ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันเสาร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2565

“มะเกลืออรัญ” ไม้ต้นหาสุดหายาก นักวิจัยฯ ค้นพบซ้ำอีกครั้งในรอบเกือบ 90 ปี ที่ จ.สุราษฎร์ธานี



“มะเกลืออรัญ” ไม้ต้นหาสุดหายาก นักวิจัยฯ ค้นพบซ้ำอีกครั้งในรอบเกือบ 90 ปี ที่ จ.สุราษฎร์ธานี ห่างจากแหล่งท้องที่เดิมที่เคยพบ 600 กิโลเมตร ก่อนหน้านี้เชื่อว่าอาจสูญพันธุ์ไปจากไทยแล้ว 

วันที่ 8 เมษายน 2565 นายอรุณ สินบำรุง นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ กลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 4 (สุราษฎร์ธานี) ได้เปิดเผยว่าเมื่อปลายเดือนพฤษภาคม ปี 2558 นายประมวล ประสมรอด ที่ปรึกษาโครงการป่าชุมชนเฉลิมพระเกียรติฯ (ทุ่งหนองหลวง) บ้านบางประ หมู่ที่ 5 ต.เคียนซา อ.เคียนซา จ.สุราษฎร์ธานี และคณะทำงาน 

ซึ่งเป็นกลุ่มชุมชนที่ร่วมกันปกปักปักษาพื้นที่ป่าชุมน้ำในท้องที่แห่งนี้ ได้นำ นายผดุงศักดิ์ เสือแก้ว นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการพิเศษ และนายอรุณ สินบำรุง นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ กลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 4 (สุราษฎร์ธานี) 


พร้อมด้วยนายพรธวัช เฉลิมวงศ์ นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ หัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมอุทยานแห่งชาติจังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้าไปสำรวจและจำแนกชนิดพรรณไม้ ในเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ในพื้นที่โครงการฯ  และซึ่งมีสภาพสังคมพืชเป็นป่าที่ราบต่ำไม่ไกลจากชายฝั่งแม่น้ำตาปี (คล้าย ๆ ป่าบุ่ง-ป่าทาม ทางภาคอิสาน) พื้นที่ประมาณ 1,700 ไร่ ในฤดูน้ำหลากจะมีน้ำจากแม่น้ำตาปีที่เอ่อล้นและท่วม  ปีละ ประมาณ 5-7 เดือน ในช่วงเดือน กันยายน-กุมภาพันธ์ โดยท่วมสูงสุดถึง ระดับ 2-3 เมตร (ระดับน้ำไม่เท่ากันในแต่ละปี ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝน)

โดยการสำรวจครั้งนี้ได้พบกลุ่มประชากรของไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางชนิดหนึ่ง ชาวบ้านในพื้นที่เรียกกันว่า “ต้นบูน” ซึ่งในเบื้องต้นจำแนกได้ว่าอยู่ในสกุลมะเกลือ (Diospyros L.) ในวงศ์มะพลับหรือมะเกลือ (Ebenaceae)  แต่ยังไม่สามารถระบุชนิดที่ชัดเจนได้ และได้ทำการเก็บตัวอย่างใบ ดอกเพศผู้และผลอ่อนไว้ในเบื้องต้น ทำการตรวจสอบในห้องปฏิบัติการและเทียบเคียงจากตัวอย่างต้นแบบ (type specimens) จากสื่อออนไลน์โดยละเอียด ร่วมกับ ผศ. ดร.สุธีร์ ดวงใจ ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุ์ไม้วงศ์มะเกลือ จากคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ ดร.สมราน สุดดี ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านอนุกรมวิธานพืช จากหอพรรณไม้ (BKF) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ปรากฏว่า พืชชนิดนี้คือ มะเกลืออรัญ (Diospyros bambuseti H.R. Fletcher) ซึ่งตัวอย่างต้นแบบที่เก็บจากป่าไผ่ ใน อ.อรัญประเทศ จ.ปราจีนบุรี (ปัจจุบัน จ.สระแก้ว) เมื่อปี ค.ศ. 1930 นั้นมีเพียง ใบและดอกเพศผู้เท่านั้น คณะสำรวจจึงได้คิดเตรียมการตามเก็บตัวอย่างดอกเพศเมียและผลแก่ให้ครบถ้วน เพื่อจัดทำคำบรรยายทางพฤกษศาสตร์ให้กับพืชชนิดนี้โดยสมบูรณ์ และรายงานการค้นพบในท้องที่การกระจายพันธุ์แหล่งใหม่


ต่อมาในเดือนตุลาคม ปี 2561 ซึ่งอยู่ในช่วงฤดูน้ำหลาก นายพรธวัช เฉลิมวงศ์ และคณะสำรวจ ได้ประสานไปยัง นายพัฒนา วุฒิพงศ์ หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองทุ่งทอง เพื่อขออนุญาตเข้าไปเก็บตัวอย่างอีกครั้งซึ่งในช่วงเดือนนี้พืชชนิดนี้อยู่ในระยะติดผลแก่ และได้เก็บตัวอย่างใบและผลแก่ไว้ หลังจากนั้น ในกลางเดือนพฤษภาคม ปี 2563 นายอรุณ สินบำรุง และคณะสำรวจ ได้ตามเก็บดอกเพศเมียในแหล่งเดียวกับการเก็บครั้งแรก ซึ่งครั้งนี้เก็บได้ตัวอย่างดอกเพศเมียที่กำลังบานพอดี  ทำให้ได้ตัวอย่างในการนำไปใช้เขียนบรรยายครบทั้งหมด ได้แก่ กิ่ง ใบ ดอกเพศผู้ ดอกเพศเมีย ผลอ่อน และผลแก่  

จึงได้ร่วมกันเขียนคำบรรยายทางพฤกษศาสตร์ให้กับพืชชนิดนี้โดยสมบูรณ์ และตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร Phytotaxa เล่มที่ 541(3) หน้า 271-282 เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2565 (2022) ซึ่งเป็นการเขียนตีพิมพ์ร่วมกันโดยบุคลากรจาก 2 หน่วยงาน คือ นายอรุณ สินบำรุง  นายผดุงศักดิ์ เสือแก้ว  นายพรธวัช เฉลิมวงศ์ และ ดร.สมราน สุดดี จากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ร่วมกับ ผศ. ดร.สุธีร์ ดวงใจ จากคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


มะเกลืออรัญ (บูน) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า (Diospyros bambuseti H.R.Fletcher) ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงถึง 20 เมตร (ออกดอกได้ตั้งแต่ความสูง 2.5 เมตร) ดอกแยกต้นแยกเพศ โคนต้นมักเป็นร่องหลืบ มีพูพอนเล็กน้อย เปลือกนอกสีเทาอมน้ำตาลเรียบหรือแตกสะเก็ด ยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาลหนาแน่น แผ่นใบรูปใบหอกหรือรูปใบหอกแกมรูปไข่ ถึงรูปรีแกมรูปขอบขนาน ขนาด กว้าง 1.5–4.2 ซม. ยาว 3.5–11 ซม. ผิวใบด้านบนใบเกลี้ยง ด้านล่างมีขนประปรายถึงเกือบเกลี้ยง ผลมีขนาดเล็ก กว้าง 0.9–1.4 ซม. ยาว  2.0–2.6 ซม. กลีบจุกผล 3-4 กลีบ ติดทนจนผลแก่ ตัวผลรูปรีถึงรูปรียาว บางครั้งคล้ายผลมะละกอ พบเป็นไม้ชั้นรอง ในป่าที่มีโครงสร้างคล้ายป่าดิบชื้นแต่พื้นล่างเตียนโล่งและมีน้ำท่วมถึงตามฤดูกาล บางครั้งพบตามขอบหนองน้ำ คำระบุชนิด bambuseti  มาจากสถานที่เก็บตัวอย่างต้นแบบที่เป็นป่าไผ่ในท้องที่ อ.อรัญประเทศ ส่วน มะเกลืออรัญ เรียกมาจากชื่ออำเภอที่เก็บตัวอย่างต้นแบบว่าจาก อรัญประเทศ

สำหรับการรายงานในครั้งนี้ (2565, เริ่มเก็บตัวอย่าง ปี 2558) นับเป็นการรายงานการค้นพบอีกครั้ง ในระยะเวลาห่างกัน 85 ปี ในท้องที่ใหม่ซึ่งห่างไกลจากแหล่งเดิมกว่า 600 กิโลเมตร ซึ่งนักพฤกษศาสตร์หลายท่านเชื่อว่า พืชชนิดนี้อาจสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยแล้ว  หลังจากมีเก็บตัวอย่างครั้งแรก ในปี 1930 (2473) โดย หมอคาร์ (A.F.G. Kerr) นายแพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวไอริช ผู้มีคุโณปการต่อวงการพฤกษศาสตร์ไทยอย่างใหญ่หลวง และไม่มีการรายงานการเก็บตัวอย่างอีกเลย (อาจมีการกระจายพันธุ์ในประเทศกัมพูชา แต่ยังไม่มีรายงานการเก็บตัวอย่าง)

นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่มาพบพืชชนิดนี้ที่บริเวณป่าชุ่มน้ำในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองทุ่งทอง อ.เคียนซา จ.สุราษฎร์ธานีและพื้นที่ใกล้เคียง ทำให้ทราบว่าพืชชนิดนี้ยังไม่สูญพันธุ์ไปจากประเทศไทย 

จากการสอบถามจากกลุ่มอนุรักษ์ป่าชุมชนในพื้นที่ว่า ป่าผืนนี้ช่วยลดความรุนแรงและป้องกันภัยจากน้ำท่วมใหญ่ที่จะเข้าสู่ตัวอำเภอเคียนซาในหลาย ๆ ปี เป็นพื้นที่ชุมน้ำ เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของนกน้ำและสัตว์น้ำหลายชนิด และยังมีการค้นพบการกระจายพันธุ์ของพืชที่อาจเรียกได้ว่าใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง  แต่ป่าผืนนี้ก็ยังถูกรบกวนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการบุกรุกถือครองพื้นที่เพื่อการเกษตร ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะร่วมด้วยช่วยกันคิดวางแผนและสร้างมาตรการเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชุมน้ำผืนนี้ให้อุดมสมบูรณ์และคงอยู่ตลอดไปชั่วลูกชั่วหลาน

วันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2565

มะเขือต้น (มะเขือยักษ์) Solanum wrightii Benth


มะเขือต้น (มะเขือยักษ์)
Solanum wrightii Benth


ไม้ต้น กิ่งก้านเปราะ ใบเดี่ยว ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อยขนาดใหญ่ ดอกสีม่วงเข้มแล้วค่อยจางลงเป็นสีขาว เกสรผู้สีเหลืองรวมกันเป็นแท่งที่กลางดอก ผลสดสีเขียวลักษณะทรงกลม มีกลีบรองดอกติดแน่นที่ขั้วผล ภายในมีเมล็ดรูปแบนรีจำนวนมาก ถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ แถบประเทศบราซิลและโบลิเวีย เป็นไม้โตเร็วมีรูปทรงและดอกสวยงาม จึงนิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไปในประเทศเขตร้อน


มะเขือต้น ชื่อวิทยาศาสตร์ : Solanum wrightii Benth.
ชื่อวงศ์ : Solanaceae
ชื่อสามัญ : Brazilian potato tree, Potato tree
ชื่อพื้นเมือง : มะเขือดอก มะเขือยักษ์
ชนิดพืช [Plant Type] : ไม้พุ่ม
ขนาด [Size] : สูง htmlentities('< ')4 เมตร
สีดอก [Flower Color] : สีม่วงเข้มเเล้วจางเป็นสีขาว
ฤดูที่ดอกบาน [Bloom Time] : ตลอดปี
อัตราการเจริญเติบโต [Growth Rate] : ปานกลาง
ลักษณะนิสัย [Habitat] : ขึ้นได้ในดินทั่วไป
ความชื้น [Moisture] : ปานกลาง
แสง [Light] : แดดเต็มวัน


ลักษณะทั่วไป (Characteristic) : ไม้พุ่มชนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ
ทรงพุ่มรูปร่ม ลำต้นมีหนามเล็กน้อย
ใบ (Foliage) : ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ ใบรูปไข่
กว้าง 15-20 เซนติเมตร ยาว 15-30 เซนติเมตร
ขอบใบหยักเป็นพู รูปใบหอกหรือรูปไข่ แผ่นใบสีเขียวอมเหลือง
ค่อนข้างหนา ผิวด้านบนใบมีขนรูปดาว
ผิวใบด้านล่างมีขนยาว

ดอก (Flower) : สีม่วงเข้มเเล้วจางเป็นสีขาว
ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกตามซอกใบที่ปลายกิ่ง โคนกลีบเลี้ยง
เชื่อมติดกันสั้นๆ ปลายแยก 5 แฉก ปลายเรียวแหลม
ด้านนอกมีขนปกคลุม โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน แผ่เป็นกรวยบาน
ปลายแยก 5 แฉก ตามแนวกลางกลีบมีขนสั้นๆปกคลุม
มักบานพร้อมๆกันหลายดอก
ดอกบานเต็มที่กว้าง 6-7 เซนติเมตร

ผล (Fruit) : ผลสด ทรงกลมแป้น สีเหลือง เนื้อนิ่ม
มีเมล็ดจำนวนมาก
การใช้งานด้านภูมิทัศน์ (Landscape Use) : ปลูกประดับสวน
สวนครัว
ดอกดก สวยงาม ให้ร่มเงาได้ดี ต้องระวังหนาม
ไม่ควรปลูกใกล้สนามเด็กเล่น

[ขอบคุณ ฐานข้อมูลพรรณไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม]

วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2565

ทีมนักวิจัย..พบผลไม้ชนิดใหม่ ‘ผลไม้ระเบิด’ อยู่ในซากดึกดำบรรพ์ใต้ลาวาที่อินเดีย

ทีมนักวิจัย..พบผลไม้ชนิดใหม่ ‘ผลไม้ระเบิด’ อยู่ในซากดึกดำบรรพ์ใต้ลาวาที่อินเดีย

ทีมนักวิจัยนานาชาติจากมหาวิทยาลัย Rashtrasant Tukadoji Maharaj Nagpur ประเทศอินเดีย และพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติฟลอริดา กล่าวถึงการพบผลไม้ชนิดใหม่จากซากดึกดำบรรพ์ที่ค้นพบในชั้นหินตะกอนของอินเดีย

ผลไม้ระเบิด?

หินดินดาน หินตะกอน หินปูนและวัตถุดินเหนียวอยู่ในแถบสลับกันระหว่างกระแสชั้นหินบะซอลต์ในพื้นที่ และอุดมไปด้วยพืชและสัตว์ที่เป็นซากดึกดำบรรพ์ ชั้นเหล่านี้จะเก็บภาพช่วงเวลาของระบบนิเวศที่ก่อตัว และสายพันธุ์ที่เพิ่งพบใหม่นี้น่าจะเป็นไม้พุ่มหรือต้นไม้เล็กๆ ที่เติบโตรอบๆ น้ำพุร้อนในพื้นที่ (ระบบนิเวศที่คล้ายกับในอุทยานแห่งชาติเยลโลว์สโตนในปัจจุบัน)

อินเดียอยู่ในเขตเส้นศูนย์สูตร สภาพอากาศที่ชื้นและอบอุ่น ในขณะนั้นทำให้พืชเขตร้อนหลายชนิดรวมทั้งกล้วย เฟิร์นน้ำ ดอกแมลโลว์ และญาติของไมร์เทิลเครปสมัยใหม่สามารถเจริญเติบโตได้ในดินแดนของมัน

การค้นพบที่น่าประหลาดใจอย่างหนึ่งในช่วงเวลานี้ก็คือ แม้ว่าไม้กลายเป็นหินจะพบได้ทั่วไปในบริเวณที่เรียก Deccan Traps แต่ตัวอย่างส่วนใหญ่พบว่ามีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่เล็ก ซึ่งชี้ให้เห็นถึงการขาดต้นไม้ขนาดใหญ่ มันเป็นข้อเท็จจริงที่น่าประหลาดใจสำหรับภูมิภาคเขตร้อน

“อินเดียอยู่ในตำแหน่งละติจูดต่ำ เราจึงคาดว่าจะพบต้นไม้ยักษ์ในป่าขนาดใหญ่ แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่เราเห็น” Steven Manchester นักเขียนอาวุโส นักบรรพชีวินวิทยาที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติฟลอริดา

Steven สงสัยว่าชั้นหินบะซอลต์ที่ปกคลุมภูมิภาคนี้ ขัดขวางการพัฒนารากแบบลึก ซึ่งจำกัดการเจริญเติบโตสูงสุดของต้นไม้ในพื้นที่ คำอธิบายที่เป็นไปได้อีกประการหนึ่งที่เขากำลังพิจารณาก็คือ เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวมีภูเขาไฟที่ปะทุอยู่มาก ป่าไม้จึงถูกลาวาทำลายเป็นประจำ ดังนั้นต้นไม้ที่นี่จึงไม่มีเวลาพอที่จะเติบโต แม้ว่าจะไม่ดีต่อต้นไม้ แต่เหตุการณ์เหล่านี้ทำให้เกิดเถ้าภูเขาไฟจำนวนมาก ซึ่งช่วยให้เกิดซากฟอสซิลของพืชในพื้นที่

ผลไม้ที่เป็นซากดึกดำบรรพ์ ถูกเก็บรักษาไว้ในร่างของหินเชอร์ตที่อุดมด้วยซิลิกา ซึ่งลาวาอุดมไปด้วยซิลิกา ดังนั้นจึงเป็นไปได้จริงที่ภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่นอยู่ในพื้นที่ในเวลานี้ ช่วยสร้างสภาวะที่จำเป็นสำหรับการกลายเป็นฟอสซิล

นักวิจัยอธิบายว่าผลไม้ชนิดนี้ “ไม่เข้ากับกลุ่มพืชที่รู้จักเลยจริงๆ” พวกเขาตรวจสอบด้วย CT สแกน กับฟอสซิลและผลไม้ที่ยังหลงเหลือเพื่อให้สามารถเปรียบเทียบได้โดยตรง

ในที่สุดความคล้ายคลึงกันกับตัวอย่างผลไม้ ที่สถาบันสมิธโซเนียนได้จัดทำขึ้น ทำให้ทีมสรุปได้ว่าฟอสซิลดังกล่าวเป็นของสมาชิกในกลุ่ม Euphorbiaceae เนื่องจากมันแตกต่างไปจากพืชชนิดอื่นๆ มันจึงจัดเป็นสายพันธุ์ใหม่

จากการวางแนวของเส้นใยภายในผลไม้ ทีมงานมั่นใจว่าพวกมันตั้งใจที่จะกระจายเมล็ดโดยการ “ระเบิด” เมื่อสุก ซึ่งเป็นกลไกทั่วไปในพืชชนิดอื่น หลังจากผลสุกที่ระเบิดได้ ผลจะแห้งอย่างเห็นได้ชัด โดยลดน้ำหนักได้ถึง 64% ของน้ำหนักเดิม ซึ่งสร้างความตึงเครียดอย่างมากในชั้นนอกที่แข็งกระด้าง เมื่อถึงจุดหนึ่ง สิ่งนี้จะทำให้ผลไม้ระเบิดออกและส่งเมล็ดพืชให้ลอยไปทุกที่

“คุณจะได้ยินเสียงดังป๊อบ เมล็ดพืชและชิ้นส่วนของผลไม้ก็ปลิวไปทุกที่” Manchester กล่าวขณะอธิบายกระบวนการในต้นยาง “เราคิดว่านี่เป็นกรณีของฟอสซิลทั้งสองชนิดเช่นกัน เพราะเราเห็นกายวิภาคเดียวกัน โดยที่เส้นใยในชั้นในและชั้นนอกของผนังผลมีทิศทางตรงกันข้าม ซึ่งช่วยสร้างแรงบิด”

ทีมงานหวังว่าการค้นพบของพวกเขา จะช่วยให้เรารวบรวมการกระจายพันธุ์ในช่วงเวลาประวัติศาสตร์โลก ในขณะที่ผลไม้นี้กลายเป็นฟอสซิลของ อินเดียและมาดากัสการ์ ซึ่งแยกตัวออกจากมหาทวีปกอนด์วานา และเคลื่อนตัวไปทางเหนือสู่ยูเรเซีย

ชีวิตที่นี่พัฒนาขึ้นอย่างโดดเดี่ยวตลอดยุคครีเทเชียส นำไปสู่สายพันธุ์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ รวมถึงองุ่นสมัยใหม่ เมื่ออินเดียปะทะเข้ากับเอเชียในที่สุด พันธุ์พืชเหล่านี้ได้รับโอกาสให้กระจายไปทั่วดินแดนใหม่ ซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่ในยุโรปและเอเชียในปัจจุบัน

Unbelievable Footage of Exploding Plants [1812 Overture Edition]

รายการบล็อกของฉัน