ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2559

ต้น สามพันตา


สามพันตา ถือว่าเป็นพันธุ์ไม้ที่มีความต้องการสูงและราคาแพง

ลักษณะไม้ดอกไม้ประดับ สามพันตา
สามพันตา ถือว่าเป็นพันธุ์ไม้ที่มีความต้องการสูงและราคาแพงเนื่องจากเป็นพันธุ์ไม้ที่หายากและไม่ค่อยจะมีใครปลูก ซึ่งตัวผมเองก็เคยเห็นแต่ในภาพเท่านั้นไม่เคยเห็นหน้าตาของต้นสามพันตาแบบจัง ๆเลยซักครั้งเดียว จากในภาพก็ทำให้รู้เลยว่าสามพันตาเป็นพันธุ์ไม้ที่น่าค้นหาด้วยรูปแบบการออกดอกที่ไม่เหมือนใครนั่นเอง นอกจากชื่อสามพันตาแล้วยังสามารถเรียกได้อีกอย่างว่า สำปันตา ซึ่งจะพ้องเสียงกัน

สามพันตา ต้องการแสงแดดตลอดทั้งวัน
สามพันตามีรูปลักษณ์เป็นพันธุ์ไม้ขนาดเล็กความสูงประมาณ 3 เมตรเห็นจะได้ เป็นต้นไม้ทรงพุ่มโปร่ง ความยาวของกิ่งก้านในแนวขนานกับพื้นดินมีน้อย จึงสามารถตัดแต่งกินทรงพุ่มให้มีรูปร่างทรงแท่งตามเรขาคณิตแบต่าง ๆในแนวตั้งได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียวและการตัดแต่งกิ่งก็ทำได้อย่างง่ายดายด้วย ใบจะมีสีเขียวเข้มรูปไข่หรือไข่กลับ หลายใบแหลม ก้านและเส้นใบมองเห็นได้อย่างชัดเจน

สามพันตามีรูปลักษณ์เป็นพันธุ์ไม้ขนาดเล็กความสูงประมาณ 3 เมตร

สามพันตา จะออกดอกในช่วงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ จนถึงเดือนมีนาคมของทุกปี ลักษณะของดอกจะเป็นช่อยาวสีชมพูสวยงามแปลกตา เมื่อดอกร่วงโรยก็จะติด

ผลเล็ก ๆสีเขียวสด เมื่อผลสุกจะเป็นสีเหลือ หรือสีน้ำตาลในที่สุด จากการที่สามพันตาเป็นต้นไม้ในแนวตั้ง ต้องการพื้นที่การปลูกเลี้ยงไม่มากนัก จังเหมาะสำหรับการปลูกเลี้ยงในบ้านที่มีพื้นที่น้อยอย่างทาวน์เฮ้าส์ เป็นต้นหรือบริเวณระเบียงอาคารก็สามารถปลูกได้เช่นกัน

ลักษณะพวงดอกของต้นสามพันตา
สามพันตา สามารถที่จะขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย ต้องการแสงแดดตลอดทั้งวัน ในสภาพธรรมชาติแล้วสามพันตามันจะถูกพบเห็นในที่โล่งในป่าโปร่งแทบทุกภาคของประเทศไทย เฉพาะราชบุรี และประจวบคีรีขันธ์

สามพันตาเป็นพันธุ์ไม้ที่หายากและไม่ค่อยจะมีใครปลูก

ต้น ไข่นกกระทา


ต้นไข่นกกระทา (Distylium indicum Benth.ex Clarke) เป็นไม้ต้นสูงไม่เกิน 8 เมตร 

ลำต้นมักคดงอ เปลือกเรียบสีนํ้าตาลอมเทา 

ใบเป็นชนิดใบเดี่ยวติดเรียงสลับรูปมนหรือรูปไข่กลับ กว้าง3-6 เซนติเมตร ยาว 6-14 เซนติเมตร ปลายใบหยัก คอดเป็นติ่งแหลม โคนใบมนหรือสอบเล็กน้อย เนื้อใบค่อนข้างหนาเกลี้ยง ท้องใบมักเป็นคราบขาว เส้นใบย่อยจะเชื่อมต่อกัน กลายเป็นเส้นขอบใน ดอกสีขาวหรือเหลืองอ่อน เป็นประเภทดอกเปลือย คือไม่มีกลีบดอกและกลีบรองกลีบดอกรองรับ ออกรวมกันเป็นช่อสั้น ๆ 

ผลเป็นชนิดผลแห้ง รูปป้อม ๆ ผิวแข็ง พอแห้งจะแตกตามรอยประสานทางปลายผล

ไข่นกกระทา พบครั้งแรกในประเทศไทย ประมาณปี 2517 ที่บริเวณห้วยนํ้าพรม ภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ต่อมาพบที่ ภูกระดึง จังหวัดเลย และ เขาเขียว จังหวัดชลบุรี ส่วนใหญ่จะพบบริเวณใกล้ห้วยในป่าดงดิบทั้งนั้น และมีปริมาณน้อยมาก 

เป็นที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งว่า ตามกิ่งของต้นไข่นกกระทานั้น จะมีปมสีนํ้าตาลที่เกิดจากการกระทำของเชื้อรา หรือแมลงบางชนิดติดอยู่ดูคล้าย ๆ กับเป็นผลของต้นไข่นกกระทา ปกติไข่นกกระทาจะออกดอกเป็นผลระหว่างเดือนมกราคม ถึงเมษายน ตามหอพรรณไม้ต่าง ๆ ของไทย มีตัวอย่างเก็บอยู่เพียง 3 หมายเลขเท่านั้น แสดงว่าค่อนข้างหายาก

ต้นสามพันปี


Dacrydium elatum (Roxb.) Wall. ex Hook.
ชื่ออื่น จวงผา พญามะขามป้อม (เลย) สนสร้อย พญาไม้ (เพชรบูรณ์)
        
สามพันปีเป็นไม้ต้น สูง 10–25 ม. เรือนยอด รูปกรวยหนาทึบถึงแผ่กว้าง ปลายกิ่งมักย้อยห้อยลง ลำต้นเปลาตรง เปลือกต้นสีเทาอ่อน ค่อนข้างเรียบ และล่อนเป็นสะเก็ดบางๆ ใบ มี 2 ลักษณะ ใบอ่อนรูปเข็ม ยาวประมาณ 1 ซม. หลังใบเป็นร่องตื้นเกาะชิดกันบนกิ่งเป็นพวงยาว สีเขียวเข้มเป็นมัน 

ใบแก่ตามกิ่งที่ออกดอกและผลแล้ว เป็นเกล็ดรูปสามเหลี่ยมแนบชิดกับกิ่ง ยาวประมาณ 0.15 ซม. ดอก แยกเพศอยู่ต่างต้นกัน ดอกเพศผู้มีกาบขนาดเล็กหุ้ม เรียงอัดกันแน่น ออกเป็นช่อทรงกระบอกตามปลายกิ่ง ดอกเพศเมียออกเดี่ยวอยู่ปลายกิ่ง โดยมีรังไข่ตั้งอยู่บนปลายก้านที่พองออก ผล กลมรี

สามพันปีมีการกระจายพันธุ์ในป่าดิบเขาใกล้ลำธารทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ ที่ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง
500–1,300 ม. ในต่างประเทศพบที่พม่า ลาว กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์

สามพันปี [Dacrydium elatum (Roxb.) Wall.ex.Hook] ไม้ต้นสูงถึง 35 เมตร เรือนยอดรูปเห็ดหรือรูปกรวยคว่ำค่อนข้างทึบ กิ่งลู่ห้อยย้อยลง เปลือกลำต้นเป็นสะเก็ดสีนํ้าตาลปนเทาเมื่อสะเก็ดหลุดใหม่ ๆ จะทำให้ผิวเปลือกเป็นรอยด่างแต้มอยู่ทั่วไป ใบเป็นชนิดใบเดี่ยวมีสองแบบ ถ้าเป็นใบอ่อนหรือตามกิ่งที่ยังไม่มีดอกออกผล ใบจะเรียวคล้ายหนามหรือเส้นลวดโค้ง ๆ ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ติดเวียนซ้อนกันตามกิ่งเป็นพวงคล้ายหางกระรอก 

ถ้าใบที่อยู่ตามกิ่งที่มีดอกออกผล ใบจะเปลี่ยนรูปเป็นเกล็ดรูปสามเหลี่ยมกอดแนบไปตามกิ่งดอก ดอกเพศผู้และเมียอยู่ต่างช่อหรือต่างต้นกัน ดอกเพศผู้จะออกรวมกันเป็นช่อที่ปลายกิ่งเป็นรูปกระบองเล็ก ๆ ยาวไม่เกินหนึ่งเซนติเมตร ดอกเพศเมีย เป็นดอกเดี่ยว ๆ ออกตามปลายกิ่งย่อยเช่นกัน โคนดอกจะมีกาบเล็ก ๆ ประสานหุ้มอยู่ ผลรูปไข่เล็ก ผิวเกลี้ยงสีน้ำตาล ติดอยู่บนฐานผลสีแดงเข้มที่ค่อนข้างบวมพองรองรับอยู่

สามพันปี เป็นพันธุ์ไม้ภูเขาที่อยู่สูงจากระดับนํ้าทะเล ตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป เท่าที่พบมีบนภูกระดึง และภูหลวง จังหวัดเลย ภูเมี่ยง จังหวัด พิษณุโลก ป่านํ้าหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ เขาเขียว จังหวัดนครนายก และเขากวบ จังหวัดตราด แต่มีแห่งละไม่มากนัก เพราะเมล็ดไม่ค่อยสมบูรณ์ งอกยากมาก อีกทั้งในช่วงเป็นกล้าไม้ชอบแสง ถ้าถูกพืชอื่นบังอยู่ก็จะตายไปหมด 
จึงจำเป็นที่จะต้องเข้าไปช่วยเหลือในการสืบพันธุ์ และขยายพันธุ์ตามธรรมชาติด้วย ปกติสามพันปีจะออกดอกเป็นผลระหว่างเดือน ธันวาคมต่อถึงเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไป

ความจริงในวงศ์ (Family) นี้ อยากจะพูดถึงไม้ซางจิง Podocarpus motleyi (Pari.) Dummer มากกว่า แต่ไม่มีภาพประกอบ เพราะตั้งแต่สำรวจเก็บพันธุ์ไม้ในเมืองไทยมา มีการเก็บได้ครั้งเดียวเท่านั้น เมื่อประมาณสามสิบปีที่แล้ว ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ที่แปลก คือแทนที่จะขึ้นตามภูเขากลับไปขึ้นตามป่าพรุ พันธุ์ไม้นี้เก็บได้จากท้องที่จังหวัดนราธิวาส เข้าใจว่าคงจะสูญพันธุ์ไปจากเมืองไทยแล้วจริง ๆ ในเวลานี้

ต้นมณเฑียรทอง


ต้นมณเฑียรทอง (Torenia hirsutissima Bonati) เป็นพืชล้มลุกกึ่งเลื้อยสูงไม่เกินหนึ่งเมตร ลำต้นมักทอดเอนไปตามพื้นดิน มีขนยาว ๆ สีขาวตลอดลำต้น ใบเป็นชนิดใบเดี่ยวติดตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ และแต่ละคู่สลับทิศทางกัน ใบรูปไข่ กว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร มีขนทั่วไป โคนใบป้านและค่อย ๆ เรียวแหลมไปทางปลายใบ ขอบใบหยักถี่ ๆ 

ดอกโตสีเหลืองสดใส ออกเดี่ยว ๆ ตามปลายกิ่งและง่ามใบ ก้านดอกอาจยาวถึง 3 เซนติเมตร กลีบรองกลีบดอกมี 5 แฉกแหลม ๆ โคนกลีบติดกันเป็นรูปกรวย กลีบดอกรูปแตรปากกว้าง 

โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายผายกว้างและแยกเป็น 5 แฉกตื้น ๆ สามแฉกล่างขนาดไล่เลี่ยกัน ส่วนสองแฉกบนจะประสานกันเป็นสันแหลม เกสรผู้มีสองคู่ สั้นหนึ่งคู่ยาวหนึ่งคู่ ทั้งคู่ติดอยู่โคนหลอดกลีบดอกด้านใน ผลรูปยาวรี ๆ พอแก่จะแตกตามรอยประสาน เผยให้เห็นเมล็ดเล็ก ๆ มากมาย

มณเฑียรทอง พบขึ้นเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ตามทุ่งหญ้า ชายป่าดงดิบเขาบนภูกระดึง ที่สูงจากระดับนํ้าทะเลประมาณ 1,000 เมตร พื้นที่ค่อนข้างชุ่มชื้นหรือแฉะเล็กน้อย ดินค่อนข้างเป็นดินทราย และพบเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้น 

โชคดีที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติภูกระดึง จึงทำให้ปลอดภัยอยู่ได้ตราบเท่าทุกวันนี้ แต่ก็น่าเป็นห่วงว่าการแพร่พันธุ์อยู่ในเขตจำกัดมาก ถ้าบริเวณนั้นเปลี่ยนแปลงไปในทางลบ มณเฑียรทองก็อาจจะสาบสูญไปก็ได้ปกติมณเฑียรทองจะออกดอกบานสะพรั่งในระหว่างเดือนพฤษภาคม – ตุลาคม

ชะพลู สรรพคุณของใบชะพลู


ชะพลู สรรพคุณของใบชะพลู และประโยชน์ของใบชะพลู !!

ชะพลู ชื่อภาษาอังกฤษ : WildbetalLeafbush มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Piper sarmentosumRoxb. สำหรับชื่ออื่นๆ ภาคเหนือจะเรียกว่า "ผักพลูนก" "พลูลิง" "ปูลิง" "ปูลิงนก" หรือ "ผักปูนา" ทางภาคกลางจะเรียกว่า "ช้าพลู" สำหรับภาคอีสานก็จะเรียกกันว่า "ผักแค" "ผักอีเลิด" "ผักนางเลิด" และสำหรับภาคใต้จะเรียกกันว่า "นมวา"

ลักษณะของต้นชะพลู
ชะพลูเป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก มักขึ้นทั่วไปตามที่เปียกชื้น ปลูกขึ้นง่าย เจริญเติบโตได้ดี มีลักษณะเป็นเถาเลื้อยอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ลำต้นแบ่งเป็นข้อโดยตามข้อจะมีรากช่วยในการยึดเกาะ มีกลิ่นเฉพาะตัวใบมีสีเขียวสดเป็นมัน คล้ายกันกับใบ พลูที่ใช้เคี้ยวกินกับหมาก ฐานใบกว้าง ปลายใบแหลมคล้ายรูปหัวใจหรือใบโพธ์เล็กน้อย เห็นเส้นใบชัดเจน ใบมีกลิ่นฉุน มีรสเผ็ดเล็กน้อย ดอกสีขาวมีขนาดเล็กจะออกเป็นช่อ

สรรพคุณของใบชะพลู
ดอก : ทำให้เสมหะแห้ง ช่วยขับลมในลำไส้
ราก : ขับเสมหะให้ออกมาทางระบบขับถ่าย ขับลมในลำไส้ ทำให้เสมหะแห้ง
ต้น : ขับเสมหะในทรวงอก
ใบ : มีรสเผ็ดร้อน ทำให้เจริญอาหาร ขับเสมหะ ในใบชะพลูมีสาร เบต้า-แคโรทีน สูงมาก

ข้อควรระวัง
อย่างไรก็ตามใบชะพลูก็มีข้อควรระวังที่สำคัญนั่นคือ ไม่ควรกินใบชะพลูในปริมาณมากเกินไปเพราะมีสารออกซาเลต (Oxalate) ที่หากสะสมในร่างกายมาก ๆ จะทำให้เกิดนิ่วในไตได้ แต่หากเรารับประทานในจำนวนพอเหมาะเว้นระยะบ้างเชื่อกันว่าชะพลูจะช่วยปรับธาตุในร่างกายให้สมดุล

ประโยชน์ของใบชะพลู
ในใบชะพลูมีสารอาหารที่สำคัญต่อร่างกายของมนุษย์อย่างมาก คือ แคลเซียมและวิตามินเอซึ่งจะมีสูงเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังมีฟอสฟอรัส เหล็ก เส้นใย และสารคลอโรฟิล ส่วนสรรพคุณทางยานั้นช่วยบำรุงธาตุ แก้จุกเสียด การกินใบชะพลูมาก ๆ ชนิดที่เรียกว่า กินกันทุกวัน กินกันแทบทุกมื้อ เช่น ชาวบ้านภาคอีสานนั้น แคลเซียมที่มีในใบชะพลูจะเปลี่ยนเป็นแคลเซียมออกซาเลท ซึ่งถ้าสะสมมาก ๆ อาจกลายเป็นนิ่วในไตได้ แต่โดยทั่ว ๆ ไปในชีวิตประจำวันก็ไม่มีใครกินชะพลูได้มากมายขนาดนั้น ถ้ากินใบชะพลูต้องกินร่วมกับเนื้อสัตว์ร่างกายจึงใช้แคลเซียมที่มีอยู่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

1.ช่วยในการขับถ่ายเนื่องจากมีเส้นใยในปริมาณมาก (ใบ)
2.เมนูใบชะพลู ก็ได้แก่ แกงคั่วไก่ใบชะพลู แกงคั่วหอยขมใบชะพลู หมูห่อใบชะพลู ไข่น้ำใบชะพลู ยำตะไคร้ใบชะพลู เมี่ยงปลาเผาใบชะพลู ผัดป่าใบชะพลู แกงอ่อมใบชะพลู ยำปลาทูใบชะพลู เป็นต้น
3.ใบชะพลูมี เบต้าแคโรทีน ในปริมาณมากซึ่งช่วยบำรุงและรักษาสายตา ช่วยในการมองเห็น ป้องกันโรคตา  บอดตอนกลางคืน แก้โรคตาฟาง เป็นต้น (ใบ)
4.ประโยชน์ของใบชะพลู ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระต่างๆ (ใบ)ชะพลู
5.ช่วยยับยั้งและชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง (ใบ)
6.ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่นท้อง ด้วยการใช้รากประมาณ 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวจนเหลือ 3 ใน 4 ถ้วยแก้วแล้วรับประทานครั้งละ 1 ส่วน 4 ถ้วยแก้ว (ราก,ทั้งต้น)
7.ช่วยบำรุงธาตุ แก้ธาตุพิการ (ราก)
8.ช่วยแก้อาการบิด ด้วยการใช้รากประมาณครึ่งกำมือ ใช้ผลประมาณ 3 หยิบมือ นำมาต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวจนเหลือ 1 ถ้วยแก้ว แล้วนำมาดื่มครั้งละ 1 ส่วน 4 ถ้วยแก้ว (ราก)
9.ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน และช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน (ใบ)
10.ช่วยทำให้เสมหะงวดและแห้ง (ดอก,ราก)ใบชะพลู
11.สรรพคุณของใบชะพลู มีรสเผ็ดร้อน ช่วยทำให้เจริญอาหารมากยิ่งขึ้น (ใบ)
12.สรรพคุณใบชะพลู ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ด้วยการใช้ชะพลูสดทั้งต้นประมาณ 7 ต้น นำมาล้างน้ำให้สะอาด ใส่น้ำพอท่วมแล้วต้มให้เดือดสักพัด แล้วนำมาดื่มเป็นชา (ทั้งต้น)
13.ช่วยในการขับเสมหะทางอุจจาระ (ราก)
14.ช่วยขับลมในลำไส้ ด้วยการใช้รากประมาณ 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวจนเหลือ 3 ใน 4 ถ้วยแก้วแล้วรับประทานครั้งละ 1 ส่วน 4 ถ้วยแก้ว (ดอก,ราก)
15.สรรพคุณชะพลู ช่วยในการขับเสมหะบริเวณทรวงอก ลำคอ (ใบ,ราก,ต้น)
16.รากชะพลูเป็นหนึ่งในส่วนผสม ของตำรับสมุนไพรพิกัดยาตรีสาร ซึ่งช่วยบำรุงธาตุ บำรุงโลหิต แก้คูถเสมหะ

รายการบล็อกของฉัน