ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2564

แอปเปิ้ลเนื้อชมพู Pink Pearl apple


ค้นหา
Pink Pearl apple เป็นสายพันธุ์แอปเปิ้ลที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาในปี 1944 

โดย Albert Etter ในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ผลแอปเปิ้ลจะมีขนาดปานกลาง เนื้อจะฉ่ำรสเปรี้ยวอมหวาน ผลจะสุกสามารถเก็บเกี่ยวได้ในช่วงปลายเดือนสิงหาคมถึงกลางเดือนกันยายน ความพิเศษคือเนื้อจะเป็นสีชมพู

ปัจจุบันมีสายพันธุ์แอปเปิ้ลที่ปลูกมากกว่า 7,500 ชนิด ทำให้แอปเปิ้ลมีลักษณะพิเศษหลากหลาย 
แต่ละพันธุ์จะมีรสชาติแตกต่างกัน และการนำไปใช้ต่างกันด้วย

ใน ค.ศ. 2013 มีการปลูกแอปเปิลประมาณ 80 ล้านตันขึ้นทั่วโลก ประเทศจีนผลิตได้จำนวนเกือบครึ่งหนึ่งของจำนวนดังกล่าว สหรัฐอเมริกาเป็นผู้ผลิตแอปเปิลมากที่เป็นอันดับที่สอง ด้วยการผลิตมากกว่า 6% ประเทศตุรกีเป็นที่สาม

Nepenthes หม้อข้าวหม้อแกงลิง

🌿Nepenthes หรือ หม้อข้าวหม้อแกงลิง
หม้อ (Pitcher) ของต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง คือเครื่องมือของนายพราน 
ค้นหา
- กับดักสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก
- ที่พืชสกุลนี้ส่วนใหญ่ (แต่ไม่ทุกต้น)
มีไว้เพื่อหาอาหารที่ขาดแคลนในแหล่งดิน มันหลอกล่อเหยื่อให้เดินเข้ากับดักโดยอาศัยกลิ่นเลียนแบบกลิ่นอาหารตาม ธรรมชาติของเหยื่อ อาจเป็นกลิ่นน้ำหวาน กลิ่นเนื้อสัตว์ กลิ่นแมลงเพศเมีย ฯลฯ 

หรือยั่วยวนเหยื่อด้วยสีสัน หรือน้ำหวาน หม้อข้าวหม้อแกงลิง บางสายพันธุ์สามารถสะท้อนแสงยูวี (Ultraviolet)จากบริเวณปากหม้อ โดยเฉพาะหม้อแถบบอร์เนียว หลักการคล้ายกับการล่อแมลงโดยใช้แสงจากหลอดที่ชาวบ้านเรียกแบล็คไลท์ใช้ล่อ แมงดานา 

หม้อข้าวหม้อแกงแกงลิงก็มีแบล็คไลท์เพื่อล่อแมลงกลางคืน ด้านในและใต้ส่วนที่งุ้มโค้งของปากหม้อ (peristome) ส่วนใหญ่เป็นแหล่งผลิตน้ำหวานปริมาณ

N. mirabilis ชอบกินมดมาก เมื่อมดแมลงพยายามชะโงกตัวดูดกินน้ำหวานใต้ปากหม้อที่ลื่นและผิวเป็นคลื่น ตามแนวที่เหยื่อชะโงกอยู่ยืน นอกขจากนี้ ผิวที่ปากหม้อยังมีไขมันเคลือบเป็นมัน เหยื่อจึงมีโอกาสพลัดตกลงไปในหม้ออย่างง่ายดาย

หม้อ แต่ละชนิด จะดึงดูดเหยื่อไม่เหมือนกัน เช่นหม้อข้าวหม้อแกงลิงของไทยที่
ชื่อ Nepenthes mirabilis เก่งในการล่อมดดำให้ตกลงไปในหม้อคราวละมากๆ บางครั้งเคยเห็นหม้อที่มีมดเกือบเต็ม ในขณะที่หม้ออัลบอ (N. albomarginata ) เก่งในทางหลอกล่อปลวก
Nepenthes

บัวนางกวัก


ค้นหา
บัวสายพันธุ์นี้ เป็นสายพันธุ์จาก ประเทศอินเดีย ถูกนำเข้ามาขยายพันธุ์ปลูกในประเทศไทยนานหลายปีแล้ว แต่ไม่ค่อยมีคนรู้จักหรือนิยมปลูกกันมากนัก เนื่องจากสีสันของดอกไม่ฉูดฉาดดึงดูดใจเท่าที่ควร แต่เป็นบัวที่มีความแตกต่างจากบัวสวยงามทั่วไป คือ กลีบเลี้ยงจะมีกลีบย่อยที่ปลายกลีบแตกก้านซ้อนขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง รูปร่างคล้ายมือกวัก เลยถูกเรียกว่า "บัวนางกวัก" ดังกล่าว

นอกจากกลีบเลี้ยง จะแปลกและแตกต่างไปจากบัวทั่วไปไม่เคยพบเห็นที่ไหนแล้ว สีสันของดอกแม้จะไม่เข้มข้น แต่เมื่อกลีบบานเต็มที่จะดูหวานซึ้งน่ารักดียิ่ง ที่สำคัญใบของ "บัวนางกวัก" ยังมีรูปทรงสวยงามเป็นมันน่าชมมาก

บัวนางกวัก อยู่ในวงศ์ NYMPHAEACEAE เป็นไม้ล้มลุกมีลำต้นใต้ดินคล้ายหัวเผือก ใบเป็นใบเดี่ยว ออกสลับถี่ลอยบนผิวน้ำ เรียงเป็นวง แผ่นใบรูปค่อนข้างกลมโคนเว้าลึก ด้านบนสีเขียวสดเป็นมัน บางครั้งมีนวล หรือขนละเอียดทั่ว ทำให้ เวลามีน้ำฝนตกลงมาไม่เกาะน้ำ น้ำจะเป็นก้อนกลมกลิ้งไหลไปมาบนใบบัวน่าชมยิ่ง ขอบใบจักร หลังใบเป็นสีเขียวด้าน ก้านใบขนาดเล็ก สีน้ำตาลปนเขียว เมื่อหักก้านจะมีใยสีขาวติดยาวยืดเรียกว่าใยบัว

ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ บานเหนือน้ำเล็กน้อย ดอกเป็นสีชมพูอมเขียว มีกลีบดอกเรียงซ้อนกันหลายชั้น ปลายกลีบแหลม ที่แปลกและแตกต่างจากบัวทั่วไป คือ กลีบเลี้ยงมี 6 กลีบ ปลายกลีบจะมีกลีบย่อยแทงขึ้นเป็นชั้นที่สองแล้วกางแผ่นกลีบเป็นรูปคล้ายมือกำลังกวักสีเขียวสดดูสวยงามมาก

ดอก เมื่อบานเต็มที่เส้นผ่า ศูนย์กลางประมาณ 4-5 นิ้วฟุต ใจกลางดอกมีเกสรตัวผู้จำนวนมาก เป็นสีเหลือง เวลามีดอกโผล่เหนือน้ำหลายๆดอก และดอกบานสะพรั่งพร้อมๆกัน มีกลีบเลี้ยงรูปมือกวักเรียงกันเหนือกลีบดอก จะดูสวยงามแปลกตามาก "ผล" ค่อนข้างกลม เรียกว่า "โตนด" ภายในมีเมล็ด ดอกออกตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและหน่อ

ปัจจุบัน "บัวนางกวัก" มีขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวน จตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ 2 แผง "คุณเกด" ราคาสอบ ถามกันเอง การปลูกนิยมปลูกลงกระถางบัวขนาดใหญ่ตั้งโชว์ในที่มีแสงแดดส่องถึงตลอดวัน ซึ่งตามธรรมชาติของ "บัวนางกวัก" เป็นบัวกินน้ำตื้น หากจะปลูกลงสระบัวจึงเหมาะจะปลูกเรียงรายตามขอบสระ หลังปลูกบำรุงปุ๋ย ห่อกระดาษกดฝังดินใต้น้ำเดือนละครั้ง จะทำให้มีดอกสวยงามตลอดครับ.

วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2564

พืชประหลาดคล้ายหนวดปลาหมึก ที่ได้รับการขนานนามว่า นิ้วมือแห่งปีศาจ

🐙มีจริงดิ!? พืชประหลาดคล้ายหนวดปลาหมึก ที่ได้รับการขนานนามว่า 
"นิ้วมือแห่งปีศาจ"
ค้นหา
มีพืชพันธุ์ไม้หลากหลายชนิดที่มีสีสันสวยงาม และมีกลิ่นหอมน่ารัญจวนใจ ทำให้การเดินท่องป่านั้นดูมีชีวิตชีวามากขึ้น แต่เชื่อไหมว่าพืชบางชนิด ก็น่ากลัวเกินกว่าที่เราจะเข้าใกล้
พืชชนิดนี้มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า Clathrus Archeri มันเป็นพืชที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น “นิ้วมือแห่งปีศาจ” ที่เป็นแบบนั้นก็เพราะว่าเจ้าพืชชนิดนี้ถือกำเนิดออกมาจากไข่สีขาว โดยจะมีกิ่งก้านที่คล้ายกับหนวดปลาหมึกสีแดงยื่นออกมา และนอกจากความน่าเกลียดน่ากลัวของเจ้า Clathrus Archeri แล้ว มันยังส่งกลิ่นเหม็นเหมือนกับเนื้อเน่าๆ ออกมาให้เราดมอีกด้วย

🌿พืชชนิดนี้เป็นพืชพื้นเมืองจากรัฐแทสมาเนีย ประเทศออสเตรเลีย แต่มันก็ยังแผ่ขยายสายพันธุ์ของมันออกมาเรื่อยๆ จนคุณสามารถพบมันได้ที่ยุโรป อเมริกาทางตอนเหนือ และแถบเอเชียด้วย

ในทางเทคนิคแล้ว ถึงจะมีหน้าตาน่ากลัวแค่ไหนก็ตาม แต่เชื่อหรือไม่ว่าเราสามารถนำมันมากินได้ และไม่มีพิษมีภัยอะไรด้วยนะ แต่ว่ารสชาติของมันอาจจะแปลกๆ สักหน่อยนะ (แนะนำว่าทางที่ดีหลีกเลี่ยงมันจะดีกว่า)

มารังผลไม้พื้นเมืองเกาะในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

มารังผลไม้พื้นเมืองเกาะในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ค้นหา
มารังพืชพื้นเมืองในเกาะบอร์เนียว เกาะปาลาวัน เกาะมินดาเนา 
เป็นพืชป่ามีลักษณะใกล้เคียงกับขนุน จำปาดะและ สาเก ผลของมารังมีขนาดใหญ่เนื้อรสหวาน รับประทานได้

เนื้อภายในผลคล้ายขนุน ยวงในเป็นสีขาว รับประทานสด หรือใช้ทำเค้ก 
แต่ต้องรับประทานทันทีหลังจากผ่าเพราะจะเสียรสชาติและเกิดสีดำเร็วมาก เมล็ดรับประทานได้ โดยนำไปต้มหรืออบ ผลอ่อนต้มในกะทิ ใช้รับประทานเป็นผัก

หยางเหมย ผลไม้ที่คุณอาจไม่เคยเห็น

หยางเหมย ผลไม้ที่คุณอาจไม่เคยเห็นมาก่อน
ค้นหา
หยางเหมย เป็นผลไม้ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Myrica rubra เป็นพืชพื้นเมืองทางตอนกลางประเทศจีน ต้นโตเต็มที่มีความสูงประมาณ 10-20 เมตร   

ผลของมันมีขนาดประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร 
ลักษณะของผิวจะเป็นเม็ดตะปุ่มตะป่ำ ผลอ่อนจะมีสีเขียว เมื่อสุกจึงกลายเป็นสีแดงเข้มไปจนถึงสีม่วง มีรสหวานผสมเปรี้ยว
หยางเหมย (Myrica, rubra) 


ส้มแขก

ส้มแขก
ส้มแขก ชื่อวิทยาศาสตร์: Garcinia atroviridis ชื่ออื่นคือ ส้มควาย ส้มมะวน ชะมวงช้าง เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Guttiferae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับมังคุด ชะมวง เป็นพืชพื้นเมืองแถบประเทศมาเลเซีย เจริญเติบโตในป่าตลอดคาบสมุทรมาเลเซีย เป็นพืชเศรษฐกิจและยังสามารถพบได้ทางภาคใต้ของประเทศไทยอีกด้วย

เปลือกต้นเมื่ออ่อนสีเขียว พอแก่เป็นสีน้ำตาลอมดำ ใบเดี่ยว เรียบเป็นมัน ดอกช่อ แยกเพศ แยกต้น เมื่ออ่อนมีกลีบเลี้ยงสีเขียวหุ้ม ผลเป็นผิวเดี่ยว ผิวเรียบ เนื้อผลที่เป็นเนื้อแข็งมีรสเปรี้ยว เนื้อหุ้มเมล็ดสีส้มมีรสหวาน มี 5-8 เมล็ด
เนื้อส่วนที่แข็ง มีกรดซิตริก กรดทาทาร์ริก กรดมาลิก และ กรดแอสคอร์บิก กรดไฮดรอกซีซิตริก และ ฟลาโวนอยด์นำมาปรุงรสเปรี้ยวในอาหารเช่น แกงส้ม หรือทำเครื่องดื่มลดความอ้วน
ผลส้มแขกสุกเป็นสีส้มเหลือง
ส้มแขกที่หั่นเป็นชิ้นแล้วตากแดดให้แห้ง ในภาษามาเลย์เรียก อาซัมเกอปิง มีขายทางการค้า ใช้แต่งรสเปรี้ยวในสลัด แกง และต้มต่างๆ
Garcinia atroviridis

ถั่วปากอ้า

ถั่วปากอ้า
 
ค้นหา
ถั่วปากอ้า (Vicia faba) เป็นสปีชีส์หนึ่งของถั่วมีฝักในวงศ์ Fabaceae เป็นพืชพื้นเมืองในแถบแอฟริกาเหนือและเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ รับประทานจะมีโทษแต่ร่างกายเพราะถั่วปากอ้ามีสารพิษที่ทำให้เกิดโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตกง่าย แต่ก็ยังคงมีการนำไปเพาะปลูกตามที่ต่างๆ บนโลก
ต้นถั่วปากอ้าเป็นพืชล้มลุก เมื่อโตเต็มที่สูงประมาณ 0.5-1.7 เมตร ภาคตัดขวางของลำต้นคล้ายรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ใบยาว 10-25 เซนติเมตร กิ่งหนึ่งมี 2-7 ใบ และใบมีสีเขียวอมเทาไม่เหมือนกับพืชอื่นๆ ในสกุลเดียวกัน
ต้นถั่วปากอ้าไม่มียอดไว้สำหรับเลื้อย ดอกของต้นถั่วยาวประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร มี 5 กลีบ โดยที่กลีบบนและกลีบรองเกสรมีสีขาวล้วน ส่วนกลีบข้างเป็นสีขาวและมีจุดตรงกลางเป็นสีดำ

ฝักถั่วของมันมีขนาดกว้างและมีขนเล็กๆ หนาแน่นปกคลุม มีสีเขียวเมื่อยังอ่อนและเป็นสีน้ำตาลดำเมื่อแก่ ในธรรมชาติฝักถั่วยาว 5-10 เซนติเมตรและมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร แต่จากการพัฒนาการเพาะพันธุ์เพื่อการเกษตรทำให้ฝักยาว 15-25 เซนติเมตรและหนาถึง 2-3 เซนติเมตร
ในหนึ่งฝักมีเมล็ดถั่ว 3-8 เมล็ด มีรูปร่างกว้างและแบน ในธรรมชาติเมล็ดคล้ายรูปวงรีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-10 มิลลิเมตร แต่พันธุ์สำหรับเพาะปลูก เมล็ดยาว 20-25 มิลลิเมตร กว้าง 15 มิลลิเมตร หนา 5-10 มิลลิเมตร

กร่าง นิโครธ

กร่าง (นิโครธ)
กร่าง
ค้นหา กร่าง ชื่อสามัญ Banyan tree, Bar, East Indian Fig
กร่าง ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus benghalensis L. (มักเขียนผิดเป็น Ficus bengalensis L.) จัดอยู่ในวงศ์ขนุน (MORACEAE)
สมุนไพรกร่าง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า นิโครธ หรือ ไทรนิโครธ (กรุงเทพฯ), ภาษาสันสกฤตเรียกว่า “บันยัน” (Banyan), ในภาษาฮินดูเรียกว่า “บาร์คาด” (Bargad) ส่วน “กร่าง” เป็นชื่อเรียกของคนภาคกลางทั่วไป (ส่วนในวิกิพีเดียใช้ชื่อสมุนไพรชนิดนี้ว่า “ไกร“)

ลักษณะของต้นกร่าง
ต้นกร่าง หรือ ต้นนิโครธ เป็นต้นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ศรีลังกา และปากีสถาน และได้แพร่กระจายพันธุ์ไปทั่วในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นประมาณ 10-30 เมตร ลำต้นตรงขึ้นเป็นพูพอน แตกกิ่งก้านหนาทึบ ลักษณะเป็นเรือนยอดแผ่กว้างปลายกิ่งลู่ลง เปลือกต้นเรียบเกลี้ยง ลำต้นและกิ่งมีรากอากาศห้อยย้อยลงมามากมาย และเมื่อหยั่งถึงดินแล้วจะทำให้เกิดเป็นหลืบสลับซับซ้อน เป็นฉากเป็นห้อง หรือเป็นลำต้นต่อไปได้อีก

ทุกส่วนของลำต้นมียางสีขาว กิ่งอ่อนมีขนนุ่มอยู่หนาแน่น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด หรือโดยวิธีทางธรรมชาติที่นกหรือ ค้างคาวจะกินผลแล้วถ่ายมูลที่มีเมล็ดติดอยู่ไปยังที่ต่าง ๆ หรือจะขยายพันธุ์ด้วยการปักชำหรือการตอนกิ่งก็ทำได้เช่นกัน โดยสามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิดที่ค่อนข้างมีความชุ่มชื้น

ใบกร่าง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรีหรือรูปไข่ ปลายใบมน บ้างว่ามีติ่งแหลมสั้น โคนใบ เรียบหรือโค้งกว้าง ใบมีขนาดกว้างประมาณ 10-14 เซนติเมตรและยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร มีเส้นแขนงของใบประมาณ 4-6 คู่ ก้านใบอวบ ยาวประมาณ 2-5 เซนติเมตร มีหูใบหุ้มยอดอ่อน
ใบอ่อนมีขนหนามากโดยเฉพาะในส่วนของท้องใบ ส่วนใบแก่ไม่มีขน ใบเมื่อแก่จะร่วงหล่นและมีรอยแผลใบให้เห็นเด่นชัดบนกิ่ง

ดอกกร่าง ออกดอกเป็นช่อแบบช่อมะเดื่อตามซอกใบ ดอกมีขนาดเล็กและมีจำนวนมาก เจริญเติบโตอยู่ภายใต้ฐานรองดอก ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่ในช่อเดียวกัน ภายในดอกประกอบไปด้วยดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย โดยดอกตัวเมียจะอยู่ใกล้กับรูปากเปิด
ผลกร่าง ผลมีขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นรูปทรงกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร บ้างว่าประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ผลเป็นสีเขียวเมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองจนถึงสีส้ม และเมื่อแก่ผลจะเป็นสีแดงคล้ำหรือสีเลือดหมู ในแต่ละผลจะมีกลีบเลี้ยงติดอยู่ประมาณ 2-4 กลีบ

สรรพคุณของกร่าง
เมล็ดใช้เป็นยาเย็นและยาบำรุงร่างกาย (เมล็ด)
เปลือกต้นทำเป็นยาชงใช้ลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้โรคเบาหวาน (เปลือกต้น)
รากนำมาเคี้ยวเพื่อช่วยป้องกันโรคเหงือกบวม (ราก)
ใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย แก้ท้องเดิน
(เปลือกต้น, ยาง)
ใบและเปลือกต้นใช้เป็นยาแก้ท้องร่วง
(ใบ, เปลือกต้น)
ยางและเปลือกต้นใช้แก้บิด (เปลือกต้น, ยาง)
ผลสุกใช้รับประทาน มีฤทธิ์เป็นยาระบาย (ผลสุก)
ช่วยแก้อาการถ่ายเป็นมูกเลือด
(ใบ, เปลือกต้น)
ยางจากต้นใช้แก้โรคริดสีดวงทวาร (ยาง)
ใบและเปลือกต้นใช้เป็นยาช่วยห้ามเลือด
(ใบ, เปลือกต้น)
ยางจากต้นใช้แก้หูด (ยาง)
ยางใช้เป็นยาทาแก้ไขข้ออักเสบ (ยาง)
ประโยชน์ของกร่าง
ผลใช้รับประทานได้
ผลแก่ที่เป็นสีแดงคล้ำใช้เป็นอาหารของนก
นอกจากใช้ผลรับประทานแล้ว ในอินเดียยังใช้ใบสำหรับใส่อาหารรับประทานอีกด้วย
ต้นกร่าง หรือ ต้นไทรนิโครธ จัดเป็นไม้มงคลตามพุทธประวัติที่พระกัสสปพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ 7 วัน และได้ตรัสรู้ ณ ควงไม้นิโครธ จึงมีการนิยมปลูกไว้ตามศาสนสถานหรือตามวัดวาอารามทั่วไป เพื่อเป็นไม้ให้ร่มเงาและเพิ่มความร่มเย็น แต่จะไม่นิยมปลูกไว้ในบ้านเนื่องจากต้นนิโครธมีขนาดใหญ่เกินไป

มีข้อมูลอื่น ๆ ระบุว่ารากอากาศมีความเหนียว สามารถนำมาใช้ทำเป็นเชือกได้ ส่วนเปลือกด้านในนั้นใช้ทำกระดาษ

รายการบล็อกของฉัน