ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันศุกร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

หญ้าไฟตะกาด shield sundew


หญ้าไฟตะกาด (อังกฤษ: shield sundew) เป็นพืชในสกุลหยาดน้ำค้างที่มีหัวใต้ดิน มีการกระจายพันธุ์เป็นวงกว้าง ชื่อในภาษาละติน peltata แปลว่า รูปโล่ ซึ่งหมายถึงรูชชปทรงของก้านใบ

โดยทั่วไปหยาดน้ำค้างชนิดมีหัวใต้ดินส่วนมากจะเป็นใบกระจุกแนบดิน แต่หญ้าไฟตะกาดลำต้นจะตั้งขึ้น ช่อดอกเป็นกิ่งแขนง
หญ้าไฟตะกาดยังมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆอีกดังนี้: หยาดน้ำค้าง (เลย) ปัดน้ำ (ตะวันออกเฉียงเหนือ,เลย)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ดอกของหญ้าไฟตะกาด
หญ้าไฟตะกาดเป็นพืชล้มลุกมีลำต้น สูงได้ถึง 35 ซม. มีหัวใต้ดินขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 1 ซม. ไม่มีหูใบ ใบที่โคนหลุดร่วงง่าย ใบตามลำต้นแบบก้นปิดรูปสามเหลี่ยม เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.3-0.6 ซม. 

ช่อดอกตั้งตรง ไม่แตกแยกแขนง กลีบเลี้ยงรูปไข่แกมรูปรี ยาว 0.2-0.3 ซม. ขอบเป็นชายครุย กลีบดอกรูปไข่กลับ ยาว 0.5-0.6 ซม. สีขาว ก้านดอกยาว 1-2 ซม. เกสรเพศผู้มี 5 อัน แยกกัน ยาว 0.3-0.4 ซม. อับเรณูรูปทรงกลม เกสรเพศเมียมี 3 อัน แยกเป็นหลายแฉก แคปซูลมี 3 ซีก รูปขอบขนานเกือบกลม เส้นผ่าศูนย์กลางยาวประมาณ 3 มม.

ถิ่นอาศัยและการกระจายพันธุ์แก้ไข
หญ้าไฟตะกาดปกติจะขึ้นบนพื้นราบ มีพุ่มไม้เล็กน้อย บนดินเลน หรือดินทราย อย่างบริเวณหญ้าริมถนนที่ตัดผ่านป่า เป็นต้น หญ้าไฟตะกาดมีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบในทางตอนใต้และตะวันออกของประเทศออสเตรเลีย, รัฐแทสเมเนีย, ประเทศนิวซีแลนด์, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอินเดีย

ในไทยพบทุกภาคขึ้นตามที่ชื้นแฉะ ที่โล่งและดินที่ไม่สมบูรณ์

หมอกบ่วาย หรือ จอกบ่วาย พืชกินแมลง


จอกบ่วาย เป็นพืชกินสัตว์ขนาดเล็กอยู่ในสกุลหยาดน้ำค้างเป็นพืชฤดูเดียว มีลักษณะลำต้นแนบไปกับพื้น ใบเป็นแผ่นมนรี ค่อนข้างหนา ลักษณะคล้ายช้อน เรียงกันเป็นรูปวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 ถึง 3 ซม. มีขน จอกบ่วายเป็นหยาดน้ำค้างที่มีกับดักแบบเร็ว เมื่อดักจับแมลงได้ใบจะโอบล้อมแมลงในสองสามวินาที ขณะที่ชนิดอื่นใช้เวลาเป็นนาทีหรือชั่วโมง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
จอกบ่วายมีลำต้นจะแนบอยู่กับพื้นดิน ใบเป็นกระจุกแบบกุหลาบซ้อนหนาแน่นที่โคนแนบชิดติดดิน เส้นผ่าศูนย์กลาง ตั้งแต่ 1.5 - 3 ซม. แผ่นใบเป็นแผ่นมนรีรูปไข่กลับหรือทรงกลม ค่อนข้างหนา กว้างประมาณ 0.5-0.8 ซม. ยาวประมาณ 0.6-1.5 ซม.[1] ที่ใบจะมีขนเล็กๆเป็นจำนวนมาก มีสีแดงเรื่อถึงแดง ปลายขนจะมีเมือกใสเกาะอยู่ คล้ายกับหยาดน้ำค้าง ดอกดอกออกใจกลางต้น ตั้งตรง ช่อดอกสูง 5 -15 ซม. กลีบดอกมีสีขาว
การกระจายพันธุ์
จอกบ่วายมีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบในแถบประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย ศรีลังกา ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ส่วนใหญ่ในประเทศไทยพบทุกภาคขึ้นตามที่ชื้นแฉะ ที่โล่งและดินที่ไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามภูเขาหินทราย

ประโยชน์
ในยาพื้นบ้านอีสาน ใช้จอกบ่วายทั้งต้นแห้ง ดองเหล้าดื่ม แก้ท้องมาน ทั้งต้นสด ขยี้ทาแก้กลากเกลื้อน ในตำรายาไทย ใช้ ทั้งต้น แก้บิด ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ไข้มาลาเรีย ตามตำรายาของฮินดูจอกบ่วายมีคุณสมบัติทำให้ผิวหนังแดงจากการที่เลือดคั่ง

รายการบล็อกของฉัน