ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

มะจอเต๊ะ


มะจอเต๊ะหรือ สาริกาลิ้นทองเป็นไม้ทรงพุ่มขนาดเล็ก รูปทรงแปลกตาจัด อยู่ในวงศ์ขนุน


มะจอเต๊ะ หรือ ไทรไข่มุก หรือ สาริกาลิ้นทอง เป็นไม้ทรงพุ่มขนาดเล็ก อยู่ในวงศ์ขนุน (Moraceae) โดยที่ชื่อ "มะจอเต๊ะ" เป็นภาษามลายูปัตตานี ทั้งนี้เนื่องจากยังไม่มีการกำหนดชื่ออย่างเป็นทางการในภาษาไทย


มะจอเต๊ะ
Ficus deltoidea
มะจอเต๊ะใบกว้างที่ Olbrich Botanical Gardens, แมดิสัน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์edit
อาณาจักร:
พืชดอก
พืชใบเลี้ยงคู่แท้
อันดับ:กุหลาบ
วงศ์:วงศ์ขนุน
สกุล:โพ
สกุลย่อย:F. subg. Ficus
Jack
สปีชีส์:Ficus deltoidea
ชื่อทวินาม Ficus deltoidea
Jack
ลักษณะ

มะจอเต๊ะ เป็นไม้พื้นเมืองที่พบอยู่ทางตอนใต้ของประเทศไทย แถบจังหวัดนราธิวาส จึงทำให้มีชื่อเป็นภาษามลายูถิ่น 

ลักษณะเป็นไม้พุ่มอิงอาศัยเกาะตามต้นไม้ใหญ่ ลำต้น กิ่งและใบ มีน้ำยางสีขาวขุ่น ผลแบบมะเดื่อออกตามซอกใบ แบ่งออกเป็น 2 ชนิดย่อย (F. d. deltoidea, F. d. motleyana) คือชนิดใบแคบ ที่ใบรูปขอบไข่กลับ ขนาดใบ กว้าง 2 – 2.5 เซนติเมตร ยาว 4 – 5 เซนติเมตร กับชนิดใบกว้าง 

ใบรูปไข่กลับกว้าง ๆ จนเกือบกลม ขนาดใบ กว้าง 4 – 7 เซนติเมตร ยาว 5 – 9 เซนติเมตร ทั้งสองพันธุ์ สามารถพบได้ในป่าในแถบจังหวัดนราธิวาส


ส่วนมากคนนิยมปลูกกันเพราะคิดว่าเป็นไม้มงคล

https://youtu.be/9Uv_8fZkwQE

วันจันทร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ต้นลูกปืนใหญ่ เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดใหญ่ที่มีผลคล้ายกับลูกปืนใหญ่สมัยโบราณ


ต้นลูกปืนใหญ่ เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดใหญ่ที่มีผลคล้ายกับลูกปืนใหญ่สมัยโบราน

ลูกปืนใหญ่ หรือ สาละลังกา (อังกฤษ: Cannonball tree) เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดใหญ่



ข้อมูลเบื้องต้น ลูกปืนใหญ่, สถานะการอนุรักษ์ ...
เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดใหญ่
ผลลูกปืนใหญ่
ลักษณะทางพฤษศาสตร์
ลูกปืนใหญ่เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ เรือนยอดทรงกลมหรือรูปไข่ หนาทึบ เปลือกสีน้ำตาลแกมเทา แตกเป็นร่องและสะเก็ด 



ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ เป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง รูปขอบขนานถึงรูปใบหอกแกมรูปไข่ กว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว12-25 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบหรือมน ขอบใบจักตื้น ใบหนา ดอกสีชมพูอมเหลืองหรือแดง ด้านในสีม่วงอ่อนอมชมพู มีกลิ่นหอมมาก ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะขนาดใหญ่ตามลำต้น ช่อดอกยาว 30-150 เซนติเมตร ปลายช่อโน้มลง 


กลีบดอกหนา 4-6 กลีบ กลางดอกนูน สีขนสั้นสีเหลืองคล้ายแปรง เกสรเพศผู้เป็นเส้นยาวสีชมพูแกมเหลืองจำนวนมาก ทยอยบานจากโคนไปหาปลายช่อ นานเป็นเดือน ดอกบานเต็มที่กว้าง 5-10 เซนติเมตร ผลแห้ง ทรงกลมใหญ่ ขนาด 10-20 เซนติเมตร เปลือกแข็ง สีน้ำตาลปนแดง ผลสุกมีกลิ่นเหม็นมีเมล็ดจำนวนมาก รูปไข่

ประวัติ
ลูกปืนใหญ่ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบอเมริกาใต้ในประเทศเปรู, โคลัมเบีย, บราซิล และประเทศใกล้เคียง ในปี พ.ศ. 2424 สวนพฤกษศาสตร์ศรีลังกาได้นำเข้าลูกปืนใหญ่จากตรินิแดดและโตเบโก ต่อมาได้ขยายพันธุ์ไปทั่วศรีลังกา แต่ชาวศรีลังกากลับเรียกต้นลูกปืนใหญ่นี้ว่า ซาล (Sal) โดยไม่ปรากฏเหตุผลและไม่ทราบความเป็นมาของลูกปืนใหญ่ ส่วนมากอ้างว่านำมาจากอินเดีย และที่เรียกเพราะซาลเพราะเชื่อว่าก้านชูอับเรณูที่เชื่อมกันเป็นรูปผืนผ้าตัวงอเป็นตัว U นอน ปุ่มตรงกลางเปรียบเสมือนพระแท่นที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน มีเกสรสีเหลืองรายล้อมเปรียบเสมือนพระสงฆ์สาวกห้อมล้อมอยู่ ส่วนด้านบนเป็นที่บังแดดและน้ำค้างประดับด้วยดอกไม้ เนื่องจากมีดอกตลอดปีประกอบกับกลิ่นหอมที่ทนนาน ชาวศรีลังกาจึงนิยมใช้บูชาพระเช่นดอกไม้อื่นๆ


ลูกปืนใหญ่มิใช่พืชพื้นเมืองของศรีลังกาและอินเดีย และต่างจากสาละอย่างสิ้นเชิงทั้งถิ่นกำเนิดและพฤกษศาสตร์ จึงได้มีการจำแนกชื่อที่พ้องกันเพื่อเรียกให้ถูกต้องว่าสาละ (Sal Tree) หรือสาละอินเดีย (Sal of India) และลูกปืนใหญ่ (Cannonball Tree) 

อนึ่ง ลูกปืนใหญ่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติแต่อย่างใด เนื่องจากลูกปืนใหญ่มีดอกและผลตลอดปี ออกเป็นงวงยาวตามลำต้นตั้งแต่โคนขึ้นไป ซึ่งผลของของลูกปืนใหญ่มีเปลือกแข็งขนาดส้มโอย่อม ๆ ซึ่งไม่เหมาะแก่การนั่งพักหรือทำกิจได้ หากตกใส่ก็อาจทำให้บาดเจ็บได้

ต้นไม้ประจำสถาบัน
เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยชินวัตรและในอดีตเคยเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ในปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นต้นราชพฤกษ์แล้ว)
เป็นต้นไม้ประจำ โรงเรียนสารวิทยา
เป็นต้นไม้ประจำ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เป็นต้นไม้ประจำ วิทยาลัยพยาบาลบรมมราชชนนี แพร่ เก็บถาวร 2018-10-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

เนระพูสีไทย ดอกไม้ที่เหมือนกับค้างคาวกำลังกระพือปีก ดอกมีกลิ่นสาบ แต่มีสรรพคุณทางยาสมุนไพรมากมาย


เนระพูสีไทย ดอกไม้ที่เหมือนกับค้างคาวกำลังกระพือปีก ดอกมีกลิ่นสาบ แต่มีสรรพคุณทางยาสมุนไพรมากมาย

สปีชีส์ของพืช
เนระพูสีไทย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Tacca chantrieri) เป็นพันธุ์ไม้ล้มลุก มีเหง้าหัว เจริญตามแนวราบใต้พื้นดิน ใบรูปหอกแกมรูปไข่ ขอบใบเรียบ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนหรือเฉียง แผ่นใบสีเขียวเข้มกว่าท้องใบ ก้านใบสีเขียวคล้ำชูขึ้นสูงเหนือพื้นดินยาวประมาณ 1 – 1.5 ฟุต ก้านดอกชูขึ้นมาสูงจากกลางกอ ช่อดอกเป็นแบบช่อกระจุก 


ดอกออกแน่น ล้อมรอบด้วยใบประดับรูปไข่ 2 ใบ ตรงกลางดอกมีเกสรตัวผู้และตัวเมีย มีสีดำสนิท มีกลีบดอก 2 กลีบ ลักษณะรีรูปทรงกลม รังไข่ใต้วงกลีบดอกด้านในจะเป็นเส้นยาวคล้ายด้ายยื่นห้อยลงมา ดูแล้วคล้ายเส้นด้ายสีดำ หน้าตาดอกเหมือนกับค้างคาวกำลังกระพือปีกในเวลากลางคืน ดอกมีกลิ่นสาบหืน พบขึ้นตามป่าผลัดใบ 


ป่าดิบแล้งหรือป่าดิบชื้น ที่ระดับความสูงจากน้ำทะเลไม่เกิน 1,000 เมตร ออกดอกและติดผลในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงสิงหาคม พบการกระจายพันธุ์ในประเทศอินเดีย บังคลาเทศ จีนตอนใต้ พม่า ไทย ลาว มาเลเซีย และ อินโดเนเซีย

ข้อมูลเบื้องต้น เนระพูสีไทย (Bat flower), การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ ...
การเพาะปลูก
ปลูกในดินร่วน ระบายน้ำได้ดี หรือดินที่ผสมทรายบ้างเล็กน้อยจะทำให้ต้นเจริญเติบโตได้ดี ชอบที่ร่มมีแสงแดดรำไร รดน้ำเช้าและเย็น ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด หรือใช้เหง้าปลูก


ประโยชน์
การวิจัยทางวิทยาศาสตร์พบว่าสารสกัดจากเหง้าของพืชชนิดนี้ สามารถยับยั้งอาการปวดทั้งผ่านกลไกของระบบประสาทรอบนอกและประสาทส่วนกลาง ซึ่งมีผลการทดสอบยืนยันว่าสารสกัดมีผลสามารถแก้ปวด, ลดไข้ และต้านการอักเสบ ในท้องถิ่นใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาโรค โดยมีฤทธิ์แก้เบื่อเมา แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย 

แก้ลิ้นคอเปื่อย แก้ไอ ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย อาหารเป็นพิษ โรคกระเพาะ บำรุงร่างกาย แก้โรคความดันต่ำ บำรุงกำลังทางเพศ บำรุงกำลังสตรีระหว่างตั้งครรภ์และแก้ผดผื่นคัน สารสกัดจากเหง้ายังสามารถใช้สำหรับป้องกันแมลงศัตรูพืช โดยสามารถยับยั้งการกินของหนอนใยผักได้

รายการบล็อกของฉัน