ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

Bloodwood ต้นไม้ลึกลับที่มีความหวาดกลัว และหลั่งเลือดได้


จริงหรือที่ต้นไม้ไร้ความรู้สึก พบกับต้นไม้ที่มีความหวาดกลัว และหลั่งเลือดได้ มันคือต้น Bloodwood
อาจเป็นความเชื่อของคนจำนวนมากที่เชื่อว่าต้นไม้และพืชใบเขียวทั้งหลายนั้นไร้ความรู้สึก และเผลอๆ อาจจะไม่เจ็บปวดเหมือนสิ่งมีชีวิตที่มีเลือดทั่วไป 

แต่ถ้าพวกเขาได้รู้จักกับต้นไม้ท้องถิ่นของแอฟริกาที่ชื่อว่า Bloodwood งานนี้คงต้องมีการทบทวนความคิดนี้กันใหม่ เพราะนอกจากมันจะเป็นต้นไม้ที่หลั่งเลือดได้แล้ว นี่คือต้นไม้ที่แสดงความเจ็บปวดออกมาได้เหมือนสิ่งมีชีวิตอีกต่างหาก

เฮ้ย?ต้นไม้บ้าอะไรจะหลั่งเลือดได้!? กำลังคิดกันอย่างงี้ใช้มั๊ยล่ะ ซึ่งจะว่าไปก็ดูเวอร์จริงๆ นั่นแหละ เพราะที่บอกว่าเป็นการหลั่งเลือดนั้น ก็เป็นแค่ยางไม้ที่ต้นไม้ขับออกมาเท่านั้น 

แต่จากข้อมูลของ Institute for Applied Physics at the University of Bonn ในเยอรมนีพบว่าการปล่อยยางของต้น Bloodwood นั้นจากจะแปรผันตามขนาดของรอยตัดแล้ว ทุกครั้งที่ตัด…เขาสามารถบันทึกเสียงที่ดังออกมาจากต้นไม้ได้อีกด้วย

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยของมหาวิทยาลัย University of Georgia ที่ทำการตรวจสอบสารเคมีต่างๆ จากลำตัน ใบ และรากของต้นไม้ที่มักเปลี่ยนไปเมื่อถูกคุกคามโดยอะไรก็ตามที่จะมาทำร้ายมัน และจากการตรวจสอบเจ้าต้น Bloodwood นี้ พบว่ามันมีปฏิกริยาเคมีที่เปลี่ยนไปอย่างรุนแรงมาก ราวกับว่ามันกำลังแสดงความกลัวต่อสิ่งที่มันกำลังจะเผชิญ ซึ่งนั่นยังส่งผลต่อปริมาณยางที่มันหลั่งออกมาด้วย

งานนี้คงต้องทบทวนกันใหม่แล้วล่ะ ว่าตกลงพืชผักที่เรากินกันนั้นมันมีชีวิตจิตใจด้วยหรือเปล่า!?

วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ต้นเสียวใหญ่

ต้นเสียวใหญ่
ชื่อสมุนไพรเสียวใหญ่

ชื่ออื่นๆไคร้หางนาค (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เสียวน้อย เสียวเล็ก (ขอนแก่น) เสียวหางนาค (อุบลราชธานี) เสียวน้ำ (อุบลราชธานี ปราจีนบุรี) ตะไคร้หางสิงห์ (สุพรรณบุรี)

ชื่อวิทยาศาสตร์
Phyllanthus taxodiifolius Beille
ชื่อพ้อง
ชื่อวงศ์
Euphorbiaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่มรอเลื้อยขนาดเล็ก สูงประมาณ 2 เมตร เปลือกลำต้นเรียบ สีน้ำตาล กิ่งอ่อนเป็นสันเหลี่ยมสี่เหลี่ยม ใบเดี่ยว เรียงสลับในระนาบเดียวกัน ออกหนาแน่น ใบมีขนาดเล็ก รูปขอบขนาน กว้างประมาณ 1 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ปลายใบมนและเป็นติ่ง โคน

*ใบมนเบี้ยว หลังใบเรียบเป็นมัน ท้องใบเรียบสีอ่อนกว่า แผ่นใบแผ่บาง ใบอ่อนสีแดง หูใบรูปใบหอก ยาว 1-2 มิลลิเมตร เส้นแขนงใบข้างละ 3-4 เส้น เส้นร่างแหเห็นไม่ชัดเจน ก้านใบสั้นมาก 

*ดอกออกเดี่ยวๆที่ซอกใบ ดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น ดอกย่อยสีขาวนวล ดอกเพศผู้ออกเดี่ยวๆตามซอกใบ มีกลีบรวม 4 กลีบ รูปไข่หรือรูปไข่กลับ ยาวประมาณ 0.5 มิลลิเมตร ก้านดอกยาว 2 มิลลิเมตร จานฐานดอก 4 อัน เป็นตุ่ม เกสรเพศผู้ 2 อัน ก้านชูอับเรณูเชื่อมติดกันที่โคนเป็นเส้าเกสรสั้น ๆ ดอกเพศเมียมีกลีบรวม 6 กลีบ ขนาดเล็ก รูปรีหรือรูปไข่ ยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตร จานฐานดอกเป็นกาบรูปถ้วย จักเป็นครุย รังไข่เกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมียปลายแยกเป็น 3 อัน ยาว 0.2-0.3 มิลลิเมตร 

*ผลแห้งแตกแบบแคปซูล ออกเป็นกระจุกหรือเดี่ยว ทรงค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 4 มิลลิเมตร มีแนวพู 8 พู ที่ขั้วผลมีกลีบเลี้ยงติดอยู่ ผิวเกลี้ยง สีเขียว เปลือกนอกมีผิวบาง ก้านยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร เมล็ดมีสามสัน ขนาดเล็ก จำนวน 8-10 เมล็ด กว้างประมาณ 1 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 2.5 มิลลิเมตร มีเส้นใยฝอย พบที่ระดับสูงจากระดับน้ำทะเล 500-800 เมตร ออกดอกราวเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน ติดผลราวเดือนกันยายนถึงธันวาคม

สรรพคุณ   ตำรายาพื้นบ้านอีสาน ราก ต้มน้ำดื่ม แก้มดลูกอักเสบ
              
ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานีใช้ ราก เข้ายากับเสี้ยวใหญ่ และเสี้ยวน้อย ต้มน้ำดื่ม แก้ไตพิการ ลำต้น เข้ายากับเสี้ยวน้อย และดูกข้าว ต้มน้ำดื่ม แก้ปวด

ตำรายาไทย ไม่ระบุส่วนที่ใช้ เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ แก้เลือดออกตามไรฟัน

รายการบล็อกของฉัน