ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2559

ราสเบอร์รี่


ราสเบอร์รี่
แรสเบอร์รี หรือ ราสเบอร์รี ภาษาอังกฤษ Raspberry คำว่า “ราสเบอร์รี่” คือชื่อเรียกของผลไม้หลายชนิดในสกุล Rubus ซึ่งเป็นสกุลเดียวกันกับแบล็คเบอร์รี่ และเป็นหนึ่งในผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ โดยส่วนใหญ่จะจัดอยู่ในสกุลย่อย Idaeobatus สำหรับในภาษาท้องถิ่นของไทยบ้านเราอาจจะเรียกแรสเบอร์รี่ว่า “หนามไข่ปู” และผลไม้มีถิ่นกำเนิดในแถบยุโรป

ผลไม้ราสเบอร์รี่ ในประเทศไทยก็มีการเพาะด้วยเช่นกัน โดยจะพบกระจายพันธุ์อยู่บนพื้นที่ภูเขาสูง เช่น ดอยภูคา จังหวัดน่าน, ภูกระดึง จังหวัดเลย, ดอยอินทนนท์ ดอยเชียงดาว ดอนผ้าห่มปก จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น


ลักษณะของราสเบอร์รี่
ต้นราสเบอร์รี่ เป็นพืชที่มีอายุหลายปี ลักษณะของผลรูปกรวยมีสีแดง ผลมีขนาดเล็ก และมีขนนุ่ม ๆอยู่ที่เปลือกเล็กน้อยหรือไม่มีเลย ลำต้นและตัวต้นมีความแข็งแรงมาก สามารถขยายพันธุ์ไปได้เรื่อย ๆ อย่างไม่มีจำกัด เพราะมันสามารถงอกลำต้นขึ้นมาใหม่จากลำต้นเดิมได้และรากจะเจาะลึกลงไปในดิน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้หน่อที่แทงขึ้นมาในแต่ละปี และวิธีการติดผล


ราสเบอรี สามารถเจริญเติบโตได้ดีในทุกสภาพภูมิอากาศทั่วโลก แต่จะนิยมปลูกกันในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็นมากกว่า เช่นทางอเมริกาและทางยุโรป นิยมเก็บเกี่ยวในช่วงที่ผลสุกงอก โดยดูจากความเข้มสดของสีผลเป็นหลัก เพราะผลจะมีรสหวานมาก จึงเหมาะแก่การนำมารับประทานเป็นผลไม้

ราสเบอรี่ เป็นผลไม้ที่มีทั้งรสหวานและรสเปรี้ยว เป็นผลไม้ทางการค้าที่สำคัญมากของทางยุโรป นอกจากจะนำมาใช้รับประทานเป็นผลไม้แล้ว ยังนำมาใช้อุตสาหกรรมการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย โดยพบว่าขณะนี้ประเทศไทยได้มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผลไม้ประเภทนี้ปีละหลายสิบล้านบาทเลยทีเดียว


ราสเบอร์รี่สีม่วง
ประโยชน์ของราสเบอร์รี่
ผลไม้ราสเบอรี่ มีไขมันและแคลอรี่ต่ำ และยังเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยเส้นใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย
ราสเบอรี่ มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย และช่วยป้องกันการเกิดโรคต่าง ๆ
ช่วยต่อต้านมะเร็ง เพราะอุดมไปด้วยกรดเอลลาจิก (Ellagic acid) ซึ่งในทางการแพทย์ได้รับการยอมรับว่ามันมีฤทธิ์แรงที่สุดในการช่วยป้องกันมะเร็ง โดยพบว่ากรดชนิดนี้สามารถช่วยจับสารพิษที่เป็นสารก่อมะร็งไม่ให้จับกับดีเอ็นเอ จึงช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งได้ และยังช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งไม่ให้ลุกลาม ทำให้เซลล์มะเร็งเกิดภาวะตายตามธรรมชาติ โดยไม่ทำลายเซลล์ปกติ เหมือนการใช้ยาเคมีบำบัด


สรรพคุณราสเบอรี่ ช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์หรือความจำเสื่อม
*ราสเบอร์รี่ ผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินซี ช่วยในการต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย และยังมีวิตามินเอ วิตามินอี ที่ช่วยในการชะลอการเกิดริ้วรอย บำรุงผิวพรรณ และช่วยสมานผิวหรือแผลต่าง ๆ ให้หายเร็วขึ้น
ราสเบอร์รี่ประกอบด้วยแร่ธาตุสำคัญอย่างแมงกานีส โพแทสเซียม แมกนีเซียม ทองแดง และธาตุเหล็ก ซึ่งช่วยควบคุมอัตราการเต้นหัวใจและช่วยควบคุมความดันโลหิต และช่วยในการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง
*ราสเบอร์รี่อุมไปด้วยวิตามินบีรวม วิตามินเค และวิตามินอื่น ๆ ซึ่งมีส่วนช่วยให้ร่างกายเผลาผลาญคาร์โบไฮเดรต โปรตีนและไขมัน
*ราสเบอร์รี่ลดอ้วน ผลไม้ราสเบอร์รี่มีน้ำตาลต่ำ จะช่วยควบคุมน้ำหนักตัวได้
สารสีแดงในราสเบอร์รี่มีคุณสมบัติในการช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต
*ราสเบอร์รี่มีสารอาหารที่เอื้อต่อการมีบุตรทั้งเพศชายและเพศหญิง
ช่วยลดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับสเปิร์มได้ถึง 20% (สาเหตุอาจมาจากภาวะความเครียด) ซึ่งมากกว่าผู้ชายที่ไม่ได้บริโภคผลไม้ราสเบอร์รี่
ช่วยรักษาสมดุลของฮอร์โมนเพศได้เป็นอย่างดี
ช่วยลดโอกาสการแท้งบุตรในเพศหญิง เพราะราสเบอร์รี่มีโฟเลต ที่เป็นตัวช่วยเพิ่มความสมบูรณ์ให้กับตัวอ่อนระหว่างการตั้งครรภ์
*ราสเบอร์รี่ สรรพคุณของใบสามารถนำมาใช้ทำเป็นยาได้
*ราสเบอรี่สด ใช้รับประทานเป็นผลไม้ หรือนำไปทำอาหารอย่างอื่นได้ทั้งอาหารคาวและหวาน
*ราสเบอร์รี่ สามารถนำมาแปรรูปทำเป็น น้ำราสเบอร์รี่ *ราสเบอร์รี่ปั่น เค้กราสเบอร์รี่ แยมราสเบอร์รี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ใช้แต่งกลิ่นสีในขนมหวานอย่างหลากหลาย ฯลฯ



มัลเบอร์รี่(ลูกหม่อน)


มัลเบอร์รี่(ลูกหม่อน)
มัลเบอร์รี่ (ลูกหม่อน) อบแห้ง มีประโยชน์มากกว่าที่คิด
ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่กำลังเป็นที่นิยมนำมาบริโภคมากในกลุ่มวัยรุ่น และกลุ่มคนรักสุขภาพที่ต้องการบริโภคผลไม้ที่ให้ประโยชน์ต่อสมองและร่างกาย ถ้ากล่าวถึงผลไม้ตระกูลเบอร์รี่แล้วนั้น คงหนีไม่พ้นตระกูลเบอร์รี่จากต่างประเทศ ซึ่งมีมูลค่าการนำเข้าหลายร้อยล้านบาทต่อปี แต่หากลองหันกลับมามองผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ที่เป็นของไทย หลายๆ คนคงพอจะคิดออก นั่นคือ ”ผลหม่อน” หรือ “มัลเบอร์รี่” ซึ่งพบว่า ผลหม่อนมีกรดโฟลิกสูงกว่าบลูเบอร์รี่ถึง 1-2 เท่า ไม่แพ้ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่อื่นๆ เลย

“หม่อน” หรือ “มัลเบอร์รี” (Mulberry) ภาคอีสานเรียกว่า “มอน” ภาษาจีนแต้จิ๋วเรียกว่า “ซิวเอียะ” เป็นพืชอาหารตามธรรมชาติชนิดเดียวของหนอนไหม และเป็นหัวใจสำคัญของการประกอบอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ปริมาณผลผลิตและคุณภาพรังไหมจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับคุณภาพใบหม่อน หม่อนเป็นพืชที่มีอายุนาน 80-100 ปี ถ้าไม่ได้รับความกระทบกระเทือน จากการเก็บเกี่ยวหรือโรค แมลงศัตรู สามารถเจริญได้ดีตั้งแต่เขตอบอุ่นถึงเขตร้อน หม่อนที่เกิดในเขตอากาศหนาว จะหยุดพักไม่เจริญเติบโต นับตั้งแต่ปลายฤดูใบไม้ร่วงจนถึงฤดูใบไม้ผลิ ผลหม่อนสามารถรับประทานได้


หม่อนเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ใบเดี่ยวออกสลับ ดอกเป็นดอกช่อ ทรงกระบอก กลีบดอกสีขาวหม่น ผลเป็นช่อทรงกระบอก

“ผลหม่อน” หรือ ”Mulberry” การใช้ประโยชน์จากผลหม่อนนั้นหลากหลายมากมายไม่น้อยไปกว่าส่วนอื่น ๆ ของต้นหม่อนเองเลย ผลหม่อนสุกให้รสชาติหวานอมเปรี้ยว มีสรรพคุณใช้รักษาโรคไขข้อ บำรุงหัวใจ บำรุงผมให้ ดกดำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศแถบเอเชีย ชาวจีนเรียกผลหม่อนว่า sangshen ในหนังสือ modern Chinese Materia Medica ให้สมญานามผลหม่อนว่าเป็น Blood tonic นั่นย่อมแสดงถึงความสำคัญในด้านบำรุงเลือดตามคติความเชื่อของชาวจีนได้เป็นอย่างดี แพทย์ชาวจีนในสมัยราชวงศ์หมิง ชื่อ เลี่ยงฮียัง ได้กล่าวถึงคุณประโยชน์ของการรับประทานผลหม่อนสุกไว้ว่า “ทำให้ตับไม่มีไฟ หัวใจคลายความร้อนรุ่ม เส้นประสาทตาดี สายตาก็แจ่มใส ร่างกายก็สุขสบาย” ส่วนด้านของแพทย์แผนจีนนั้นแนะนำให้ใช้ผลหม่อนสุกในการรักษาสมดุลของพลังหยิน ป้องกันผมหงอกก่อนวัย โดยใช้ร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ ส่วนในทวีปยุโรป ออสเตรเลียและอเมริกาเหนือ นิยมปลูกต้นหม่อนไว้ตามสนามหญ้าหน้าบ้านหรือหลังบ้านเพียง 2-3 ต้น เพราะนอกจากจะเป็นไม้ประดับแล้ว ยังให้ผลไว้รับประทานในครอบครัวอีกด้วย


กรมหม่อนไหมจึงได้ศึกษาวิจัย ผลหม่อน หรือ มัลเบอร์รี่ ซึ่งพบว่า ผลหม่อนมีกรดโฟลิกสูงกว่าบลูเบอร์รี่ถึง 1-2 เท่า และยังมีสารกลุ่มโพลีฟีนอล ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีประโยชน์ช่วยให้เซลล์เม็ดเลือดแดงเจริญเต็มที่เซลล์ประสาทไขสันหลังและเซลล์สมองเจริญเป็นปกติ กระแสเลือดหมุนเวียนดี และหลอดเลือดแข็งแรง รวมถึงลดอาการแพ้ต่างๆ และช่วยยืดอายุเม็ดเลือดขาวอีกด้วย

ผลหม่อนสามารถนำไปแปรรูปเป็นอาหารและเครื่องดื่มได้หลายชนิด เช่น น้ำหม่อนพร้อมดื่ม น้ำหม่อนสกัด น้ำหม่อนเข้มข้น แยมหม่อน และท้อปปิ้งหม่อน ซึ่งปัจจุบันมีการผลิตในเชิงพาณิชย์มากมาย แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีปัญหาสำคัญที่จะต้องดำเนินการแก้ไข คือ ผลหม่อนเน่าเสียเร็ว เนื่องจากมีผิวบาง ซึ่งในอนาคตหากสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้ คาดว่าแนวโน้มการปลูกและการบริโภคผลหม่อนจะขยายตัวสูงขึ้น และมีศักยภาพที่จะใช้ทดแทนการนำเข้าผลไม้ตระกูลเบอร์รี่จากต่างประเทศได้
อีกทั้งหม่อนเป็นผลไม้ที่ไม่มีการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดโรค แมลง จึงมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคอย่างยิ่ง ผลิตภัณฑ์มัลเบอร์รี่หรือผลหม่อนจึงเป็นผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่เป็นทางเลือกใหม่ที่มีผลดีต่อสุขภาพและปลอดภัยต่อผู้บริโภค

นอกจากนี้จากการทำวิจัยร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พบว่า ผลหม่อนสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการทดลองกับกลุ่มอาสาสมัคร สำหรับการดำเนินงานด้านการส่งเสริมเกษตรกร กรมหม่อนไหมดำเนินการส่งเสริมการปลูกหม่อนแก่เกษตรกรทั้งการปลูกเพื่อจำหน่ายผลสด รวมไปถึงการแปรรูปผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้ประชาชนปลูกหม่อนเป็นผลไม้ประจำบ้าน



ฝ้ายขาว


ฝ้ายขาว
ฝ้ายขาว ชื่อสามัญ Cotton plant Cotton, Sea Iceland Cotton
ฝ้ายขาว ชื่อวิทยาศาสตร์ Gossypium herbaceum L. จัดอยู่ในวงศ์ชบา (MALVACEAE)
สมุนไพรฝ้ายขาว มีชื่ออื่น ๆ ว่า ฝ้าย ฝ้ายไทย ฝ้ายหีบ (ไทย), เหมียวฮวา เฉ่าเหมียนฮวา (จีนกลาง)
ฝ้ายดอก (เชียงใหม่), ฝ้ายชัน (ลำปาง), ฝ้ายเทศ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ฝ้ายตุ่น เป็นต้น


ลักษณะของฝ้ายขาว
ต้นฝ้ายขาว จัดเป็นพรรณไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดย่อม มีอายุได้หลายปี ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 1-3 เมตร แตกกิ่งก้านน้อย ลำต้นเป็นสีเขียวมีลักษณะตั้งตรง มีขนละเอียดขึ้นหนาแน่นขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย จัดเป็นพรรณไม้พื้นเมืองที่ปลูกกันมากทางภาคเหนือของประเทศไทย มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้
ใบฝ้ายขาว ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กว้าง ใบแยกออกเป็นแฉก ปลายใบแหลม โคนใบเว้าเล็กน้อย ขอบใบเรียบและเว้าเป็นแฉก 3-5 แฉก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 8-10 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-12 เซนติเมตร ก้านใบยาวประมาณ 2.5-8 เซนติเมตร


ดอกฝ้ายขาว ออกเป็นดอกเดี่ยว โดยจะออกตามซอกใบและที่ปลายกิ่ง มีใบประดับหุ้ม ปลายใบประดับเป็นเส้นแหลมประมาณ 12 เส้น กลีบดอกบางมี 5 กลีบ กลีบดอกค่อนข้างกลมเป็นสีขาวอมเหลือง ออกเรียงซ้อนกัน แต่ละกลีบกว้างประมาณ 2.5-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร เมื่อดอกบานเต็มที่จะเปลี่ยนเป็นสีชมพู ใจกลางดอกเป็นสีม่วงอ่อน ๆ มีเกสรเพศผู้มากมายรวมอยู่ในดอก ดอกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-7 เซนติเมตร มีกลีบเลี้ยงรูปสามเหลี่ยม ยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร และขอบเป็นฟันเลื่อย 6-8 หยัก ออกดอกในช่วงประมาณเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน

ผลฝ้ายขาว ผลมีลักษณะเป็นรูปกลม เป็นผลแห้ง แตกได้ตามพูเป็น 3-4 ซีก ภายในมีเมล็ดขนาดเล็กสีดำหรือสีน้ำตาลจำนวนมาก เมล็ดมีลักษณะค่อนข้างกลมและแข็ง ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร และมีขนปุยสีขาวหุ้มเมล็ดอยู่ จะออกผลเมื่อยดอกแก่ร่วงไปแล้ว


สรรพคุณของฝ้ายขาว
รากมีรสชุ่ม เป็นยาร้อนเล็กน้อย ออกฤทธิ์ต่อปอดและตับ ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง (ราก)
รากใช้เป็นยาแก้กระษัยลม (ราก)
น้ำมันจากเมล็ดมีสรรพคุณช่วยลดระดับไขมันเลือด (น้ำมันจากเมล็ด)
รากมีสรรพคุณแก้ไอ ช่วยขับเสมหะ (ราก)
รากใช้เป็นยาแก้หอบ (ราก)
รากนำมาต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาแก้หลอดลมอักเสบ เมื่อนำน้ำที่ต้มได้จากรากมาให้ผู้ป่วยที่มีอาการหลอดลมอักเสบรับประทาน พบว่าสามารถรักษาผู้ป่วยให้หายเป็นปกติได้ คิดเป็น 70-80% (ราก)
เมล็ดใช้เป็นยารักษาอาการอั้นปัสสาวะไม่อยู่ (เมล็ด)
เมล็ดใช้เป็นยาแก้ริดสีดวง ถ่ายเป็นเลือด (เมล็ด)
รากและเปลือกรากมีรสขื่นเอียน ใช้ปรุงเป็นยาขับประจำเดือนของสตรี แก้ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ ช่วยขับหรือแก้มุตกิดตกขาว ทำให้มดลูกบีบตัวอย่างแรง อาจทำให้แท้งบุตรได้ง่าย สตรีมีครรภ์ไม่ควรใช้ (ราก,เปลือกราก,เปลือกลำต้น)


เมล็ดใช้เป็นยาแก้สตรีตกเลือด รวมถึงตกขาว (เมล็ด)
เมล็ดมีสรรพคุณเป็นยาแก้สมรรถภาพทางเพศเสื่อม (เมล็ด)
ช่วยแก้อาการตัวบวม (ราก)
เมล็ดมีรสเผ็ดร้อน เป็นยาร้อน มีพิษเล็กน้อย ใช้เป็นยาบำรุงไต ทำให้ไตอบอุ่น (เมล็ด)
ใช้เป็นยาแก้ตับอักเสบเรื้อรัง เมื่อใช้รากเข้ากับตำรายารักษาแก้ตับอักเสบ โดยใช้รากเป็นยาหลัก ใช้วันละ 15 กรัม รับประทานวันละ 2-3 ครั้ง ติดต่อกันเป็นเวลา 15 วัน พบว่าร่างกายของผู้ป่วยมีการผลิตเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น ทำให้อาการอักเสบน้อยลงและผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น (ราก)
รากใช้เป็นยาห้ามเลือด (ราก)
น้ำมันจากเมล็ดมีรสเผ็ดร้อน เป็นยาร้อน มีพิษเล็กน้อย ใช้เป็นยาแก้กลากเกลื้อน แก้ฝีหนองภายนอก (น้ำมันจากเมล็ด)

น้ำมันจากเมล็ดใช้เป็นยาแก้แผลมีหนองเรื้อรัง แก้โรคผิวหนัง รักษาผิวหนังให้ชุ่มชื้น รวมถึงช่วยบีบมดลูกเพื่อช่วยลมเบ่ง (น้ำมันจากเมล็ด)
ข้อห้ามใช้ : สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้ เพราะอาจทำให้เกิดการแท้งบุตรได้ง่าย
ขนาดและวิธีใช้ : การใช้ตาม 


รากแห้งให้ใช้ครั้งละ 15-35 กรัม ส่วนเมล็ดให้ใช้ครั้งละ 6-15 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน การใช้ภายนอกให้ใช้น้ำต้มชะล้างบาดแผลหรือใช้น้ำที่ต้มมาอบร่างกาย[3] ส่วนการใช้น้ำมันจากเมล็ดตาม  ให้นำน้ำมันเมล็ดฝ้ายผสมปรุงในอาหาร เช้าและเย็น หรือใช้บรรจุแคปซูลกิน 1-2 แคปซูล เช้าและเย็น
หมายเหตุ : ในวงศ์เดียวกัน ยังมีฝ้ายอีกหลายชนิด เช่น Gossypium hirstum L., Gossypium barbadense L. ซึ่งแต่ละชนิดจะมีสรรพคุณที่ใกล้เคียงกัน และสามารถนำมาใช้แทนกันได้
advertisements

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของฝ้ายขาว
สารสำคัญที่พบ ได้แก่ alamine, apocynin, aspartic acid, glutamic acid, glycine, gossypetin, gossyptrin, gossypol


รายการบล็อกของฉัน