ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ต้นลาน (Lan)

ต้นลานกำลังออกดอกบานสะพรั่ง
ต้นลานจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นตรงและแข็ง เนื้อไม้เป็นเส้นใย ไม่มีกิ่ง มีแต่ก้านออกรอบลำต้นเป็นชั้น ๆ มีหนามเป็นฟันเลื่อยสั้น ๆ อยู่สองข้างริมขอบก้านใบ ใบยาวประมาณ 2-3 เมตร ใบใหญ่ มีลักษณะเป็นรูปพัด ค่อนข้างกลมคล้ายใบตาล บางทีเรียกปาล์มพัด ความยาวของใบ 3-4 เมตร ความกว้างที่แผ่ออกไปประมาณ 4.5-6 เมตร ถือเป็นพันธุ์ไม้ที่มีใบใหญ่ที่สุดในโลก เป็นไม้ทิ้งใบตามธรรมชาติ วงจรชีวิต ของต้นลานค่อนข้างพิเศษกว่าไม้ตระกูลอื่น ๆ คือเมื่อต้นแก่ตั้งแต่อายุ 20-80 ปี ประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายนจะออกดอก และผลนั่นหมายถึงชีวิตช่วงสุดท้ายของต้นลานสิ้นสุดแล้ว...
         
ต้นลานจะออกดอกเป็นช่อใหญ่คล้ายรูปปิรามิด ตรงส่วนยอดของลำต้น ช่อดอกหนึ่งจะมีดอกเป็นจำนวนล้าน ๆ ดอก สีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม นับตั้งแต่เริ่มออกช่อดอกและบานกลายเป็น ผลกินเวลาประมาณ 1 ปีขึ้นไป ผลมีลักษณะกลมรี สีเขียว ผลหนึ่งมีเมล็ดเดียว เมล็ดกลมสีดำ เนื้อในคล้ายลูกชิด หรือลูกจาก รับประทานได้ เมื่อผลแก่ร่วงหล่นลงสู่พื้นดินจะงอกเป็นต้นลานเล็ก ๆ มากมาย เนื่องจากลานมีลำต้นเดียว ไม่มีหน่อ ดังนั้นเมล็ดจากผลเท่านั้นเท่านั้นที่จะทำหน้าที่สืบพันธุ์ได้ สามารถใช้เพาะขยายพันธุ์ แต่การเจริญเติบโตของต้นลานเป็นไปอย่างช้ามาก ส่วนการย้ายปลูกกล้าไม้ลาน หาก มีการกระทบกระเทือนทางราก กล้าไม้จะไม่รอดตาย ประโยชน์ของต้นลาน

ลานหรือไม้ลาน เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่อยู่ในตระกูลปาล์ม เป็นพันธุ์ไม้ดึกดำบรรพ์ ที่ไม่ขึ้นแพร่หลายนัก
มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาและแถบเมดิเตอร์เรเนียน ส่วนใหญ่จะชอบขึ้นอยู่ในที่มีอากาศชื้นเย็น มีฝนตกมาก ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีที่สุด ในดินที่มีความชื้นสูง ดินมีการระบายน้ำได้ดี ไม่ชอบน้ำขัง ต้นลานมีความคงทนต่อภัยธรรมชาติเป็นอย่างดี ต้นเล็กถึงแม้จะถูกไฟไหม้ก็จะงอกขึ้นได้ในโอกาสต่อไป เพราะรากของต้นลาน ฝังลงในดินลึกมาก ต้นลานที่พบในประเทศไทยมี 3 ชนิดคือ

Corypha lecomtei
1.Corypha lecomtei      มีชื่อสามัญเรียกว่า ลานป่า Lan pa ในธรรมชาติพบในประเทศเวียดนามและประเทศไทย แต่ไม่ใหญ่เท่าชนิดที่ 3 ในเวียดนามและไทยนิยมนำมาใช้เขียนหรือจารึกอักษร ลานชนิดนี้พบมากที่บ้านทับลาน บ้านขุนศรี บ้านวังมืด ตำบลบุพราหมณ์ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี บ้านท่าฤทธิ์ ตำบลวังม่วง อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี บริเวณผานกเค้า อำเภอผานกเค้า จังหวัดขอนแก่น นอกจากนี้ยังพบ ทั่วไปบริเวณจังหวัดลพบุรี , ตาก ,พิษณุโลก,นครปฐม ลานชนิดนี้มีอยู่ในอุทยานแห่งชาติทับลาน จัดว่าเป็นพันธุ์ไม้ดั้งเดิมของไทย
Corpha utan
2.Corpha utan       มีชื่อพ้องคือ Corypha elata ชื่อสามัญเรียกว่า ลานพรุ Lan phru หรือ ebang Palm ชอบขึ้นตามแนวชายฝั่งแม่น้ำหรือในพื้นที่ชุ่มน้ำมีการกระจายตั้งแต่อินเดียจนถึงฟิลิปปินส์ และทางตอนเหนือของออสเตรเลียในประเทศไทยพบมากในแถบภาคใต้เขตอำเภอเชียรใหญ่และอำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอระโนด จังหวัดสงขลาและตามเส้นทางจากจังหวัดกระบี่ถึงพังงา ลานพรุมีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากลานชนิดอื่น คือ ลำต้นสูงคล้ายต้นตาลขึ้นอยู่รวมกันเป็นจำนวนมากตามที่ราบท้องทุ่ง แม้พื้นที่น้ำท่วมขัง

Corepha umbraculifera        
3. Corepha umbraculifera    เป็นปาล์มที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีชื่อสามัญว่า ลานวัดหรือลานหมื่นเถิดเทิง หรือ Fan palm, Lontar palm, Talipotpalm ลานชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดในศรีลังกาและอินเดีย จนเป็นต้นไม้ประจำชาติของศรีลังกา ประเทศไทยไม่พบในธรรมชาติ แต่มีการนำเอามาปลูกในภาคเหนือของประเทศไทย

ลานถือได้ว่าเป็นไม้เศรษฐกิจประเภทหนึ่งของไทย โดยอาศัยผลผลิตที่ได้จากต้นลาน นำมาใช้ประโยชน์เพื่อการดำรงชีวิต ทั้งด้านอุปโภคและบริโภค นับตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ส่วนต่าง ๆ ของต้นลานที่นำมาใช้ประโยชน์ได้แก่

1. ยอดลานอ่อน (ใบลานอ่อน) เป็นที่จารึก หนังสือพระธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนา โดยการใช้เหล็กแหลมจารบนใบลานแล้วใช้ยางรักทา เอาทรายลบยางรักจะแทรกในตัวหนังสือที่จารเป็นเส้นดำ หรือจะใช้เขม่าไฟแทนก็ได้ เรียกหนังสือใบลานเหล่านี้ว่า "คัมภีร์ใบลาน" นอกจากนี้ ยังนิยมนำมาพิมพ์เป็นการ์ด นามบัตร ที่คั่นหนังสือต่าง ๆ ใช้จักสานทำผลิตภัณฑ์ของใช้ อาทิ เช่น หมวก งอบ พัด กระเป๋า เสื่อ ภาชนะในครัวเรือน เครื่องประดับตกแต่งบ้าน เช่น โมบายรูปสัตว์ ปลาตะเพียน ฯลฯ ส่วนภาคใต้นำยอดลานพรุ มาฉีกเป็นใบ สางออกเป็นเส้น ปั่นเป็นเส้นยาวคล้ายด้าย นำไปทอเป็นแผ่น เรียกว่า ห่งอวนหรือหางอวน ทำเป็นถุงรูปสามเหลี่ยมสำหรับไว้ต่อปลายอวน ใช้เป็นถุงจับกุ้งและเคยสำหรับทำกะปิ สานเป็นถุงใส่เกลือ วองใส่ยาเส้นและซองใส่แว่นตา
   
2. ใบลานแก่ ใช้มุงหลังคาและทำผนังหรือฝาบ้าน บางแห่งใช้ใบลานเผาไฟเป็นยาดับพิษอักเสบฟกช้ำบวมได้เป็นอย่างดี ซึ่งเรียกทั่วไปว่า "ยามหานิล"
      
3. ก้านใบ ใช้ทำโครงสร้าง ไม้ขื่อ ไม้แป และผนัง บางแห่งใช้มัดสิ่งของแทนเชือกเหนียวมาก ส่วนกระดูกลาน (ใกล้กับบริเวณหนามแหลม) มีความแข็ง และเหนียวมากกว่าส่วนอื่นของก้านใบ ใช้ทำคันกลดพระธุดงค์ นอกจากนี้ยังใช้ทำขอบภาชนะจักสานทั่วไป เช่น ขอบกระด้ง ตะแกรง กระบุง ตะกร้า เป็นต้น
    
4. ลำต้น นำมาตัดเป็นท่อน ๆ สำหรับนั่งเล่นหรือใช้ตกแต่งประดับสวน ทำฟืนเป็นเชื้อเพลิงหุงต้ม ภาคใต้บางแห่งใช้ทำครกและสาก  
   
5. ผล ลูกตาลอ่อนนำเนื้อในมารับประทานแบบลุกชิดหรือลูกจาก ส่วนเปลือกรับประทานเป็นยาขับระบายดี บางแห่งใช้ลูกลานทุบทั้งเปลือก โยนลงน้ำทำให้ปลาเมา แต่ไม่ถึงตาย สะดวกแก่การจับปลาตามแม่น้ำลำคลองมาตั้งแต่สมัยโบร่ำโบราณแล้วครับ
เรียบเรียงข้อมูลเพิ่มเติมโดย menmen

วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สารเคมีที่ใช้รมข้าวมีอะไรบ้าง


สารที่ใช้รมข้าวมีอะไรบ้าง
ช่วงนี้จะเห็นว่ามีข่าวเกี่ยวกับข้าวเยอะแยะมากมาย ซึ่งแน่นอนอยู่แล้วที่หลายท่านคงต้องกังวลกันเพราะเราต้องรับประทานข้าวกันทุกวันอยู่แล้ว ซึ่งมีหลายคำถามที่พบเจอกับข่าวที่ออกมา ว่ากินแล้วจะตายหรือไม่ มีพิษอย่างไร หรือจะทำให้ให้เป็นมะเร็งหรือไม่ วันนี้จึงอยากนำความรู้ดีๆเกี่ยวกับสารที่ใช้รมข้าวหรือสารที่ใช้รมข้าวมีอะไรบ้างมาฝากกันครับ...


สารที่ใช้รมข้าวมีอะไรบ้างและจะก่อให้เกิดผลต่อร่างกายมนุษย์อย่างไร
การรมสารในการป้องกันกำจัดแมลงและศัตรูพืชในโรงเก็บที่ไทยใช้อยู่มี 2 ชนิดคือ เมทิลโบรไมด์ (MB) และฟอสฟิน (PHOSFINE) มีการใช้สารทั้งสองชนิดกันทั่วโลกอย่างกว้างขวาง เนื่องจากสามารถทำลายแมลงศัตรูพืชได้ทุกชนิด และทุกระยะการเจริญเติบโต ไม่มีพิษตกค้างเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้สารฆ่าแมลง

**Methylbromide**
CAS No. 74-83-9 UN/ID NO. 1062
สารเมทิลโบรไมด์เป็นก๊าซไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่ติดไฟ ไม่ระเบิด และไม่มีพิษตกค้าง สารชนิดนี้เป็นที่นิยมใช้เพราะเบากว่าอากาศ จะใช้การระเหยขึ้นด้านบน สามารถแทรกในช่องว่างระหว่างเม็ดข้าวได้ และราคาถูกกว่าสารชนิดอื่น
ชื่อพ้อง Bromomethane; Curafume; Embafume; Haltox; Iscobrome ; Terabol; Brom-O-Sol; Brom-O-Gas; Meth-O-Gas; Terr-O-Gas; Brom-O-Gaz; Celfume; Kayafume; MeBr; Halon 1001; Dowfume mc-2; Dowfume mc-33; EDCO; MB; MBX; Metafume; Methogas; Profume; Rotox; Terr-o-gas 100; Zytox; Dowfume; Bromomethane ;
1.สัมผัสทางหายใจ
- การหายใจเอาสารที่ความเข้มข้นต่ำเข้าไป จะก่อให้เกิดอาการเวียนศีรษะ, ง่วงนอน, ปวดศีรษะ, สูญเสียการทรงตัว, กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน, โรคลมบ้าหมู, สายตาพร่ามัว, สับสน, ทำลายปอดและไต
2.สัมผัสทางผิวหนัง
- การสัมผัสถูกผิวหนัง ทำให้แสบ เป็นแผลไหม้
3.กินหรือกลืนเข้าไป
- ไม่มีข้อมูล
4.สัมผัสถูกตา
- การสัมผัสถูกตา ทำให้ตาแดง และอาจทำให้เกิดการมองไม่เห็นชั่วคราว...
5.ความผิดปกติ,อื่น ๆมีดังนี้ครับ
- สารนี้มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง โรคปอดอักเสบ ทำลายไต
- เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์
- บุคคลที่มีโรคหัวใจ, ตับไม่ควรทำงานหรือใช้สารเคมีนี้
- ความคงตัวทางเคมี : สารนี้มีความเสถียร
- สภาวะที่ควรหลีกเลี่ยง : อุณหภูมิสูง
- สารเคมีอันตรายที่เกิดจากการสลายตัว : ไฮโดรเจนโบรไมด์, คาร์บอนิลโบรไมด์, คาร์บอนมอนนอกไซด์

**phosphine***
CAS No. 7803-51-2 UN/ID NO. 2199
ชื่อพ้อง Hydrogen phosphide, Phosphorus hydride; Phosphorated hydrogen; Phosphorus trihydride; Detia gas EX-B; GAS EX-B; Phosphine ;
เป็นสารที่มีความเป็นพิษสูง กรมวิชาการเกษตรจึงเตือนผู้รมยาว่า ต้องหลีกเลี่ยงการได้รับสารนี้ แม้ในปริมาณน้อยก็ตาม เพียงสูดดมระยะเวลาสั้นๆ ที่ความเข้มข้น 2.8 กรัมต่อลูกบาศก์เมตร สามารถทำให้เสียชีวิตได้

1.สัมผัสทางหายใจ
- การหายใจเข้าไปจะก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะ, วิงเวียนศีรษะ, เจ็บหน้าอก, ง่วงนอน
2.สัมผัสทางผิวหนัง
- การสัมผัสถูกผิวหนัง จะก่อให้เกิดอาการเนื้อเยื่อตาย เนื่องจาก การสัมผัสกับความเย็น ( FROSTBITE ) เกิดผื่นแดง และปวดได้
3.กินหรือกลืนเข้าไป
-ไม่มีข้อมูล
4.สัมผัสถูกตา
- การสัมผัสถูกตา จะก่อให้เกิดอาการเนื้อเยื่อตาย เนื่องจาก สัมผัสกับความเย็น ( FROSTBITE ) เกิดอาการตาแดง และปวดตาได้
5.ความผิดปกติ,อื่น ๆ- สารนี้ทำลายระบบหายใจสารเคมีอันตรายที่เกิดจากการสลายตัว : กรดฟอสฟอริก, ไฮโดรเจน

สารทั้งสองชนิดถูกควบคุมตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย ดังนั้น ผู้ที่ครอบครองและใช้สารจะต้องผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่กรมวิชาการเกษตรกำหนด ต้องมีใบอนุญาตการรมจากกรมวิชาการเกษตร และต้องมีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบการรม เวลานำเข้าต้องมีแผนให้กรรมการพิจารณาว่าใช้เพื่ออะไร และไม่อนุญาตให้นำเข้าจำนวนมากมาเพื่อเก็บสต๊อกไว้ นอกจากนี้ ต้องได้รับใบประกาศเป็นผู้ควบคุมการใช้ รับจ้างรมยากำจัดแมลงศัตรูผลิตผลเกษตร ซึ่งใบประกาศมีอายุการใช้งาน 5 ปี และจะมีการตรวจสอบประเมินผู้ผ่านการอบรมอยู่อย่างสม่ำเสมอ เมื่อครบกำหนดต้องเข้ารับการอบรมใหม่


สารทั้งสองชนิดก่อให้เกิดมะเร็งหรือไม่
สารทั้งสองชนิดไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค เพราะสารจะระเหยได้เร็ว ส่วนปัญหาที่เป็นโรคมะเร็งนั้นอาจจะเกิดจากเชื้ออะฟลาทอกซิน (Aflatoxin) เป็นสารพิษชนิดหนึ่งที่มักพบปนเปื้อนอยู่ในอาหารจำพวกถั่วลิสง ข้าวโพด พริกแห้ง กระเทียม เต้าเจี้ยว เต้าหู้ยี้ เมล็ดฝ้าย ข้าวฟ่าง และมันสำปะหลัง เชื้อราเหล่านี้มักไปกินแป้งในข้าว เพราะหากข้าวที่เข้าโกดังไม่แห้งพอ หรือมีความชื้นเกินกว่า 14% ตามเกณฑ์กลางที่กำหนด จะเป็นต้นตอทำให้เกิดเชื้ออะฟลาทอกซินได้ เมื่อข้าวเกิดเชื้ออะฟลาทอกซินแล้ว สารชนิดใดก็ไม่สามารถรมให้เชื้อหายไปได้

ข้าวที่มักจะเกิดความชื้นและเชื้อราได้มากที่สุดคือ ข้าวกล้อง ที่ไม่ได้ขัดสีมากนัก เพราะบนเนื้อข้าวจะมีสารอาหารอยู่มาก และแม้ว่าข้าวทั้งข้าวสารและข้าวกล้องจะผ่านการรมยากำจัดแมลงมาดีเพียงใด หากผู้เก็บข้าวเก็บไว้ในที่มีความชื้น ข้าวก็จะเกิดเชื้ออะฟลาทอกซินได้อยู่ดี
แหล่งที่มา- ศูนย์ข้อมูลวัตถุอันตรายและเคมีภัณฑ์ , youtube
เรียบเรียงข้อมูลเพิ่มเติมโดย menmen

วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

คุณประโยชน์ ของต้นกระถิน( Leucaena glauca Benth)

ชื่อวิทยาศาสตร์    Leucaena glauca Benth.
ชื่อสามัญ    White popinac, Wild tamarind, Leadtree
วงศ์    LEGUMINOSAE
ชื่ออื่นๆ   กะเส็ดโคก กะเส็ดบก ตอเขา สะตอเขา สะตอเทศ ผักก้านถิน ผักหนองบก กระถินไทย กระถินบ้าน


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
กระถินเป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่ถึงไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 10 เมตร ไม่ค่อยแตกกิ่งก้านสาขา
1. ใบ ประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ ยาว 12.5-25 ซม. แกนกลางใบ ประกอบยาว 10-20 ซม. มีขน แยกแขนง 2-10 คู่ ยาว 5-10 ซม.ก้านแขนงสั้น มีขน ใบย่อย 5-20 คู่ เรียงตรงข้าม รูปแถบ หรือรูปขอบขนานแกมรูปแถบ กว้าง 2-5 มม. ยาว 0.6-2.1 ซม. ปลายแหลม โคนเบี้ยวขอบมีขน ท้องใบมีนวล
2. ดอก ออกเป็นช่อ ช่อดอกออกแบบช่อกระจุกแน่น ออกตามง่ามใบ 1-3 ช่อ เป็นฝอยนุ่มมีกลิ่นหอมเล็กน้อย
3. ผล เป็นฝัก ฝักออกเป็นช่อแบนยาวประมาณ 4-5 นิ้วฟุต เห็นเมล็ดเป็นจุดๆ ในฝัก ตลอดฝัก
การปลูกกระถินทนความแห้งแล้งได้ดี และเติบโตเร็ว ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด

ประโยชน์ทางยา
ส่วนที่ใช้เป็นยา ดอก ราก เมล็ดรสและสรรพคุณในตำรายาไทย
1. ดอก รสมัน บำรุงตับ แก้เกล็ดกระดี่ขึ้นตา
2. ราก รสเจื่อน ขับลม ขับระดูขาว เป็นยาอายุวัฒนะ
3. เมล็ด ใช้ถ่ายพยาธิตัวกลม (ascariasis)


ขนาดและวิธีใช้
ใช้ถ่ายพยาธิตัวกลม ผู้ใหญ่ใช้ครั้งละ 25-50 กรัม เด็กใช้ 5-20 กรัม ต่อวัน รับประทานตอนท้องว่างในตอนเช้าเป็นเวลา 3-5 วัน

ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร ยอดอ่อน และฝักอ่อน

คุณค่าทางโภชนาการ
ยอดอ่อนของกระถิน 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย62กิโลแคลอรี ประกอบด้วยน้ำ 80.7 กรัม คาร์โบไฮเดรต 5 กรัม โปรตีน 8.4 กรัม ไขมัน0.9 กรัม กาก 3.8 กรัม แคลเซียม 137 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 11 มิลลิกรัม เหล็ก 9.2 มิลลิกรัม วิตามินเอ 7883 IU วิตามินบีหนึ่ง 0.33 มิลลิกรัมวิตามินบีสอง 0.09 มิลลิกรัม ไนอาซีน 1.7 มิลลิกรัม วิตามินซี 8 มิลลิกรัม...

*ราก รสจืดเฝื่อน ขับลม ขับระดูขาว และเป็นยาอายุวัฒนะ เมล็ด ใช้ถ่ายพยาธิตัวกลม (ascariasis)
*เปลือก ของกระถินมีรสฝาด ฝักของกระถินเป็นยาฝาดสมาน กระถิน กินแก้โรคท้องร่วง สมานแผล ห้ามเลือด

วิธีใช้ในการประกอบอาหาร : ส่วนใหญ่นิยมใช้เป็นผักเครื่อง เคียงกินกับน้ำพริกต่างๆ ที่ยอดนิยมคงจิ้มกับน้ำพริกกะปิและนำมาเป็น เครื่องเคียงในอาหารหลายประเภท เช่น เป็นเครื่องเคียงของขนมจีน หรือกิน เป็นเครื่องเคียงกับหอยนางรมสดรวมทั้งนำมาทำยำยอดกระถิน
คุณค่าทางอาหาร : ยอดอ่อนของกระถิน 100 กรัม ให้พลังงาน ต่อร่างกาย 62 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วยนํ้า 80.7 กรัม คารเบไฮเดรต 5 กรัม โปรตีน 8.4 กรัม ไขมัน 0.9 กรัม กาก 3.8 กรัม แคลเซียม 137 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 11 มิลลิกรัม เหล็ก 9.2 มิลลิกรัม วิตามินเอ 7,883 IU. วิตามินบี1 0.33 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.09 มิลลิกรัม ไนอะซีน 1.7 มิลลิกรัม วิตามินซี 8 มิลลิกรัม

เมนูแนะนำ : พล่า 3 ทัพ
เครื่องปรุง



*ยอดกระถินสด ใช้เป็นเครื่องเคียง
*หอยแมลงภู่ลวก (แกะเนื้อ)    1/2   ถ้วย
*หอยแครงลวก (แกะเนื้อ)    1/2    ถ้วย
*หอยนางรมสด (แกะเนื้อ)    1/2    ถ้วย
*หอมแดงซอย ตะไคร้ซอย (อย่างละ)    1.    ถ้วย
*ใบมะกรูดซอย    1    ช้อนชา
*พริกขี้หนูซอย    1    ช้อนโต๊ะ
*มะม่วงเปรี้ยวสับ    1    ถ้วย
*น้ำพริกเผา    1    ช้อนโต๊ะ
*น้ำมะนาว น้ำปลา (อย่างละ)    4    ช้อนโต๊ะ
*นํ้าตาลทราย    2    ช้อนโต๊ะ
*ซอสพริก    2    ช้อนโต๊ะ
*หอมแดงเจียว    1    ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ
*ผสมนามะนาว  น้ำปลา น้ำตาลและพริกขี้หนูเช้าด้วยกัน พักไว้
เคล้าหอยแมลงภู่ หอมแดงซอย ตะไคร้ซอยอย่างละครึ่งและเติม น้ำปรุงรสในข้อ 1 ประมาณ 3 ช้อนโต๊ะ ให้เข้ากัน
*เคล้าผสมหอยแครง หอมแดงซอย ตะไคร้ซอยที่เหลือ ใบมะกรูด มะม่วงสับและน้าปรุงรสประมาณ 3 ซ้อนโต๊ะ ให้เข้ากัน
*เคล้าผสมหอยนางรม น้ำพริกเผาและน้ำปรุงรส ประมาณ 3 ซ้อน โต๊ะให้เข้ากัน โรยหน้าด้วยหอมแดงเจียว จัดใส่จาน แล้วนำยอดกระถินจัด ไว้ข้างๆ เป็นเครื่องเคียง
เรียบเรียงข้อมูลเพิ่มเติมmenmen

วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2556

วิธีกำจัด “หอยทาก”แบบง่ายๆ(snail)

วิธีกำจัด “หอยทาก” วัชพืชตัวร้าย (snail)
หอยทาก จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมมอลลัสคา เป็นสัตว์โบราณที่มีกำเนิดมาในราวตอนกลางยุคคาร์บอนิเฟอรัส (Carboniferous Period) ราวๆ เกือบสี่ร้อยล้านปีที่ผ่านมา วิวัฒนาการถึงปัจจุบันพบมีหอยทาก มากกว่า 500 ชนิด

วงจรชีวิต

หอยทากจะพบแพร่หลายในช่วงฤดูฝน เพื่อออกหากินสะสมอาหารจำนวนมากและแพร่ขยายพันธุ์ ชอบออกหากินในเวลากลางคืน เวลากลางวันจะอาศัยที่ร่มหลบแสงแดด หอยทากมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ เมื่ออายุได้ประมาณ 5 ถึง 8 เดือน ชอบวางไข่ตามซากกองใบไม้ ขอนไม้ที่ผุ หรือใต้ผิวดินที่ร่วนซุยและชื้น วางไข่เป็นกลุ่มๆ กลุ่มละ 200-300 ฟอง ตัวหนึ่งๆจะวางไข่ได้ปีละประมาณ 1,000 ฟอง เมื่อฟักออกเป็นตัวอ่อนแล้วเปอร์เซ็นรอดน้อยมาก หอยทากมีอายุยืนเฉลี่ยประมาณ 5 ปี
หอยที่การเคลื่อนที่ช้ามาก ถึงขนาดมีหอยทากแถวๆ ทะเลแดงเคลื่อนด้วยความเร็วประมาณ 600 เมตร ต่อ 26 ปี แต่หอยทากสามารถไม่กินอะไรเลยได้ 1 ปี

และถึงจะเป็นสัตว์ที่เคลื่อนที่ช้าแต่ก็สามารถกัดกินยอดอ่อน ทําลายผลผลิตของ เกษตรกรได้อย่างคาดไม่ถึงเช่นกัน

ซึ่งวิธีการกําจัดหอยทาก มีดังนี้ 

1.กากกาแฟ นอกจากจะเป็นปุ๋ยได้อย่างดีแล้ว คาเฟอีนที่อยู่ในกาแฟยังเป็นสารพิษขนานเอกของและหอย ทากอีกด้วย นํากากกาแฟมาโรยไว้รอบๆแปลงผัก หรือรอบๆ กระถาง ความหยาบของกากกาแฟจะช่วยไม่ให้หอยทากเดินผ่านเข้าไปกินพืชผัก เพราะกากกาแฟจะติดลําตัวหอยทากเมื่อมันเดินผ่าน และกาแฟดําเข้มข้นที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนเยอะ ก็สามารถนํามาฉีดพ่นให้ทั่วแปลงผัก เพื่อป้องกันแมลง ทาก และ หอยทาก ไม่ให้กิน ใบพืชได้อีกด้วย หรือหากมันกินเข้าไปจะตายทันที เพราะฤทธิ์ของคาเฟอีนนั่นเอง หากจะฉีดพ่นทางใบควรใช้กาแฟดําเข้มข้นผสมนํ้า อัตราส่วนเข้มข้น 1 ถ้วยต้องมีคาเฟอีนไม่ตํ่ากว่า 1-2 % หากเจือจางจะเหมือนนํ้าชาทั่วไปจะไม่สามารถทําให้ตายได้

2.หินภูเขาไฟ มีอยู่หลายชนิด ลักษณะมีฟองอากาศอยู่ข้างใน เป็นรูโพรงเหมือนฟองนํ้า นอกจากจะนํามา เลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้ง และใช้ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ และยังสามารถนํามาโรยรอบๆ กระถางหรือแปลงผัก เพื่อ ป้องกันหอยทากได้ด้วย เพราะหินภูเขาฟะมีความคมและหยาบถึงขั้นบาดผิวหนังได้เลย ซึ่งเป็นสิ่งที่หอยทากไม่ ชอบ เพราะมันต้องใช้ลําตัวเดิน นอกจากนี้หินภุเขาไฟมีพลังลึกลับในตัวของมันเอง มีแรงดึงดูดเหมือนแม่เหล็ก หากหอยทาก เดินผ่านมันจะหมดเรี่ยวแรงทันที

3.สาหร่ายทะเล เป็นพืชที่เราสามารถนํามาป้องกันหอยทากได้ โดยการนําสาหร่ายไปตากแดดให้แห้ง และนํามาวางไว้รอบๆ แปลงผัก หรือรอบๆกระถาง หอยทากจะไม่มาใกล้ เพราะสาหร่ายทะเลมีความเค็มอยู่ใน ตัว และเวลาแห้งแล้วมันจะหยาบๆ กรอบๆ หอยทากไม่ชอบอะไรที่เค็มๆ หยาบๆ

4.ลวด ให้นําลวดมาพันไว้รอบกระถางต้นไม้ หรือหากปลูกพืชลงดิน ก็ให้หาแผ่นไม้เก่าๆ ที่ไม่ใช้แล้วมา ทํารั้วกั้นแปลงผัก ความสูงจากดินประมาณ 1 คืบ แล้วใช้ลวดมาวางราบกับสันไม้ จากนั้นตอกยึดลวดให้เป็น แนวขนานกับไม้เพื่อป้องกันหอยทากเดินเข้าไปกินแปลงผัก เพราะลวดที่ตากแดดในตอนกลางวัน จะมีพลังงานจากแสงอาทิตย์เก็บอยู่เป็นจํานวนมากพอที่จะช๊อตหอยทากได้เมื่อปากหรือหนวดของมันไปสัมผัสกับลวด แล้วมันจะหันเหไปทิศทางอื่น
5.เปลือกไข่ มีประโยชน์สารพัด ไม่ใช่แค่ปุ๋ยอย่างดี แต่เป็นเพชรฆาตของหอยทากเลยทีเดียว นําเปลือก ไข่ไปล้างให้สะอาด ตากแดดให้แห้ง แล้วนํามาบี้ให้แตกเป็นชิ้นๆ ไม่ใหญ่หรือเล็กจนเกินไป แล้วนําไปโรยไว้ รอบแปลงผัก หรือรอบกระถางต้นไม้ โดยหงายเปลือกด้านในสีขาวขึ้น ห้ามควํ่า เปลือกไข่ที่คมจะบาดลําตัวของ ทากและหอยทาก และในเปลือกไข่จะมีสารแคลเซียมคาร์บอเนตที่ทากและหอยทากไม่ชอบ ซึ่งจะละเหยออกมา ทําให้มันไม่เข้าใกล้

6.กระเทียม มีธาตุกํามะถันสูง ที่สามารถต่อต้าน ขจัด ยับยั้ง และป้องกันสัตว์และแมลงต่างๆ ได้เป็น อย่างดี โดยการนํากระเทียมประมาณ 2-3 กํามือ มาตําให้ละเอียด แล้วนําไปแช่นํ้า 1 แกลลอน หรือ 16 ถ้วย (ตัก เปลือกกะเทียมที่ลอยอยู่ทิ้งไป) แช่นํ้าค้างคืนไว้ 1 คืน จากนั้นกรองนํ้ากระเทียมด้วยผ้าขาวบาง เอาแต่นํ้าและ นําไปฉีดพ่นตามแปลงผัก และตามกระถางต้นไม้ให้รอบ กลิ่นของกระเทียมจะขับไล่หอยทาก และแมลงต่างๆ ออกไป โดยไม่เป้นอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงและสภาพแวดล้อมแต่อย่างใด

7.ถ่านที่ใช้หุงต้ม วิธีการโดยการนําถ่านมาบดให้เป็นผงๆ หยาบๆ ไม้ที่ใช้เผาถ่านบางชนิด มีความแข็งมาก เมื่อนํามาบดถ่านจะมีมุมแหลมๆ แข็งๆที่สามารถบาดลําตัวของหอยทากได้ และถ่านที่ตากแดดไว้ อย่างน้อย3 ชั่วโมง จะมีพลังงานกระแสไฟฟ้าสะสมอยู่ เมื่อหอยทาก เดินผ่านจะโดนถ่านดูด ลักษณะคล้ายไฟดูด ทําให้ทากและหอยเสียการทรงตัว มึนๆ แต่ไม่ถึงตาย ซึ่งสามารถใช้เป็นรั้วป้องกันขโมยได้อีกทางหนึ่ง หรือถ้ามี ปริมาณมากก็ต้องกําจัดด้วยสารเคมีจําพวกนิโคลชาไมด์ เมทไทโอคาร์บ หรือเมททัลดีไฮด์ ในอัตราส่วนที่เหมาะสม

เรียบเรียงข้อมูลเพิ่มเติมโดย menmen

รายการบล็อกของฉัน