ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ต้นสนที่เหงาหงอยสุดในโลก มีผู้ปลูกต้นสนSitka spruce ที่เกาะแคมป์เบลล์เมื่อปี 1905 ทำให้มันกลายเป็นสนต้นเดียวของเกาะ..

ต้นสนที่เหงาหงอยสุดในโลก มีผู้ปลูกต้นสนSitka spruce ที่เกาะแคมป์เบลล์เมื่อปี 1905 ทำให้มันกลายเป็นสนต้นเดียวของเกาะ..

ต้นสนที่เหงาหงอยที่สุดในโลก
มีผู้ปลูกต้นสน Sitka spruce บนเกาะแคมป์เบลล์เมื่อปี 1905 ทำให้มันกลายเป็นสนต้นเดียวของเกาะมานับแต่นั้นมา

นักวิทยาศาสตร์จากออสเตรเลียและสหราชอาณาจักร ร่วมกันเสนอให้ต้นสนสปรูซพันธุ์ซิตกา (Sitka spruce )ต้นหนึ่ง ที่มีอยู่เพียงต้นเดียวบนเกาะแคมป์เบลล์ของนิวซีแลนด์ ได้เป็น "หมุดทอง" (Golden spike) หรือเครื่องหมายบ่งบอกจุดเริ่มต้นยุคทางธรณีวิทยาใหม่ที่มนุษย์เป็นตัวการสำคัญในการกำหนดสภาพแวดล้อมของโลก หรือที่เรียกว่าสมัยแอนโทรโพซีน (Anthropocene epoch)

ศาสตราจารย์คริส เทอร์นีย์ จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐนิวเซาท์เวลส์ของออสเตรเลีย และดร.มาร์ก มาสลิน จากยูนิเวอร์ซีตี คอลเลจ ลอนดอน (ยูซีแอล) ของสหราชอาณาจักร เผยผลการศึกษาต้นสนสปรูซดังกล่าวลงในวารสาร Scientific Reports โดยชี้ว่าต้นสนนี้มีร่องรอยของกัมมันตรังสีจากการทดลองระเบิดปรมาณูในช่วงทศวรรษ 1950-1960 ที่ชัดเจน ซึ่งบ่งบอกถึงผลกระทบจากการกระทำของมนุษย์ที่ฝังลึกลงไปในระบบนิเวศอย่างครอบคลุมทั่วโลก

จากการวิเคราะห์วงปีของต้นสนดังกล่าว พบการเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดของระดับคาร์บอน-14 ซึ่งเป็นสารกัมมันตรังสีที่ต้นไม้รับเข้าไปในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์ขณะสังเคราะห์แสง โดยช่วงที่มีการเพิ่มสูงขึ้นของคาร์บอน-14 อย่างฉับพลันนี้คือปี 1965 หลังการบังคับใช้สนธิสัญญาห้ามทดลองนิวเคลียร์ในชั้นบรรยากาศโลกได้ไม่นาน

ต้นสนต้นนี้เป็นหลักฐานที่แสดงถึงจุดเปลี่ยนผ่านจากสมัยโฮโลซีน เข้าสู่สมัยแอนโทรโพซีนได้อย่างชัดเจนที่สุด เท่าที่เคยมีการเสนอกันมา เพราะได้บันทึกข้อมูลที่แสดงถึงการเร่งตัวขึ้นอย่างรวดเร็วฉับพลัน หรือ Great Acceleration ของกิจกรรมมนุษย์ ซึ่งส่งผลกระทบอย่างลึกซึ้งกว้างขวางครอบคลุมไปทั่วโลก" ศาสตราจารย์เทอร์นีย์กล่าว

ด้านดร.มาสลินบอกว่า การที่ต้นสนนี้อยู่ในจุดที่ห่างไกลที่สุดของซีกโลกใต้ ทำให้มันเป็นตัวชี้วัดที่ดีว่ากิจกรรมของมนุษย์ในยุคทางธรณีวิทยาใหม่ เช่นอุตสาหกรรมและการพัฒนาเทคโนโลยีซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นในซีกโลกเหนือ ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อโลกทั้งใบ ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์สำคัญที่ชี้ว่า เราได้เข้าสู่ยุคสมัยที่การกระทำของมนุษย์คือปัจจัยหลักในการกำหนดสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมของโลกแล้ว 

ต้นสนสปรูซต้นดังกล่าว ได้ชื่อว่าเป็น "ต้นไม้โดดเดี่ยวที่สุดในโลก" เพราะไม่ใช่พืชประจำถิ่นของเกาะในแถบมหาสมุทรแอนตาร์กติก แต่มีผู้นำมาปลูกไว้ในปี 1905 ทำให้มันเป็นต้นสนเพียงต้นเดียวบนเกาะ ส่วนไม้ยืนต้นที่อยู่ใกล้ที่สุดนั้น อยู่ที่หมู่เกาะโอคแลนด์ซึ่งห่างออกไปราว 200 กิโลเมตร

แปลกจริงๆเลยต้นสนต้นนี้เหงาหงอยมีต้นเดียวบนเกาะน่าสงสารนะครับแบบนี้น่าจะไปหามาให้อีกสัก 4-5 ต้น ปลูกเป็นเพื่อนถ้าจะดีนะครับ..จะได้ไม่ต้องเป็นต้นสนเหงาที่สุดในโลกต่อไป

รายการบล็อกของฉัน