ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ทากใบไม้


ทากใบไม้
ทากใบไม้ (Elysia Chlorotica) อาศัยอยู่ใต้น้ำ พบมากในประเทศสหรัฐฯ และแคนาดา

พวกมันมีสาหร่ายสีเขียวจำนวนมากอยู่ในร่างกาย สาหร่ายที่มันกินจะเข้าไปอยู่ตามร่างกายของมัน อีกทั้งมันยังสามารถปล่อยให้สาหร่ายสังเคราะห์แสงบนตัว เพื่อช่วยเติมพลังงานให้กับร่างกายของมันอีกด้วย และยิ่งมันตัวโตขึ้น สีเขียวก็จะแผ่ไปตามขนาดร่างกายมันที่ใหญ่ขึ้นตาม

และพลังงานเหล่านั้นก็มากพอที่จะทำให้มันอยู่อย่างแข็งแรง โดยสามารถอยู่ได้โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งอาหารใด เป็นเวลานานนับปี

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น พลังงานที่มันได้มาจากการสังเคราะห์แสง ไม่เพียงพอที่จะทำให้มันขยายพันธุ์ได้ ทำได้แค่ให้มันมีชีวิตอยู่ได้เท่านั้น

นอกจากจะสามารถสังเคราะห์แสงได้ด้วยตัวเองแล้ว สีเขียวบนตัวของมัน ยังสามารถใช้ในการอำพรางตัวได้เป็นอย่างดี และยังใช้ป้องกันศัตรูได้อีกด้วย

ดูคลิปประกอบ

วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ตำนาน ต้นคาเมลเลียสีเลือด


ต้นคาเมลเลียสีเลือด
โดยทั่วไปแล้ว...เราจะพบเจอกับดอกของต้นคาเมลเลียเป็นสีขาว สีชมพูแต่ตำนานอาถรรพ์บทนี้ กล่าวถึงดอกคาเมลเลียสีเลือด!!! โดยต้นคาเมลเลียเองเป็นที่นิยมปลูกไว้เป็นต้นไม้ประดับตามโรงเรียนส่วนมากในญี่ปุ่นเมื่อมีตำนานต้นคาเมลเลียสีเลือดขึ้นมาก็ชวนสยองมิใช่น้อยแต่เดิมนั้นต้นคาเมลเลียจะออกดอกเป็นสีขาวหรือชมพูอย่างที่บอกอาจจะมีบ้างที่เป็นสีแดง แต่สีเลือดนั้น...เป็นความหมายของความเศร้าอันสลด
ตำนานอาถรรพ์นั้นเล่าถึง...ในสมัยญี่ปุ่นโบราณที่ยังคงมีจารีตศักดินาเจ้าหญิงพระองค์หนึ่งหนีสงครามทางกานเมือง

ถูกฝ่ายศัตรูจับได้เจ้าหญิงตกเป็นเฉลยสงครามถูกจับมัดกับต้นคาเมลเลีย และทำการทรมานต่างๆ นานาเพื่อจะให้เจ้าหญิงเปิดเผยความลับของราชสำนักเจ้าหญิงมีความจงรักภักดีต่อราชวงศ์จึงมิปริปากบอกความลับอันใดเลยจนเจ้าหญิงสิ้นพระชนม์จากการถูกทรมาน
ร่างของเจ้าหญิงถูกฝังไว้ใต้ต้นคาเมลเลียต้นนั้นต้นคาเมลเลียสูบเลือดของเจ้าหญิงแทนน้ำวิญญาณแค้นของเจ้าหญิงผู้น่าสงสารจึงทำให้ดอกคาเมเลียเป็น “สีเลือด”

เรื่องเล่านี้กล่าวเป็นตำนานเล่าขานอันน่าเศร้า แต่ก็มิอาจจะมีใครทราบว่าต้นคาเมลเลียต้นใดเป็นต้นที่ฝังศพของเจ้าหญิงผู้น่าสงสารเด็กๆจึงรอคอยและเชื่อว่าต้นคาเมลเลียในโรงเรียนนั้นเป็นต้นที่สูบเลือดของเจ้าหญิงจึงเป็นต้นที่มีอายุมากกว่า 100ปีนี้จึงเชื่อกันใหญ่ว่ ต้นคาเมลเลียจะออกดอกกลายเป็นดอกสีเลือดทุกวันที่ 15 มิถุนา ของทุกปี เพื่อเป็นการลำลึกถึงเหตุการณ์โศกนาฏกรรมบทหนึ่งในอดีต

แต่ตำนานอาถรรพ์เรื่องนี้ยังมิอาจเชื่อได้เพราะไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์กล่าวถึงเจ้าหญิงพระองค์นี้และแถมยังว่าเป็นเรื่องเล่าที่สร้างขึ้นมาเพื่อแก้ไขความสงสัยถึงการเกิดดอกคาเมลเลียสีเลือดก็ได้เพราะดอกคาเมลเลียสีเลือดก็คือดอกคาเมลเลียสีดอกนั้นเองตำนานต้นไม้ที่ดูดเลือดคนกินเป็นน้ำเลี้ยงก็มีอยู่หลายตำนานมันก็คือ ปีศาจต้นไม้ดูดเลือดคนนั่นเอง...

ดอกไม้โครงกระดูก ดอกไม้ที่เปลี่ยนเป็นโปร่งแสงได้เวลาฝนตก


🌺สุดลึกลับ! ดอกไม้โครงกระดูก ดอกไม้ที่เปลี่ยนเป็นโปร่งแสงได้เวลาฝนตก Skeleton Flower หรือ
ดอกไม้โครงกระดูก 

สามารถพบได้เพียงแค่ 3 ที่บนโลกเท่านั้น โดยมันจะเติบโตในแถบเชิงเขาที่ชื้นและหนาวเย็นของประเทศญี่ปุ่น จีน และ แนวเทือกเขาในประเทศอเมริกา 

ต้นของมันสามารถเติบโตได้สูงสุดถึงเกือบครึ่งเมตร หรือบางต้นอาจสูงมากถึง 1 เมตร 

🌼ความพิเศษของดอกไม้ประเภทนี้
คือเมื่อโดนฝน กลีบของมันที่มีความละเอียดอ่อนจะกลายเป็นกลีบที่มีลักษณะโปร่งใส และเปร่งประกายเหมือนแก้ว


วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ต้นริบบิ้นชาลี

ริบบิ้นชาลี  ไม้กระถางสวยงาม
ริบบิ้นชาลี
(Mini Turtle Plant )

ลักษณะ ไม้ใบ อายุหลายปี ลำต้นอวบน้ำ แตกกิ่งก้านได้ดี เลื้อยได้ไกล 50-60 ซม. ใบรูปไข่ ขนาดเล็ก สีเขียว ใต้ใบสีม่วงแดง เป็นพืชโตเร็ว
ขยายพันธุ์ ปักชำกิ่ง

สภาพปลูก แสงแดดจัด ช่วยทำให้ข้องปล้องถี่ ทำใหใบเรียงเหลื่อมซ้อนกันเหมือนการเรียงกลีบของดอกกุหลาบ แต่ถ้าปลูกในที่แสงรำไร ข้อปล้องจะยืดห่างไม่สวยงาม เป็นไม้ทนแล้งได้ดีมากๆ

ริบบิ้นชาลี  เป็นไม้ใบอีกชนิดที่สวยงามเพราะขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว  แถมยังใบดกเป็นพุ่มสวยจึงถูกจัดสรรปั้นแต่งให้มีรูปทรงสวยงามตามลักษณะของกระถางที่ใส่  ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นทรงกลม ๆ พุ่มสวยๆ  สำหรับเป้นกระถางห้อยหรืแขวนลอย  สวยงามน่ารักมาก ๆ
สำหรับริบบิ้นชาลีที่ผมได้มา  ไม่ได้ชื่อไม้ได้หาด้วยเงินแต่อย่างได้  เพราะแวะเวียนไปซื้อพรรณไม้ตระกูลสน  เป็นสนเลื้อยสำหรับแต่งเป็นไม้ดัด

แต่ร้านขายเข้าห้อยเจ้าต้นริบบิ้นชาลีไว้ด้านบน  กิ่งก้านจึงหล่นลงในกระถ่างสนเลื้อยที่ผมซื้อมา  พอถึงบ้านจึงรู้ว่าเจ้าต้นริบบิ้นชาลีติดมา 1 เส้นเล็ก ๆ ลองเพาะดูปรากฏว่ากระจ่ายพันธุ์รวดเร็ว ไม้นานก็เต็มกระถาง  เลยเก็บภาพมาฝากให้เพื่อน ๆ ที่ชื่นชอบพรรณไม้นานาชนิดได้ชมกัน

ต้นกระบือเจ็ดตัว


กระบือเจ็ดตัว
ชื่อสมุนไพรกระบือเจ็ดตัว
ชื่ออื่นๆกระบือเจ็ดตัว (ภาคกลาง) บัว บัวลา กระทู้ กระทู้เจ็ดแบก (ภาคเหนือ) ต้นลิ้นควาย ตาตุ่มไก่ ตาตุ่มนก กำลังกระบือ ลิ้นกระบือ ลิ้นกระบือขาว ใบท้องแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์
Excoecaria cochinchinensis Lour. var cochinchinensis
ชื่อพ้อง
Excoecaria bicolor Zoll. ex.Hassk.
ชื่อวงศ์
Euphorbiaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์           
ไม้พุ่มขนาดย่อม สูงประมาณ 0.5-1.5 เมตร ตามกิ่งก้านมีน้ำยางสีขาวข้นเหมือนน้ำนม แตกกิ่งก้านมาก มีรูอากาศตามผิวกิ่ง ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเวียนรอบกิ่งหรือออกตรงข้าม 

รูปใบหอกหรือรูปใบหอกแกมรูปไข่ กว้าง 2-4.5 เซนติเมตร ยาว 4-12 เซนติเมตร ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบสอบ ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อยตื้นๆ หลังใบเรียบ สีเขียวเข้มเป็นมัน ท้องใบเรียบสีม่วงแดงเข้ม เส้นแขนงใบ ข้างละ 7-12 เส้น ก้านใบยาว 0.5-1.5 เซนติเมตร หูใบรูปไข่ ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร 

ดอกช่อกระจะออกตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็กสีเหลืองอมเขียว ดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้นกัน ออกตามซอกใบหรือปลายยอด ช่อดอกเพศเมียอยู่ส่วนล่าง ส่วนปลายด้านบนเป็นดอกเพศผู้ ช่อดอกตัวผู้เป็นแบบช่อกระจะ ยาว 1-2 เซนติเมตร มีดอกย่อยจำนวนมาก โคนก้านดอกมีใบประดับเล็กๆเรียงซ้อนกัน รูปไข่ กว้างและยาว 1.7 มิลลิเมตร ก้านดอกยาว 1.5 มิลลิเมตร มีกลีบเลี้ยง 3 กลีบ รูปหอก ขนาดยาว 0.6-1 มิลลิเมตร กว้าง 0.3-0.4 มิลลิเมตร ส่วนปลายจักฟันเลื่อยถี่ เกสรเพศผู้เล็กมากมี 3  อัน อับเรณูรูปกลม สั้นกว่าก้านชุอับเรณูเล็กน้อย ช่อดอกตัวเมียสั้นกว่าดอกเพศผู้ มีดอก 2-3 ดอก ขนาด 1.2-1.5 ถึง 1-1.3 มิลลิเมตร ก้านดอกแข็ง ยาว 2-5 มิลลิเมตร โคนก้านดอกมีใบประดับเล็กๆ และมีต่อมเล็กๆสีเหลือง กลีบเลี้ยงเล็กมี 3 กลีบ รูปไข่ ติดกันที่ฐานเล็กน้อย กว้าง 1.2 มิลลิเมตร ยาว 1.8 มิลลิเมตร รังไข่เล็กสีเขียวอมชมพู กลม เกลี้ยง มี 3 ช่อง ก้านเกสรเพศเมียมี 3 อัน ยาว 2.2 มิลลิเมตร 

ผลแก่แตก ขนาดเล็ก รูปร่างค่อนข้างกลม กว้าง 8 มิลลิเมตร ฐานตัด ปลายเว้าเข้า ผลมี 3 พู เมื่อแก่แตกเป็น 3  ส่วน เมล็ดรูปเกือบกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 มิลลิเมตร นิยมปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป ออกดอกตลอดปี

ลักษณะวิสัย
ใบ และดอกมีสรรพคุณ    
              
ตำรายาไทย ใบ รสร้อนเฝื่อนขื่น ขับเลือดเน่าเสีย ขับน้ำคาวปลาให้สะดวกหลังคลอด แก้อักเสบบริเวณปากมดลูก ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้ไข้ แก้บวมฟกช้ำ ดำเขียว แก้พิษบาดทะยัก  ใบตำผสมเหล้าขาว คั้นเอาน้ำกิน แก้สันนิบาตหน้าเพลิง (บาดทะยักในปากมดลูก) ขับโลหิตร้าย แก้สัตนิบาตเลือด แก้ประจำเดือนขัดข้อง ทำให้เลือดกระจาย ใบตำพอกห้ามเลือด กระพี้และเนื้อไม้ ถอนพิษไข้ ถอนพิษผิดสำแดง แก้ร้อนภายใน ยาง ใช้เบื่อปลา

ประเทศอินโดนีเซียใช้ ยาง เบื่อปลา  ประเทศฮ่องกง ทั้งต้น แก้หัด แก้คางทูม ต่อมทอนซิลอักเสบ แก้ปวดตึงกล้ามเนื้อหลัง
องค์ประกอบทางเคมีใบพบ beta-sitosterol, beta-sitosteryl-3-O-D-glucopyranoside, methyl 10-epipheophorbide-a, kaempferol, gallic acid, chiro-inositol,  KCl




ต้นเพี้ยฟาน


ชื่อวิทยาศาสตร์ Macropanax dispermus (Blume) Kuntze
ชื่อวงศ์ ARALIACEAE
ชื่ออื่น สันโศก สามโศก

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่ม ขนาดเล็ก โดยทั่วไปสูง 2-4 เมตร แต่บางต้นอาจสูงได้ถึง 15 เมตร ลำต้นโตขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ยาวได้ถึง 20 ซม. แตกกิ่งก้านสาขาไม่เป็นระเบียบ มีขนละเอียดอ่อนนุ่มคลุม ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนสองชั้นเรียงสลับช่อใบยาว 15-50 ซม. โคนช่อใบอาจมีช่อใบย่อยหลายช่อ ใบย่อย 15-31 ใบต่อช่อ ปลายช่อเป็นใบเดี่ยว ก้านใบย่อยสีเขียว ก้าน

ใบปลายยาวกว่าก้านใบข้างมาก แผ่นใบรูปไข่ถึงรูปใบหอก ขนาดกว้าง 1-7 ซม. ยาว 2-20 ซม. ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบเบี้ยด้านหนึ่งสอบเป็นรูปลิ่ม อีกด้านโค้งมน ขอบใบเรียบหรืออาจเป็นซี่หยักเล็กๆ ผิวใบแก่ด้านบนเกลี้ยงไม่มีขน ด้านล่างมีขนละเอียดบางๆ

ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ก้านดอกย่อยยาว 0.5-2.0 มม. วงกลีบเลี้ยงเล็กมาก กลีบดอก 4 กลีบ รูปไข่แกมขอบขนาน ยาว 3.5-5.0 มม. สีเขียวอ่อนถึงขาวอมเหลือง เกสรเพศผู้ 8 อัน ก้านชูอับเรณู ยาว 1.5-3.5 มม. โคนโต ก้านชูเกสร เพศเมีย รูปทรงกระบอก ปลายกว้าง ยาวได้ถึง 1.8 มม. รังไข่รูปไข่ มีขนละเอียดคลุม

ผล มีเนื้อนอก รูปไข่ยาว 1-2 ซม. เมื่อสุกสีชมพูอมแดง ผิวเกลี้ยงหรืออาจมีขนละเอียดบางๆ

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนสองชั้นเรียงสลับช่อใบยาว 15-50 ซม. โคนช่อใบอาจมีช่อใบย่อยหลายช่อ ใบย่อย 15-31 ใบต่อช่อ ปลายช่อเป็นใบเดี่ยว ก้านใบย่อยสีเขียว ก้านใบปลายยาวกว่าก้านใบข้างมาก แผ่นใบรูปไข่ถึงรูปใบหอก ขนาดกว้าง 1-7 ซม. ยาว 2-20 ซม. ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบเบี้ยด้านหนึ่งสอบเป็นรูปลิ่ม อีกด้านโค้งมน ขอบใบเรียบหรืออาจเป็นซี่หยักเล็กๆ ผิวใบแก่ด้านบนเกลี้ยงไม่มีขน ด้านล่างมีขนละเอียดบางๆ

ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ก้านดอกย่อยยาว 0.5-2.0 มม. วงกลีบเลี้ยงเล็กมาก กลีบดอก 4 กลีบ รูปไข่แกมขอบขนาน ยาว 3.5-5.0 มม. สีเขียวอ่อนถึงขาวอมเหลือง เกสรเพศผู้ 8 อัน ก้านชูอับเรณู ยาว 1.5-3.5 มม. โคนโต ก้านชูเกสร เพศเมีย รูปทรงกระบอก ปลายกว้าง ยาวได้ถึง 1.8 มม. รังไข่รูปไข่ มีขนละเอียดคลุม

ผล มีเนื้อนอก รูปไข่ยาว 1-2 ซม. เมื่อสุกสีชมพูอมแดง ผิวเกลี้ยงหรืออาจมีขนละเอียดบางๆ

สรรพคุณทางสมุนไพร
- ใบ มีรสขม รับประทานสดกับลาบ ยอดอ่อน รับนนประทานสดจิ้มน้ำพริก มีรสขมเล็กน้อย
- ทั้งต้น ต้มน้ำอาบแก้ผื่นคัน
ลำต้นและใบ ต้มน้ำดื่มเป็นยาแก้สรรพพิษ
กิ่งและใบ ต้มน้ำอาบหรืออบตัวแก้ไข้ ไม่สบาย หลังจากคลอดลูก ใช้ต้มรวมกับ กล้วยตานี และกล้วยป่า
ยอดอ่อน รับประทานเป็นยาแก้อาการท้องผูก
- เปลือกต้น พบสารที่มีฤทธิ์ต้านสารพิษที่ทำลายตับ ต้านอาการปวดและอักเสบ ใบหรือทั้ง 5 แก้ไข้มาลาเรีย วัณโรค รักษาโรคผิวหนัง ห้ามเลือด ฆ่าเชื้อโรค
- ชาวเขาเผ่าลีซอใช้ใบต้มน้ำอาบให้ไก่เพื่อกำจัดไรไก่ หรือให้คนอาบเพื่อกำจัดเหาและไร หรือแก้แผลเปื่อย แผลอันเกิดจากอาการคันและเกา ม้งใช้ใบตำและอาจจะผสมกับใบพืชอื่นๆ เช่น ส้มโอ เครือเขาดำ ท้อ ตำร่วมกัน ห่อผ้ารัดที่ข้อมือด้านหนึ่งและข้อเท้าอีกด้านหนึ่ง แก้ไข้มาลาเรีย กะเหรี่ยงใช้ทั้งต้นต้มอาบแก้อาการวิงเวียนศีรษะ ชาวเขาโดยทั่วไปใบตำพอกแก้อาการอักเสบ บวมอันเกิดจากไฟ น้ำร้อนลวกหรือสาเหตุอื่นๆ ไทยใหญ่ใช้รากต้มกินเป็นยาบำรุงกำลัง

ต้นไม้ชื่อแปลกๆ ต้นนางเลว

ต้นนางเลว
ต้นนางเลว ไม่ได้เลวอย่างชื่อ คุณสมบัติเด่น กิ่งสดๆ ติดไฟได้
ฉันคิดว่าชื่อนั้นไม่ได้บ่งบอกพฤติกรรมเสมอไป อย่าคิดว่าฉันจะเลวเหมือนชื่อ เพราะชื่อนั้นไม่สำคัญพอที่จะบอกว่า ฉันไม่ดี ยังมีคนที่ชอบฉัน แล้ว เรียกว่า “สะบันงาดง” ก็มี เพราะฉันอยู่ในวงศ์กระดังงา แม้ว่าฉันจะเป็นต้นไม้สูงใหญ่อายุยืน แต่ฉันก็ไม่ชอบผลัดใบ เพียงว่าในช่วงอายุน้อยๆ ฉันชอบโตกลางแจ้ง แต่ชอบอยู่ใกล้ต้นไม้ใหญ่ เปลือก ผิว ของฉันหนา สีน้ำตาลเข้ม กลิ่นฉุน จึงเก็บตัวไม่อยากเจอใคร (เป็นพืชพบหายาก)
น้อยใจนัก ที่บางคน (เมืองจันทน์) เรียกฉันว่า “อีเลว” 

แต่ความจริงเนื้อตัวฉันก็มีประโยชน์นะ ติดไฟได้ดี ทั้งที่เป็นไม้สดๆ และยังมีคนที่ชอบใช้กิ่ง ก้าน เป็นเชื้อไฟในหน้าฝน...อ้อ! ฉันก็ภูมิใจมาก ที่ใครๆ เมื่อมาพบฉันก็มักจะนำฉันกลับไปปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับข้างบ้านเสมอๆ เพราะความหอมจากกลิ่นดอกของฉัน คือเสน่ห์ที่ไม่มีใครปฏิเสธ “นางเลว” ต้นนี้หรอก!

ชื่ออื่น       กล้วย (ชัยภูมิ) เต็งหิน (ชุมพร) สะบันงาดง สาแหรก (ลำปาง นครสวรรค์) แสลง (พิษณุโลก) อีเลว (จันทบุรี)
       
นางเลวเป็นไม้ต้น สูง 10–40 ม. เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ แตกกิ่งขนานพื้นดิน เปลือกต้นหนาสีน้ำตาลเข้ม กลิ่นฉุน โคนต้นเป็นพูตามยาว 
*ใบ เดี่ยว เรียงสลับสองข้างกิ่งในระนาบเดียวกัน แผ่นใบรูปรี กว้าง 7–10 ซม. ยาว 15–25 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบรูปลิ่ม เส้นแขนงใบ 12 คู่ ก้านใบยาวประมาณ 1 ซม. 
*ดอก ออกเป็นกระจุก 2–3 ดอก ตรงข้ามใบ ก้านดอกยาวประมาณ 0.5 ซม. กลีบดอกสีเหลืองอมเขียว 6 กลีบ เรียงเป็น 2 ชั้นๆ ละ 3 กลีบ รูปขอบขนาน ยาว 1.5–2 ซม. ผล รูปทรงกระบอก เปลือกหนาแข็ง ผิวเรียบ กว้างประมาณ 3 ซม. ยาว 5–6 ซม. 
*ผลสุกสีม่วงแดง มี 10 เมล็ด เรียงเป็น 2 แถว เมล็ดรูปกลมแบน ตรงขอบเป็นรอยเว้า
        
นางเลวมีการกระจายพันธุ์ในป่าดิบชื้น ทางภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงใต้ ที่ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 10–200 ม. ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์–มีนาคม ผลแก่เดือนกุมภาพันธ์–มีนาคม ของปีถัดไป


รายการบล็อกของฉัน