ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2559

ต้นแจง

แจง
แจง ชื่อวิทยาศาสตร์ Maerua siamensis (Kurz) Pax (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ว่า Crateva mucronulata Kuntze, Niebuhria siamensis Kurz) จัดอยู่ในวงศ์กุ่ม (CAPPARACEAE หรือ CAPPARIDACEAE)

สมุนไพรแจง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า แกง (นครราชสีมา), แก้ง แจ้ง เป็นต้น

ลักษณะของต้นแจง
ต้นแจง หรือ ต้นแกง มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทย กัมพูชา และเวียดนาม โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กไม่ผลัดใบ พบได้บ้างที่เป็นไม้พุ่มเตี้ย ๆ เป็นพรรณไม้โตช้า มีความสูงของต้นได้ประมาณ 5-10 เมตร แตกกิ่งแขนงมากมายคล้ายกับไม้พุ่ม กิ่งก้านแตกออกแผ่เป็นรูปร่ม เปลือกลำต้นเป็นสีเขียวเข้มจนเกือบดำ เปลือกเรียบหรือแตกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดหรือวิธีการตอนกิ่ง สามารถขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด พบขึ้นได้ในป่าละเมาะ ป่าดิบแล้ง ป่าผสมผลัดใบ ป่าเต็งรังแล้ง ป่าโปร่งแห้ง เขาหินปูน ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 0-400 เมตร โดยจะพบได้มากทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ใบแจง มีใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกสลับกัน มีใบย่อย 3 ใบ (บางครั้งอาจพบว่ามี 4-5 ใบ แต่พบได้น้อย) ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ รูปไข่กลับ รูปขอบขนาน หรือรูปแถบ ปลายใบสอบเรียว หรือกลม หรือเว้าตื้นเล็ก ๆ มีหนามแหลมสั้น ๆ โคนใบสอบ เป็นรูปลิ่มหรือมน ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-7 เซนติเมตร แผ่นใบหนาและเกลี้ยงทั้งสองด้าน (บ้างว่าบางคล้ายแผ่นกระดาษ) แผ่นใบแตกแขนงมาก ก้านช่อใบยาวประมาณ 1.5-6.5 เซนติเมตร ส่วนก้านใบย่อยสั้นจนเกือบไม่มี

ดอกแจง ออกดอกเป็นข่อเชิงหลั่นหรือช่อกระจะ รวมเป็นช่อแยกแขนง โดยออกเป็นช่อตามซอกใบหรือที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยเป็นสีเขียวอมสีขาว ดอกไม่มีกลีบดอก มีแต่มีกลีบเลี้ยงดอก 4 กลีบ โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็นแฉกรูปไข่ มีขนาดกว้างประมาณ 0.2-0.3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 0.7-1 เซนติเมตร ปลายแหลม

ส่วนขอบมีขนคล้ายกับเส้นไหม เมื่อดอกบานจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวน 9-12 อัน ก้านเกสรยาวประมาณ 10-15 มิลลิเมตร ติดทน มีอับเรณู
ลักษณะเป็นรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 1.5-2 มิลลิเมตร ปลายอับเรณูเป็นติ่ง ส่วนก้านเกสรเพศเมียเกลี้ยง ยาวประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ผิวเกลี้ยง มีรังไข่เป็นรูปทรงกระบอกเกลี้ยง โดยจะออกดอกในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคม

ผลแจง ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมรี หรือรูปกระสวย ผลมีขนาดกว้างประมาณ 1.3-1.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร ส่วนก้านผลยาวประมาณ 4.5-7.5 เซนติเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเข้ม ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 2-3 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปไต โดยจะออกผลในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน

ประโยชน์ของแจง
*ดอกอ่อน ยอดอ่อน นำมาดองคล้ายกับผักเสี้ยนหรือ
*ดอกกุ่ม ใช้รับประทานร่วมกับน้ำพริกได้
*ยอดอ่อนของต้นแจงสามารถนำมาดองก่อนนำมารับประทานได้ หรือที่อีสานเรียกว่า “คั้นส้ม” เช่นเดียวกับการกินยอดผัดกุ่ม ที่ต้องนำมาดองหรือคั้นส้มก่อนนำมารับประทาน และคนอีสานยังเชื่อว่าหากได้รับประทานคั้นส้มของยอดอ่อนของต้นแจงปีละครั้ง 
*จะช่วยป้องกันสภาวะสายตายาวได้ และยังช่วยบำรุงสายตาได้ดีเยี่ยมอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีข้อมูลอื่นที่ระบุด้วยว่าผลก็สามารถนำมารับประทานได้ (แต่ไม่อร่อยจึงไม่เป็นที่นิยม) และใช้เป็นอาหารของนกได้
*ต้นแจงจัดเป็นไม้ยืนต้นที่มีคุณค่าและมีประโยชน์ เป็นต้นไม้หายากที่กำลังจะถูกลืมเพราะไม่เป็นที่รู้จักกันนัก จึงควรค่าแก่การอนุรักษ์ เหมาะแก่การนำมาปลูกเป็นไม้ประดับเพื่อชื่นชมความงามของดอกและผลที่มีลักษณะสวยงามและแปลกตา อีกทั้งยังเป็นต้นไม้ที่มีทรงพุ่มสวยงาม เหมาะใช้ปลูกเพื่อตกแต่งภูมิทัศน์ ปลูกให้ความร่มรื่นและร่มเงาได้เป็นอย่างดี
มีการใช้ลำต้นของต้นแจงเพื่อเป็นส่วนผสมหลักในการผลิตลูกแป้งหรือแป้งข้าวหมากด้วย
*ไม้สีขาวอ่อนและล่อนเป็นกาบ ๆ ของต้นแจง นิยมนำมาเผาเอาถ่าน เพื่อทำถ่านที่มีคุณภาพดี และยังนำถ่านที่ได้มาทำเป็นดินปืน นอกจากนี้ยังนิยมนำมาทำเป็นถ่านอัดในบั้งไฟอีกด้วย
*ใบของต้นแจงเมื่อในสมัยก่อนนั้นจะนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการเผาขนสัตว์ เช่น กระจอก
นอกจากนี้ยังสามารถนำมาใช้เพื่อแจกแจงอายุขวบขัยของวงปีต้นไม้ได้ สังเกตได้การตัดไม้ตามขวางของ
*ลำต้นจะเห็นวงปีได้ชัดเจน จึงนำนิยมนำมาใช้เป็นตัวอย่างในการเรียนการสอยทางชีววิทยา




รายการบล็อกของฉัน