มีเถาสีเขียว  ไม่มีใบ  เป็นพันธ์ไม้เลื้อย

สรรพคุณ
มีสรรพคุณในทางแก้พิษ  ที่เกิดจากเขี้ยว  ไม่ว่าจะถูกงูกัด  สัตว์มีพิษกัด  แม้กระทั่งสุนัขกัด ให้นำเถานาคราชมาตำกับเหล้า  หรือน้ำซางข้าว  พอกที่ปากแผล  จะช่วยระงับการเจ็บปวดได้  อีกทั้งยังปลูกตามบ้าน

การปลูก
ขยายพันธ์ด้วยการปักชำ  โดยใช้ปลายข้างหนึ่ง จิ้มดินลงไบเล็กน้อย  ก็จะงอก  แตกหน่อใหม่ขึ้นมา

ว่านงูเห่า ว่านกันงูเข้าบ้าน

ดอกว่านงูเห่ากันงูได้งูไม่กล้าเข้าไกล้
ต้นและดอกว่านงูเห่า
ไม้ล้มลุก ลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดิน รูปทรงกระบอกทอดเป็นไหลยาวอยู่ใต้ดิน มีข้อสั้น ผิวด้านนอกสีเหลือง ด้านในสีขาว มีหัวสะสมอาหารรูปกลมรีหรือรูปหยดน้ำ ออกตามข้อหัว มีกลิ่นฉุน ลำต้นเทียมสูง 30-60 ซม.

ใบเดี่ยวรูปหอกแกมขอบขนานออกเรียงสลับ ปลายใบแหลม ผิวใบเป็นร่องและนูนตามรอยเส้นใบ ก้านใบเป็นกาบหุ้มรอบลำต้น กลางก้านเป็นร่องลึก

ดอกออกเป็นช่อที่ปลายลำต้นเทียม ดอกย่อยสีเหลือง ใบประดับสีแดง ออกดอกในช่วงฤดูฝน พักตัวในฤดูหนาว

ประโยชน์/สรรพคุณ
ใช้เป็นสมุนไพรแก้พิษงู สัตว์มีพิษกัดต่อย โดยนำหัวมาฝนกับเหล้า ใช้ทาหรือพอกบริเวณที่โดนกัดหรือปลูกไว้รอบ
บ้านเพราะเชื่อว่าไม่ให้งูเข้ามาในบ้านได้
เนื้อในว่านงูเห่า
ว่านและสมุนไพรไทยในจังหวัดสกลนคร
หัวเหง้าว่านงูเห่า

ว่านงูเห่า
ชื่อว่าน : ว่านงูเห่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Curcuma flaviflora S.O.Tong
ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่นๆ : ว่านงู
วิธีปลูก
ดินปลูกต้องมีส่วนผสมด้วยเศษอิฐมอญ เศษกระเบื้องทุบละเอียด ดินร่วนและทรายหยาบ ส่วนปุ๋ยเป็นปุ๋ยอินทรีย์ นำหัวว่านวางกลบดินไม่ต้องแน่น รดน้ำอย่าให้แฉะ และเสกด้วยคาถา "นะโม พุทธายะ ชิตังเม ชิตังเม ชิตังเม" 3 จบ ปลูกในวันพฤหัสบดีจะดีที่สุด

วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ต้นไม้ไม่เป็นมงคลที่ไม่ควรปลูกในบ้าน


ต้นไม้ไม่มงคล...ที่ไม่ควรปลูกในบ้าน
        "ต้นไม้" ถือว่าเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะช่วยเติมเต็มบ้านในฝันให้น่าอยู่ที่สุด... เพราะนอกจากต้นไม้จะให้ความร่มรื่น สวยงามแล้ว ต้นไม้ยังมีประโยชน์อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการช่วยให้ร่มเงาแก่บ้าน ช่วยให้อากาศสดชื่น แถมยังลดมลพิษภายในบ้านได้อีกด้วยนะ ส่วนการปลูกต้นไม้ในบ้านนั้น ตามตำราความเชื่อแต่โบราณที่สืบต่อกันมา เขาบอกว่า มีต้นไม้หลายประเภท หลายชนิดเลยล่ะค่ะ ที่ไม่ควรปลูกในบ้าน เพราะถือว่าเป็นไม้ไม่มงคล ถ้าหากปลูกไปแล้วก็จะนำมาแต่ความเดือดร้อน หรือความไม่สบายใจมาให้ผู้อยู่อาศัย
         ส่วนในวันนี้เรามีข้อมูลจาก คู่สร้าง คู่สม และ สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองน่าน จ.น่าน สำหรับ "ต้นไม้ที่ไม่ควรปลูกในบ้าน" มาฝากเพื่อน ๆ กัน ไปดูกันซิว่า จะมีต้นไม้ต้นใดที่ไม่ควรปลูกในบ้านบ้าง แล้วไม่ควรปลูกเพราะอะไร... เอ้า ! เรื่องอย่างนี้ใครไม่เชื่อก็อย่าลบหลู่นะคะ ลองปฏิบัติตามดูคงไม่เสียหายว่าไหม ?

กล้วยตานี
สำหรับต้นไม้ที่ไม่ควรปลูกในบ้าน มีดังนี้...
      
กระทุ่ม : ชื่อมีความหมายถึงทุ่ม หรือขว้างปา
        
กล้วยตานี : ถือว่ามีนางตานี ปีศาจร้ายอาศัยอยู่ ไม่นิยมปลูกในบ้าน
ดอกชบา
          
ชบา : ในอินเดียตอนใต้ใช้ดอกชบาร้อยเป็นพวงมาลัย สวมคอนักโทษที่กำลังจะถูกประหารชีวิต จึงเชื่อว่าเป็นดอกไม้อัปมงคล
         
ชวนชม : เป็นไม้ประดับสวยงาม ที่มีความหมายในทางชักชวนให้เชยชม บ้านที่มีลูกสาวจะไม่ยอมปลูกต้นไม้ชนิดนี้เด็ดขาด
         
ตะเคียน : เป็นไม้ยืนต้นที่เชื่อกันว่า มีผีนางไม้สิงอยู่
         
เต่าร้าง : ชื่อออกไปในทางหย่าร้าง
         
ต้นสน : เชื่อว่าถ้าปลูกแล้วจะขัดสนไปตลอดชีวิต
        
ต้นรัก : เพราะเชื่อว่า จะทำให้ความรักยุ่งยากขึ้น และกลายเป็นคนมากรัก นอกจากนี้ ยางของต้นรัก ยังเป็นอันตรายต่อผิวหนังด้วย
        
ต้นระกำ : ถือว่าชื่อต้นระกำนั้น ไม่เป็นมงคลตั้งแต่โบราณมา จึงเชื่อกันว่า หากปลูกต้นระกำไว้ในบ้าน จะทำให้ได้รับความชอกช้ำ ระกำใจ อยู่ตลอดเวลา
        
ต้นซ่อนกลิ่น : มีอีกชื่อว่า ต้นซ่อนชู้ เป็นไม้ที่ไม่มงคลตามชื่อ ซึ่งหากนำมาปลูกในบ้าน จะทำให้ความรักความสัมพันธ์กับคนในครอบครัวเกิดปัญหากันขึ้น
          
ต้นมะระ : เป็นไม้เลื้อยก็ไม่ปลูกในบ้านเหมือนกัน
        
ถั่วแปบ : มีความหมายว่า กะปอบ กะแปบ แปลว่า กระปริดกะปรอย คือ ค่อนข้างขัดข้อง ไม่ได้สะดวก
         
นางแย้มป่า : คนโบราณเชื่อว่าเป็นต้นไม้ผีสิง วันดีคืนดีจะกลายเป็นผีเอาก้อนอิฐขว้างปาบ้าน
        
น้ำเต้า : เป็นไม้เถา รูปร่างคล้ายนมสตรี คนมีวิชาคาถาอาคม ห้ามกิน และห้ามลอดร้านน้ำเต้า

ต้นไผ่        
ไผ่ : บางท้องถิ่นถือว่า ต้องให้ผู้สูงอายุปลูกถึงจะดี หนุ่มสาวห้ามปลูก เพราะถือกันว่าลำต้นไผ่ใช้เป็นคานสำหรับหามโลงหรือผีไปฝังในป่าช้า
         
ต้นโพธิ์ ต้นไทร ต้นมะขาม และต้นตาล :  เป็นไม้ใหญ่ ไม่นิยมปลูกใกล้บ้านหรือในรั้วบ้าน เชื่อว่ามีวิญญาณอาศัยอยู่
         
พุดตาน : เนื่องจากดอกพุดตานเปลี่ยนสีได้ตลอดวัน จากขาวเป็นชมพูอ่อน และเข้มขึ้นในตอนบ่าย ทำให้เจ้าของเป็นคนสับปลับ
        
เพกา : เป็นของต้องห้าม ฝักมีปลายแหลมเหมือนคมหอก ดาบ ตรีศูลหรือนพศูลที่อยู่บนยอดปรางค์ บางทีก็เรียกว่า ฝักเพกา
         
ปรง : ภาคกลางไม่นิยมปลูกในบ้าน เพราะถือกันว่า ใบของมันมักถูกนำมาใช้ประกอบหีบศพหรือทำพวงหรีด

มะละกอ         
มะละกอ :  ชื่อคล้าย มร หรือ มะระ แปลว่า ตาย เอามาปลูกไว้ในรั้วบ้าน จะทำให้ฉิบหายวายวอด มักนิยมปลูกนอกรั้วบ้าน หรือในสวนไกลออกไป
         
มะตูม : ปลูกในรั้วบ้านอาจเกิดอุบัติเหตุ เกิดอัคคีไฟตูมตามแน่
       
มะขามเทศ กับหวาย : เป็นไม้มีหนามซึ่งถือกันว่าเป็นสิ่งที่จะทำให้เกิดอุปสรรคต่าง ๆ
         
มะพูด : เป็นต้นไม้ใหญ่เหมือนกัน มีอาถรรพ์บางอย่าง
        
มะเฟือง : ท่านว่าไม่ดี คนมีวิชาอาคม หรือถูกลงยันต์ห้ามลอดกิ่งมะเฟือง
         
มะรุม : ผู้คนจะมารุมข่มเหงเอา
    
มะกอก : เชื่อว่าจะทำให้เจ้าของบ้านกลายเป็นคนกลับกลอก เชื่อถือไม่ได้
        
รักเร่ : ใครปลูกจะเป็นคนหลายใจ เร่ขายรัก

ดอกลีลาวดี หรือดอกลั่นทม  

ลั่นทม : ปลูกไว้ในบ้านไม่ดี มีสุขจะกลายเป็นทุกข์ คู่ครองจะห่างเหิน จะมีแต่ความทุกข์
นานาประการ  คำว่า ลั่นทม ออกเสียงคล้ายระทม อันแปลว่าความทุกข์ แต่ภาคเหนือ เรียกลั่นทมว่า "จำปาลาว" ทางภาคอีสานเรียกว่า "จำปา" ไม่มีความหมายของความทุกข์จึงไม่ถือกัน      

หลุ่ย : ต้นไม้ประเภทนี้มีฝัก มักขึ้นในดินแดนใกล้ทะเล เอามาปลูกในบ้าน จะทำให้หลุดลุ่ย บ้านจะเป็นความ ต้องรื้อถอน ต้องขายโยกย้ายกระจายไป    

หลิว : คนจีนไม่นิยมปลูกในบ้านเพราะใบหลิวลู่ย้อย




ต้นไม้ปีศาจทะเลทราย


มาทำความรู้กับต้นไม้ปีศาจทะเลทราย กันเถอะ
Welwitschia mirabilis เป็นชื่อในภาษาอังกฤษ ในภาษาไทย เราเรียกต้นนี้ว่า
" ต้นปีศาจทะเลทราย "

ปีศาจทะเลทรายถือเป็นพันธุ์พืชโบราณ ไม่มีการพัฒนารูปร่างมาเป็นเวลานานนับล้านปี ถือว่า "เป็นฟอสซิลที่มีชีวิต"
(รุ่นเดียวกับ จระเข้ เต่า สนโบราณ แปะก๊วย)

เนื่องจากเป็นพืชโบราณ เมล็ดของต้นไม้ชนิดนี้จึง เป็นเมล็ดเปลือย ไม่มีเปลือกหุม
และที่สำคัญพืชชนิดนี้ มีอายุที่ยืนยาวมาก คือมีอายุประมาณ 1,600 ปี  (ถ้าจะปลูก คงต้องฝากรุ่นเหลน ของเหลน ของเหลน ดูแลต่อ)
และทั้งชีวิตของมัน จะมีใบ เพียง 2 ใบ เท่านั้น!!!  โดยใบจะยาวออกมาเรื่อยๆ คล้ายกับเส้นผมของคน และปลายใบก็จะแห้งเหี่ยว

ใบของมันมีประสิทธิภาพ ในการดูดซับน้ำค้าง ในเวลากลางคืน ได้สูงกว่าใบไม้ทั่วไป เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่อาศัย หาน้ำได้ยาก
ปีศาจทะเลทราย เป็นพืชในสกุล welwitschia (ทั้งสกุล มีชนิดเดียว เพราะชนิดอื่นสูญพันธุ์ไปหมดแล้ว)

ชื่อสายพันธุ์ คือ Welwitschia mirabilis (mirabilis หมายถึง ความอัศจรรย์)
เป็นต้นไม้พื้นเมืองที่มี ถิ่นกำเนิดในทะเลทราย นามิบ 
ถูกค้นพบครั้งแรก ในปี  ค.ศ.1859 โดย ด็อกเตอร์ Friedrich welwitsch  นักพฤษศาสตร์ ชาวออสเตรเลีย
(นำชื่อมาตั้ง เป็นชื่อสกุลของต้นไม้ภายหลัง)

ปีศาจทะเลทราย ที่มีอายุประมาณ 1,600 ปี
โดยทั้งชีวิต จะมีใบเพียงแค่ 2 ใบ เท่านั้น โดยใบจะงอกยาวมาจาก ตรงกลางของต้น และ ปลายใบก็จะแห้งเหี่ยวไป

ส่วนต้นใหญ่ๆ ที่เห็นเหมือนกับมีหลายใบ มาจากกระแสลมแรง ในทะเลทรายที่พัด ทำให้ใบขาด จนทำให้ดูเหมือนว่ามีหลายใบ
ดอกของ ปีศาจทะเลทราย (จริงๆ ไม่ใช่ดอก แต่เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่คล้ายดอก ในพืชโบราณ)

เมล็ดของปีศาจทะเลทราย เป็นเมล็ดเปลือย ไม่มีเปลือกหุ้มแบบพืชยุคใหม่
(เมล็ดไม่ได้อยู่ในผล)
ต้นไม่ใหญ่  เท่ารถเอง!!!

รายการบล็อกของฉัน