ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันพุธที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ภูเขามอสในประเทศไอซ์แลนด์

ภูเขามอสในประเทศไอซ์แลนด์
Laki เป็นภูเขาที่เกิดจากการปะทุของภูเขาไฟ ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของ ประเทศไอซ์แลนด์ 
ในช่วงปี 1783-1784 ภูเขาไฟบริเวณนี้เกิดการระเบิดขึ้นอย่างรุนแรง ทำให้พื้นที่ในบริเวณนี้กลายเป็นเมืองร้าง

และผลจากการปะทุส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศทั่วซีกโลกเหนือ ปัจุบันพื้นที่แห่งนี้ได้กลายเป็นภูเขาที่เต็มไปด้วยมอสที่ปกคลุมจนกลายเป็นภูเขาสีเขียว จนแทบไม่เห็นร่องรอยในอดีต

ความแตกต่างระหว่างชงโคดอกเหลือง พญากาหลง และโยทะกา


ความแตกต่างระหว่างชงโคดอกเหลือง พญากาหลง และโยทะกา
โดยทั่วไปแล้ว เมื่อเอ่ยถึงโยทะกา พญากาหลง และ ชงโคดอกเหลือง ส่วนมากมักจะคิดว่าเป็นพืชต้นเดียวกัน แต่จริง ๆ แล้วนั้น...

ก่อนอื่นก็ขอเอ่ยถึงชงโคดอกเหลืองและพญากาหลงก่อนแล้วกันครับ

ชงโคดอกเหลือง 
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bauhinia 
tomentosa L. 
วงศ์ : FABACEAE (LEGUMINOSAE)
ชงโคดอกเหลือง แบ่งแยกย่อย
ได้เป็น 2 ต้น
ต้นแรกคือ ชงโคดอกเหลือง เป็นสายพันธุ์ที่มีกลีบดอกสีเหลืองล้วน

😳ส่วนอีกสายพันธุ์หนึ่ง บางครั้งเรียกว่า พญากาหลง เป็นพันธุ์ที่มีกลีบดอกสีเหลือง โคนกลีบมีสีม่วงเข้มเกือบดำ เมื่อใกล้โรยกลีบดอกจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงเข้ม


ซึ่งสองสายพันธุ์นี้มักถูกเข้าใจผิดว่าเป็น โยทะกา แต่เมื่อนำไปอ้างอิงกับสารานุกรมพืช http://www.dnp.go.th/ จะได้ความว่า

😁โยทะกา 
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bauhinia monandra Kurz 
วงศ์ : FABACEAE (LEGUMINOSAE)

ซึ่งทางสารานุกรมพืชได้บรรยายถึงต้นนี้ไว้ว่า ลักษณะดอก ก้านดอกยาว 1-1.5 ซม. มีขนสั้นนุ่ม ใบประดับรูปใบหอก ยาวประมาณ 1 ซม. ใบประดับย่อยรูปแถบ ยาว 3-6 มม. ติดที่โคนฐานดอก ตาดอกรูปกระสวย ปลายแยกเป็น 5 แฉกเล็ก ๆ ฐานดอกยาว 2.5-3 ซม. กลีบเลี้ยงแฉกลึกด้านเดียว รูปใบพาย ยาว 1.5-2 ซม. กลีบดอก 5 กลีบ สีครีมอมชมพู มีจุดสีชมพูกระจาย รูปไข่กลับ ยาว 4-5 ซม. มีก้านกลีบสั้นๆ กลีบด้านหลังยาวมีปื้นเป็นจุดสีแดงกระจาย เกสรเพศผู้ที่สมบูรณ์มี 1 อัน ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 4 ซม. มีขนที่โคน อับเรณูยาวประมาณ 6 มม.

ซึ่งจะตรงกับรูปนี้
ที่มาของภาพ : swbiodiversity.org

ซึ่งจะคล้ายคลึงกับ ชงโคออสซี่ ที่มีการนำมาขายกันในปัจจุบันเป็นอย่างมาก เมื่อนำไปเทียบชื่อวิทยาศาสตร์ก็พบว่า ชงโคออสซี่ คือ Bauhinia monandra Kurz เช่นเดียวกับโยทะกา

วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ต้นไม้ที่มีใบคล้ายโลมา

ญี่ปุ่นแชร์กระหน่ำ! ‘ต้นไม้ที่มีใบคล้ายโลมา’ น่ารักมุ้งมิ้งมันคือต้นอะไรใครไม่เคยเห็น มาดู!

บนโลกนี้มีพืชอยู่หลากหลายชนิด แต่จะมีพืชซักกี่ชนิดกันที่จะมีความน่ารักตะมุตะมิเท่าพืชที่เรากำลังจะกล่าวถึงต่อไปนี้ รับรองว่ามันต้องถูกใจใครหลายๆ คนอย่างแน่นอน

เกิดเป็นกระแสขึ้นมาในชั่วข้ามคืน เมื่อผู้ใช้ทวิตเตอร์ที่ชื่อ kao77neko ได้โพสต์รูปต้นไม้ชนิดหนึ่ง ซึ่งใบของต้นไม้ชนิดนี้มีลักษณะที่แตกต่างและแปลกตากว่าต้นไม้สายพันธุ์อื่นๆ เนื่องจากมันมีใบที่คล้ายกับรูปร่างของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอย่างโลมานั่นเอง

ต้นไม้ต้นนี้มีชื่อสายพันธุ์ว่า “Senecio peregrinus” หรือ “ต้นไม้โลมา” เป็นพืชขนาดเล็กที่เหมาะสำหรับปลูกในกระถาง โดยความพิเศษของเจ้า Senecio peregrinus อยู่ตรงที่ใบของมัน ที่มีลักษณะคล้ายกับรูปร่างของโลมา นอกจากนี้หากกิ่งก้านที่ลำต้นขึ้นมากเท่าไหร่ ใบสุดแสนน่ารักนี้ก็จะขึ้นมากเท่านั้น

ความแปลกตาและน่ารักนี่เองที่ทำให้ผู้ที่ได้พบเห็นรู้สึกชื่นชอบ 
จนเกิดการแชร์เป็นจำนวนมาก 
โดยก่อนหน้านี้ที่ประเทศญี่ปุ่นก็นิยมปลูกเจ้าต้น Monilaria obconica ซึ่งมีลักษณะลำต้นคล้ายกับหูกระต่ายกันไปแล้ว แหม…ประเทศนี้เขาแน่นอนเรื่องของความน่ารักจริงๆ

Senecio peregrinus

ดอกไม้ดอกแรกของโลกเกิดขึ้นในยุคดึกดำบรรพ์เมื่อ 140 ล้านปีที่ผ่านมา


นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ดอกไม้ดอกแรกของโลกเกิดขึ้นในยุคดึกดำบรรพ์เมื่อ 140 ล้านปีที่ผ่านมา และเป็นบรรพบุรุษของดอกไม้ทุกชนิดในโลกนี้ แต่พวกเขาก็นึกหน้าตาของดอกไม้ดอกแรกไม่ออก เนื่องจากไม่พบซากดึกดำบรรพ์ของดอกไม้มาก่อน แต่นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยปารีส–ซูด ในฝรั่งเศส เลยพยายามอนุมานลักษณะของดอกไม้โดยรวบรวมเอารูปแบบวิวัฒนาการของดอกไม้และข้อมูลทางพฤกษศาสตร์จากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของลักษณะดอกไม้ในปัจจุบัน มาวิเคราะห์และจำลองภาพดอกไม้ดอกแรกของโลก

ภาพจำลองดอกไม้โบราณเผยให้เห็นว่า มีการจัดเรียงชั้นของกลีบดอก รวมทั้งมีทั้งอวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมีย ลักษณะคล้ายคลึงกับดอกลิลลี่น้ำ หรือดอกบัว ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เผยว่าพบคุณสมบัติบางอย่างที่น่าประหลาดใจของส่วน ประกอบหลายอย่าง เช่น กลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรตัวผู้อาจเรียงตัวเป็นวงกลมแทน ที่จะเป็นเรียงตัวเป็นชั้นเกลียวตามแบบฉบับของดอกไม้โบราณ

นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ให้ความเห็นว่า การปรากฏตัวขึ้นของดอกไม้ในโลก มีผลอย่างมากต่อระบบนิเวศและสภาพอากาศ ซึ่งผลักดันให้เกิดวิวัฒนาการอย่างรวดเร็วของแมลงผสมเกสร โดยทุกวันนี้มีพืชดอก หรือแองจีโอสเปิร์ม (angiosperms) อยู่ถึง 90% ของพืชบนดินทั้งหมด และมีความสำคัญต่อความอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตบนบก อย่างไรก็ตาม แม้ภาพจำลองจะทำให้รู้หน้าค่าตาของดอกไม้ดอกแรกของโลก แต่โครงสร้างและการจัดระเบียบของดอกไม้ยังคงเป็นเรื่องลึกลับ เนื่องจากยังหาคำตอบไม่ได้ถึงลักษณะเพศของดอกไม้ดึกดำบรรพ์

Monilaria obconica น้องต่ายในกระถาง

Monilaria obconica น้องต่ายในกระถาง
Monilaria obconica หรือ ต้นหูกระต่าย (Bunny Succulents) คือพืชอวบน้ำจากแอฟริกาใต้ ซึ่งเมื่อพวกมันโตขึ้นจะมีลักษณะคล้ายแคคตัส โดยมีลักษณะหน่ออ่อน 2 หน่อ ยามแตกยอดทำให้ดูคล้ายกับหูกระต่าย หรือบางคนตีความเป็นการชูสองนิ้วให้กำลังใจว่า สู้ๆนะ ด้วยสองยอดอ่อน

โดยพวกมันมีอายุไขเฉลี่ยราว 1 ปี ขึ้นอยู่กับการดูแลของเจ้าของ เมื่อยอดอ่อนโตขึ้นไปเรื่อยๆจนแยกออกจากกัน เป็นลักษณะหูกระต่ายยาว ก่อนที่ดอกไม้ประจำต้นจะบาน
นอกจากนี้พวกมันยังมีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อต่างๆไม่น้อย เชื่อกันว่า หากเลี้ยงแล้วจะนำโชค เรื่องความรัก สุขภาพ และความโชคดีมาให้ บ้างก็ว่าหากเราพูดคุยกับพวกมันอย่างใส่ใจ เมื่อต้นเริ่มโตขึ้น พวกมันจะบันดาลคำอธิษฐานของเจ้าของให้เป็นจริง หรือความเชื่อที่ว่าหากหูของต้นยาวมากๆก็สามารถทำให้เจ้าของสมหวังได้

Monilaria obconica 


รายการบล็อกของฉัน