ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2559

แก้งขี้พระร่วงไม้แปลกกลิ่นเหม็นเหมือนอุจจาระ


แก้งขี้พระร่วงไม้แปลกกลิ่นเหม็นเหมือนอุจจาระ
แก้งขี้พระร่วง
ได้ยินชื่อไม้นี้ครั้งแรกจากลุงบู้ เคยเป็นคนหาของป่า ที่อำเภอสูงเนิน ทั้งได้ดูและได้ดม  ลุงบู้ไปไม้ท่อนนี้มาเก็บมาไว้ให้ลูกหลานได้
ศึกษาแกลองถากเปลือกให้ดมหน่อยนึง
กลิ่นเหม็นเหมือนขี้จริงๆสมชื่อเห็นว่ายิ่งเปียกน้ำ
ยิ่งเหม็น

เคยลองถามๆหมอแผนโบราณพื้นบ้านท่านอื่นก็ได้ยินแต่ชื่อไม่มีใครเคยเห็นต้นมัน
บางคนเล่าว่าจะไปอยากรู้จักทำไมไม้นี้เผาไฟ
ก็ยังเหม็นต้องฝังดินอย่างเดียว เราก็อยากรู้จักทุกต้นนะล่ะ แต่ต้นนี้เขาแปลกดี อยากเห็นจัง

เคยสอบถามไปทางลุงใหญ่อดีตพรานป่าอายุ95ปี แห่งลพบุรีถึงรู้ว่าต้นมันมีอยู่ที่เขาสมโภชน์อยากเห็นมากๆแกบอกมีไม่กี่ต้นแล้ว

แต่มารู้อีกทีต้นแก้งขี้พระร่วง มารู้อีกทีว่ามีอยู่ที่เขาใหญ่ โคราช รอให้หมดฝนก่อนนะจะเข้าไปลุยอาจจะโชคดีได้เห็นต้นไม้นี้จริงๆเสียที

ชื่อวิทยาศาสตร์ Celtis timorensis Span.
วงศ์ ULMACEAE
ชื่ออื่น กล้วย (จันทบุรี) ขี้พระร่วง มันปลาไหล (นครราชสีมา) เช็ดก้นพระเจ้า (น่าน) เช็ดขี้พระเจ้า (เชียงใหม่) ตะคาย มะหาดน้ำ เยื้อง หม่อนดง ตายไม่ทันเฒ่า (ภาคใต้)

*ลักษณะ
เป็นไม้ต้น สูง 5–20 ม. เรือนยอดเป็นพุ่มทรงสูงถึงค่อนข้างกลม เปลือกสีเทา เรียบ เปลือกชั้นในสีน้ำตาลคล้ำ กิ่งอ่อน ก้านใบ และช่อดอกมีขนนุ่มสั้นคลุม ใบ เดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปไข่แกมรูปใบหอก กว้าง 5–8 ซม. ยาว 8–15 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเบี้ยว มน ถึงสอบกว้าง ขอบใบเรียบถึงหยัก ผิวใบเกลี้ยงถึงมีขนเล็กน้อยตามเส้นใบ มีเส้นใบหลัก 3 เส้นจากโคนใบ ก้านใบยาว 0.5–1 ซม. 

*ดอก เล็ก ออกเป็นช่อสั้นๆ ตามง่ามใบ ผล รูปไข่ กว้างประมาณ 0.5 ซม. ยาวประมาณ 0.7 ซม. ปลายผลเป็นติ่งคล้ายง่ามหนังสติ๊ก ซึ่งเจริญมาจากปลายก้านเกสรเพศเมีย เมื่อสุกสีแดง
*เป็นต้นไม้ใหญ่ ที่มีกลิ่นเหม็นมากๆยิ่งเปียกน้ำ ยิ่งส่งกลิ่นเหม็นเพิ่มมากขึ้น และถ้าเอาไปเผาไฟยิ่งเหม็น
แก้งขี้พระร่วงมีการกระจายพันธุ์ในป่าเบญจพรรณและป่าดิบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ที่ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 150–600 ม. 

*ในต่างประเทศพบที่ศรีลังกา บังคลาเทศ พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
ตำนานของไม้แก้งขี้พระร่วง

ครั้งหนึ่งพระร่วงประพาสป่าเสด็จไปลงพระบังคน เสร็จแล้วทรงหยิบไม้ใกล้ ๆ พระองค์มาชำระแล้วโยนทิ้งไป ไม้นั้นก็เกิดเป็นต้น มีพรรณแพร่หลายมาจนทุกวันนี้

สรรพคุณ
แต่มักนำมาปรุงเป็นยาขับพยาธิไส้เดือนในเด็ก
พ่อหมอพื้นบ้านมักใช้แก้งขี้พระร่วงเป็นไม้ไล่ปอบ ให้เหตุผลว่าคนยังเหม็น ปอบมันก็ไม่ทนดมกลิ่นเหมือนกัน

วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2559

พบต้นไม้อายุ 9,550 ปี ในประเทศสวีเดน


พบต้นไม้อายุ 9,550 ปี ในประเทศสวีเดน ถือเป็นต้นไม้ที่อายุมากที่สุดในโลก!!ได้มีการค้นพบต้นไม้ที่เก่าแก่
ที่สุดในโลกที่ประเทศสวีเดน คาดว่าอายุประมาณ 9,550 ปี ถือเป็นต้นไม้ที่ผ่านยุคผ่านสมัยมามากมาย

ต้นไม้ชนิดนี้คือต้น Spruce เป็นไม้สนชนิดหนึ่งที่นิยมเอาไปทำเป็นกีต้าร์ เพราะมันจะได้เสียงที่ดีกว่าไม้ชนิดอื่นๆ เริ่มแรกนั้นต้นไม้ชนิดนี้ถือเป็นชนิดใหม่ที่ขึ้นในสวีเดนเลย แต่หลังจากค้นพบต้นนี้แล้ว มันก็กลายเป็นต้นไม้ที่มีค่าขึ้นมาทันที

ต้นสนชนิดนี้ถูกเรียกอีกอย่างว่า
ต้น Old Tjikko ถูกพบในภูเขาฟูลูในเมือง Dalarna ผ่านการหาอายุโดยใช้คาร์บอนแล้วพบว่าเป็นต้นไม้ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด ประมาณ 8,000 ถึง 9,550 ปีเลยทีเดียว
และนี่คือคือภาพของต้นไม้ต้นนั้น
เคล็ดลับอายุยืนของมันก็คือการสร้างกิ่งไม้ออกมาเพื่อทดแทนส่วนที่ตายไปเรื่อยๆ มันทำแบบนี้อยู่ตลอด จึงทำให้มันมีอายุยืนมาจนถึงตอนนี้

เดิมทีแล้วต้นสนก็มีอายุยืนมากแล้ว โดยต้นที่มีอายุมากที่สุดที่เคยพบคือ 4,000 ถึง 5,000 ปี แต่เจ้า Old Tjikko นี้มันแก่ยิ่งกว่านั้นอีก

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ผลไม้แปลกๆมิราเคิล



มิราเคิล 
เป็นไม้ผลพื้นเมืองของประเทศกานา ลักษณะต้นมีขนาดทรงพุ่มเล็ก ชอบความชื้นสูงแต่ไม่ชอบแดดจัด ผลสุกแก่จะมีสีแดงสดใส เมื่อรับประทานผลสุกแก่เข้าไปแล้ว ประมาณ 1-2 ชั่วโมง แล้วรับประทานผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น มะนาว มะยม ระกำ ตามเข้าไปจะไม่รู้สึกเปรี้ยว ในทางตรงกันข้ามกลับกลายเป็นรสชาติหวานคล้ายน้ำตาล

ประโยชน์
มิราเคิลมีคุณสมบัติพิเศษ คือ ผลสุกแก่จะมีสีแดงสดใส เมื่อรับประทานผลสุกแก่เข้าไปแล้วสารไกโคโปรตีนในผลจะไปเคลือบผิวของลิ้นอยู่นานประมาณ 1-2 ชั่วโมง เมื่อรับประทานผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวตามเข้าไปจะไม่รู้สึกเปรี้ยว ในทางตรงกันข้ามกลับกลายเป็นรสชาติหวาน
โดยทำให้มีโอกาสของการนำไปใช้ประโยชน์ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพราะต้องงดน้ำตาล แต่ถ้ากินผลไม้ชนิดนี้ก่อน แล้วสามารถทำอาหารได้โดยไม่ใส่น้ำตาลก็อร่อยได้เหมือนอาหารปกติ มิราเคิลจึงเป็นพืชที่กำลังมีการศึกษาเพื่อนำไปใช้ประโยชน์และตรวจสอบถึงความเป็นพิษกันอย่างแพร่หลายในหลายๆ ประเทศทั่วโลก
นักวิชาการญี่ปุ่นยังได้นำผลมิราเคิลไปวิเคราะห์ และสกัดเป็นน้ำตาลก้อนลดความอ้วน อีกทั้งทางวิทยาศาสตร์ยังได้นำไปใช้สำหรับผู้ป่วยที่ต้องรับประทานยาที่มีรสขม
เพราะว่าผลมิราเคิลมีสารที่ชื่อว่า มิราคูลิน ซึ่งสารนี้ทำให้เปลี่ยนรสเปรี้ยวได้ดีและเปลี่ยนรสขมได้บ้างเล็กน้อย

มิราเคิลการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ถูกจัดอันดับ: Angiosperms
ไม่ถูกจัดอันดับ: Eudicots
ไม่ถูกจัดอันดับ: Asterids
อันดับ: Ericales
วงศ์: Sapotaceae
(วงศ์ละมุด พิกุล)
สกุล: Synsepalum
สปีชีส์: S. dulcificum
ชื่อทวินาม
Synsepalum dulcificum
(Schumach. & Thonn.) Daniell

ชื่อพ้อง
Bakeriella dulcifica (Schumach. & Thonn.) Dubard
Bumelia dulcifica Schumach. & Thonn.
Pouteria dulcifica (Schumach. & Thonn.) Baehni
Richardella dulcifica (Schumach. & Thonn.) Baehni
Sideroxylon dulcificum (Schumach. & Thonn.) A.DC.[1]
มิราเคิล (อังกฤษ: Miracle fruit; Miracle berry)
(ชื่อวิทยาศาสตร์: Synsepalum dulcificum)


ผลไม้แปลกๆ Cupuaçu (คูพูอัสซู)


ผลไม้ประหลาด
ในโลกนี้ยังเต็มไปด้วยผลไม้ที่ประหลาด (สำหรับเรา) แต่เต็มไปด้วยคุณค่าทางอาหารและรสชาติเยี่ยม (อย่างทวีปอเมริกา เค้าก็เห็นว่าทุเรียนของเราแปลก) 

อย่างในรูปนี้ คือผลไม้ที่เรียกว่า Cupuaçu (คูพูอัสซู) ซึ่งขึ้นแถวป่าอเมซอน ประเทศบราซิล เปรู โคลอมเบีย ฯลฯ เนื้อในจะหอมมีกลิ่นคล้าย สับปะรดผสมช๊อคโกแล็ต ทั้งนี้ Cupuaçu ยังเป็นญาติกับโกโก้ อีกด้วย

... เป็นที่นิยมรับประทานมากมานานหลายร้อยปี และถูกนำมาใช้ทำน้ำผลไม้ ไอสครีม ขนมและของหวาน 
... น้ำผลไม้จะมีรสชาติคล้ายๆ กล้วยผสมลูกแพร์ นอกจากนี้กากมันยังเอามาใช้ในผลิตภัณท์เสริมสวย เช่น โลชั่น ยาสระผม ครีมนวด

ขณะนี้ คาดการกันว่า จะเจาะตลาดโลก อย่างในสหรัฐฯ ว่าอาจจะเป็น Super fruit มาแข่งกับผล Acai เพราะว่ามีคุณค่าทางอาหารมากกว่า มันเต็มไปด้วย วิตามิน A, C, B1, B2, B3 กรดอะมิโน แคลเซี่ยม และ antioxidants
ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานอย่างมาก ทำให้กระปี้กระเป่า โดยไม่มีคาเฟอีน ลดความดันเลือด ทำให้ผิวพันธ์ดี (ถึงทำเป็นโลชั่นด้วย) ช่วยลดคอเรสเตอรอล และเสริมระบบขับถ่าย
และเม็ดมันยังเอามาใช้เคี้ยวแก้เสียดท้องได้อีกด้วย

วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ต้นหลุมพี


ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Eleiodoxa conferta
(Griff.) Burr.
ชื่อวงศ์ : ARECACEAE (PALMAE)
กะลุมพีมีชื่อแตกต่างกันออกไป
กะลุมพี,หลุมพี(นราธิวาส,ปัตตานี),กะลูบี,กลูบี,ลูบี(มลายู นราธิวาส)
เมื่อเรารู้แล้วว่า ชื่อของลุมพี  จะมีชื่อแตกต่างกันออกไปแล้ว  ลุมพี มีลักษณะกันอย่างไรบ้างครับ

ลุมพี เป็นพืชพวกปาล์ม จำพวกระกำ ลำต้นสั้น แตกหน่อเป็นกอใหญ่ ออกดอกผลแล้วตายไป ใบประกอบแบบขนนก เรียงเวียนสลับ ก้านใบ และกาบใบมีหนามยาวแหลมเรียงเป็นแผง แกนกลางใบประกอบมีหนามยาวแหลมทางด้านล่าง ใบย่อยรูปเรียวยาว ปลายแหลม ไม่มีก้าน โคนติดที่ก้านรวม เรียงเป็นระเบียบ 2 ข้างก้านใบประกอบ ใบย่อยบริเวณตอนกลางก้านช่อใบยาวกว่าใบย่อยที่โคน และปลายก้านช่อใบ ดอกแยกเพศ อยู่ต่างต้น ขนาดเล็ก สีแดง ออกเป็นช่อเชิงลด ตั้งตรง แยกแขนง มีกาบหุ้มช่อหลายกาบ ผลรูปไข่กลับ ปลายตัด โคนสอบ เปลือกบางเป็นเกล็ดเล็ก ๆ เรียงเกยซ้อนกัน ผลสุกสีเหลืองถึงแสด ผลหนึ่งมักมี 1 เมล็ด เมล็ดค่อนข้างกลม เนื้อหุ้มเมล็ดนุ่มหนา สีเหลืองส้ม มีการกระจายพันธุ์ในภาคใต้ของประเทศไทย

แหล่งที่พบ
มีข้อสันนิษฐานหนึ่งว่าชื่อจังหวัดกระบี่ มาจากคำว่ากะลุมพี หรือกลูบี เพราะสมัยก่อนเต็มไปด้วยต้นหลุมพี

หลุมพีชอบขึ้นตามธรรมชาติในป่าดงดิบ ซึ่งเป็นป่าพรุของจังหวัดภาคใต้ที่มีฝนตกชุก เช่น จังหวัดกระบี่ พืชชนิดนี้ไม่มีผู้ใดนิยมปลูกจะหาได้จากป่าเท่านั้น และจะออกผลชุกในฤดูฝนของทุกปี

นอกจากวิธีการดำเนินชีวิตของคนภาคใต้หรือจังหวัดกระบี่  ที่เกี่ยวกับลุมพี  แล้ว ลุมพียังมีความสำพันธ์กับชุมชน กำดำรงชีวิต  ความเป็นอยู่  กับการนำมาใช้ประโยชน์มากมายหลายๆอย่างได้อีกด้วย

ความสัมพันธ์กับชุมชน
ใช้ประกอบอาหารได้หลายประเภท ตามความนิยมของผู้บริโภค ถ้าเป็นผลแก่ใช้ปรุงรสแทนมะนาว เช่น แกงส้มและแกงเหลือง และเหมาะอย่างยิ่งโดยเฉพาะการปรุงอาหารในขณะอยู่ป่า หรืออาจใช้รับประทานเป็นของว่าง โดยปอกเปลือกแล้วซอย ก่อนนำไปแช่น้ำเกลือประมาณ ๑-๒ วัน ชิมดูให้มีรสเปรี้ยวพอเหมาะ แล้วจึงรับประทานกับน้ำจิ้ม น้ำปลาหวานหรือจิ้มพริกกับเกลือ หรือดองโดยการเคี่ยวน้ำเชื่อม ตั้งทิ้งไว้ให้เย็นแล้วน้ำหลุมพีที่แช่น้ำเกลือแล้วใส่ลงไปแช่ในน้ำเชื่อมที่ตั้งไว้ให้เย็นประมาณ ๑ คืน ก็รับประทานได้ เวลารับประทานอาจใส่น้ำแข็งลงไปเล็กน้อย ทำให้มีรสชาติแปลกออกไป
ในทางสมุนไพร จะใช้ผลตำคั้นเอาน้ำผสมน้ำตาลและเกลือจิบกัน ขับเสมหะแก้ไอ

ความสำคัญทางเศรษฐกิจ
เนื่องจากทางภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัดกระบี่ มีผู้นิยมบริโภคกันมาก โดยสามารถนำมาปรุงอาหารได้ตามต้องการ ที่นิยมทำกันมากในจังหวัดกระบี่ คือ การดอง และจิ้มกินกับพริกเกลือเป็นอาหารว่าง จึงนับเป็นการเสริมรายได้ของชาวกระบี่อีกด้วย
นอกจากการดอกและการจิ้มกินกับพริกเกลือแล้ว  

ลุมพี  ยังสามารถทำเป็น  หลุ่มพีเชื่อมได้ 
เรามาดูวิธีการทำ  หลุมพีเชื่อมกันดีกว่าครับ
หลุมพีเชื่อม
เครื่องปรุง
1. ผลหลุมพีสด (ผลแก่เมล็ดข้างในสีดำ
2. น้ำตาลทราย ? ก.ก.
3. น้ำ
4. เกลือป่น 2 ช้อนชา,

วิธีทำ
1. ผลหลุมพีแก่ปลอกเปลือกล้างน้ำให้สะอาด ใช้มีดกรีดผลหลุมพี
2. น้ำประมาณ 1/3 ของภาชนะที่ใส่ ตั้งไฟให้เดือด ใส่ผลหลุมพีต้มให้เดือดอีกครั้ง ประมาณ 10 นาที แล้วเทน้ำทิ้งให้หมด (เพื่อลดความเปรี้ยวของผลหลุมพี)
3. น้ำตาล ? ก.ก. น้ำ 1 แก้ว ใส่ภาชนะตั้งไฟเคี่ยวให้เป็นยางมะตูม
4. นำผลหลุมพีที่เตรียมไว้ใส่ภาชนะ ต้มจนกว่าน้ำตาลเข้าเนื้อผลหลุมพี
5. ใส่เกลือป่น 1 ช้อนชา
6. เติมน้ำประมาณ 2 แก้ว ตั้งไฟให้เดือดแล้วยกลง
7. เวลารับประทาน รับประทานกับน้ำแข็ง

คุณค่าทางโภชนาการและสรรพคุณ:
เนื้อหุ้มเมล็ดรสเปรี้ยวจัด นำมาปรุงเป็นเครื่องดื่ม และปรุงรสอาหารได้ดี


ลูกบะหลอด(มะหลอด)

ลูกบะหลอด(มะหลอด)
ผลไม้ท้องถิ่นชาวล้านนา
ผลไม้ชนิดหนึ่งลูกเล็ก ๆ สีแดงสดใส  ไม่เคยเห็นมาก่อน ถามแม่ค้าบอกว่าชื่อลูก "มะหลอด" หรือลูก "บะหลอด" (ภาษาเหนือ) แม่ค้าแนะวิธีทานลูกมะหลอดว่า ก่อนทานให้บีบนวดลูกมะหลอดก่อน เพื่อให้น่วมแล้วทาน มะหลอดมีรสเปรี้ยว เหมาะสำหรับทานเล่น ๆ เด็กหนุ่มสาว น่าจะชอบ
         
จากการศึกษาหาข้อมูลทราบว่าลูกมะหลอดทราบว่า "มะหลอด" เป็นผลไม้ของทางภาคเหนือ จะออกดอกและออกผล ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์  เลยโชคดีที่ได้เห็นและได้ทานมาแล้ว
     

ต้น"มะหลอด" ดูตามของจริงที่เห็น  จะมีลักษณะต้นเป็นพุ่ม ไม่ค่อยใหญ่ ใบเล็ก ๆ สีเขียวเข้มขึ้นเต็ม มีลูกมะหลอดขึ้นที่ยอดทั้งเดี่ยวและเป็นกลุ่ม ลูกเล็กมีสีเขียวแล้วค่อย ๆ เปลี่ยนสีเป็นเหลือง ส้มและค่อนข้างแดงออกส้ม นั่นคือลูกที่สุกเต็มที่ ที่ผิวลูกโดยรอบมีสีขาวเล็ก ๆ  สามารถนำมาทานได้

ลูก"มะะหลอด"จะรับประทานได้ตั้งแต่ลูกเล็ก ๆ  สีเขียว ๆ กินกับน้ำพริกถั่วเน่า หรือพันด้วยผักกาดกับผักชีกินเหมือนเมี่ยงคำ  ส่วนผลมะหลอดสุก จิ้มกับน้ำพริกหวาน พริกเกลือผสมน้ำตาล ให้รสชาติที่เปรี้ยว  แม่ค้าบอกว่ามะหลอดบางพันธุ์จะมีรสหวาน  ลูกเล็กลูกใหญ่  แล้วแต่พันธ์  ผล"มะหลอด" อุดมไปด้วยวิตามินซี  น่าจะให้ประโยชน์กับร่างกายอย่างแน่นอน

มะหลอด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Elaeagnus latifolia) หรือสลอดเถา ส้มหลอด เป็นไม้ผลในวงศ์Elaeagnaceae ในไทยพบมากทางภาคเหนือ ผลทรงรีหรือรูปไข่ มีจุดสีขาวหรือสีเงินบนผล เมื่อสุกสีแดงหรือส้มแดง มีรสเปรี้ยว นิยมบริโภคสดเป็นผลไม้ การนำไปแปรรูปมีน้อย

รายการบล็อกของฉัน