ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2559

สมุนไพรไม้เป็นยา โทงเทง


สมุนไพรไม้เป็นยา : “โทงเทง” สมุนไพรที่ไม่ไร้ค่า รักษาเบาหวาน ยับยั้งเซลล์มะเร็งตับ
สมุนไพรไทยอีกชนิดหนึ่งที่พบได้ทั่วไปตามข้างทาง และที่รกร้างว่างเปล่า ดูเหมือนเป็นวัชพืชที่ไม่มีคุณค่า ไม่ค่อยมีใครสนใจ ชื่อก็ฟังดูแปลก ไม่คุ้นหู แต่ว่ามีประโยชน์และสรรพคุณมากมาย นั่นคือ “โทงเทง”
             
“โทงเทง” มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Physalis angulata L. ชื่อภาษาอังกฤษว่า Hogweed, Ground Cherry, Chinese lantern plant มีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น ต้อมต๊อก บาตอมต๊อก บาต้อมต๊อก(เชียงใหม่), ปิงเป้ง(หนองคาย), ปุงปิง(ปัตตานี), ชาผ่อเหมาะ(กะเหรี่ยงแดง), จะเก๊าหลือ(ม้ง), ตะเงหลั่งเช้า(จีน), ขู่จี๋ หวงกูเหนียง(จีนกลาง), โคมจีน, โคมญี่ปุ่น เป็นต้น ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด พบได้ทั่วไปในทุกภาคบริเวณที่ลุ่ม
            
ลักษณะเป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ลำต้นอวบน้ำ เปลือกเกลี้ยงสีเขียว แตกกิ่งจำนวนมากจนเป็นพุ่ม สูงประมาณ 25-120 ซม. ใบเป็นใบเดี่ยว รูปไข่ ออกเรียงสลับ ปลายใบแหลม โคนใบป้าน ขอบใบหยักเล็กน้อย
             
ดอกออกเป็นดอกเดี่ยวๆ ตามซอกใบ เป็นดอกตูมทรงรีปลายแหลม เวลาบานเป็นรูปแตร กลีบดอกมีลักษณะเป็นรูประฆัง ปลายเป็นแฉกตื้นๆ มีสีเหลืองอ่อน เหลืองอ่อนแกมเขียว หรือสีขาว ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์-พฤศจิกายน
             
ผลเป็นรูปทรงรีเกือบกลม มีกลีบดอกชั้นนอกหุ้ม จนดูเหมือนโคมจีนสีเขียวอ่อนมีลายสีม่วง ผลภายในมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2ซม. ลักษณะกลมใสมีสีเขียวอ่อน เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ภายในผลมีเมล็ดรูปกลมแบนขนาดเล็กจำนวนมาก
             
ต้นโทงเทงจัดเป็นยาเย็น มีรสขม ออกฤทธิ์ต่อปอด ตับ และทางเดินปัสสาวะ แก้ปัสสาวะเป็นเลือด รักษาอาการดีซ่าน ใช้เป็นยาดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ หวัดแดด ไอร้อนในปอด ไอหืดเรื้อรัง แก้ต่อมน้ำลายอักเสบ หรือต่อมทอนซิลอักเสบ   
       
ในตำราแพทย์แผนโบราณของไทยนั้น ระบุสรรพคุณของโทงเทงไว้ว่า แก้ต่อมทอนซิลอักเสบ แก้เจ็บในลำคอ แก้ปวดแสบปวดร้อน ฝนหยอดตา แก้ตาแฉะ แก้ปวดเคืองในลูกตา แก้ตาอักเสบ ใบโทงเทงมีรสเปรี้ยว แก้เจ็บคอ แก้ฝีในคอ แก้น้ำลายพิการ     
       
มีข้อมูลทางเภสัชวิทยาบอกว่า เมื่อนำโทงเทงทั้งต้นมาสกัดทำเป็นยาแก้ไอ ให้ผู้ป่วยโรคหลอดลมอักเสบจำนวน 36 คน รับประทาน พบว่า ผลการรักษาผู้ป่วยได้ผลดี
      
       
นอกจากนี้ ยังพบสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanins) ในโทงเทง ซึ่งเป็นสารที่ลดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง และยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์เนื้องอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
         
จากคุณสมบัติที่มีสรรพคุณในการป้องกันการเกิดโรคมะเร็งนั้น จึงเป็นที่มาของการคิดค้นตำรับยารักษาโรคมะเร็งที่มีส่วนผสมของโทงเทงอยู่ในองค์ประกอบ
หลัก
          
ตำรายาสมุนไพรไทยได้บันทึกสรรพคุณของต้นโทงเทงไว้ว่า มีสรรพคุณแก้ต่อมทอนซิลอักเสบ ขับปัสสาวะ แก้ไอ แก้เจ็บคอ แก้ไข้ แก้ปวดศีรษะ แก้บิดมีตัว แก้พิษ ขับพยาธิในลำไส้ แก้ฟกช้ำ แก้ปวดหู แก้บวมน้ำ เป็นยาระบาย ใช้ทั้งต้น รักษาดีซ่าน ไอหืดเรื้อรัง แผลมีหนอง เจ็บคอ ส่วนรากมีสรรพคุณรักษาโรคเบาหวาน และใช้ขับพยาธิ
            
ในตำราสมุนไพรจีน กล่าวว่า โทงเทงมีสรรพคุณแก้โรคช่องปากอักเสบ ลิ้นอักเสบ หลอดลมอักเสบและไออย่างแรง หอบ คอเจ็บ โรคเสียงแหบต่างๆ น้ำปัสสาวะเป็นสีเหลือง
           
มีผลการวิจัยจากประเทศอินเดีย เมื่อ ค.ศ. 1973 ว่า สารสกัดจากสมุนไพรโทงเทง สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ ส่วนที่ใช้ คือ ทั้งต้น ราก และเยื่อหุ้มผลแห้ง

ส่วนการวิจัยของสำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า สารสกัดจากต้นโทงเทง มีฤทธิ์ในการยับยั้งเซลล์มะเร็งตับ
      
       ข้อควรระวัง !!   
       • สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทาน
       • ในช่วง 1-5 วันแรก เมื่อรับประทานแล้วอาจมีอาการเวียนศีรษะ นอนไม่หลับ อึดอัด หงุดหงิด หลังจากนั้นอาการเหล่านี้จะค่อยๆหายไปเอง
       • กลีบเลี้ยงของต้นโทงเทง มีสารพิษโซลานิน (Solanine) ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร เมื่อรับประทานแล้วหลายชั่วโมงจะปวดแสบปวดร้อนที่ปากและคอหอย คลื่นไส้ เบื่ออาหาร อาเจียน ปวดท้อง และท้องร่วง อุณหภูมิร่างกายสูง เป็นต้น ถ้ายังไม่อาเจียนออก จะต้องล้างท้อง ให้น้ำเกลือ ระวังอาการไตวาย ให้ยาเคลือบกระเพาะอาหาร หรือถ้ามีอาการชักให้ใช้ยาแก้ชัก


สมุนไพรรักษา อีสุกอีใส


สมุนไพรรักษา อีสุกอีใส
อีสุกอีใสคือ การติดเชื้อไวรัสอีสุกอีใสที่ทำให้เกิดตุ่มใสๆ ขึ้นมาตามตัวและในปาก ซึ่งต่อมาตุ่มนี้จะเริ่มมีลักษณะข้นขึ้นทำให้ดูเหมือน “สุก” จึงทำให้มีชื่อเรียกว่า อีสุกอีใส เชื้อไวรัสนี้มีชื่อว่า varicella zoster (VZV) ซึ่งเป็นไวรัสตัวหนึ่งในกลุ่ม เฮอร์ปีส์ไวรัส แพร่กระจายโดยการไอจาม และสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่เป็นโรคอีสุกอีใสอยู่ในขณะนั้น

อีสุกอีใส เป็นโรคที่สามารถติดต่อกันได้ง่าย พบว่าประมาณ 90% ของผู้ที่ยังไม่เคยเป็นอีสุกอีใส จะเป็นอีสุกอีใสหลังจากการได้รับเชื้อจากคนอื่น โดยจะเริ่มมีอาการขึ้นตุ่มในช่วงระหว่าง 7-12 วัน หลังสัมผัสเชื้อ ซึ่งเมื่อมีเด็กในบ้านคนหนึ่งป่วยเป็นอีสุกอีใส ก็จะพบว่าพี่น้องและคนอื่นๆ ในบ้านจะเริ่มมีอาการอีสุกอีใสในช่วงประมาณ 2 อาทิตย์ต่อมา
นอกจากจะมีอาการไข้ ปวดหัว เจ็บเนื้อเจ็บตัวแล้ว ตุ่มน้ำใสๆ ที่ขึ้นมายังฝากรอยแผลเป็นไว้ให้เด็กๆ ด้วย ถ้าดูแลไม่ถูกวิธี

เล่ากันว่าในสมัยก่อนปู่ย่าตายายของเรารู้จักหาวิธีมาดูแลลูกหลานโดยใช้สมุนไพรพื้นบ้านรักษา โดย

1. เสลดพังพอนตัวเมีย หรืออีกชื่อหนึ่งคือ พญายอ ให้แต่เด็ดใบเสลดพังพอนตัวเมียมาล้าง
ให้สะอาด แล้วนำมาโขลกหรือปั่นให้ละเอียดผสมกับน้ำดินสอพอง ทาที่ตุ่มสุกใสบ่อยๆ จะช่วยลดอาการคัน และทำให้ตุ่มแผลแห้งเร็ว ลดอาการบวมแดงของตุ่มได้ดี ช่วยให้เด็กไม่มาแกะเกาตุ่มจนกลายเป็นแผลเป็นได้
ซึ่งปัจจุบันนี้มีผู้ทำเป็นยาคาลาไมล์เสลดพังพอน ใช้ทาอีสุกอีใสได้ผลดีมาก พอตุ่มใสขึ้นก็แต้มยาลงไป ตุ่มจะฝ่อ ไม่แตกอักเสบจนเป็นหนอง ทาแล้วจะเย็นสบายหายคันทำให้เด็กหลับได้ดีอีกด้วย

2. ใบมะยม ถ้าหาใบเสลดพังพอนไม่ได้ ขอแนะนำให้เอาใบมะยมกลางอ่อนกลางแก่ 2-3 กำมือ ใส่น้ำ 2-3 ลิตร ต้มให้เดือดนาน 20 นาที แล้วยกลงผสมน้ำเย็นให้อุ่นพออาบได้ อาบวันละ 3 ครั้ง เช้า กลางวัน เย็น หลังอาบน้ำอาการจะค่อยๆ ทุเลาและหายเป็นปกติใน 3 วัน
นอกจากนี้ยังมีใบอ่อนของสะเดา ที่ตำราแพทย์ชาวจีนให้นำมาต้มกิน ตำรายาพื้นบ้านก็มีใบย่านาง ให้ใช้ราก ต้มเป็นยาแก้อีสุกอีใส ตุ่มผื่นและความเชื่อที่ว่าให้ต้มน้ำผักชีอาบก็เพราะว่า
สรรพคุณของผักชีคือเป็นพืชธาตุเย็นที่ช่วยลดอาการผื่นแดง เป็นต้น

วันพุธที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ข้าวสารป่า

ต้นสมุนไพรข้าวสารป่า

ชื่ออื่นๆกระดูกงูเหลือม, เข็มขาว (สุรินทร์), เข็มป่า, เข็มแพะ
ชื่อวิทยาศาสตร์
Pavetta tomentosa Roxb. ex Smith.
ชื่อพ้อง
Pavetta indica L. var. tomentosa (Roxb. ex Sm.) Hook. f.
ชื่อวงศ์
Rubiaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
        ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง สูง 1-5 เมตร เรือนยอดแผ่กว้างระเกะระกะ กิ่งเกลี้ยง หรือมีขนสั้นนุ่ม กิ่งอ่อนกลวง มีขนปกคลุมทั่วไป 

เปลือกต้นสีน้ำตาลออกชมพู ผิวเรียบ หลุดลอกเล็กน้อย ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปรีแกมรูปขอบขนาน หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 4-10 ซม. ยาว 8-15 ซม. ปลายมน หรือแหลม โคนรูปลิ่ม ขอบเรียบ แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ หลังใบสีเขียวเข้ม ท้องใบสีเขียวหม่น ผิวด้านบนมีขนสั้นนุ่มประปราย ด้านล่างมีขนสั้นนุ่มหนาแน่น เส้นแขนงใบข้างละ 8-15 เส้น ก้านใบยาว 1-1.5 ซม. มีขน หูใบอยู่ระหว่างก้านใบ รูปสามเหลี่ยม หลุดร่วงง่าย กว้าง 5-6 มม. ยาว 3-7 มม. ด้านนอกมีขนสั้น ด้านในเกลี้ยง ก้านใบยาว 1-1.5 ซม. กิ่งก้านค่อนข้างสี่เหลี่ยม มีตุ่มพองสีเข้มบนผิวใบด้านล่าง ซึ่งมีแบคทีเรียที่ช่วยตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้ 

ช่อดอกแบบช่อกระจุกแยกแขนง ดูคล้ายช่อเชิงหลั่น สีขาว มีกลิ่นหอม ออกที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง หรือเหนือรอยแผลใบใกล้ปลายกิ่ง ช่อยาวได้ถึง 15 ซม. ช่อดอกกลม หลวมๆ มีขนาด 10-15 ซม.

ดอกย่อยจำนวนมาก ก้านดอกย่อย ยาว 5-10 มม. มีขน กลีบดอกสีขาว โคนเชื่อมกันเป็นรูปแตร หลอดแคบ หลอดยาว ประมาณ 10 มม. ผิวด้านนอกเกลี้ยง ด้านในมีขนหนาแน่นที่ปลายหลอด แยกเป็นกลีบ 4 กลีบ รูปไข่แกมรูปขอบขนาน ยาว 6-7 มม. กว้าง 2-3 ซม. กลีบดอกบิดซ้อนในดอกตูม เกสรเพศผู้ 4 อัน ติดที่ปลายหลอดกลีบดอก สลับกับแฉกกลีบดอก ก้านชูอับเรณูสั้น อับเรณูรูปขอบขนาน ยาว 4-5 มม. 

อับเรณูบิดเป็นเกลียว เชื่อมติดกับปากหลอดกลีบ รังไข่อยู่ใต้วงกลีบมี 2 ช่อง แต่ละช่องมีออวุล 1 เม็ด ก้านเกสรเพศเมียเรียวและยาวมาก ยาวอย่างน้อย 2 เท่าของหลอดกลีบ โคนเกลี้ยง ปลายมีขนสั้น ๆ ยื่นยาวโผล่พ้นหลอดกลีบดอกมาก จานฐาน ดอกรูปวงแหวน กลีบเลี้ยง โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 2 มม. ผิวด้านนอกมีขน ปลายหลอดแยกเป็น 4 กลีบ สั้น ๆ 

ผล คล้ายผลผนังชั้นในแข็ง กลม มี 2 พู เส้นผ่านศูนย์กลาง 4-6 มม. สีเขียวเป็นมัน เมื่อแก่เป็นสีดำ มีชั้นกลีบเลี้ยงกลมๆด้านบน เนื้อผลบาง ภายในมี 2 เมล็ด สีน้ำตาล ด้านหนึ่งโค้ง ด้านหนึ่งแบน พบทั่วไปในป่าเต็งรัง ป่าดิบเขา และป่าเบญจพรรณ ความสูงจากระดับน้ำทะเล 100-700 เมตร 

ออกดอกและเป็นผลระหว่างเดือนเมษายน- สิงหาคม

สรรพคุณ         
ยาพื้นบ้านอีสานใช้ รากหรือลำต้น  ผสมสมุนไพรอื่นหลายชนิดต้มน้ำดื่ม แก้มะเร็ง รากต้มน้ำดื่มช่วยเพิ่มน้ำนม
        
ตำรายาไทย ราก ใช้กับหญิงคลอดบุตรช้ากว่ากำหนด ใบ รสเมาเบื่อ รักษาโรคในจมูก ฆ่าพยาธิ ใช้น้ำต้ม แก้อาการไข้ ใบและราก ใช้พอกฝี รักษาริดสีดวงทวาร แก้หิด  เปลือกต้น  มีรสเมาเบื่อ ตำคั้นเอาน้ำหยอดหูฆ่าแมลงคาในหู ผล รสเมาเบื่อ แก้ริดสีดวงงอกในจมูก ดอก มีรสฝาดเย็น แก้ตาแดงตาแฉะ ราก มีรสเฝื่อน แก้เสมหะในท้องและในทรวงอก ต้มน้ำกินแก้บิด






วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2559

สมุนไพร3ชนิดที่ไล่แมงสาป

สมุนไพรไล่แมลงสาบได้จริงหรือ?
         
 เชื่อว่าทุกบ้านต้องมีแมลงสาบกันใช่ไหมครับ มันจะอยู่ตามท่อระบายน้ำในห้องน้ำใช่ไหมครับ พอเวลาเราเข้าไปมันต้องออกมาตลอดแค่วิ่งก็ตกใจมากล่ะ เพิ่มเลเวลเป็นบินมาอีก คืออะไร!!! ส่วนมาวิธีที่เรามักจะทำกันก็คือตบๆ ไม่ก็ใช้สารเคมีฉีดไล่ไปใช่ไหมครับ แต่การใช้สารเคมีก็อันตรายนะครับ ไม่ใช่แค่แมลงสาบจะตายไม่แน่เราก็อาจจะไปกับมันด้วยถ้าเกิดการสะสมมากๆ แต่ต่อไปนี้ไม่ต้องกังวลอีกต่อไปแล้วล่ะค่รับเพราะวันนี้เรามีวิธีในการกำจัดแมลงสาบด้วยสมุนไพรที่มีความปลอดภัยด้วย อยากรู้กันแล้วใช่ไหมล่ะ
มาเริ่มอ่านกันเลยครับ สมุนไพรที่ใช้กำจัด....

1.ใบกระวาน
วิธีการทำ
1.1นำใบกระวานไปวางตามจุดที่แมลงสาบชอบออกมา แนะนำให้วางจนกว่าแมลงจะหนีไป ทำไมใบกระวานจึงไล่แมลงสาบได้ใช่ไหมคะ เพราะว่าใบกระวานนั้นเป็นเครื่องเทศซึ่งมีกลิ่นแรงจึงทำให้แมลงสาบหนีไปนั่นเอง

2.สเปรย์พริกไทยบด
วิธีการทำ    
2.1 นำพริกไทย 2 ช้อนโต๊ะ มาผสมกับน้ำสะอาด ½ ถ้วยตวง
                 
2.2 คนให้เข้ากัน
                
2.3 นำส่วนผสมมาเทใส่กระบอกสเปรย์
                  
แค่เพียงเท่านี้ก็สามารถนำไปฉีดบริเวณที่มีแมลงสาบได้แล้วล่ะ หรืออาจจะนำเม็ดพริกไทยใส่ถุงผ้าเล็กๆ แล้วนำไปวางก็ได้  เพราะพริกไทยก็เป็นอีกหนึ่งเครื่องเทศอีกชนิดที่มีกลิ่นแรงฟุ้งพอสมควร จึงทำให้แมลงไม่มาก่อกวนอีกนั่นเอง

3.กานพลู
วิธีการทำ   
3.1นำกานพลูใส่ถุงพลาสติกแล้วนำไปวางตามจุดที่แมลงสาบอยู่ ตามมุมห้อง ซอกตู้เตียง                       
3.2ใช้น้ำมันกานพลูหยดใส่เศษผ้าเล็กๆแล้วนำไปวางตามจุดก็ได้
         
เป็นยังไงกันบ้างครับวิธีกำจัดแมลงด้วย สมุนไพรทั้ง 3 ชนิด ไม่ยากเลยใช่ไหมล่ะคะ ไม่อันตรายด้วย และเราก็ไม่บาปด้วยเพราะเราไม่ได้ฆ่ามันเราแค่ใช้วิธีไล่มันไปแค่นั้นเอง ลองเลือกใช้วิธีที่คุณสะดวกดูนะครับเพื่อความ
สะอาดของบ้านของคุณเอง



5 สมุนไพรไล่ยุง

5 สมุนไพร..ไล่ยุง!!

สมุนไพรไล่ยุง หรือสมุนไพรสำหรับไล่แมลงที่มารบกวนนั้น มีอยู่ด้วยกันหลากหลายชนิด แต่ละชนิดก็มีวิธีการใช้และสรรพคุณที่แตกต่างกันออกไป
แต่ข้อดีที่เห็นชัดที่สุดของสมุนไพรไล่ยุงคือ เป็นการใช้ธรรมชาติบำบัดที่ไม่มีอันตรายต่อคนและสัตว์เลี้ยงนั่นเอง

สมุนไพรไล่ยุงที่ได้รับความนิยมมีดังนี้

1. ยูคาลิปตัส (Eucalyptus)
ยูคาลิปตัสเป็นไม้ยืนต้นแบบสูงชะลูด คือมีลำต้นขนาดเล็กแต่มีความสูงมาก สรรพคุณที่โดดเด่นอย่างหนึ่งของยูคาลิปตัสคือเป็นสมุนไพรไล่ยุงที่ได้ผลดี โดยใช้ใบสดมาขยี้ให้แหลก วางไว้ตามจุดต่างๆ น้ำมันหอมระเหยที่อยู่ในใบของยูคาลิปตัสจะช่วยไล่ยุงและแมลงอื่นๆไม่ให้เข้า มาใกล้

2. ตะไคร้หอม
ตะไคร้หอม เป็นไม้ล้มลุกทรงพุ่มขนาดเล็ก สามารถแตกหน่อและเหง้าเพื่อการขยายพันธุ์ได้ง่ายมาก ตะไคร้หอมนอกจากจะนำมาทำยาแผนโบราณได้สารพัดแล้ว ยังสามารถนำมาเป็นสมุนไพรไล่ยุงคุณภาพดีได้อีกด้วย

โดยสามารถใช้ได้ทั้งน้ำมันสกัดและลำต้น กล่าวคือ สามารถนำน้ำมันหอมระเหยที่ได้จากการสกัดตระไคร้หอมมาทาผิว หรือฉีดรอบๆบริเวณที่ต้องการ ก้สามารถไล่ยุงและแมลงอื่นได้ผลดีมาก หรือจะใช้ตะไคร้หอมทั้งต้นมาทุบให้แตกและวางไว้ตามมุมต่างๆ ยุงและแมลงก็จะไม่เข้ามารบกวน

3. มหาหงส์
มหาหงส์ หรือ หางหงส์ เป็นไม้ล้มลุกแบบมีหัวและเหง้าอยู่ใต้ดิน มีใบและกาบใบโผล่พ้นดิน (บางคนเรียกกาบใบนี้ว่าลำต้น) มหาหงส์เป้นสมุนไพรไล่ยุงชนิดหนึ่งที่ใช้ได้ผลดีและได้รับความนิยม วิธีการคือนำหัวหรือเหง้าสดมาทุบให้แตก กลิ่นของน้ำมันหอมระเหยจะออกมา นำไปวางในจุดที่ต้องการ ก็จะไม่มียุงหรือแมลงมารบกวน

4. ส้ม
ส้ม นอกจากจะเป็นผลไม้เปี่ยมคุณค่า อุดมไปด้วยวิตามินซีแล้ว ยังมีสรรพคุณเป็นสมุนไพรไล่ยุงได้อีกด้วย วิธีการไล่ยุงด้วยส้มนั้นง่ายแสนง่าย กล่าวคือ ใช้เปลือกส้มที่แกะออกจากผลส้มแล้วมาผึ่งให้แห้ง แล้วนำมาเผาไฟ ควันที่เกิดขึ้นและน้ำมันหอมระเหยที่อยู่ในเปลือกส้มมีสรรพคุณเป็นอย่างดีใน การไล่ยุง และปลอดภัยทั้งต่อคนและสัตว์เลี้ยง

5. มะกรูด
ผิวของผลมะกรูด นอกจากจะนำไปโขลกทำน้ำพริกสารพัดชนิดแล้ว ยังสามารถนำมาเป็นสมุนไพรไล่ยุงได้เป็นอย่างดีด้วยเช่นกัน วิธีการคือ นำผิวมะกรูดสดมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ มาโขลกกับน้ำเท่าตัวจนแหลกละเอียด กรองเอาเฉพาะน้ำ สามารถนำมาทาผิวหรือใส่กระบอกฉีดเพื่อฉีดตามจุดต่างๆของบ้านก็ได้ ยุ่งจะไม่มีรบกวนบริเวณนั้นอีกเลย
สมุนไพรไล่ยุงข้างต้น เป็นสมุนไพรที่คนโบร่ำโบราณใช้กันมานาน มีคุณภาพดี มีความปลอดภัยสูงทั้งต่อคนและสัตว์เลี้ยง ซึ่งสามารถนำมาใช้แทนยากำจัดยุงที่ผลิตจากสารเคมีและมีขายตามท้องตลาดทั่วไป ได้เป็นอย่างดี
  

ต้น หูปลาช่อน


ต้นหูปลาช่อน
ลักษณะทั่วไปของต้นหูปลาช่อน
ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุก มีลำต้นตั้งตรง มีความสูง ประมาณ .4-18 นิ้ว ลำต้นปกคลุมด้วยขนนุ่มทั่วไป
ใบ : ใบมีลักษณะหุ้มห่อลำต้นอยู่ มีขนาดยาวประมาณ 2-3 นิ้ว ปลายใบแหลมเรียว โคนใบกว้างเป็นรูปไข่ ริมขอบใบหยักเว้า หลังใบเป็นสีเขียวเข้มใต้ท้องใบมีสีม่วงแดง
ดอก : ดอกออกเป็นช่อ ตามบริเวณกลางลำต้น ช่อหนึ่งจะแยกออกเป็น 2 แขนง ลักษณะของดอกเป็นดอกขนาดเล็ก กลีบดอกส่วนโคนจะเชื่อมติดกันเป็นรูปท่อ ดอกมีสีแดงเป็นดอกสมบูรณ์เพศ
ผล : ผลเป็นผลเดี่ยว เปลือกแข็ง ผลแห้งจะไม่แตกหรืออ้าออก
การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้วัชชพืช มักขึ้นตามที่ชื้นขยายพันธุ์ด้วยการใช้เมล็ด
ส่วนที่ใช้ : ลำต้น, ราก

สรรพคุณของต้นหูปลาช่อน
ลำต้น ใช้ลำต้นสด ประมาณ 30-90 กรัมหรือลำต้นแห้งประมาณ 15-30 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้เจ็บคอ ต่อมทอนซิลอักเสบ ฝีฝักบัว เป็นบิดถ่ายอุจจาระเป็นมูกเลือด ท้องร่วง หรือใช้ลำต้นสดตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำพอกหรือทาบริเวณที่เป็นฝีต่าง ๆ แก้ผดผื่นคัน หรือลดอาการบวมน้ำ เป็นต้น
ราก ใช้รากสด ประมาณ 10 กรัม นำมานึ่งกับเนื้อหมูแดง ให้เด็กกินเป็นยาแก้โรคตานซางขโมย

ข้อห้ามใช้ : ห้ามใช้กับสตรีที่ตั้งครรภ์
ข้อมูลทางคลีนิคของต้นหูปลาช่อน
จากผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ จำนวน 50 คน และเป็น โรคปอดอักเสบในเด็กอีก 25 คน มีการรักษา โดยการใช้ลำต้นแห้ง ประมาณ 1 กรัม นำมาทำเป็นยาฉีด เข้ากล้ามเนื้อ ผลปรากฏว่า จากการรักษา ได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจ
หมายเหตุ : “หูปลาช่อน (ไทย), เฮียะเอ้อัง (จีน-กรุงเทพฯ) : หางปลาช่อน (เพชรบุรี) ; ผักบั้ง

หูปลาช่อนเป็นต้นไม้ล้มลุกถ้าปลูกเยอะๆเป็นสวนจะสวยมากเลยครับ


ต้น เครือปลาสงแดง


เครือปลาสงแดง
ชื่ออื่น : เครือเจ็น, เครือซุด, เครือซุดแดง, ชัยสง, เครืออีโม้, เต่าไห้, เถาโก, เถายอดแดง, เถาวัลย์แดง, หัวขวาน, ปอเต่าไห้ , หุนน้ำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ichnocarpus frutescens (L.) R. Br.
ชื่อวงศ์ : Apocynaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
เครือปลาสงแดง เป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็ง ยาว 2-8 เมตร แตกกิ่งก้านมาก กิ่งอ่อนมีขนสั้นๆ เถาสีน้ำตาลแดง เถาอ่อนมีขนสีน้ำตาล ทุกส่วนมีน้ำยางขาว
ใบเครือปลาสงแดง เป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม แผ่นใบหนา เรียบ สีเขียวเข้ม มีขนตามเส้นใบ 


*ใบรูปขอบขนานแกมใบหอก หรือรูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 2.5-4.5 ซม. ยาว 7-11 ซม. ปลายเรียวแหลม โคนรูปลิ่มถึงมน ขอบใบเรียบ หลังใบเกลี้ยง ท้องใบมีขนประปรายที่เส้นใบ เส้นใบหลัก 5-7 คู่ ก้านใบยาว 0.8-1.2 ซม. อาจพบขนหรือไม่มี

*ดอกเครือปลาสงแดง ดอกช่อแยกแขนง มีกลิ่นหอมเย็นอ่อนๆ ดอกมีขนาดเล็ก ออกที่ซอกใบ และปลายกิ่ง ดอกย่อยจำนวนมาก 11-80 ดอก ก้านดอกย่อยยาว 2-3 มม. มีขนสั้นหนานุ่ม ก้านช่อดอกยาว 0.3-4.2 ซม. มีขนสั้นหนานุ่ม กลีบดอกสีขาว หรือสีเหลืองนวล กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด หลอดกลีบรูปถ้วย กว้าง 1.0-1.5 มม. ยาว 2.0-2.5 มม. ปลายแยก 5 กลีบ ปลายแฉกมน รูปไข่ กว้าง 1.5-2.0 มม. ยาว 2.0-2.5 มม. โดยด้านข้างของส่วนปลายกลีบจะยื่นยาวคล้ายหาง 2-3 มม. ขอบเป็นคลื่น มีขนอุยที่โคนแฉกด้านในและขนสั้นนุ่มตามขอบ ส่วนด้านนอกเกลี้ยง ทำให้มองเห็นขอบกลีบเป็นฝอยละเอียด

*กลีบดอกเรียงบิดเวียนขวา ใบประดับ 2 อัน รองรับช่อดอกย่อย รูปไข่ กว้าง 0.5 มม. ยาว 1.0-1.5 มม. ขอบเรียบ พบขนสีน้ำตาลแดงกระจายทั่วผิวด้านนอก ส่วนด้านในเกลี้ยง กลีบเลี้ยง หลอดกลีบรูปถ้วยสั้นๆ กว้าง 1.0-1.5 มม. ยาว 1.5 มม. ปลายแยกแฉกแหลม รูปไข่หรือคล้ายสามเหลี่ยม สีเขียว มีขนสั้นนุ่มหนาแน่นสีน้ำตาลแดง เกสรเพศผู้สีเหลือง ผิวเกลี้ยง อับเรณูยาว 1 มม. ติดที่ฐาน โคนมน ปลายเรียวแหลม ซึ่งแตะล้อมรอบ ก้านและยอดเกสรเพศเมีย

*ก้านชูอับเรณูยาว 2-3 มม. อยู่สูงจากโคนหลอดดอกประมาณ 1 มม. เกสรเพศเมีย รังไข่เหนือวงกลีบ เกิดจาก 2 คาร์เพล แต่ละคาร์เพลมี 15-35 ออวุล รังไข่มีขนสั้นนุ่มและใสที่ผิวด้านบน โคนเชื่อมกัน ปลายแยก ก้านเกสรเพศเมียยาว 1 มม. เกลี้ยง ยอดเกสรเพศเมียยาว 1 มม. เกลี้ยง สีขาวหรือสีเหลืองอ่อน จานฐานดอก 5 อัน แยกกัน รูปไข่หรือคล้ายขวด ยาว 0.5-1.0 มม. โคนเชื่อมแตะรังไข่ ปลายมนหรือกลม เกลี้ยง สีขาวหรือขาวอมเหลือง

*ผลเครือปลาสงแดง เป็นฝักคู่ รูปทรงกระบอก ปลายแหลม กว้าง 1.6-5 มิลลิเมตร ยาว 3-10.5 เซนติเมตร เมื่อฝักแห้งแตกตะเข็บเดียว เมล็ดสีน้ำตาล มีกระจุกขนสีขาวคล้ายเส้นไหมติดอยู่ที่ปลายเมล็ด
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ราก, ทั้งต้น, ใบ

สรรพคุณตามตำรายาไทย :
ราก แก้เบาหวาน แก้อาหารไม่ย่อย แก้โรคผิวหนัง แก้อาการปวดเมื่อย
ทั้งต้น แก้วัณโรค แก้อาการเพ้อคลั่ง แก้ตาบอดกลางคืน แก้ลิ้นอักเสบ แก้อาการเลือดออกที่เหงือก แก้ไข้ ยาแก้ไอ แก้บิด แก้เนื้องอกในช่องท้อง แก้ปัสสาวะเป็นเลือด แก้ม้ามโต แก้หิด แก้หัด บรรเทาอาการปวดจากแมลงกัด แก้อาการชัก
ใบ แก้อาการปวดศีรษะ ช่วยป้องกันฟันผุ แก้ไข้ แก้บาดแผล แก้หิด

ต้นไม้มรณะ อันตรายสุดในโลก

ต้นไม้มรณะ อันตรายสุดในโลก ไม่อยากตายห้ามจับ ห้ามกินผล ห้ามยืนใต้ต้นไม้ 
          
โลกของเราปกคลุมไปด้วยต้นไม้เขียวขจี ที่มนุษย์เราหลายคนต่างให้ความสำคัญในการรักษาผืนป่า เพราะเราเชื่อกันว่าต้นไม้คือเพื่อนแท้ ที่จะช่วยให้โลกน่าอยู่และมีชีวิตชีวา แต่เชื่อหรือไม่ว่ายังมีต้นไม้บางชนิดที่ไม่เป็นมิตรกับมนุษย์อย่างแท้จริง มันพร้อมจะฆ่าคุณได้ทุกเมื่อ เพียงแค่สัมผัสกลีบดอก ลิ้มรสชาติผลไม้ หรือแม้แต่ยืนเฉย ๆ ใต้ต้นไม้ !

          ต้นไม้ที่ว่านี้คือ ต้นแมนชินีล (Manchineel Tree) ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาสเปนในอดีตคือ manzanilla ที่แปลว่า แอปเปิลผลน้อย ส่วนชาวสเปนยุคปัจจุบันเรียกมันว่า manzanilla de la muerte หรือ แอปเปิลผลน้อยแห่งมัจจุราช

แค่ชื่อก็บ่งบอกสรรพคุณของต้นไม้ต้นนี้ได้อย่างดีเยี่ยมเลยทีเดียว เจ้าต้นแอปเปิลแห่งความตายนี้ สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในแถบอเมริกากลาง รัฐฟลอริดา ตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ และตามเกาะบนทะเลแคริบเบียน มันมีความสูงราว 9-15 เมตร ผลกลมสีเขียวอ่อนดูคล้ายผลแอปเปิล มักงอกเป็นต้นใหญ่แถบชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน แซมไปกับต้นโกงกาง

          ส่วนพิษของมันก็เรียกได้ว่ามีอยู่รอบตัวเลยทีเดียว เริ่มตั้งแต่ผลของมัน ที่อาจคร่าชีวิตคนได้ทันทีหากรับประทานเข้าไป พิษในผลจะทำให้ปากและลำคอเกิดอาการบวมพอง รวมถึงยังส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหารอีกด้วย

          ส่วนยางไม้สีขุ่นคล้ายน้ำนม ที่เกาะอยู่ตามเปลือกไม้ มีปริมาณสารฟอร์บอลเอสเทอร์ และสารพิษอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองบนผิวหนัง ซึ่งสามารถกระตุ้นโรคผื่นแพ้สัมผัสอย่างรุนแรงได้โดยง่าย

          ถ้าหากเกิดฝนตกฟ้าร้อง ก็ขอให้เลิกล้มความคิดที่จะไปยืนใต้ต้นแมนชินีลได้เลย เพราะน้ำฝนจะพาเอาสารพิษตามใบลงมาเปรอะเปื้อนผิวหนัง และแน่นอนว่าต้องเกิดอาการแพ้อย่างรุนแรง

          อันตรายขนาดนี้ก็น่าจะเผาหรือโค่นทิ้งไปให้สิ้นเรื่อง จริงไหม ? แต่ช้าก่อน ควันที่เกิดจากการเผาทำลายต้นแมนชินีล อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อมนุษย์หลายอย่าง ทั้งอาการสำลัก คันคอ ที่อาจก่อให้เกิดโรคกล่องเสียงอักเสบและโรคหลอดลมอักเสบ และหากเข้าตาละก็ อาจทำระคายเคืองอย่างรุนแรงจนถึงขั้นตาบอดได้เลย

      นักท่องเที่ยวที่มาพักผ่อนตามชายหาดทะเลแคริบเบียนที่ไม่รู้อีโหน่อีเหน่ ก็มักจะมาพึ่งพิงร่มเงาของเจ้าต้นแมนชินีลต้นนี้ จนทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากมันไปหลายรายเลยทีเดียว
     
ฉะนั้น หากคุณมีโอกาสได้ไปพักร้อนที่หาดแถบทะเลแคริบเบียน อย่าลืมนึกถึงบทความนี้ และอย่าเข้าใกล้ต้นแมนชินีลเป็นอันขาดเลยเชียว



รายการบล็อกของฉัน