พญาสัตบรรณ หรือ สัตบรรณ หรือ ตีนเป็ด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Alstonia scholaris) เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่มีความสูงประมาณ 12-20 เมตร อยู่ในวงศ์ Apocynaceae มีถิ่นดั้งเดิมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และพบได้ทุกภาคในประเทศไทย และเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรสาคร
พญาสัตบรรณ !! หอม หรือ เหม็น ?
ต้นไม้ต้นเดียวกัน แต่บางคนกลับคิดไม่เหมือนกัน
ช่วงปลายฝนต้นหนาวแบบนี้ เชื่อว่าเพื่อนๆ หลายๆ คน ต้องคุ้นเคยกับกลิ่นที่มีเอกลักษณ์ โชยมาให้ได้กลิ่นกันแน่
เพราะนั่นก็คือกลิ่นของ "ต้นตีนเป็ด"
ที่สำหรับบางคนบอกว่าหอม แต่บางคนก็บอกว่าเหม็นสุดๆ ซะงั้น.. ทำไมไม่เหมือนกันล่ะ?
- กลิ่นต้นตีนเป็ด มาจากไหน?
ที่จริงนั้นกลิ่นจะมาจาก "ช่อดอก"
ที่จะออกดอกปีละครั้งในช่วงปลายฝนต้นหนาวนั่นเอง
แล้วดอกต้นตีนเป็ด จะมีส่วนประกอบอยู่จำนวนมากที่เป็นน้ำมันหอมระเหย
ซึ่งในนั้นมีสิ่งที่เรียกว่าเป็น Linalool อยู่ถึงเกือบ 40% และทำให้ส่งกลิ่นแบบเข้มข้นสูงออกมา จนโชยไปทั่วบริเวณ ยิ่งอยู่เป็นดง ยิ่งกลิ่นแรงมากกกกกกกกกก
- แล้วทำไมบางคนว่าหอม บางคนว่าเหม็น?นั่นก็เป็นเพราะเจ้าสารในดอกเนี่ย มันส่งผลต่อคนไม่เหมือนกัน ถ้าคนที่แพ้สารดังกล่าว กลิ่นมันจะไปกระตุ้นเราเลยล่ะ....
มันจะทำให้สมองเรารู้สึกรับกลิ่นเข้าไปแล้วทำงานหนักขึ้น ปวดหัว ไปจนอยากจะอาเจียน น้ำมูกน้ำตาไหลกันเลย สำหรับคนกลุ่มนี้จึงเหม็นสุดๆ
ส่วนคนที่ชอบ เพราะสมองไม่ได้รับผลกระทบ ก็จะบอกว่ากลิ่นมันหอมแบบอ่อนๆ เพราะมันเป็นน้ำมันหอมระเหยนั่นเอง
เพราะฉะนั้นกลิ่นนี้ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคนแล้ว