ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันพุธที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2563

นักวิจัยออสเตรเลียค้นพบว่าชนเผ่าพื้นเมืองปลูกกล้วยตั้งแต่ 2,000 ปีที่แล้ว


นักวิจัยพบจุลชีวินดึกดำบรรพ์ (microfossil) เครื่องมือหิน ถ่าน และซากกำแพง

นักโบราณคดีพบร่องรอยการทำสวนกล้วยของชนเผ่าพื้นเมืองออสเตรเลียซึ่งคาดว่าเกิดขึ้นเมื่อ 2,145 ปีที่แล้ว

สวนกล้วยนี้ตั้งอยู่บนเกาะเล็ก ๆ บริเวณช่องแคบทอร์เรส ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือทวีปออสเตรเลีย นักวิจัยพบจุลชีวินดึกดำบรรพ์ (microfossil) เครื่องมือหิน ถ่าน และซากกำแพง ที่บริเวณดังกล่าว

👉การค้นพบนี้ลบล้างความเชื่อเดิมที่ว่าชนเผ่าพื้นเมืองออสเตรเลียเป็นผู้ล่าสัตว์และหาของป่าอย่างเดียว

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียและมหาวิทยาลัยซิดนีย์เผยแพร่การค้นพบที่เกาะแมบอูยัก (Mabuyag Island) นี้ เมื่อวันที่ 12 ส.ค.

"งานวิจัยของเราเผยว่าบรรพบุรุษของชาวเกิมอูลกัล (Goegmulgal) แห่งเกาะแมบอยูยัก ได้ทำการเพาะปลูกด้วยเทคนิคที่ซับซ้อนและหลากหลายในฝั่งตะวันตกของช่องแคบทอร์เรสมาอย่างน้อย 2,000 ปีแล้ว" โรเบิร์ต วิลเลียม หัวหน้าทีมนักวิจัยระบุ

เขาบอกว่าในเชิงประวัติศาสตร์ ช่องแคบทอร์เรสเป็นเหมือน "เส้นแบ่ง" ระหว่างชนพื้นเมืองในนิวกินี-ซึ่งปัจจุบันคือส่วนหนึ่งของอินโดนีเซียและปาปัวนิวกินี-ที่ทำการเกษตรกรรม และชนพื้นเมืองในออสเตรเลียที่เป็นผู้ล่าสัตว์และหาของป่าอย่างเดียว

👉การค้นพบนี้ลบล้างความเชื่อเดิมที่ว่าชนเผ่าพื้นเมืองออสเตรเลียเป็นผู้ล่าสัตว์และหาของป่าอย่างเดียว

วิลเลียมบอกว่า การค้นพบครั้งนี้พิสูจน์ว่าช่องแคบทอร์เรสเป็นเหมือน "สะพานหรือตัวกรอง" ของวิถีการปลูกพืชของทั้งสองพื้นที่ ไม่ใช่เส้นแบ่ง

ระบบเกษตรกรรมนี้สะท้อนอาหารการกินท้องถิ่นหลัก ๆ ในช่วงเวลานั้นเช่น มัน เผือก และกล้วย

"อาหารเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมชนเผ่าพื้นเมืองและงานวิจัยนี้ได้แสดงให้เห็นว่าวิถีเหล่านี้ที่มีมาเป็นเวลานาน"

ชาวอะบอริจินและชาวเกาะช่องแคบ ทอร์เรสมักถูกเข้าใจผิดอย่างกว้างขวางว่าเป็นผู้เร่ร่อนไปตามที่ต่าง ๆ เพื่อล่าสัตว์และหาของป่าอย่างเดียวก่อนที่อังกฤษจะเข้าไปล่าอาณานิคม

นักประวัติศาสตร์หลายคนบอกว่า อังกฤษปฏิเสธหลักฐานที่ชี้ว่าพวกเขามีระบบเกษตรกรรมเป็นของตัวเองเพื่อที่จะสามารถอ้างได้ว่าพื้นที่บริเวณนั้นไม่มีใครลงหลักปักฐานอาศัยอยู่

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เริ่มมีงานวิจัยที่ทำให้คนทราบถึงการทำเกษตรกรรม วิศวกรรม และการก่อสร้าง ของชนเผ่าพื้นเมืองออสเตรเลียในช่วงก่อนการล่าอาณานิคมกันมากขึ้นเรื่อย ๆ

วันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2563

Bird’s Nest fungi เห็ดรังนกกระจอก

เหมือนรังนก แต่แท้จริงแล้วนี่คือดอกเห็ด!!!
ค้นหา
Custom Search
Bird’s Nest fungi เห็ดรังนก หรือเห็ดรังนกกระจอก เป็นเห็ดสายพันธุ์ Nidulariaceae  มีอยู่ด้วยกันหลายสายพันธุ์ และมีหลากสี ตั้งแต่สีน้ำตาลอ่อนไปจนถึงน้ำตาลเข้มจนเกือบเป็นสีดำ พบในเขตป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง เกิดบนขอนไม้ผุ

ลักษณะดอกเห็ดคล้ายถ้วย หรือรังนกมีไข่เล็กๆ อยู่ข้างใน ขอบปากถ้วยมีความกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ผิวด้านนอกสีน้ำตาลอ่อนปกคลุมไปด้วยเส้นขนหยาบสั้นๆ ผิวด้านในสีดำหรือเทาอมน้ำตาลหรือสีดำ มีเส้นลายนูนยาวขนานกันจากขอบปากถ้วยลงไปที่โคนก้านดอก
Bird’s Nest fungi เป็นสายพันธุ์เห็ดที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ แล้ว เห็ดรังนกยังช่วยบำรุงดินในพื้นที่โดยรอบอีกด้วย
Bird’s Nest fungi 

ต้นไม้ฆาตกร Pisonia brunoniana

ค้นหา
Custom Search
ต้นไม้ฆาตกร!? พบกับ ‘Pisonia brunoniana’ พืชที่ล่อลวงนกให้มากินอาหาร

โดยปกติแล้ว…พืชส่วนใหญ่นั้นเกิดมาเป็นทั้งที่อยู่อาศัยและอาหารสำหรับนก ที่นอกจากจะคล้ายกำจัดแมลงรบกวนให้แล้ว ยังเป็นผู้ช่วยในเรื่องการขยายพันธุ์ของพืชด้วย แต่นั่นคงไม่ใช่กับพืชอย่าง Pisonia brunoniana หรือที่ได้ฉายาว่า ต้นไม้ฆาตรกร เพราะมันเป็นพืชไม่กี่ชนิดที่สามารถสังหารนกมาแล้วนับไม่ถ้วน ซึ่งนกที่มาติดกับดักฝักเมล็ดของต้นพีโซเนีย จนหนีไปไหนไม่ได้ 

และทำให้มันแห้งตายกลายเป็นศพบนต้นไม้ ซึ่งสาเหตุนั้นก็ยังไม่แน่ชัด ว่าเพราะเหตุใดต้นไม้ชนิดนี้ถึงได้ทำให้นกมาแห้งตายบนต้น โดยที่มันไม่ได้รับสารอาหารใดๆ

แต่ได้มีข้อสันนิษฐานว่า ต้นไม้ชนิดนี้อาจเติบโตด้วยมูลของนก และการทำให้นกมาติดอยู่บนต้น จะช่วยให้ต้นไม้ได้รับมูลจากนกอย่างแน่นอนขึ้น


วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2563

พบฟอสซิลผืนป่ายุคดีโวเนียนในจีน กว้างเท่าสนามฟุตบอล 35 สนาม มีอายุกว่า 419 ล้านปี


ค้นหา
Custom Search
เมื่อวันที่ 8 สิงหาคมที่ผ่านมา ทีมนักวิทยาศาสตร์ของประเทศจีนได้ออกมาประกาศการค้นพบฟอสซิลผืนป่าโบราณอายุกว่า 419 ล้านปี โดยเผยแพร่ผ่านวารสารวิทยาศาสตร์
Current Biology

ฟอสซิลผืนป่าที่ถูกพบในครั้งนี้ ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่บ้านซินหาง ของมณฑลอานฮุย โดยเป็นป่าจากยุคดีโวเนียน ที่เต็มไปด้วยต้นไม้ที่ไม่มีกิ่งรูปร่างคล้ายปาล์มที่ชื่อ “Lycopsid” และกินพื้นที่พอๆ กับสนามฟุตบอล 35 สนามต่อกัน(ราวๆ 250,000 ตารางเมตร)

 

ภาพจำลองป่าซินหางในอดีตจากข้อมูลที่มีอ้างอิงจากข้อมูล
ในรายงาน ร่องรอยของผืนป่าแห่งนี้ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกในเหมืองดินเหนียวใกล้หมู่บ้าน โดยอยู่ในสภาพของซากดึกดำบรรพ์ที่ปรากฏให้เห็นในผนังของเหมือง

และเมื่อทำการขุดออกมา ทีมนักวิทยาศาสตร์ก็พบกับโครงสร้างของลำต้นของต้นไม้และซากดึกดำบรรพ์ที่เหมือนลูกสนซึ่งมาทราบในภายหลังว่าเป็นของต้น Lycopsid นั่นเอง
 

หนึ่งในซากดึกดำบรรพ์ที่ถูกพบ

“ความหนาแน่นที่สูงและขนาดต้นไม้ที่เล็กของป่าแห่งนี้ ทำให้ป่าซินหางมีความคล้ายกับทุ่งอ้อยมาก แม้ว่าพืชในป่าซินหางจะกระจายเป็นหย่อมๆ ก็ตาม” คุณ Deming Wang หนึ่งในผู้ทีมนักวิทยาศาสตร์ผู้ค้นพบป่ากล่าว

คุณ Wang กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า ป่าซินหางนั้นอาจเป็นไปได้ว่าในอดีตจะมีสภาพคล้ายป่าชายเลนตามแนวชายฝั่งเช่นกัน เนื่องจากป่าแห่งนี้ตั้งถูกในสภาพแวดล้อมที่คล้ายกันและยังมีบทบาทต่อระบบนิเวศที่เหมือนกันอีกด้วย

ป่าในลักษณะนี้ จนถึงปัจจุบันถูกพบอยู่เพียงแค่ 3 แห่งทั่วโลกเท่านั้น โดยอีกสองแห่งที่เหลือตั้งอยู่ที่สหรัฐอเมริกา และประเทศนอร์เวย์ และนับว่าเป็นป่าที่มีความสำคัญในการศึกษาระบบนิเวศโบราณมากที่สุดกลุ่มหนึ่งของโลกเลย
 

โดยทีมนักวิทยาศาสตร์ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการตรวจสอบป่าที่ถูกค้นพบ จะทำให้พวกเขาได้รับข้อมูลเกี่ยวกับเหตุผลที่ว่า ทำไมปริมาณของคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศของยุคดีโวเนียนถึงลดลงได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะช่วยให้เราทราบถึงเหตุผลของการเกิดยุคน้ำแข็งคะรูต่อไป


ยูคาลิปตัสสีรุ้ง

ยูคาลิปตัสสีรุ้ง

ยูคาลิปตัสสีรุ้ง 
(Rainbow Eucalyptus) 
ค้นหา
Custom Search
มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า “มินดาเนากัม” คือ ต้นยูคาลิปตัสสีรุ้งที่พบได้ใน เกาะนิวกินี ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของประเทศออสเตรเลีย เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของโลก,  
พื้นที่เกาะนิวบริเทน, รวมไปถึงพื้นที่เกาะเซรัม เกาะซูลาเวซี เกาะในประเทศอินโดนีเซีย และ เกาะมินดาเนาเกาะในประเทศฟิลิปปินส์

ยูคาลิปตัสสีรุ้ง เป็นพืชขนาดใหญ่ที่มีความสูงมากกว่า 70 เมตร
เดิมทีต้นยูคาลิปตัสสีรุ้งแรกเริ่มจะมีลำต้นสีเขียว และเนื่องจากต้นยูคาลิปตัสสีรุ้งมีเปลือกหลายชั้นและหลากสี 
 
โดยเรียงสีจาก สีเขียว  สีน้ำเงิน  สีส้ม  สีม่วง สีม่วงเข้มแกมน้ำตาล ตามลำดับ และเมื่อเปลือกนอกเริ่มถลอกสีที่อยู่ตามชั้นต่างๆ ก็จะเผยออกมาจนก่อให้เกิดต้นยูคาลิปตัสสีรุ้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในที่สุด
Rainbow Eucalyptus

รายการบล็อกของฉัน