ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2564

ต้นไม้ประหลาด รูปร่างเหมือนปิกาจู้

ต้นไม้ประหลาด รูปร่างเหมือนปิกาจู้


ค้นหา
บ้านเรามักจะมีข่าวแปลก ๆ เกี่ยวกับต้นไม้ ที่มีรูปร่างแปลกตา ผิดธรรมชาติกันอยู่บ่อย ๆ รู้ไหมที่ต่างประเทศเขาก็ไม่น้อยหน้าค่ะ ล่าสุดมีการแชร์ภาพ ต้นไม้ประหลาด รูปร่างเหมือน "องคชาติ" ทำเอาชาวเน็ตงงหนักมาก
หลังจากเฟซบุ๊กเพจ Pictures In History เพจดังที่มีผู้ติดตามเกือบ 6 ล้านคน ได้แชร์ภาพพืชปริศนา รูปร่างหน้าตาดูคล้ายคลึงกับอวัยวะเพศชาย ก็มีคนเข้ามากดไลค์ แสดงความคิดเห็นกันมากมาย และมีการแชร์ต่อไปกว่า 4.5 หมื่นครั้ง

รูปร่างที่ชวนฉงน เราควรจะขำ หรือจะสงสัยก่อนดี ? ชาวเน็ตต่างถกเถียงกันว่า ภาพนี้ใช่ของจริงหรอแก ตัดต่อหรือเปล่า มันมีด้วยหรอไอ้ต้นกระปู๋เนี่ย! แต่แล้วไม่นานปริศนาก็ถูกเฉลย เมื่อเว็บไซต์ Snopes ที่ทำหน้าที่พิสูจน์ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่ปรากฎในอินเทอร์เน็ต ได้โพสต์ยืนยันว่าเป็นภาพที่ถ่ายขึ้นมาจริง ๆ ไม่ได้ใช้โฟโต้ช็อปแต่อย่างใด

เจ้าต้นไม้ประหลาดนี้มีชื่อว่า Penis Flytrap เป็นพืชในตระกูล Venus flytrap (Dionaea muscipula) หรือ พืชกินแมลง นั่นเอง ปกติแล้วตรงส่วนบนสุดของมันจะเปิดอ้าออก เพื่อดึงดูดล่อเหยื่อ เช่น มด แมงมุม ผึ้ง แมลงอื่น ๆ ให้เข้ามาใกล้ ส่วนตรงก้นของมันจะผลิตน้ำหวานหล่อเลี้ยงเอาไว้ เมื่อเหยื่อเข้ามาตอม มาดูดน้ำหวาน มันจะเผลอลื่นไถลลงสู่ก้นกระเปาะ จมลงไปในน้ำหวานเหนียว ๆ ก่อนจะถูกย่อยสลายไปตามธรรมชาติ

ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง

หากใครยังไม่รู้จัก พืชกินแมลง เราขอยกตัวอย่าง ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง จากภาพนี้เลยค่ะ หม้อข้าวหมอแกงลิงเป็นพืชกินแมลงที่พบมากที่สุดในเมืองไทย ช่อดอกมีลักษณะเป็นกระเปาะ เลยเรียกว่าหม้อ มีหน้าที่คอยดักจับแมลงที่บินหรือเข้ามาตอมใกล้ ๆ นอกจากต้นนี้แล้วก็ยังมี กาบหอยแครง 
ที่หน้าตาเหมือนหอย เปิดฝาอ้าเอาไว้ แล้วพอเหยื่อเข้ามาใกล้ก็จะปิดฝางับแมลงเข้าไปอย่างรวดเร็ว หรืออีกชนิดหนึ่งเรียกว่า ซาร์ราซีเนีย เป็นพืชกินแมลงที่มีใบใหญ่ที่สุด บางชนิดมีกรวยดักแมลง สูงเกือบ 1 เมตรเลยทีเดียว เรียกได้ว่ามีหลายสายพันธุ์เลยล่ะค่ะ เอาเป็นว่ามาดูวิดีโอนี้แล้วจะเข้าใจมากขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2564

หุบเขาแอปริคอต สวรรค์บนดินกลางหุบเขาที่ประเทศจีน



ค้นหา
ภาพของต้นแอปริคอตที่ออกดอกเบ่งบานทั่วทั้งหุบเขากว้างใหญ่ เป็นความงดงามราวเทพนิยายที่นักท่องเที่ยวต้องเดินทางมาเห็นให้ได้สักครั้ง

หุบเขาแอปริคอต (Apricot Valley) ประเทศจีน ภาพของต้นแอปริคอตที่ออกดอกเบ่งบานทั่วทั้งหุบเขากว้างใหญ่ เป็นความงดงามราวเทพนิยายที่นักท่องเที่ยวต้องเดินทางมาเห็นให้ได้สักครั้ง

ขึ้นชื่อว่า "จีน" ประเทศ ยิ่งใหญ่ในเอเชีย ที่มีความหลากหลายทั้งในแง่ผู้คนและวัฒนธรรม หากแต่ในความหลากหลายเหล่านี้นั้น จีนยังมีภูมิประเทศสวย ๆ อีกมากมายรอให้นักท่องเที่ยวเข้าไปสัมผัสด้วยเช่นกัน ลองใครได้เห็นแล้วจะต้องตกตะลึงจนตาค้าง วันนี้เราเลยอยากจะพาเพื่อน ๆ เดินทางไปยังทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ในมณฑลซินเจียง ที่นั่นเป็นที่ตั้งของหุบเขาแอปริคอต ยามเมื่อถึงคราวที่ดอกจากต้นแอปริคอตเบ่งบาน เมื่อนั้นคุณจะรู้สึกว่าเหมือนมีใครย้อมภูเขาทั้งลูกให้เป็นสีชมพูเลยทีเดียว


หุบเขาแอปริคอต (Apricot Valley) เป็นหุบเขาที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลในเขตปกครองเต้อเจียน (Tuergen) พื้นที่บริเวณดังกล่าวเต็มไปด้วยต้นแอปริคอต และเมื่อคราวใดก็ตามถึงช่วงเวลาที่ดอกแอปริคอตเบ่งบาน หุบเขาแห่งนี้ก็จะถูกปกคลุมไปด้วยสีชมพูแสนหวาน กลายเป็นที่ร่ำลือกันหนาหู จนทำให้สถานที่แห่งนี้เป็นหนึ่งในแลนด์มาร์กดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทาง ไปชมภูเขาสีชมพูด้วยตาตัวเอง

หากนักท่องเที่ยวคนไหนอยากเดินทางมายังหุบเขาแอปริคอต ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดคือช่วงเดือนเมษายนเป็นต้นไป เพราะเป็นช่วงที่ดอกแอปริคอตกำลังออกดอกบานอย่างเต็มที่ นักท่องเที่ยวจะเห็นสีดอกของแอปริคอตทั้งชมพูและขาวบานสลับดอกกันไปบนผืน ทุ่งหญ้าสีเขียวกว้างใหญ่ กระจัดกระจายและจับกลุ่มกินอาณาเขตพื้นที่ภูเขากว่า 2,000 ไร่ ลองหลับตาแล้วจินตนาการดูสิว่าถ้าเกิดเมื่อใดก็ตามที่ต้นแอปริคอตออกดอกบาน พร้อมกัน คงให้ความรู้สึกที่ไม่ต่างกับภาพวาดสุดวิจิตรราวกับในเทพนิยาย

ส่วนใหญ่แล้วนักท่องเที่ยวจะนิยมไปที่หุบเขาแอปริคอตในช่วงเวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นและตกดิน เรียกว่าเป็นช่วงเวลานาทีทองที่เหล่านักท่องเที่ยวนิยมมาถ่ายรูปมากที่สุด บางคนเลือกมุมแล้วเลือกมุมอีก นั่นก็เพื่อให้รูปของหุบเขาแอปริคอตแห่งนี้ออกมาสวยที่สุด หรือบางคนก็เลือกที่จะมานอนเต็นท์ เพื่อจะได้ดื่มด่ำกับค่ำคืนที่แสนวิเศษ และตื่นเช้าขึ้นมาทันรับรุ่งอรุณแสงแรกท่ามกลางดอกแอปริคอตสวย ๆ หากใครเบื่อที่จะดูดอกซากุระที่ญี่ปุ่น ลองเบนเข็มเปลี่ยนมาดูดอกแอปริคอตดูบ้าง ก็ดีไม่น้อยเลยเหมือนกัน

สมุนไพรกระไดลิง

กระไดลิง
ค้นหา

กระไดลิง ชื่อวิทยาศาสตร์ Bauhinia scandens L. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Lasiobema scandens (L.) de Wit Lasiobema scandens var. horsfieldii (Miq.) de Wit) ส่วนข้อมูลอื่นระบุว่า เป็นชนิด Bauhinia scandens var. horsfieldii (Prain) K.Larsen & S.S.Larsen (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Lasiobema horsfieldii Miq.) โดยจัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยราชพฤกษ์ (CAESALPINIOIDEAE หรือ CAESALPINIACEAE)

สมุนไพรกระไดลิง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า มะลืมคำ (เชียงใหม่), กระไดลิง (ราชบุรี), กระไดวอก โชกนุ้ย (ชาวบน-ชัยภูมิ), เครือเสี้ยว (ไทใหญ่), กระไดวอก มะลืมดำ (ภาคเหนือ), บันไดลิง, ลางลิง เป็นต้น

ลักษณะของกระไดลิง
ต้นกระไดลิง จัดเป็นพรรณไม้เถาเนื้อแข็งผลัดใบขนาดใหญ่ มีมือเกาะ มักขึ้นพาดพันตามเรือนยอดของต้นไม้อื่นไปได้ไกล เถาแก่มีลักษณะแข็ง เหนียว แบน โค้งไปมาเป็นลอนสม่ำเสมอ ลักษณะเป็นขั้น ๆ ดูคล้ายบันได จึงเรียกชื่อพรรณไม้ชนิดนี้ว่า "กระไดลิง" ตามกิ่งอ่อนจะมีขนขึ้นประปราย ส่วนกิ่งแก่จะเกลี้ยงไม่มีขน มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย ภูมิภาคอินโดจีน และอินโดนีเซีย ส่วนในประเทศไทยพบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วภาคของประเทศ ยกเว้นภาคใต้ เช่น จังหวัดเลย, ชัยภูมิ, นครราชสีมา, อยุธยา, กาญจนบุรี, สระบุรี, จันทบุรี, ชลบุรี, ปราจีนบุรี, ตราด, ประจวบคีรีขันธ์ ฯลฯ โดยมักขึ้นตามป่าดิบแล้งและตามป่าเบญจพรรณชื้น

ใบกระไดลิง ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่หรือรูปพัด ปลายใบแหลมหรือเว้ามากหรือน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-12 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-11 เซนติเมตร ใบที่อยู่ส่วนปลายจะเว้าลึกลงมาค่อนใบ แผ่นใบจะมีลักษณะเป็นสองแฉก โคนใบกว้างและมักเว้าเล็กน้อย ที่รอยต่อก้านใบเป็นรูปคล้ายหัวใจ มีเส้นใบออกจากโคนใบ 5-7 เส้น ผิวใบด้านบนเกลี้ยงเป็นมัน ส่วนด้านล่างมีขนขึ้นประปรายหรือเกลี้ยง ก้านใบยาวประมาณ 1.5-5 เซนติเมตร หูใบมีขนาดเล็กมาก เป็นติ่งยาวและร่วงได้ง่าย
ใบกระไดลิง

ดอกกระไดลิง ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ช่อดอกเป็นแบบช่อแยกแขนง ยาวประมาณ 12-25 เซนติเมตร มีขนขึ้นประปราย แตกแขนงน้อย แต่ละแขนงจะมีดอกขนาดเล็กจำนวนมาก กลีบเลี้ยงดอกมี 5 กลีบ ติดกันคล้ายรูปถ้วย ส่วนกลีบดอกมี 5 กลีบ กลีบดอกเป็นสีขาวอมเหลือง แยกจากกัน คล้ายรูปหัด ก้านกลีบดอกสั้น ดอกมีเกสรเพศผู้สมบูรณ์ 3 อัน และเกสรเพศผู้ไม่สมบูรณ์อีก 2 อัน ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า รังไข่ก้านสั้น
ดอกกระไดลิง

ผลกระไดลิง ออกผลเป็นฝัก ฝักมีลักษณะแบน รูปรี หรือรูปไข่แกมรี ปลายฝักมน มีติ่งแหลมสั้น ๆ ฝักมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร ฝักแก่เป็นสีน้ำตาลแดง[1] เมื่อแห้งจะแตกออก ภายในมีเมล็ด 1-2 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปขอบขนาน

สรรพคุณของกระไดลิง
เถามีรสเบื่อเมา มีสรรพคุณเป็นยาแก้พิษทั้งปวง (กะจำนวนพอประมาณใช้ต้มกับน้ำดื่ม) แก้พิษฝี แก้ไข้ตัวร้อน ขับเหงื่อ แก้พิษไข้ แก้พิษร้อน แก้ร้อนใน แก้ไข้เซื่องซึม แก้พิษโลหิต แก้พิษไข้ทั้งปวง แก้พิษเลือดลม และเป็นยาแก้กระษัย (เถา)
ในประเทศอินโดนีเซียจะนิยมใช้น้ำเลี้ยง (sap) หรือน้ำที่ตัดได้จากเถาหรือต้นสดของกระไดลิงที่ไหลซึมออกมา แล้วใช้ภาชนะรอง นำมาจิบกินบ่อย ๆ เพื่อเป็นยาบรรเทาอาการไอ (น้ำจากเถา)
ตำรายาพื้นบ้านทางภาคอีสานของไทยจะใช้เถาหรือต้นนำมาต้มกับน้ำหรือฝนกับน้ำดื่มเป็นยาแก้บิด (เถา)[
เปลือกมีสรรพคุณเป็นยาแก้โรคผิวหนัง แก้ปวดข้อใช้เปลือกต้นนำมาต้มกับน้ำอาบเพื่อใช้เป็นยาคุมกำเนิด แต่คนท้องห้ามใช้เพราะอาจจะทำให้แท้งบุตรได้ (เปลือกต้น)
รากมีสรรพคุณเป็นยาแก้พิษต่าง ๆ (ราก)
ใบมีสรรพคุณเป็นยาขับเหงื่อ แก้ไข้ตัวร้อน (ใบ)
เมล็ดใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ แก้ไข้เซื่องซึม มีอาการหน้าหมองเนื่องมาจากพิษไข้ แก้ร้อนใน ช่วยขับเหงื่อ (เมล็ด)
ประโยชน์ของกระไดลิง
บางข้อมูลระบุว่า เปลือกของต้นกระไดลิงมีความเหนียว สามารถนำมาใช้แทนเชือกได้ ส่วนเถาแห้งที่คดงอไปมานั้นนิยมนำมาใช้ในงานประดิษฐ์หลายอย่าง เช่น ต้นไม้ประดิษฐ์ (ประกอบเข้ากับใบหรือดอกไม้พลาสติก), กรอบรูป, แกนของโคมไฟ ฯลฯ

วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2564

กล้วยสีชมพูที่สามารถทานได้

ค้นหา
กล้วยสีชมพูนี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Musa velutina เป็นสายพันธุ์กล้วยที่นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ โดยหัวปลีนั้นจะมีสีชมพูไปจนถึงสีม่วง เมื่อกล้วยออกลูกมาก็จะเป็นสีชมพูและม่วงเช่นกัน

เป็นกล้วยที่สามารถนำไปทานได้ แต่ในผลจะมีเมล็ดเยอะกว่ากล้วยที่นิยมทานกันทั่วไป



Musa velutina

หิมะสีเลือด ปรากฏการณ์ธรรมชาติลึกลับ


ค้นหา
หิมะสีเลือด ปรากฏการณ์นี้เกิดจากสาหร่ายสีแดงชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Chlamydomonas 


Chlamydomonas ซึ่งซ่อนตัวอยู่ในทุ่งหิมะและภูเขาทั่วโลก สาหร่ายเจริญเติบโตได้ในน้ำที่เย็นจัดและใช้เวลาในฤดูหนาวอยู่ใต้หิมะและน้ำแข็ง เมื่อฤดูร้อนมาถึงและหิมะละลาย สาหร่ายก็จะกระจายสปอร์สีแดงเหมือนดอกไม้สีแดงของปรากฏการณ์นี้เกิดจากแคโรทีนอยด์ (สิ่งเดียวกับที่อยู่ในฟักทองและแครอทสีส้ม) ในคลอโรพลาสม่าของสาหร่าย..
นอกจากสีแดงเข้มแล้วเม็ดสีเหล่านี้ยังดูดซับความร้อนและปกป้องสาหร่ายจากแสงอัลตร้าไวโอเลต

แต่การสะพรั่งของสาหร่ายมีส่วนที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เพราะสีที่แดงเข้มทำให้หิมะสะท้อนแสงอาทิตย์ได้น้อยลงและละลายเร็วขึ้น ยิ่งสาหร่ายดูดซับความร้อนได้เร็วเท่าไหร่ น้ำแข็งก็จะละลายเร็วขึ้นเท่านั้น และยิ่งละลายน้ำแข็งได้เร็วเท่าไหร่สาหร่ายก็ยิ่งกระจายตัวเร็วขึ้นเท่านั้นเช่นกัน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดผลกระทบอีกมาก อย่างการบุกรุกของฟองทะเล และสาหร่ายสีน้ำเงินเรืองแสง เป็นต้น


ภาพน้ำแข็งรอบๆ ฐานการวิจัย Vernadsky ของยูเครน (ตั้งอยู่บนเกาะ Galindez 
นอกชายฝั่งของคาบสมุทรทางตอนเหนือสุดของทวีปแอนตาร์กติกา

วงปีต้นไม้ไม่ใช่แค่บอกอายุต้นไม้ได้เท่านั้น มันสามารถบอกข้อมูลสภาพอากาศของโลกย้อนไปได้นับพันปีเลยทีเดียว


ค้นหา
วงปีต้นไม้’ ไม่ใช่แค่บอกอายุต้นไม้ได้เท่านั้น ใครจะรู้ว่ามันสามารถบอกข้อมูลสภาพอากาศของโลกย้อนไปได้นับพันปีเลยทีเดียว มาดูกัน น่าทึ่งมาก

Dendrochronology เป็นวิธีการศึกษาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ จากวงปีการเจริญเติบโตของต้นไม้ (Tree Ring) ในแต่ละปีเปลือกไม้จะเติบโตขึ้นทีละชั้น ปีไหนที่มีฝนตกมากวงปีจะมีขนาดหนาขึ้น ในปีที่มีฤดูที่แห้งแล้งจะมีวงปีแคบ ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศดังกล่าวจะถูกบันทึกไว้ตามวงปีต้นไม้ ตลอดอายุขัยของมัน

แต่ไม่ใช้ต้นไม้ที่ไหนก็ได้ที่จะนำมาศึกษา จะต้องต้นไม้ที่โตในเขตหนาวเท่านั้น เนื่องจากต้นไม้ในเขตร้อนสามารถเจริญเติบโตได้ตลอดทั้งปีจึงจะไม่เห็นผลที่ชัดเจน ต้นไม้อายุเก่าแก่ในเขตหนาวจึงเป็นสิ่งล้ำค่าที่จะบ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงของอากาศโลกในอดีตมาถึงปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าข้อมูลบนวงปีต้นไม้สามารถบันทึกการเปลี่ยนแปลงได้ยาวนานกว่า 9,000 ปี

แต่การศึกษาวงปีต้นไม้นี้ก็ยังมีปัญหาด้านการวิเคราะห์อยู่ เพราะวงปีของต้นไม้มีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโต เช่น ลม สารอาหารในดิน โรคหรือแม้กระทั่งมลพิษ อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ข้อมูลในวงปีต้นไม้จะสามารถบอกข้อมูลของสภาวะโลกร้อนได้ตลอด 1,000 ปีที่ผ่านมา

รายการบล็อกของฉัน