ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

ลิ้นจี่ ผลไม้พันปี..นักวิจัยเข้า​ถอดรหัส​จีโนมได้สำเร็จ​แล้ว

ลิ้นจี่ ผลไม้พันปี..นักวิจัยเข้า​ถอดรหัส​จีโนมได้สำเร็จ​แล้ว

นักวิจัยเข้า​ถอดรหัส​จีโนม “ลิ้นจี่” ผผลไม้พันปีได้สำเร็จทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาตินำโดย​ศาสตราจารย์ Jianguo Li แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรเซาท์ไชน่า ได้ถอดรหัสจีโนมของ”ลิ้นจี่” ผลไม้พื้นเมืองเอเชียที่มีชื่อเสียงมาอย่างยาวนาน

ลิ้นจี่ เป็นชื่อของผลไม้ประเภทผลเดี่ยวซึ่งมีลักษณะเปลือกสีแดงในวงศ์ SAPINDACEAE (วงศ์เดียวกับเงาะและลำไย) มีต้นเนิดทางตอนใต้ของจีน และสันนิษฐาน​ว่าแพร่เข้ามาในไทยช่วงต้นของกรุงรัตนโกสินทร์

ลิ้นจี่นั้นถูกกล่าวถึงในประวัติศาสตร์จีนสมัยราชวงศ์ถัง โดยเป็นผลไม้โปรดของหยางกุ้ยเฟย พระสนมของจักรพรรดิถังเสวียนจง ที่ทรงบัญชาให้ทหารม้านำลิ้นจี่จากแหล่งปลูกทางตอนใต้ของจีน เดินทางข้ามวันข้ามคืนมาถวายที่ฉางอานเพื่อให้ได้ทรงเสวยตามพระประสงค์

ลักษณะโดยทั่วไปของลิ้นจี่เป็นไม้ที่มีพุ่มต้นไม่สูงนัก โดยมากสูงไม่เกิน 10 – 12 เมตร พุ่มทึบ เป็นไม้ไม่ผลัดใบที่มีอายุยืนที่สุด โดยพบต้นที่มีอายุมากกว่า 1, 250 ปี ในบริเวณวัดของเมืองปูเทียน มณฑลฝูเจี้ยน ประเทศจีน ทียังคงให้ผลผลิตอยู่จนทุกวันนี้

กลุ่มพันธุ์ของลิ้นจี่ในไทยอาจแบ่งกว้างๆ ได้เป็น 2 กลุ่มตามการปรับตัวเข้ากับอุณหภูมิ คือ กลุ่มที่ต้องการความหนาวเย็นเพียงเล็กน้อย ก็สามารถออกดอกได้ (ที่พบในไทยคือพันธุ์​ช่อระกา กระโถนท้องพระโรง แห้ว สำเภาแก้ว เขียวหวาน)​ และกลุ่มที่ต้องการความหนาวเย็นเป็นเวลานานจึงจะออกดอก (ที่พบในไทยคือพันธุ์ฮงฮวย โอวเฮียะ อีไว จักรพรรดิ จุกบีจี้ กวางเจา และกิมเอ็ง)

แต่สำหรับในประเทศจีน การถอดรหัส​จีโนม​ทำให้เราทราบวิวัฒนาการ​ของลิ้นจี่สวนว่า มีต้นกำเนิดมาจาก​ลิ้นจี่ป่าแถบมณฑลยูนนานทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน

ต่อมาได้แผ่ขยายไปทางตะวันออกและใต้เข้าสู่เกาะไหหลำ ลิ้นจี่ในยูนนาน​เป็นสายพันธุ์​ที่ออกดอก​เร็ว ส่วนในเกาะไหห​ลำ​จะเป็นลิ้นจี่​ที่ออกดอกช่วงปลายปี​ ทีมงานพบว่าสายพันธุ์​ทั้ง 2 เริ่มวิวัฒนาการ​แยกออกจากกันเมื่อ​ประมาณ​ 18,000 ปีก่อน

วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

จีนพบ ‘หลุมยุบยักษ์ลึกลับ’ ในกวางซีจ้วง ลึก 192 เมตร พร้อมหมู่ต้นไม้โบราณสูง 40กว่าเมตร มากมายหลายสายพันธุ์

จีนพบ ‘หลุมยุบยักษ์ลึกลับ’ ในกวางซีจ้วง ลึก 192 เมตร พร้อมหมู่ต้นไม้โบราณสูง 40กว่าเมตร มากมายหลายสายพันธุ์

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ทีมสำรวจถ้ำได้ค้นพบหลุมยุบยักษ์ ในอำเภอ Leye เขตปกครองตนเอง Guangxi Zhuang ที่อยู่ทางตอนใต้ของจีน ทำให้ตอนนี้พื้นที่ดังกล่าวมีหลุบยุบแล้ว 30 หลุม 

Zhang Yuanhai จากทีมสำรวจทางธรณีวิทยาแห่งประเทศจีนเผยว่า หลุมยุบดังกล่าวตั้งอยู่ใกล้หมู่บ้าน Ping’e มีขนาดกว้าง 150 เมตร ยาว 306 เมตร ลึก 192 เมตร ปริมาตรมากกว่า 5 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งจัดเป็นหลุมยุบขนาดใหญ่ 

โดยบริเวณกำแพงของหลุมดังกล่าวมีถ้ำขนาดใหญ่ 3 แห่ง คาดว่าเป็นซากวิวัฒนาการของหลุมยุบในช่วงเริ่มแรก

ขณะด้านล่างมีป่าดั้งเดิมที่อยู่ในสภาพดี ซึ่งต้นไม้โบราณที่เติบโตอยู่ด้านล่างมีความสูงเกือบ 40 เมตร อีกทั้งยังมีพืชชอบร่มเงาเจริญเติบโตอย่างหนาแน่น ทีมวิจัยได้โรยตัวลงไปมากกว่า 100 เมตรเพื่อสำรวจภายในก้นหลุม 

หลุบยุบขนาดยักษ์ เกิดจากการพังทลายของถ้ำซ้ำๆ โดยพบมากในจีน เม็กซิโก และปาปัวนิวกินี 

รายการบล็อกของฉัน