ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2564

Wollemia สายพันธุ์พืชใกล้สูญพันธุ์

Wollemia หนึ่งในสายพันธุ์พืชใกล้สูญพันธุ์
ค้นหา
ต้นสนวอลลีเมีย (Wollemia ) เป็นพืชที่พบได้ที่ออสเตรเลีย ถือเป็นต้นไม้ที่เก่าแก่ ฟอสซิลที่เก่าแก่ที่สุดของสนสายพันธุ์นี้มีอายุกว่า 200 ล้านปี จนมันได้ฉายาว่าเป็น ต้นสนไดโดเสาร์

ลักษณะต้นมีความสูง 25-40 เมตร ใบเรียวเป็นสีเขียวมะนาว ผลเป็นรูปกรวยเรียวยาวมีขนาดประมาณ 5-11 เซนติเมตร ปัจจุบันนี้ถูกจัดอยู่ในบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์
เดวิด โนเบล ได้พบต้นไม้ชนิดนี้ประมาณ 100 ต้น กลายเป็นการค้นพบครั้งสำคัญ สันนิษฐานว่าน่าจะมีมาตั้งแต่ยุคไดโนเสาร์ที่ทวีปออสเตรเลียเชื่อมติดกับแผ่นดินอื่น
Wollemia


รู้มั๊ยว่าต้นไม้ชื่อไทยๆ อย่างไมยราบนั้นไม่ใช่ของไทย

ค้นหา
เล่นมันมาตั้งแต่เด็ก แต่เคยรู้มั๊ยว่าต้นไม้ชื่อไทยๆ อย่าง ‘ไมยราบ’ นั้น…ไม่ใช่ของไทย!? อ้าวแล้วมันมาจากไหน มาดูคำตอบกัน
แม้จะมีชื่อไทยๆ แถมหลายคนก็คงรู้จักกับพืชลักษณะแปลกๆ อย่าง ไมยราบ (Mimosa pudica) แต่เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะรู้ว่าความจริงแล้วพืชต่างถิ่นที่มาจากทวีปอเมริกาใต้ และทวีปอเมริกากลาง แถมมันยังถูกจัดให้เป็นสายพันธุ์รุกรานในหลายประเทศด้วย

เช่นเดียวกับ ไมยราบยักษ์ (Mimosa pigra) ที่เป็นเอเลี่ยนสปีชีส์ในบ้านเรา พืชต้นเตี้ยๆ ที่เราทั้งหลายชอบเอามือไปแตะให้มันหุบเล่นนั้น ก็เข้าคุณสมบัติที่ว่านี้เหมือนกัน แม้ว่าจากการสำรวจจะยังไม่พบความเสียหายที่เกิดจากพืชชนิดที่ว่า แถมยังมีคุณสมบัติเป็นยาสมุนไพรไทยด้วย แต่เนื่องจากความตายยากตายเย็นสมชื่อไมยราบ ก็สร้างปัญหาในการตัดทำลายเช่นกัน และดูเหมือนพื้นที่ที่มีไมยราบขึ้นนั้น แทบจะไม่พบพืชชนิดอื่นอยู่เลย
นอกจากในประเทศไทยแล้ว ไมยราบยังถูกจัดว่าเป็นสายพันธุ์รุกรานในออสเตรเลีย และถูกจัดว่าเป็นวัชพืชที่ต้องควบคุมในควีนแลนด์อีกด้วย แต่ขณะเดียวกันก็มีประเทศอย่างกานาและไนจีเรียที่ไม่จัดมันเป็นสายพันธุ์รุกราน แถมยังใช้มันเป็นอาหารด้วย
Mimosa pigra

ผึ้งยักษ์ ที่เชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้วเมื่อ 160 ปีก่อนกลับปรากฏตัวขึ้นให้เห็นกันอีกครั้ง


ค้นหา
ผึ้งยักษ์ ที่เชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว กลับปรากฏตัวขึ้นให้เห็นกันอีกครั้ง 

ผึ้งยักษ์ ที่เชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว กลับปรากฏตัวขึ้นให้เห็นกันอีกครั้ง
เมื่อ 160 ปีก่อน (ค.ศ.1859) นักสำรวจชาวอังกฤษ อัลเฟรด รัสเซล วอลเลซ ได้พบแมลงขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งระหว่างการสำรวจหมู่เกาะโมลุกกะหรือมาลูกูของอินโดนีเซีย วอลเลซได้เฝ้าสังเกตแมลงนั้นระหว่างที่พักในเกาะบากาน โดยที่ตัวเขาเองก็ไม่แน่ใจว่ามันคืออะไรในครั้งแรก แต่ก็ได้บรรยายลักษณะไว้ว่าแมลงที่เขาพบนั้นมันดูคล้ายตัวต่อสีดำที่มีเขี้ยวขนาดใหญ่เหมือนเขี้ยวของด้วงคีม จากนั้นก็ได้เก็บตัวอย่างซึ่งเป็นเพศเมียเอาไว้ ในอีกปีหนึ่งต่อมานักกีฏวิทยาชาวอังกฤษ เฟดเดอริก สมิธ ก็ได้มาศึกษาต่อและพบว่าแมลงที่วอลเลซพบนั้นที่จริงแล้วเป็นผึ้งป่าชนิดหนึ่ง ที่นับได้ว่าเป็นผึ้งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก จึงได้เรียกชื่อผึ้งนั้นว่า “ผึ้งยักษ์ของวอลเลซ” (wallace’s giant bee) และก็เป็นที่รู้จักกันในชื่อนี้นับแต่นั้นมา

ผึ้งยักษ์ของวอลเลซ ได้รับชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Megachile pluto มันมีขนาดใหญ่กว่าผึ้งทั่วไปถึง 4 เท่า คือ สามารถกางปีกได้กว้างถึง 2½ นิ้วหรือ 6.35 ซ.ม. เมื่อโตเต็มที่ ตัวเมียมีขนาดลำตัวยาว 1.5นิ้ว หรือ 3.8 ซ.ม. ตัวผู้มีขนาดเล็กกว่านั้น คือลำตัวยาวได้ไม่เกิน 0.9 นิ้วหรือ 2.3 ซ.ม. อาศัยอยู่ในรังปลวกร้างโดยตัวเมียจะเก็บยางไม้มาก่อเป็นช่องสำหรับฟักไข่และเลี้ยงลูกอ่อน

หลังการค้นพบของวอลเลซ ก็ไม่มีผู้ใดพบเห็นผึ้งชนิดนี้อีกเลยเป็นร้อยปีจนเชื่อกันว่า
ผึ้งยักษ์ของวอลเลซนั้นสูญพันธุ์ไปแล้ว จนล่วงเข้าปี 1981 นักวิจัยชาวอเมริกันแอดัม แคทเทิน เมเซอร์ ก็ได้สังเกตเห็นผึ้งยักษ์ตัวผู้และตัวเมียหลายตัวระหว่างสำรวจเกาะ 3 เกาะางเหนือของหมู่เกาะมาลูกูอีกครั้ง และยืนยันว่ามันคือผึ้งยักษ์ของวอลเลซที่ไม่มีผู้ใดพบเห็นยาวนาน


หลังจากครั้งนั้น ข่าวการพบผึ้งยักษ์ชนิดนี้ก็เงียบหายกันไปอีกนานถึง 4 ทศวรรษ จนล่วงเข้าเดือนมกราคม 2019 หรือช่วงต้นปีที่ผ่านมานี้เอง เมื่อทีมนักชีววิทยาชาวอเมริกันแคนาดาและออสเตรเลียที่ได้เดินทางไปศึกษาสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตต่างๆในหมู่เกาะมาลูกูเหนือก็ได้พบกับผึ้งยักษ์ของวอลเลซเข้าอีกครั้ง รอบนี้ทีมงานได้ถ่ายคลิปวิดีโอและจับตัวมันเป็นๆเอาไว้ด้วย 

ทีมนักวิจัยตื่นเต้นมาก เคลย์ โบลท์ ช่างภาพบรรยายถึงเส้นทางการค้นพบว่าต้องเดินเข้าไปในป่าที่ตลบอบอวลด้วยกลิ่นของกานพลูและลูกจันทน์เทศ และเมื่อพบมันครั้งแรกเขาต้องตะลึงกับขนาดที่ใหญ่โตและเสียงปีกที่ดังไปในอากาศขณะผึ้งยักษ์กำลังบินผ่านหัวเขาไป
ธรรมชาติมีเรื่องให้แปลกใจได้เสมอ ต่อไปก็ไม่แน่ว่าเราอาจได้พบสายพันธุ์โบราณอื่นๆอีกในพื้นที่ๆยังไม่มีมนุษย์เข้าไปรบกวน..

รายการบล็อกของฉัน