ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2559

ผักลืมชู้


ผักลืมชู้
. ชื่ออื่น ก้ามกุ้ง แก้มช่อน (ภาคใต้)
. แหล่งที่พบ ภาคใต้
. ประเภทไม้ ไม้พุ่ม

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น ไม้พุ่มสูงประมาณ 5-7 เมตร เป็นไม้เนื้อแข็ง
.ใบ ใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน ลักษณะใบมนรี ปลายแหลม ผิวเรียบคล้ายใบชะมวง หน้าและหลังใบลื่น
.ดอก ออกตามโคนใบ เป็นกระจุกสีขาว
.ผล ติดลูกตลอดผลกลม เกิดตรงซอกก้านใบติดลำต้นผลเขียวเนื้อขาว เป็นพวงมี 4-5 เมล็ด ผลสุกสีเหลืองเป็น 3 กลีบ เมื่อสุกแตกได้ เมล็ดกลมสีเขียวเข้มแข็ง เปลือกเมล็ดไม่หนา

. ส่วนที่ใช้บริโภค ใบอ่อน ยอด
. การขยายพันธุ์ เมล็ด ปักชำ
. สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ริมห้วย ตามห้วย
. ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์ ฤดูฝน เดือนมิถุนายน
. คุณค่าทางอาหาร ยังไม่มีข้อมูล
. การปรุงอาหาร ใบอ่อน ยอด ใบรับประทานเป็นผักสดกับตำกุ้ง แจ่ว ป่น คั่วใส่กบ แกง อ่อม รสชาติมัน ฝาดเล็กน้อย
. ลักษณะพิเศษ กิ่ง (ลำต้น) เป็นยาสมานแผลลำไส้ ต้มหรือแช่น้ำใช้ส่วนราก

การปลูกเฉาก๊วย

เฉาก๊วย
ฉาก๊วย เป็นพืชในวงศ์ Lamiaceae (วงศ์มิ้นท์) วงศ์เดียวกับ สะระแหน่ กะเพรา โหระพา แมงลัก และยี่หร่า เป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อยขนาดเล็ก ลำต้นกลม เปราะและหักง่ายคล้าย สะระแหน่ กิ่งก้านแผ่กว้างคลุมดิน ยาวได้ 2-3 ฟุต ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม เป็นรูปรีแกมรูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบจักเป็นฟันเลื้อย ก้านใบสีขาว ยาวประมาณ 1-1.5 ซม. ใบเป็นสีเขียวสด เวลาใบดกจะหนาแน่น ทำให้น่าชมมาก  ดอกเฉาก๊วยเป็นสีขาว ออกเป็นช่อแบบเชิงลด คล้ายดอก กระเพรา ตามซอกใบและปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก เวลามีดอกดกและบานพร้อมๆกัน จะแปลกตามาก ดอกจะออกได้เรื่อยๆเกือบทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยวิธีปักชำกิ่ง

ภูมิอากาศการปลูก
เฉาก๊วยจะขึ้นได้ในดินทั่วไป เป็นไม้ชอบแดดและความชุ่มชื้น ดังนั้น ก่อนปลูกจึงควรผสมกาบมะพร้าวแห้งหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ พร้อมใส่แกลบดำลงไปอย่างละ 1 ส่วน เพื่อให้อุ้มน้ำชุ่มชื้นตลอดเวลา เหมาะจะปลูกทั้งแบบลงดินกลางแจ้งและลงกระถางปากกว้างตั้งไว้ตามหัวเสา รั้วหน้าบ้าน หลังปลูกบำรุงด้วยปุ๋ยมูลสัตว์หรือปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก 10 วันครั้ง จะทำให้ต้น เฉาก๊วย เจริญเติบโตเร็วและสามารถเก็บใบใช้ประโยชน์ได้ หรือ ถ้าปลูกจำนวนมาก นำใบไปตากแห้งขายได้ คนซื้อเอาไปต้มทำน้ำเฉาก๊วยขาย

ก่อนจะเป็นเฉาก๊วยกินหวานๆ เย็นๆ เฉาก๊วยคือผลผลิตจากการแปรรูป "หญ้าเฉาก๊วย" พืชในวงศ์ Lamiaceae (วงศ์มิ้นต์) วงศ์เดียวกับสะระแหน่ กะเพรา โหระพา แมงลัก ยี่หร่า ชื่อสามัญคือ Grass Jelly ชื่อวิทยาศาสตร์ Mesona chinensis ส่วนชื่อเฉาก๊วย แปลว่าขนมที่มาจากหญ้า (เฉา แปลว่าหญ้า, ก๊วย แปลว่าขนม) และเพราะหญ้าเฉาก๊วยพบมากในประเทศจีน (สมัยก่อนไทยต้องสั่งต้นเฉาก๊วยแห้งจากเมืองจีนมาทำเฉาก๊วย แต่ทุกวันนี้นำพันธุ์เฉาก๊วยมาปลูกในเมืองไทยแล้ว) ทั้งเฉาก๊วยยังเป็นของหวานที่แพร่จากเมืองจีน อาหารชนิดนี้จึงมีชื่อเรียกเป็นภาษาจีนที่ต่างกันไปตามท้องถิ่น ภาษาจีนกลางเรียก เหลียงเฝิ่น หรือเซียนเฉ่า แปลว่า หญ้าเทวดา ขณะที่ชาวมาเลย์เรียก จินเจา บ้านอะลาง

เฉาก๊วยเป็นไม้พุ่ม  กึ่งเลื้อยขนาดเล็ก ลำต้นกลม เปราะและหักง่าย กิ่งก้านแผ่กว้างคลุมดิน ยาวได้ 2-3 ฟุต ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม เป็นรูปรีแกมรูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบจักเป็นฟันเลื้อย ก้านใบสีขาว ยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ใบเป็นสีเขียวสด ดอกเป็นสีขาว ออกเป็นช่อแบบเชิงลด คล้ายดอกกะเพรา ตามซอกใบและปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก ดอกจะออกได้เรื่อยๆ เกือบทั้งปี

ขยายพันธุ์ด้วยวิธีปักชำกิ่ง
ขึ้นได้ในดินทั่วไป แต่เป็นไม้ชอบแดดและความชุ่มชื้น ดังนั้น ก่อนปลูกจึงควรผสมกาบมะพร้าวแห้งหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ พร้อมใส่แกลบดำลงไปอย่างละ 1 ส่วน เพื่อให้อุ้มน้ำชุ่มชื้นตลอดเวลา หลังปลูกบำรุงด้วยปุ๋ยมูลสัตว์หรือปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก 10 วันครั้ง จะทำให้ต้นเฉาก๊วยเจริญเติบโตเร็ว

สรรพคุณเฉาก๊วย เชื่อกันว่าบรรเทาอาการร้อนใน ดับกระหาย แต่เนื่องจากมีระดับของน้ำมันหอมระเหยและสารออกฤทธิ์ในระดับที่ต่ำกว่าตระกูลกะเพราเป็นอย่างมาก เฉาก๊วยจึงไม่มีฤทธิ์ขับลม หรือบรรเทาปวด เหมือนดังที่มีในพืชตระกูลกะเพรา-โหระพา ขณะที่ทางจีนเชื่อว่าเฉาก๊วยรักษาอาการหวัด เบาหวาน ตับอักเสบ และช่วยลดความดันโลหิตสูง ตำรายากล่าวว่า ใช้ใบสดหรือแห้งของต้นเฉาก๊วยครึ่งกำมือ ใส่น้ำลงไปให้ท่วมยาหรือใบ ต้มกับหม้อดินให้เดือด ดื่มเป็นประจำ จะทำให้อาการของโรคความดันค่อยๆ ลดลง และควบคุมอาการไม่ให้กำเริบขึ้นได้

รายการบล็อกของฉัน