ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2564

โอพันเทีย กระบองเพชรน่าทึ่งแปลกลึกลับ

ค้นหา
กระบองเพชรหรือแคคตัส (Cactus) เป็นพันธุ์ไม้ที่ทุกคนรู้จักดี แต่...ถึงแม้ว่าทุกท่านจะรู้จัก ก็เชื่อได้ว่ายังมีเรื่องราวอีกมากมายเกี่ยวกับกระบองเพชรที่น่ารู้ ซึ่งคอลัมน์ไทยรัฐซันเดย์สเปเชียลโดยทีมงานนิตยสารต่วย’ตูน จะนำมาเล่าให้ฟังในวันนี้ แต่สายพันธุ์กระบองเพชรนั้นแยกย่อยได้หลายพันชนิด จึงขอนำเรื่องราวของกระบองเพชรสายพันธุ์หนึ่งที่เรียกว่า โอพันเทีย (Opuntia) มาเล่าแค่ชนิดเดียวก่อนครับ
โอพันเทีย มีผู้นำเข้ามาปลูกในไทยนานมากแล้ว และเรียกชื่อเป็นไทยว่า ต้นเสมา เพราะรูปทรงลำต้นและกิ่งเป็นแผ่นแบนกว้างคล้ายใบเสมาตามหน้าโบสถ์ ซึ่งโอพันเทียในถิ่นกำเนิดนั้นมีอยู่หลายร้อยชนิด แต่ละชนิดก็มีรูปทรงแตกต่างกันออกไป แต่ส่วนใหญ่จะเป็นทรงกลมๆแบนๆ ต่อๆกันเหมือนในภาพประกอบนี้ละครับ

ชนพื้นเมืองในเม็กซิโกเก็บ
แมลงคอชินีล.
ในต่างประเทศนำโอพันเทียมารับประทานกันทั้งส่วนกิ่ง (ที่เป็นแผ่นแบนใหญ่ดูคล้ายใบ) แล้วยังกินผลได้อีกด้วย ส่วนใบ (ซึ่งที่จริงคือกิ่ง) นั้นในเม็กซิโกเรียกกันว่า โนปาลิโต้ (Nopalito) ถือเป็นผักยอดฮิตเลยก็ว่าได้ มีการปลูกขายใบกันเป็นล่ำเป็นสัน เพราะเติบโตได้ดีในพื้นที่แห้งแล้งซึ่งผักอื่นปลูกได้ยาก โดยตัดใบอ่อนมากำจัดหนามออกแล้วใช้ทำอาหาร ทั้งกินเป็นผักสดและปรุงสุกได้สารพัดเมนู ในบางครั้งก็ใช้เป็นอาหารสัตว์ด้วย กินแล้วได้ทั้งสารอาหาร เส้นใย และน้ำในใบไปครบเลย เจ้าเต่ายักษ์แห่งเกาะกาลาปากอสก็เป็นนักบริโภคโอพันเทียตัวยงเลยล่ะครับ

โอพันเทียสายพันธุ์ที่นิยมกินผลนั้นเรียกว่า พริกลี่แพร์ (Prickly pear) แปลได้ว่าลูกแพร์หนาม หรืออีกชื่อก็คือกระบองเพชรมะเดื่อ (Opuntia ficus-indica) ปัจจุบันมีโอพันเทียชนิดนี้แพร่กระจายอยู่ทั้งในทวีปอเมริกา ยุโรป และแถบเมดิเตอร์เรเนียน คาดว่าเหตุที่แพร่กระจายไปทั่วก็เพราะนักเดินเรือข้ามทวีป สมัยก่อนเอาต้นโอพันเทีย ติดเรือไว้เป็นเสบียง เพราะมันคงความสดอยู่ได้นานหลายเดือนไม่เน่าเสีย แถมยังเติบโตได้ง่ายอีกต่างหาก แค่โยนชิ้นส่วนลำต้นทิ้งไว้บนพื้นก็สามารถเติบโตเป็นต้นใหม่ขึ้นมาได้แล้ว

ผลโอพันเทียปอกเปลือกในตลาดที่เม็กซิโก.
นอกจากโอพันเทียแล้วผลกระบองเพชรอีกหลายสายพันธุ์ก็นำมากินได้ แก้วมังกร ผลไม้ถูกปากของหลายๆท่านก็เป็นแคคตัสสกุลหนึ่งซึ่งมีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกา แต่ถูกนำเข้ามาปลูกในทวีปเอเชียเรานับร้อยปีแล้วครับ
แคคตัสเกือบทั้งหมดบนโลกนี้มีต้นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกากลางและใต้ มีแค่สายพันธุ์เดียวคือริปซาลิส เบคซิฟีรา (Rhipsalis baccifera) แคคตัสขนาดเล็กชนิดนี้มักอิงอาศัยเติบโตอยู่บนต้นไม้อื่น พบได้ในหลายทวีปทั้งอเมริกา แอฟริกา มาดากัสการ์ และศรีลังกา เชื่อกันว่าน่าจะเกิดจากการแพร่พันธุ์ข้ามทวีปโดยเมล็ดติดมาในระบบย่อยอาหารของนกอพยพ แคคตัสสกุลริปซาลิสนี้มีอยู่อีกหลายชนิด ปัจจุบันมีจำหน่ายเป็นไม้ประดับพบเห็นได้ทั่วไป แต่เรามักไม่ทราบกันว่าเป็นแคคตัสเพราะริปซาลิสมักแตกกิ่งเป็นพุ่มห้อยยาวลงมาดูเผินๆคล้ายกับพวกเฟิร์นหรือต้นเดฟบางชนิด

โอพันเทียบางชนิดมีลำต้น
สีสวยงาม.
เล่าถึงการแพร่พันธุ์ข้ามทวีปแล้วก็มีเรื่องของโอพันเทียที่ต้องเล่าก็คือ การที่มันเติบโตได้ง่ายดายดังที่ได้บอกไว้ก่อนหน้านี้ ไอ้การเติบโตง่ายแบบนี้จะว่าดีก็ดี แต่ก็ส่งผลเสียอยู่ด้วยเช่นกัน

ในอดีต ที่ออสเตรเลียมีโอพันเทียแพร่ระบาดจนกลายเป็นปัญหาระดับชาติ จากเดิมที่มีการนำเข้าไปปลูกในศตวรรษที่ 18 เพื่อใช้เลี้ยงแมลงสำหรับอุตสาหกรรมสีย้อมผ้า แต่ว่าเจ้าโอพันเทียมันดันขยายพันธุ์ไวเกินไป เนื่องจากสภาพแวดล้อมของดินแดนใหม่เอื้อต่อการเติบโต ไม่มีศัตรูทางธรรมชาติ แถมยังมีนกหลายชนิดมากินผลซึ่งเต็มไปด้วยเมล็ดขนาดจิ๋วแล้วไปถ่ายมูลในที่ไกลๆ ช่วยกระจายเมล็ดพันธุ์ออกไปอย่างรวดเร็ว

แผ่นดินออสเตรเลียเต็มไปด้วยต้นโอพันเทียจากต่างแดน.
มีรายงานว่าโอพันเทียในนิวเซาท์เวลส์และควีนส์แลนด์นั้นแพร่พันธุ์กินพื้นที่ไปถึง 60 ล้านเอเคอร์ (151,800,000 ไร่) และขยายเพิ่มเรื่อยๆได้ถึงปีละล้านเอเคอร์ จนรัฐบาลต้องหาทางกำจัดสารพัดวิธี ทั้งระดมคนไปขุดไปเผา เอาลูกกลิ้งลากด้วยม้าและวัวบดขยี้ ใช้สารเคมีจำนวนมหาศาล รวมทั้งมีการตั้งค่าหัวนกที่กินผลโอพันเทีย เช่น หัวนกอีมูราคา 2 ชิลลิง 6 เพนนี ไข่นกอีมูฟองละ 1 ชิลลิง ซากอีกา 6 เพนนี ซากนกสครับแม็กไพน์ 4 เพนนี แต่ก็หยุดการระบาดไว้ไม่อยู่ มีการคำนวณว่าค่าใช้จ่ายในการกำจัดโอพันเทียในเวลานั้นแพงกว่าราคาที่ดินที่พวกมันขึ้นอยู่ซะอีก
ภาพวาดสื่อถึงโอพันเทียกำลังเป็นภัยคุกคามชาวออสเตรเลีย.

พริกลี่แพร์.
ใน ค.ศ. 1901 รัฐควีนส์แลนด์ตั้งรางวัลสูงลิ่วถึง 50,000 ปอนด์สำหรับผู้ที่หาทางกำจัดโอพันเทียพวกนี้ได้ บางคนเสนอว่าให้ใช้กระต่ายช่วยกินให้หมด (ปัญหากระต่ายจำนวนมหาศาล จากกระต่ายนำเข้าจำนวน ไม่กี่ตัวขยายพันธุ์กลายเป็นหมื่นล้านตัว ก็เคยทำเอาระบบนิเวศของออสเตรเลียที่ไม่เคยมีกระต่ายแทบย่อยยับเลยทีเดียว) ที่สุดโต่งก็ถึงกับเสนอว่าให้ใช้ก๊าซพิษฆ่าสัตว์ในแถบนั้นให้หมดเพื่อไม่ให้เป็นตัวช่วยขยายพันธุ์โอพันเทีย ฟังแล้วก็น่าเศร้า กลายเป็นว่าสิ่งมีชีวิตอื่นซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่เดิมต้องล้มตายไปมากมายเพื่อกำจัดพืชต่างถิ่นที่มนุษย์ซึ่งก็มาจากต่างถิ่นเอาเข้าไปเองแท้ๆ


ต่อมาในภายหลัง ออสเตรเลียสามารถยับยั้งการแพร่ระบาดของโอพันเทียไว้ได้สำเร็จ โดยการควบคุมด้วยหนอนผีเสื้อกลางคืนชนิดหนึ่ง เจ้าหนอนชนิดนี้จะกินแต่โอพันเทีย โดยเจาะทะลุทะลวงเข้าไปกินถึงเนื้อในลำต้นเลยล่ะครับ นับเป็นการควบคุมวัชพืชโดยชีววิธีที่ได้รับผลสำเร็จอย่างงดงาม

บางท่านอาจสงสัยที่ผมบอกว่ามีการนำโอพันเทียไปปลูกไว้ใช้เลี้ยงแมลงสำหรับอุตสาหกรรมทำสีย้อมผ้านั้นคืออะไร เรื่องมันเป็นอย่างนี้ครับ ในอดีตมีการนำตัวเพลี้ยชนิดหนึ่งหน้าตาคล้ายเพลี้ยแป้งบ้านเรา ชื่อว่าคอชินีล (Cochineal) มาบดเอาสีแดงเข้มจากข้างในตัวมันมาผลิตสีเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมย้อมผ้า โดยเรียกว่า สีแดงคาร์มีน (Carmine) สามารถนำไปผสมกับสารชนิดอื่นให้กลายเป็นเฉดสีต่างๆ เช่น ม่วง ชมพู หรือส้มได้ด้วย ซึ่งแมลงชนิดนี้จะอาศัยเกาะกินน้ำเลี้ยงอยู่บนต้นโอพันเทีย คล้ายกับที่แถบบ้านเราเลี้ยงครั่งไว้บนต้นจามจุรีและต้นไม้อื่นๆ นั่นแหละครับ

ใบอ่อนโอพันเทียนำมาทำอาหารได้หลายชนิด.
ในไทยเราก็เคยใช้ประโยชน์จากสีแดงของแมลงชนิดนี้ โดยเรียกกันว่าชาดอินจี ชาดลิ้นจี่ หรือสีลิ้นจี่ สตรีในอดีตใช้ทาปากรวมถึงนักแสดงงิ้วก็ใช้แต่งหน้าด้วยครับ สีแดงจากแมลงคอชินีลนิยมใช้กันมาตั้งแต่ยุคอาณาจักรมายา อาณาจักรแอส– เทค ต่อมาพวกสเปนไปยึดครองดินแดนอเมริกากลางก็เลยได้ความรู้นี้ และร่ำรวยด้วยการค้าขายสีย้อมจากคอชินีลซึ่งเป็นสินค้าสำคัญในยุคนั้น ทำให้อังกฤษซึ่งกำลังชิงดีชิงเด่นกันอยู่ยอมไม่ได้จึงนำโอพันเทียมาปลูกที่ออสเตรเลียอันเป็นอาณานิคมของอังกฤษเพื่อทำการผลิตบ้างดังที่กล่าวมาแล้ว

แมลงคอชินีล.
แต่ในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 
มีการค้นพบวิธีผลิตสีแดงสังเคราะห์จากสารเคมีที่ทำได้ง่ายกว่า สีแดงจากแมลงคอชินีลที่เคยขายดิบขายดีได้ราคาสูงก็เลยเสื่อมความนิยมลงไป มาถึงปัจจุบันก็แค่ใช้กันในงานเฉพาะอย่างเท่านั้นเองครับ.
Opuntia ficus-indica

ป่าเต้นรำในประเทศรัสเซีย

ค้นหา
ป่าเต้นรำในประเทศรัสเซีย
ถือเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่มีต้นไม้รูปร่างผิดปกติ สำหรับพื้นที่แห่งนี้ถูกเรียกว่า ป่าเต้นรำ (Dancing Forest) ตั้งอยู่ในมณฑลคาลินินกราด เขตการปกครองของสหพันธรัฐรัสเซีย 

ซึ่งตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลบอลติก
โดยจะมีลักษณะคล้ายกับ Crooked Forest หรือ ป่าสนโค้งงอ 
ซึ่งที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของของประเทศโปแลนด์ แต่รูปแบบของป่าเต้นรำแห่งนี้รูปแบบการโค้งงอข้องต้นไม้นั้นมีลักษณะไม่เหมือนกัน ส่วนสาเหตุที่แท้จริงของการโค้งงอนั้นยังไม่มีผู้ใดทราบ
(Dancing Forest)

หลับใหลนานกว่าศตวรรษคณะวิจัยคืนชีพเมล็ดพันธุ์บัวโบราณที่ขุดพบในพระราชวังหยวนหมิงหยวน


หลับใหลนานกว่าศตวรรษ! คณะวิจัยคืนชีพ ‘เมล็ดพันธุ์บัวโบราณ’ ที่ขุดพบในพระราชวังหยวนหมิงหยวน
ค้นหา
ดอกบัวที่ผลิบานอยู่ภายในพระราชวังฤดูร้อนเดิม หรือพระราชวังหยวนหมิงหยวน กรุงปักกิ่ง ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นดอกบัวที่เติบโตจากเมล็ดพันธุ์ที่สลบไสลอยู่ใต้ดินมานานกว่า 100 ปี
ดอกบัวที่ผลิดอกเบ่งบานเหนือน้ำดอกนี้กลายเป็นความมหัศจรรย์ที่บรรดานักท่องเที่ยวและช่างภาพจากทั่วสารทิศต่างให้ความสนใจมาชื่นชมและเก็บภาพ เพื่อเฉลิมฉลองและยินดีให้กับการเกิดใหม่ของมัน

ระหว่างการขุดค้นทางโบราณคดีเมื่อปี 2017 มีการค้นพบเมล็ดพันธุ์ดอกบัว 11 เมล็ดในสระน้ำแห่งหนึ่งภายในพระราชวังหยวนหมิงหยวน ซึ่งนักโบราณคดีคาดการณ์เบื้องต้นว่าเมล็ดพันธุ์เหล่านั้นถูกฝังอยู่ใต้ดินมานานกว่า 100 ปีแล้ว

หลี่เซี่ยงหยาง รองผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการพระราชวังหยวนหมิงหยวน ระบุว่าเป็นครั้งแรกที่มีการพบเมล็ดพันธุ์ดอกบัวนับตั้งแต่มีการขุดค้นทางโบราณคดีที่พระราชวังหยวนหมิงหยวน และเมล็ดพันธุ์เหล่านั้นก็เป็นหลักฐานอ้างอิงในการวิจัยวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของอดีตพระราชวังแห่งนี้
เจ้าหน้าที่ส่งตัวอย่างเมล็ดพันธุ์ 3 เมล็ดไปให้กับมหาวิทยาลัยปักกิ่งเพื่อระบุอายุที่แน่นอนโดยใช้คาร์บอน-14 (carbon-14) ส่วนเมล็ดพันธุ์อีก 8 เมล็ดถูกส่งไปยังคณะวิจัยที่สถาบันพฤกษศาสตร์ภายใต้สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (Chinese Academy of Sciences – CAS) เพื่อทดลองการเพาะปลูกในห้องทดลองเมื่อปี 2018 ผลปรากฏว่ามีเมล็ดพันธ์ 6 เมล็ดแตกหน่อ ผลิใบ และมีราก

จางฮุ่ยจิน หนึ่งในนักวิจัยของสถาบันฯ ระบุว่าที่ผ่านมาเมล็ดพันธุ์ดอกบัวโบราณเหล่านี้อยู่ในภาวะจำศีล เนื่องจากถูกฝังอยู่ในดินพีท (peat soil) ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำ ความชื้นต่ำ และได้รับการรบกวนจากเชื้อจุลิยทรีย์น้อย นอกจากนี้เปลือกแข็งภายนอกเมล็ดพันธุ์ยังช่วยปกป้องมันไม่ให้น้ำหรืออากาศผ่านเข้าออก

“แม้เราปลุกมันให้แตกหน่อได้แล้ว แต่เรายังคงเผชิญอุปสรรคในการเพาะปลูก เนื่องจากดอกบัวโบราณนี้มีอัตราการเติบโตที่ช้ากว่าและมีเวลาออกดอกค่อนข้างช้า และมันก็ไม่สามารถเติบโตได้ดีในกระถางด้วย” จางฮุ่ยจินกล่าว

เมื่อเดือนเมษายน คณะนักวิจัยตัดสินใจนำต้นอ่อนของบัวโบราณ 4 ต้นลงไปปลูกในสระบัวภายในพระราชวังหยวนหมิงหยวนเพื่อให้เติบโตท่ามกลางสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ โดยมีเจ้าหน้าที่ของพระราชวังฯ เป็นคนกำหนดสระบัว 4 แห่งที่จะให้ปลูกดอกบัวโบราณและเป็นผู้คอยดูแลดอกบัวเหล่านั้น ปรากฏว่าเวลาผ่านไป 2 เดือนกว่า เมื่อย่างเข้าสู่เดือนกรกฎาคม ดอกบัวโบราณเหล่านี้ก็ตื่นจากภาวะหลับใหล ผลิดอกเบ่งบานทักทายชนรุ่นหลังในศตวรรษที่ 21
จางฮุ่ยจินระบุว่า นอกจากดอกบัวโบราณที่พระราชวังหยวนหมิงหยวนแล้ว ทางสถาบันฯ ยังประสบความสำเร็จในการเพาะเมล็ดพันธุ์ดอกบัวโบราณที่ขุดพบจากเมืองอื่นๆ แล้ว เช่น เมืองต้าเหลียนในมณฑลเหลียวหนิง และเมืองไคเฟิงในมณฑลเหอหนาน ทั้งนี้ เมล็ดพันธุ์ดอกบัวอายุเก่าแก่ที่สุดที่ฟื้นคืนชีพสำเร็จนั้นนับเวลาย้อนกลับไปได้ถึง 1,000 ปี

วันอังคารที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2564

พืชประหลาดแห่งเทือกเขาแอนดีส ยาริตะ หนึ่งในสิ่งมีชีวิต ที่มีอายุมากที่สุดในโลก!


ค้นหา
เทือกเขาแอนดีส เทือกเขาที่ยาวที่สุดในโลก โดยยอดเขาที่สูงที่สุด คือ ยอดเขาอากอนกากวา หรือ อะ คองกากัว ยอดเขาที่มีความสูง ประมาณ 6,959 เมตร และเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในทวีปอเมริกาอีกด้วย แต่วันนี้เราไม่ได้มาพูดถึงเรื่องภูเขา แต่เรากำลังพูดถึงเจ้า Yareta หรือ Llareta ความมหัศจรรย์ทางธรรมชาติในเขตเทือกเขาแอนดีส

ผมเรียกมันว่า ยาริตะ (ไม่รู้อ่านแบบนี้ถูกรึเปล่า) หากมองผิวเผินแล้วหลายคนๆอาจมอง ว่าเป็นมอสหรือตะไคร่น้ำเขียวชะอุ่มที่เกาะอยู่ตามโขดหิน ทว่าในความเป็นจริงแล้วมันคือกลุ่มพืชในตระกูลไม้ดอกขนาดเล็กที่ชอบขึ้นบนก้อนหินในเขต ทะเลทรายอาตากามา (ทะเลทรายที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศเปรูไปถึงตอนเหนือของประเทศชิลี และยังขึ้นชื่อว่าเป็นทะเลทรายแห้งแล้งที่สุดแห่งหนึ่งของโลกอีกด้วย

เป็นพืชมหัศจรรย์ที่มีอายุมากกว่า 3,000 ปี ความพิเศษของพืชชนิดนี้ก็คือมันจะขึ้นเฉพาะในทะเลทรายเท่านั้น และที่สำคัญคัญคือจะสามารถพบเห็นพืช นิดนี้ได้ที่ระดับความสูงตั้งแต่ 3,200 – 4,500 เมตร 
  
ในบริเวณที่มีลมโกรกหรือกรรโชกตลอดเวลา พวกมันจะมีดอกเล็กๆ และถูกผสมเกสรโดยแมลง สำหรับการเจริญเติบโตนั้นแต่ละปีจะสูงเพียง 1.5 เซนติเมตร ปัจจุบันพืชชนิดนี้ถูกจัดให้เป็นพืชสงวนใกล้สูญพันธุ์อีกด้วย

สวนแปะก๊วยที่สวยที่สุดในประเทศญี่ปุ่น

สวนแปะก๊วยที่สวยที่สุดในประเทศญี่ปุ่น
ค้นหา
Custom Search
ต้นแปะก๊วยเรียงรายจำนวนมากเหล่านี้ตั้งอยู่บริเวณถนน Icho Namiki หรือ Ginkgo Avenue 
พื้นที่ Meiji-jingu Gaien Park 
กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
ที่มีต้นแปะก๊วยเรียงกันอยู่ราว 300 เมตร

เมื่อเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วงในญี่ปุ่นต้นต้นแปะเหล่านี้ก็เริ่มเปลี่ยนสีและค่อยๆ ร่วงลงมาเต็มพื้นถนนกลายเป็นพรมสีเหลืองที่สวยงาม
ถือเป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของนักท่องเที่ยวต่างประเทศ รวมไปถึงชาวญี่ปุ่นเอง


Meiji-jingu Gaien Park

อาคารหลังคาเขียวสุดงดงามในแถบสแกนดิเนเวีย

อาคารหลังคาเขียวสุดงดงามในแถบสแกนดิเนเวีย
ค้นหา
Custom Search
อาคารบ้านเรือนหลายหลังที่อยู่บนเกาะ Mykines ถูกสร้างขึ้นในรูปแบบหลังคาเขียว เพื่อป้องกันสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงที่เกิดขึ้นได้
Mykines ตั้งอยู่ในหมู่เกาะแฟโรหมู่เกาะในทวีปยุโรป ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติก ระหว่างสกอตแลนด์ นอร์เวย์ และไอซ์แลนด์ ปัจจุบันเกาะแห่งนี้มีประชากรลดลงเรื่อย ๆ ถือเป็นเกาะที่พบนกได้หลายสายพันธุ์หนึ่งในนั้นคือนกพัฟฟิน

หลังคาเขียวยังเป็นที่ขึ้นของพืชและที่อยู่อาศัยพักพิงของแมลงและสัตว์อื่นๆ ที่มีที่ขึ้นและที่มาอยู่อาศัยจำกัดมากขึ้นในเมืองใหญ่ แม้บนหลังอาคารสูง 19 ชั้นในเมืองใหญ่ก็ยังพบว่าหลังคาเขียวเป็นที่อยู่อาศัยและพักพิงของสัตว์ที่มีประโยชน์ประภทแมลง นก ผึ้งและผีเสื้อ 
หลังคาเขียวเพิ่มความเป็น “ป่า” ที่เป็นที่พักพิงของนกที่ร้องไพเ ราะ นกอพยพและสัตว์อื่นที่มีที่พักพิงน้อยลง
Mykines


รายการบล็อกของฉัน