ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2561

พบซากดึกดำบรรพ์คล้ายสาหร่ายแดงอายุ 1,600 ล้านปี

พบซากดึกดำบรรพ์คล้ายสาหร่ายแดงอายุ 1,600 ล้านปี
ซากดึกดำบรรพ์สาหร่ายสีแดงอายุ 1,200 ล้านปีในแถบอาร์กติกแคนาดาได้ถูกทำลายสถิติความเก่าแก่แล้ว เนื่องด้วยนักวิทยาศาสตร์จากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ด้านภูมิศาสตร์ชีววิทยาแห่งชาติสวีเดนได้ค้นพบซากดึกดำบรรพ์มีลักษณะคล้ายสาหร่ายสีแดงในหินตะกอนที่อุดมด้วยแร่ฟอสเฟต ที่เมืองจิตตะกูด อยู่ในภาคกลางของประเทศอินเดีย คาดว่าจะมีอายุมากถึง 1,600 ล้านปี

ซากคล้ายสาหร่ายแดงที่พบมีอยู่ 2 ชนิด คือชนิดที่มีโครงสร้างเซลล์เป็นกระเปาะ ส่วนอีกชนิดมีลักษณะคล้ายเส้นใยซึ่งมีคุณสมบัติสังเคราะห์แสงโดยเปลี่ยนแสงแดดเป็นพลังงานเคมี ทำให้เกิดออกซิเจนในอากาศ สันนิษฐานว่าพวกมันอาศัยอยู่บริเวณที่ตื้นๆของน้ำทะเลร่วมกับคราบแบคทีเรียในธรรมชาติ และอาจอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดได้เช่นกัน นอกจากนี้ซากดังกล่าวยังเป็นหลักฐานการค้นพบเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเก่าแก่อย่าง
ยูแคริโอต (eukaryotes) ที่มีนิวเคลียสและโครงสร้างอื่นๆอยู่ภายในเยื่อหุ้มเซลล์ของพืช เชื้อรา และสัตว์

อย่างไรก็ตาม การค้นพบซากดึกดำบรรพ์คล้ายสาหร่ายแดงอาจช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ประเมินระยะเวลาการเกิดของต้นไม้ต้นแรกของโลกได้ สำหรับสาหร่ายสีแดงนั้นรู้จักกันในชื่อโนริ ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของอาหารญี่ปุ่นอย่างซูชิ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์กล่าวอย่างขบขันว่าโลกของเรานั้นน่าจะมีเมนูซูชิตั้งแต่ 1,600 ล้านปีมาแล้วแน่เลย.

พบฟอสซิลต้นไม้ อายุ 280 ล้านปีที่ขั้วโลกใต้

พบฟอสซิลต้นไม้ อายุ 280 ล้านปีที่ขั้วโลกใต้
เมื่อเร็วๆ นี้นักธรณีวิทยาจากมหาวิทยาลัยวิสคอนซินมิลวอกกี ในเมืองมิลวอกกี รัฐวิสคอนซิน ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศการค้นพบซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิล (fossil) ต้นไม้อายุ 280 ล้านปี ที่เชื่อว่าจะเป็นหลักฐานสำคัญบ่งชี้ถึงป่าขั้วโลกที่เก่าแก่ที่สุดในทวีปแอนตาร์กติกา หรือขั้วโลกใต้

ทีมวิจัยพบฟอสซิลของต้นไม้ 13 ต้นมีอายุประมาณ 260 ล้านปี ซึ่งบวกลบความผิดพลาดแม่นยำก็ไม่เกิน 20 ปี นั่นหมายความว่ามีป่าเติบโตขึ้นมาก่อนที่ไดโนเสาร์ตัวแรกจะปรากฏตัวขึ้นเมื่อสิ้นสุดยุคเพอร์เมียน (Permian) คือยุคสุดท้ายของมหายุคพาเลโอโซอิกเมื่อประมาณ 295-248 ล้านปีก่อน และป่าขั้วโลกโตขึ้นบริเวณละติจูดที่พืชไม่สามารถเติบโตได้ในทุกวันนี้ เป็นไปได้ว่าฟอสซิลพืชดังกล่าวจะเป็นสายพันธุ์ที่ทนทานต่อการอยู่รอดได้ โดยทีมวิจัยกำลังพยายามหาสาเหตุว่าทำไมพืชเหล่านี้จึงสูญพันธุ์

ทั้งนี้ ในยุคเพอร์เมียนนั้น บริเวณทวีปแอนตาร์กติกาจะมีอุณหภูมิอุ่นกว่าปัจจุบันและขณะนั้นแอนตาร์กติกาคือส่วนหนึ่งของทวีปกอนด์วานา ซึ่งเป็นผืนแผ่นดินใหญ่หรือมหาทวีปของซีกโลกใต้ รวมถึงทวีปแอฟริกา อเมริกาใต้ อาระเบีย อินเดีย และออสเตรเลีย นักธรณีวิทยาเชื่อว่ามีพืชจำพวกมอสและเฟิร์นขึ้นเต็มไปทั่วมหาทวีป และการค้นพบฟอสซิลต้นไม้โบราณใหม่ครั้งนี้ จะช่วยในการศึกษาว่าระบบนิเวศของขั้วโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ในช่วงที่มีการสูญพันธุ์อย่างมากเมื่อสิ้นสุดยุคเพอร์เมียนเมื่อ 250 ล้านปีที่แล้ว.

รายการบล็อกของฉัน