ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

ตะลึง ทุ่งกัญชา ใต้ดิน ภายในหลุมหลบภัยนิวเคลียร์ ที่มีมูลค่ากว่า 45 ล้านบาท


ทุ่งกัญชา ใต้ดิน ภายในหลุมหลบภัยนิวเคลียร์ ที่มีมูลค่ากว่า 45 ล้านบาท

ตำรวจได้เข้าไปตรวจค้นหลุมหลบภัยนิวเคลียร์แห่งหนึ่ง ซึ่งก็ต้องทำให้พวกเค้าต้องอึ้งแตกกันไป เพราะดันเข้าไปพบกับต้นกัญชาจำนวนมาก ทั้ง 20 ห้องที่เอาไว้หลบภัยจากระเบิดนิวเคลียร์ ได้กลายเป็นแหล่งปลูกกัญชาชั้นดี 

ทางตำรวจคาการณ์กันว่า ทุ่งกัญชา ที่เค้าพบทั้งหมดนี้ อาจมีมูลค่ากว่า 1 ล้านปอนด์ หรือประมาณ 45  ล้านบาทเลยทีเดียว 

โดยระหว่างตรวจค้นได้จับกุมผู้ดูแลทุ่งกัญชาใต้ดินแห่งนี้ได้ 6 คนภายในหลุมหลบภัย

ในแต่ล่ะห้องก็จะมีแต่ต้นกัญชาตามภาพเรียกว่าเป็นโรงงานเลยก็ว่าได้

วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2565

มะม่วงหัวแมงวัน ได้ชื่อว่าเป็นมะม่วงแต่ดูอย่างไรๆก็ไม่เหมือนมะม่วง

มะม่วงหัวแมงวัน ได้ชื่อว่าเป็นมะม่วงแต่ดูอย่างไรๆก็ไม่เหมือนมะม่วง 

มะม่วงหัวแมงวัน ไม้ต้น สูง 7-15 ม. ใบเดี่ยว เรียงแบบเวียน รูปไข่กลับ รูปขอบขนาน ถึงรูปช้อน กว้าง 6-10 ซม. ยาว 15-25 ซม. ช่อดอกแบบแยกแขนง ออกที่่ปลายกิ่ง ดอกสีขาวอมเขียวถึงสีเหลืองอ่อน ผลเมล็ดเดียวแข็ง รูปร่างค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8-12 มม. เมื่อสุกเป็นสีดำ ออกดอกเดือน ม.ค.-ก.พ.

มะม่วงหัวแมงวัน หรือรักหมู

(ชื่อวิทยาศาสตร์: Buchanania lanzan;ฮินดี: चारोली, อักษรโรมัน: चारोली; ฮินดี: चिरौन्जी, อักษรโรมัน: चिरौन्जी; มราฐี: चारोळी, อักษรโรมัน: चारोळी) เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Anacardiaceae 

กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง เมื่อแก่จะเกลี้ยง ใบเดี่ยว ก้านใบยาว ดอกช่อ ออกตามปลายกิ่ง สีขาวหรือสีเหลืองอ่อน เกสรตัวผู้มี 10 อัน ผลเดี่ยว ขนาดเล็ก ค่อนข้างกลม

 

เมื่ออ่อนเป็นสีเขียว แก่แล้วเป็นสีดำ เนื้อไม้ใช้ก่อสร้าง ทำเครื่องใช้ต่างๆ ผลรับประทานได้ทั้งอ่อนและสุก

0แต่ยางของผลอาจทำให้ระคายเคืองในลำคอได้ ในอินเดียนำเมล็ดไปคั่ว ทำเป็นขนมกะเหรี่ยงเรียกสะโก่เร เปลือกต้นใช้ย้อมผ้าได้สีน้ำตาลอ่อนหรือชมพู

วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2565

นักวิทยาศาสตร์ได้สร้างวิธีการสังเคราะห์แสงแบบประดิษฐ์ ในการปลูกพืชโดยไม่ต้องพึ่งแสงอาทิตย์ อาจนำไปสู่การผลิตอาหารบนโลก หรือบนดาวอังคารในอนาคต


นักวิทยาศาสตร์ได้สร้างวิธีการสังเคราะห์แสงแบบประดิษฐ์ (Artificial photosynthesis) ในการปลูกพืชโดยไม่ต้องพึ่งแสงอาทิตย์ อาจนำไปสู่การผลิตอาหารบนโลก หรือบนดาวอังคารในอนาคต 

การสังเคราะห์แสงได้มีวิวัฒนาการในพืชมานานนับล้านปี ในการแปลงน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ พลังงานจากแสงอาทิตย์ เป็นชีวมวลพืช และอาหารที่เรารับประทาน อย่างไรก็ตาม กระบวนการนี้ ถือว่าไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากเพียง 1% ของพลังงานที่พบในดวงอาทิตย์เท่านั้นทีมาอยู่ในพืช 

นักวิทยาศาสตร์ได้พัฒนาวิธีการสร้างอาหารที่ไม่ต้องพึ่งพาแสงอาทิตย์ โดยการใช้วิธีสังเคราะห์ด้วยแสงแบบประดิษฐ์ (Artificial photosynthesis) เพื่อหวังให้การผลิตอาหารนั้นมีประสิทธิภาพทางพลังงานมากขึ้น 

นักวิจัยได้ทำการแปลงคาร์บอนไดออกไซด์ ไฟฟ้า และน้ำ เป็น acetate ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักในน้ำส้มสายชู โดยพืชอาหารก็จะบริโภค actetate นี้เข้าไปในที่มืดเพื่อการเติบโต ประกอบกับการใช้แผงโซลาร์เพื่อผลิตพลังงานมาใช้ในกระบวนการ จะทำให้ระบบนี้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้แสงอาทิตย์มาผลิตอาหารได้สูงกว่าถึง 18 เท่า 

Robert Junkerson หนึ่งในนักวิจัยชี้ว่า วิธีนี้ต้องการหาหนทางในการผลิตอาหารที่สามารถข้ามข้อจำกัดที่ปกติเราเผชิญจากการสังเคราะห์ด้วยแสง จากการทดลองพบว่า พืชอาหารหลากหลายสามารถเติบโตในที่มืดได้ด้วยการใช้วิธีการนี้ ไม่ว่าจะเป็นสาหร่าย ยีสต์ เห็ด และอื่นๆ 

นักวิจัยเผยว่า กระบวนการสังเคราะห์แสงแบบประดิษฐ์ เปิดโอกาสมากมายในการผลิตอาหารในสภาพแวดล้อมที่ยากลำบาก ด้วยผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นภัยแล้ง น้ำท่วม และพื้นที่ปลูกพืชที่มีจำกัด โดยพืชอาหารสามารถปลูกได้ทังในเมือง หรือในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมสำหรับเกษตรกรรม หรือแม้กระทั่งเพื่อการสำรวจอวกาศในอนาคต 

“การใช้วิธีสังเคราะห์แสงแบบประดิษฐ์ในการผลิตอาหารอาจเป็นวิธีใหม่ที่เราใช้เลี้ยงประชากรโลก โดยการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตอาหาร ใช้พื้นที่น้อยลง ผลกระทบจากเกษตรกรรมต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลง และสำหรับการเกษตรกรรมในสิ่งแวดล้อมอื่น อย่างอวกาศ การเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานจะช่วยผลิตอาหารให้ทีมได้หลากหลายมากขึ้น แต่ใช้วัตถุดิบที่น้อยลง” นักวิจัยเผย 

วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2565

พบแล้ว "ดอกไม้ป่าที่สาบสูญ" หลังจากที่พบ ครั้งสุดท้าย เมื่อ 40 ปีที่แล้ว


พบแล้ว "ดอกไม้ป่าที่สาบสูญ" 
หลังจากที่พบ ครั้งสุดท้าย เมื่อ 40 ปีที่แล้ว

ล่าสุดมีการค้นพบดอกไม้ป่า Gasteranthus extinctus  เป็นดอกไม้ป่าที่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้วกว่า 40 ปี เพราะเผชิญกับปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าอย่างหนักในเอกวาดอร์

🌹"Gasteranthus extinctus"
Gasteranthus extinctus เป็นดอกไม้ป่าที่มีสีส้มสดใส ถูกค้นพบในป่าบนเขาแอนดีส ในประเทศเอกวาดอร์ หลังจากมีการค้นพบครั้งสุดท้าย เมื่อ 40 ปีที่แล้ว เนื่องจากการตัดไม้ทำลายป่าอย่างหนักหน่วงในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของเอกวาดอร์ช่วงศตวรรษที่ 20

🔎"การค้นพบ"
แม้ว่ากว่า 97% ของผืนป่าฝั่งตะวันตกของเอกวาดอร์ถูกเปลี่ยนให้เป็นพื้นที่ทำฟาร์มเกษตร แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่สิ้นหวัง ยังคงทำการค้นหาพื้นที่ป่าที่ยังอุดมสมบูรณ์ หรือพืชที่คาดว่าสูญพันธุ์ไปแล้วโดยใช้ภาพถ่ายทางดาวเทียม



🤝"ความเห็นจากนักวิจัย"
Dawson White นักวิจัยกล่าวว่า "การค้นพบดอกไม้นี้อีกครั้ง แสดงให้เห็นว่ายังไม่สายเกินไปที่จะอนุรักษ์ธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ที่เล็กแค่ไหนหรือน่าสิ้นหวังแค่ไหนก็ตาม"

ปัจจุบันกลุ่มนักวิจัยได้ทำงานร่วมกับกลุ่มนักอนุรักษ์ชาวเอกวาดอร์เพื่อปกป้องผืนป่าที่ยังหลงเหลือในพื้นที่ Centinelan พืชพันธุ์ชนิดใหม่ๆ ยังถูกค้นพบอยู่เรื่อยๆ
ค้นหา

รายการบล็อกของฉัน