ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2565

ให้เราช่วยไหม...เพื่อนมนุษย์? ภาพความห่วงใยของอุรังอุตังถึงเพื่อนมนุษย์ สายใยเชื่อมโยงต่างสายพันธุ์

ให้เราช่วยไหม...เพื่อนมนุษย์? ภาพความห่วงใยของอุรังอุตังถึงเพื่อนมนุษย์ สายใยเชื่อมโยงต่างสายพันธุ์

จับภาพอุรังอุตังยื่นมือช่วยเจ้าหน้าที่ที่อยู่ในน้ำ ขณะเจ้าหน้าที่เคลียร์พื้นที่ ไม่ให้งูทำอันตรายต่ออุรังอุตัง แสดงความห่วงใย สายใยสองสายพันธุ์

ช่างภาพสมัครเล่น Anil Prabhakar จับภาพมิตรภาพอันแสนน่ารัก ลิงอุรังอุตังยื่นมือไปช่วยชายหนุ่มที่อยู่ในน้ำ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นที่ Samboja, East Kalimantan บนเกาะ Borneo อินโดนีเซีย

Prabhakar ออกเดินป่ากับเพื่อนของเขา ซึ่งเป็นป่าอนุรักษ์ดูแลโดย Borneo Orangutan Survival Foundation (BOS) องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรในอินโดเนเซียที่ช่วยดูแลอุรังอุตังที่ใกล้สูญพันธ์บนเกาะบอร์เนียวและรักษาสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ของมัน

Prabhakar เล่าว่า เจ้าหน้าได้รับแจ้งมาว่าพบงูหลายตัวในบริเวณ พวกเขาจึงเข้าไปในป่าแถบนั้นเพื่อจับงูและเคลียร์พื้นที่ ไม่ให้ไปทำร้ายอุรังอุตัง

ในขณะที่เจ้าหน้าที่ลงไปในน้ำโคลนเพื่อเคลียร์พื้นที่ ลิงอุรังอุตังตัวนึงเข้าไปใกล้เขาและมองด้วยความสงสัย หลังจากนั้นมันได้ยื่นมือออกไป ราวมันต้องการจะบอกว่า "ให้ช่วยอะไรไหม"

Prabhakar ที่ยืนดูเหตุการณ์อยู่ตรงนั้นจึงหยิบกล้องมาแชะภาพ โดยเขากล่าวว่า มันยากที่เจ้าหน้าที่จะเคลื่อนที่ได้ในโคลน น้ำที่ไหลแรง

ช่างภาพมือสมัครเล่นคนนี้เผยว่า เขาไม่คิดว่าจะได้เห็นเหตุการณ์แบบนี้ มันเป็นโมเม้นต์ที่อ่อนไหวและประทับใจมากๆ

งูพิษนั้นเป็นสัตว์ที่เป็นอันตราย โดยมันเป็นนักล่าอุรังอุตัง ซึ่งนอกจากนี้อุรังอุตังยังโดนภัยคุกคามจากการสูญเสียที่อยู่อาศัย และการล่ามันอีกด้วย

Prabhakat เผยว่าเขาดีใจอย่างมาก ที่โมเม้นต์นี้เกิดขึ้นกับเขา

In primates, recognition of snakes is instinctive, but fear of snakes is learned. Today, caretakers of the jungle school set about teaching them.

นักวิจัยค้นพบ ‘มดตัดใบไม้’ มี Calcareous biomineral เป็นเหมือน เกราะที่หุ้มแข็ง พบครั้งแรกในโลกของแมลง

นักวิจัยค้นพบ ‘มดตัดใบไม้’ มี Calcareous biomineral เป็นเหมือน เกราะที่หุ้มแข็ง พบครั้งแรกในโลกของแมลง

ไบโอไมเนอรัล (Calcareous biomineral) เป็นเปลือกหุ้มแข็งที่เหมือนเกราะซึ่งพบในสัตว์หลายชนิดในประวัติศาสตร์ของวิวัฒนาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสัตว์จำพวกครัสเตเชียที่มีเปลือกเป็นเอกลักษณ์ของพวกมัน เช่น กุ้งและปู แต่ค่อนข้างน่าแปลกใจที่เกราะแบบนี้ไม่เคยเห็นมาก่อนในแมลงซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกับสัตว์จำพวกครัสเตเชีย แต่ขณะนี้นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบหลักฐานแรกของแคลไซต์ที่มีแมกนีเซียมสูงในเปลือกหุ้มโครงกระดูกภายนอกของมดตัดใบไม้ (Acromyrmex echinatior)

หลายปีที่ผ่านมา Cameron Currie ศาสตราจารย์ด้านแบคทีเรียวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน ได้ทำการศึกษาแบคทีเรียสเตรปโตไมซิส .. Currie และเพื่อนร่วมงานของเธอแสดงให้เห็นว่าจุลินทรีย์เหล่านี้ ให้การป้องกันการติดเชื้อแก่มดตัดใบไม้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ทั้งมดและแบคทีเรียไมโครไบโอมของพวกมัน อาจกลายเป็นแหล่งใหม่ของยาปฏิชีวนะได้ โดยคำนึงถึงการเพิ่มขึ้นของแบคทีเรียที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะอย่างน่ากลัว งานวิจัยนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง และอาจถึงขั้นสำคัญที่สุดด้วยซ้ำ

ในขณะที่พวกเขากำลังศึกษามดตัดใบไม้ในความพยายามที่จะศึกษาเรื่องการป้องกันการติดเชื้อ .. Hongjie Li นักวิทยาศาสตร์จากห้องทดลองของ Currie ได้ค้นพบผลึกบนพื้นผิวของโครงสร้างภายนอก เมื่อตรวจสอบอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว ปรากฏว่ามันเป็นไบโอไมเนอรัล ซึ่งพบครั้งแรกในโลกของแมลง

ในเช้าวันที่ Li สแกนเอ็กซ์เรย์ของมด เขาแทบไม่เชื่อสายตาตัวเอง ..“ฉันส่งข้อความหา Cameron ทันที โดยพูดว่า ‘ฉันเจอมดหุ้มเกราะ’ ตอนนี้ฉันยังสัมผัสได้ถึงช่วงเวลาแห่งความสุข” Li ซึ่งเป็นผู้เขียนงานวิจัยชิ้นใหม่ที่ตีพิมพ์ใน Nature Communications กล่าวกับทาง ZME Science

การทดลองด้วยการเลี้ยงในหลอดทดลองครั้งต่อมาพบว่า เกราะแคลไซต์ที่อุดมด้วยแมกนีเซียมพัฒนาเมื่อมดโตเต็มที่ จึงเป็นการเพิ่มความแข็งของโครงกระดูกภายนอกของพวกมัน ..ปริมาณแมกนีเซียมสูงของเกราะนั้นน่าตื่นเต้นเป็นพิเศษ เพราะมันหายากมาก “ดังนั้น มดของเราจึงมีเกราะที่แข็งแรงและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว”

มดงานพร้อมกับเกราะเสริมภายนอกที่มีแร่ธาตุทางชีวภาพ มีแนวโน้มที่จะอยู่รอดเมื่อเผชิญหน้ากับมดทหาร (Atta cephalotes) ตามการสังเกตของนักวิจัย ยิ่งไปกว่านั้น ชุดเกราะยังช่วยป้องกันการติดเชื้อจากเชื้อรา Metarhizium anisopliae ที่ก่อให้เกิดโรคอีกด้วย

เห็นได้ชัดว่ามีเหตุผลบางประการที่ทำให้ชุดเกราะดังกล่าว ได้รับการสนับสนุนโดยการคัดเลือกจากธรรมชาติ แต่ที่น่าสนใจคือ นักวิจัยได้เปรียบเทียบการทำฟาร์มแบคทีเรียของมดกับการเกษตรของมนุษย์

“มดตัดใบไม้มีวิวัฒนาการเมื่อประมาณ 20 ล้านปีก่อน และมีความสำคัญทางนิเวศวิทยาในเขตร้อนของโลกใหม่ ความสำเร็จของพวกมันสอดคล้องกับบทบาทสำคัญของการเกษตรของมนุษย์ทั่วโลกในช่วง 10,000 ปีที่ผ่านมา ในเรื่องการเกษตรระหว่างมดและมนุษย์มีความคล้ายคลึงกัน

เช่นเดียวกับเชื้อก่อโรคในพืช ที่ก่อให้เกิดโรคระบาดตลอดช่วงประวัติศาสตร์การเกษตรของมนุษย์ พืชและมดมีความอ่อนไหวอย่างมากต่อเชื้อโรคเฉพาะทางที่วิวัฒนาการมาเพื่อเล่นงานพวกมัน เช่นเดียวกับที่มนุษย์พึ่งพาสารเคมีเพื่อปกป้องพืชผลที่ปลูกขึ้นมา มดได้พัฒนาการใช้แบคทีเรียเพื่อให้ได้ยาปฏิชีวนะเพื่อควบคุมการติดเชื้อในพืช” Currie กล่าวกับ ZME Science

 “การค้นพบชุดเกราะไบโอไมเนอรัลในมดตัดใบไม้ของเรา ทำให้เกิดเรื่องใหม่ที่น่าตื่นเต้นกับมนุษย์ นั่นคือวิวัฒนาการของเกราะป้องกันสำหรับการทำสงครามการเกษตรกับศัตรูพืช” เธอกล่าวเสริม

อาจมีแมลงที่มีเกราะไบโอไมเนอรัลมากกว่านี้ สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ไม่ปกติ เพราะแมลงส่วนใหญ่มีโครงกระดูกภายนอกที่แข็งแรงอยู่แล้ว ซึ่งโดยทั่วไปให้การป้องกันที่เพียงพอ ในอนาคต Currie และเพื่อนร่วมงานต้องการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมว่าไบโอไมเนอรัลก่อตัวอย่างไร ตลอดจนต้นกำเนิดวิวัฒนาการของเกราะของมดที่เติบโตในสวนของเชื้อรา

รายการบล็อกของฉัน