ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันอาทิตย์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2566

มะลิก้านแดงเป็นไม้ดอกหอม สามารถนำไปสกัดทำน้ำหอมได้


มะลิก้านแดงเป็นไม้ดอกหอม สามารถนำไปสกัดทำน้ำหอมได้


ดอกคงจะหอมมากเลยนะครับมะลิก้านแดงแต่ไม่รู้ว่ากลิ่นจะคล้ายดอกมะลิหรือเปล่าอยากดมกลิ่นมันมากเลยคงจะหอมคงจะหอมฟุ้งจรุ่งใจมากเลยนะครับใครเคยดมดอกมะลิก้านแดงช่วยมาพรรณาความหอมให้หน่อยนะครับ


มะลิก้านแดง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Jasminum grandiflorum) เป็นพืชพันธุ์พื้นเมืองวงศ์มะลิในเอเชียใต้ คาบสมุทรอาหรับ (โอมาน, ซาอุดีอาระเบีย) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา (เอริเทรีย, เอธิโอเปีย, จิบูตี, โซมาเลีย, ซูดาน) ทะเลสาบแอฟริกัน (เคนยา, ยูกันดา, รวันดา) 

มณฑลยูนนานและมณฑลเสฉวนของประเทศจีน มีการปลูกและใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศกินี, ประเทศมัลดีฟส์, ประเทศมอริเชียส, เรอูนียง, เกาะชวา, หมู่เกาะคุก, รัฐเชียปัส, ลาตินอเมริกาและแถบทะเลแคริบเบียน

ข้อมูลเบื้องต้น มะลิก้านแดง, การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ ...
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่มเลื้อย กิ่งก้านสีเขียว มีใบประกอบแบบขนนก ช่อใบออกตรงข้ามเป็นคู่ ก้านใบแผ่ออกเป็นครีบแคบๆ ใบย่อยมี 5-9 ใบ รูปรีแกมสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ใบย่อยปลายก้าน มีขนาดใหญ่ที่สุด ขนาดกว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 2.5-3.5 ซม. 


ดอก สีขาวแกมม่วง ด้านหลังกลีบมีสีชมพูอมม่วง ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง หรือกิ่งด้านข้าง ช่อดอกไม่แน่น กลีบรองดอกสีเขียว 5 กลีบ รูปขอบขนานแคบปลายแหลม กลีบดอกตอนโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ยาว 2-2.5 ซม. ตอนปลายแยกเป็น 5 กลีบ

ดาวเรืองเม็กซิโกทุกส่วนของต้นมีกลิ่นหอมแต่ ทำให้เกิดความมึนงง สับสน ลำต้นแห้งใช้เผาไล่แมลง


ดาวเรืองเม็กซิโกทุกส่วนของต้นมีกลิ่นหอมแต่ มีสารที่ทำให้เกิดความมึนงง สับสน ลำต้นแห้งใช้เผาไล่แมลง

ดาวเรืองเม็กซิโก
ดาวเรืองเม็กซิโก ชื่อวิทยาศาสตร์: Tagetes lucida เป็นพืชล้มลุกในวงศ์ Asteraceae 



ทุกส่วนของต้นมีกลิ่นหอม ใบรูปหอก ขอบใบจักละเอียด ดอกสีเหลืองสด พบในเม็กซิโก มีสารกลุ่มแลกโตน เทอร์พีน คูมารินส์ ทำให้เกิดความมึนงง สับสน ลำต้นแห้งใช้เผาไล่แมลง

ละเอียดเพิ่มเติม
ดาวเรืองชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดในแถบอเมริกากลาง ถกนำมาใช้เป็นสมุนไพร และประกอบอาหาร โดยใบมีรสชาติเหมือนกับทาร์รากอน สามมารถใช้แทนกันได้ มันมีกลิ่นหอมเหมือนโป๊ยกั๊ก ในส่วนของดอกแห้งสามารถนำมาชงชาดื่มได้ และต้นนำมาเผาใช้ไล่ยุงและแมลงได้

ข้อมูลเบื้องต้น ดาวเรืองเม็กซิโก, การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ ...
ดาวเรืองเม็กซิโก


ชื่อพ้อง
Tagetes anethina Sessé & Moc.
Tagetes florida Sweet
Tagetes gilletii De Wild.
Tagetes lucida f. florida (Sweet) Voss
Tagetes pineda La Llave
Tagetes schiedeana Less
Tagetes seleri Rydb

กล้วยศรีน่านกล้วยชนิดใหม่ของโลกเป็นพืชชนิดแรกที่ตั้งชื่อให้จังหวัดน่าน พบเป็นครั้งแรกที่อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน


กล้วยศรีน่านกล้วยชนิดใหม่ของโลกเป็นพืชชนิดแรกที่ตั้งชื่อให้จังหวัดน่าน พบเป็นครั้งแรกที่อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน

กล้วยศรีน่านกล้วยชนิดใหม่ของโลก
แน่นอนแล้วครับเพราะว่าถ้าคนไม่รู้หรือว่าพึ่งค้นพบพืชสายพันธุ์ชนิดใหม่ๆมันก็กลายเป็นพืชชนิดใหม่ของโลก

ทั้งๆที่บางทีมันอาจจะมีมานานแล้วก็ได้พบเมื่อคนไปเจอพบครั้งแรกก็เลยกลายเป็นพืชชนิดใหม่ของโลก


กล้วยศรีน่านกล้วยชนิดใหม่ของโลกที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ประกาศชื่อเสียงของประเทศไทยที่มีพืชพันธุ์หลากหลายแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของประเทศไทยไปในตัว

แต่ก็ยังว่านะครับเดี๋ยวก็มีพวกแป๊ะเจ้าสัวงกเงิน คิดแต่จะเอากำไรมา เข้ามาซื้อหรือแอบบุกรุกที่ดินและสุดท้ายก็ตัดไม้ทำลายป่าปลูกพืชผักเศรษฐกิจอะไรๆขาย ตัดไม้ทำลายป่า ตัดต้นไม้ที่เคยมีอยู่หลากหลายเป็นป่าจนหมดสิ้นความเสื่อมสลายก็ตามมาเช่นเดิมถ้าไม่มีการป้องกันการบุกรุกทำลายป่านะครับ


กล้วยศรีน่าน ชื่อวิทยาศาสตร์: Musa nanensis Swangpol & Traiperm กล้วยศรีน่านเป็นกล้วยชนิดใหม่ของโลกที่เพิ่งได้รับการตั้งชื่อและตีพิมพ์ในวารสารวิชาการทางพฤกษศาสตร์ระดับนานาชาติเมื่อต้นเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558

Si Nan, new banana species from Thailand กล้วยศรีน่าน
กล้วยศรีน่านเป็นกล้วยป่าขนาดกลาง ลำต้นเทียมสูงราว 180 ซม. ลักษณะที่โดดเด่นคือมีปลีสีแดงส้ม ก้านปลีขนานพื้นแล้วโค้งขึ้น แตกต่างจากกล้วยทั่วไปที่มักมีปลีห้อยลง หรือกล้วยประดับที่มีปลีตั้งขึ้น ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ มีเกสรเพศผู้ 6 อัน แตกต่างจากกล้วยชนิดอื่นในโลกที่มีเกสรเพศผู้ 5 อัน ผลของกล้วยศรีน่านมีเมล็ดสีดำแข็งจำนวนมาก รับประทานได้แต่เนื้อน้อย

กล้วยศรีน่านพบขึ้นในพื้นที่ป่าดิบแล้ง ในหุบเขาใกล้ลำธาร และพบเพียง 5-10 กอเท่านั้น อีกทั้งอยู่ในพื้นที่ป่าที่มีแนวโน้มจะถูกบุกรุกแผ้วถางทำลาย 

หากพิจารณาด้วยหลักเกณฑ์ของ สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ หรือ IUCN (International Union for Conservation of Nature and Natural Resources) พบว่าเป็นพืชที่มีความเสี่ยงขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์ (Critically Endangered - CR)



กล้วยศรีน่านเป็นพืชชนิดแรกที่ตั้งชื่อให้จังหวัดน่าน โดยพบเป็นครั้งแรกที่อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน และยังไม่พบในพื้นที่อื่นในประเทศไทยอีกเลย

กล้วยศรีน่านถูกพบเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2545 โดย ดร. ปรัชญา ศรีสง่า หัวหน้าส่วนหอพรรณไม้ สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ จากนั้น 10 ปีต่อมาได้แจ้งให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศศิวิมล โฉมเฉลา แสวงผล อาจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าไปตรวจสอบและพบว่าเป็นกล้วยชนิดใหม่ จึงได้รวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมทั้งด้านสัณฐานวิทยา และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปวีณา ไตรเพิ่ม ตรวจสอบด้านกายวิภาคศาสตร์ เพื่อยืนยันความแตกต่างจากกล้วยป่าชนิดอื่น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศศิวิมล โฉมเฉลา แสวงผล และรองศาสตราจารย์ ดร. ปวีณา ไตรเพิ่ม ตีพิมพ์ชื่อกล้วยชนิดใหม่นี้ในวารสาร "ซิสเตมาติก โบตานี (Systematic Botany)" ปีที่ 40 ฉบับที่ 2 เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2558

ต่อมาในปลายปี พ.ศ. 2558 Dr. Stephan W. Gale จาก Kadoorie Farm and Botanic Garden, Hong Kong, China และ Mrs. Somsanith Bouamanivong, Director of Ecology Division, Curator of National Herbarium of Laos (HNL) พบกล้วยศรีน่านใกล้ Kasi, Lao PDR


การค้นพบกล้วยศรีน่าน เป็นการค้นพบชนิดพันธุ์พืชที่มีความสำคัญ ทั้งด้วยลักษณะดอกที่พิเศษแตกต่างจากกล้วยชนิดอื่น ทั้งด้วยความสวยงามของปลี ทั้งด้วยเป็นการค้นพบในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงซึ่งเป็นภูมิภาคสำคัญที่มีความเปราะบางทางนิเวศวิทยา มีเอกลักษณ์และถูกคุกคามจากการตัดไม้ทำลายป่าอย่างรุนแรง กล้วยศรีน่านได้รับเลือกจากวารสาร Science News และ องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล ให้เป็นหนึ่งในชนิดพันธุ์เด่นที่สุดที่ถูกค้นพบในปี ค.ศ. 2015 และมีการนำเสนอข่าวการค้นพบนี้ในสื่อหลายแห่ง เช่น เว็บไซต์ของ BBC Thai

เนื่องจากเป็นกล้วยที่มีปลีสวยงาม สีสด และออกปลีมาก แต่ต้องการอากาศเย็น จึงมีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นไม้ประดับหรือตัดปลีเป็นไม้ตัดดอกได้หากปลูกในบนพื้นที่สูงที่มีอากาศเย็น


ทั้งนี้ในประเทศไทยมีกล้วยป่าพื้นเมือง (native wild species) ราว 10 ชนิด เช่น กล้วยหก กล้วยแข้  กล้วยบัวสีส้ม กล้วยศรีนรา กล้วยนวล กล้วยผา เป็นต้น กระจายพันธุ์อยู่ทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะบริเวณชายป่าบนเทือกเขาต่างๆ กล้วยศรีน่านเป็นชนิดใหม่ที่ค้นพบล่าสุด ซึ่งก่อนหน้านี้เมื่อปี พ.ศ. 2551 ผศ. ศศิวิมล และทีมสำรวจกล้วยของมหาวิทยาลัยมหิดลได้พบกล้วยชนิดใหม่ทางภาคตะวันตกของประเทศไทย และตั้งชื่อว่ากล้วยนาคราช (Musa serpentina Swangpol & Somana)


รายการบล็อกของฉัน