ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันเสาร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2564

พบต้นไม้อายุ 2,624 ปีในอเมริกาแต่มันอาจตายด้วยสภาพภูมิอากาศที่กำลังเปลี่ยนแปลง

เลียบริมฝั่งแม่น้ำ Black River ในรัฐนอร์ทแคโรไลนา ประเทศสหรัฐอเมริกา ต้นไซเปรสหัวโล้น (Bald Cypress) ได้เติบโตอย่างเงียบๆมาเป็นเวลานับพันปี เมื่อเร็วๆนี้นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่ามีต้นไซปรัสพวกนี้มีอายุกว่า 2,000 ปี 

รวมทั้งมีต้นหนึ่งมีอายุถึง 2,624 ปี ถึงแม้ว่าต้นไม้โบราณเหล่านี้จะเติบโตอยู่ในพื้นที่ที่ไดัรับการดูแลอย่างดี แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังเป็นห่วงว่ามันอาจจะตายด้วยสภาพภูมิอากาศของโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง

ทีมนักวิจัยที่นำ
โดยศาสตราจารย์ David Stahle แห่งมหาวิทยาลัยอาร์คันซอ 
ทำการศึกษาวงปีการเติบโต (Tree Ring) ของต้นไซเปรสหัวโล้นในพื้นที่หนองน้ำตามริมแม่น้ำ Black River ซึ่งเมื่อช่วงทศวรรษ 1980 ในบริเวณเดียวกันนี้ Stahle เคยพบต้นที่มีอายุ 1,700 ปีมาก่อนแล้ว คราวนี้พวกเขาพบว่ามีต้นหนึ่งมีอายุถึง 2,624 ปี ทำให้มันกลายเป็นต้นไม้ที่มีอายุมากที่สุดเป็นอันดับ 5 ของโลก (ไม่นับพวกกอไม้ที่มีระบบรากเดียวแต่มีลำต้นจำนวนมากแบบ Pando ในรัฐยูทาห์ที่มีอายุประมาณ 80,000 ปี)
ทีมวิจัยยังพบต้นไซเปรสที่อยู่ใกล้กันอีกต้นหนึ่งมีอายุถึง 2,088 ปี ซึ่งทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าในพื้นที่หนองน้ำบริเวณนี้ซึ่งเรียกกันว่า Three Sisters Swamp ยังมีต้นไซเปรสอีกจำนวนมากที่อาจมีอายุเดียวกันหรือบางทีอาจมีอายุมากกว่าก็เป็นได้ Stahle บอกว่าในพื้นที่บริเวณนี้มีต้นไซปรัสที่มีอายุเกิน 1,000 ปีเป็นหมื่นต้น และต้นที่มีอายุเกิน 2,000 ปีอาจจะมีราว 10 – 30 ต้น

“เพราะว่าเราได้เจาะตัวอย่าง
ต้นไซเปรสในบริเวณนี้มาศึกษาเพียง 110 ต้นซึ่งเป็นสัดส่วนที่น้อยมากจากที่มีทั้งหมดหลายหมื่นต้น ดังนั้นมันจึงอาจมีต้นไซเปรสที่มีอายุมากกว่า 2,000 ปีอีกจำนวนมากตลอดช่วงระยะทางราว 100 กิโลเมตรของแม่น้ำ Black River แห่งนี้” ทีมวิจัยกล่าว

ทีมวิจัยได้ค้นพบต้นไซเปรสหัวโล้นที่มีอายุมากเป็นประวัติการณ์นี้โดยบังเอิญ เพราะวัตถุประสงค์หลักของงานวิจัยครั้งนี้คือเพื่อรวบรวมข้อมูลประวัติศาสตร์ภูมิอากาศของสหรัฐอเมริกาตะวันออก โดยการศึกษาและวัดความกว้างของวงปีของต้นไซเปรสซึ่งสามารถบ่งบอกสภาพภูมิอากาศของแต่ละปีในอดีตได้ ปีไหนมีน้ำอุดมสมบูรณ์วงปีจะกว้าง ปีไหนแห้งแล้งวงปีก็จะแคบ และผลจากการค้นพบครั้งนี้เป็นการยืนยันว่าต้นไซเปรสหัวโล้นเป็นพันธุ์ไม้ชนิดเติบโตในพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในโลก
แม้ว่าต้นไม้โบราณเหล่านี้อาศัยอยู่ในพื้นที่คุ้มครองที่เป็นของเอกชนภายใต้หน่วยงานอนุรักษ์ธรรมชาติก็ตาม แต่การดำรงอยู่ของพวกมันยังคงถูกคุกคามจากการตัดต้นไม้เพื่อการแปรรูปและการทำฟาร์มชีวมวลอย่างต่อเนื่อง 

รวมทั้งได้รับผลกระทบจากมลภาวะทางอุตสาหกรรมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นักวิจัยบอกว่าหนองน้ำนี้ตั้งอยู่ที่ระดับ 6.5 ฟุต (2 เมตร) เหนือระดับน้ำทะเลปานกลางและมีความเสี่ยงต่อการถูกน้ำท่วมโดยระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้นจากภาวะโลกร้อน
“ต้นไซเปรสหัวโล้นมีค่าสูงสำหรับการทำไม้และมันก็ถูกตัดโค่นลงมาอย่างหนัก ป่าไซเปรสหัวโล้นบริสุทธิ์ดั้งเดิมเหลือรอดอยู่น้อยกว่า 1%” Stahle กล่าว “การค้นพบต้นไม้ที่มีอายุมากที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือซึ่งเป็นหนึ่งในต้นไม้ที่มีอายุมากที่สุดในโลกน่าจะช่วยเพิ่มแรงจูงใจที่มีประสิทธิภาพให้แก่ภาคเอกชน, รัฐบาล และหน่วยงานกลางในการอนุรักษ์แม่น้ำสำคัญสายนี้”

ต้น ตาเสือ


ต้นตาเสือ
ตาเสือ ชื่อวิทยาศาสตร์ Aphanamixis polystachya (Wall.) R.Parker จัดอยู่ในวงศ์กระท้อน (MELIACEAE)

สมุนไพรตาเสือ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เลาหาง (เชียงใหม่), ขมิ้นดง (ลำปาง), เซ่ (แม่ฮ่องสอน), เย็นดง (กำแพงเพชร), ตาปู่ (ปราจีนบุรี), มะยมหางก่าน (บุรีรัมย์), ตุ้มดง (กระบี่), มะหังก่าน มะฮังก่าน มะอ้า (ภาคเหนือ), โกล ตาเสือ (ภาคกลาง), แดงน้ำ (ภาคใต้), เชือย โทกาส้า พุแกทิ้ เส่ทู่เก๊าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮองสอน), ยมหังก่าน (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) เป็นต้น

ลักษณะของตาเสือ
ต้นตาเสือ จัดเป็นไม้ยืนต้น มีความสูงได้ถึง 25 เมตร เปลือกต้นหนาแตกเป็นสะเก็ดหลุดล่อนออก ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีเหลือง
ใบตาเสือ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายใบคี่ ออกเรียงสลับ มีใบย่อยประมาณ 3-7 คู่ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปรีแกมขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบกลมเบี้ยว ส่วนขอบใบเรียบเป็นคลื่น ๆ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-18 เซนติเมตร แผ่นใบเรียบเกลี้ยงเป็นสีเขียวเข้ม

ดอกตาเสือ ออกดอกเป็นช่อแยกแขนงยาว โดยจะตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกเป็นแบบแยกเพศ มีทั้งช่อดอกเพศผู้ ช่อดอกเพศเมีย และช่อดอกที่มีทั้งสองเพศ ดอกมีขนาดเล็กสีเหลืองอ่อน ลักษณะเป็นรูปทรงกลม กลีบเลี้ยงดอกเชื่อมติดกันปลายแยกออกเป็น 3 แฉก สีเขียวและมีขน ส่วนกลีบดอกมี 3 กลีบ สีเหลือง เกสรเพศผู้เชื่อมติดกัน รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ

ผลตาเสือ ผลมีลักษณะกลม ขนาดประมาณ 3.5-5 เซนติเมตร เมื่อแก่จะแตกออกเป็น 2-3 ซีก ภายในผลมีเมล็ดสีน้ำตาลดำและมีเยื้อหุ้มเมล็ดสีแดง

สรรพคุณของตาเสือ
เนื้อไม้มีรสฝาด มีสรรพคุณเป็นยาแก้ธาตุพิการ (เนื้อไม้)เปลือกต้นมีรสฝาดเมา มีสรรพคุณเป็นยาปิดธาตุ กล่อมเสมหะ แก้เสมหะ (เปลือกต้น)
แก่นใช้ทำเป็นยาสมานท้องไส้ได้ดี (แก่น)
เนื้อไม้ใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย (เนื้อไม้)
ใช้เป็นยาแก้บิดมูกเลือด (เปลือกต้น)
เปลือกต้นนำมาต้มเอาน้ำดื่มเป็นยาขับโลหิต ขับระดู รัดมดลูก (เปลือกต้น)
เปลือกต้นใช้เป็นยาสมานแผล (เปลือกต้น)
ใบมีรสฝาดเมา ใช้เป็นยาแก้บวม (ใบ)
ผลมีรสฝาดเมา ใช้เป็นยาแก้บวมตามข้อต่าง ๆ ในร่างกาย หรือใช้เปลือกต้นนำมาต้มเอาน้ำดื่มเป็นยาแก้ปวดตามข้อ (เปลือกต้น,ผล)
ข้อควรระวัง : ทุกส่วนของต้นตาเสือเป็นพิษ กินมากอาจทำให้ตายได้ และเห็ดที่เกิดจากขอนไม้ตาเสือเมื่อ
กินเข้าไปจะทำให้เกิดอาการเมาอาเจียนถึงตายได้เช่นกัน
ประโยชน์ของตาเสือ
ไม้ตาเสือสามารถเอามาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ได้ดี เพราะเนื้อไม้มีความแข็ง เหนียว มีความแข็งแรงทนทานดี
ผลใช้เป็นอาหารของนกเงือก

Jellyfish tree หนึ่งในพืชที่หายากที่สุดในโลก

Jellyfish tree หนึ่งในพืชที่หายากที่สุดในโลก เหลืออยู่บนโลกไม่ถึง 100 ต้น
Jellyfish tree มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Medusagyne oppositifolia เป็นพันธุ์ไม้พื้นเมืองบนเกาะมาฮี บริเวณพื้นที่ของประเทศเซเชลส์ ในมหาสมุทรอินเดีย ในอดีตเคยคิดว่ามันได้สูญพันธุ์ไปแล้ว

ลักษณะที่โดดเด่นอยู่บริเวณผลของมันที่มีลักษณะคล้ายกับแมงกะพรุนจึงกลายเป็นที่มาของชื่อ ปัจจุบันมีต้นแมงกะพรุนหลงเหลืออยู่บนโลกไม่เกิน 100 ต้น
Jellyfish tree ถือเป็นต้นไม้ที่มีขนาดเล็ก โตเต็มที่มีความสูงประมาณ 10 เมตร เป็นต้นไม้ที่มีใบหน้าแน่น ดอกมีสีขาวขนาดเล็ก ปัจจุบันถือเป็นพันธุ์ไม้ที่ได้รับการคุ้มครองของ Morne Seychellois National Park อุทยานแห่งชาติในประเทศเซเชลส์
Jellyfish tree

วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564

พบต้นไม้เก่าแก่ที่สุดในยุโรป อายุ 1,230 ปี และยังคงเจริญเติบโต


ค้นหา ต้นไม้ที่เก่าแก่ที่สุดในยุโรป 
มีการค้นพบต้นไม้ที่เก่าแก่ที่สุดในยุโรปที่ประเทศอิตาลี อายุกว่า 1,230 ปี และดูเหมือนว่าบางส่วนของต้นยังคงเจริญเติบโตอยู่จนถึงปัจจุบัน

ต้นไม้โบราณนี้จัดอยู่ในประเภทของต้นสน Heldreich’s pine
ถูกพบอยู่บริเวณภูเขาสูงชันภายในอุทยานแห่งชาติ Pollino ของอิตาลี โดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Tuscia นำโดย Gianluca Piovesan

เมื่อทีมวิจัยค้นพบต้นไม้ที่ดูเก่าแก่มาก จึงทำการตรวจสอบอายุของต้นไม้ด้วยการนับวงปี แต่เพราะข้างในเนื้อไม้เก่าจนเป็นฝุ่น มีเนื้อไม้บางส่วนหายไปกว่า 20 เซนติเมตร ซึ่งนั่นหมายถึงวงปีที่หายไปหลายปี จนไม่สามารถนับอายุที่แท้จริงได้
ต้นไม้ที่เก่าแก่ที่สุดในยุโรป 
พวกเขาจึงใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์นับอายุด้วยการใช้คาร์บอนกัมมันตรังสี (Radiocarbon Dating) ประกอบกับข้อมูลจำนวนวงปีจากรากและกิ่ง ซึ่งทำให้ตรวจสอบอายุของต้นสนโบราณนี้ได้แม่นยำมากขึ้น

เมื่อผลตรวจอายุออกมาก็ทำให้นักวิจัยถึงกับประหลาดใจ เพราะต้นสนนี้มีอายุเก่าแก่กว่า 1,230 ปี มากกว่าต้นสนในประเทศกรีซ ที่มีอายุ 1,075 ปี ทำให้กลายเป็นต้นสนที่มีอายุมากที่สุดในยุโรป และที่ทำให้น่าประหลาดใจกว่านั้นคือ พบว่าวงปียังคงขยายตัวขึ้นในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา สะท้อนว่ามันยังคงมีการเจริญเติบโตอยู่ แม้ว่าจะมีบางส่วนตายแล้วก็ตาม

สิ่งที่ทำให้ต้นสนโบราณต้นนี้ยังคงมีชีวิตอยู่ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ทีมวิจัยสันนิษฐานว่าอาจมาจากสภาพแวดล้อมที่ดี เต็มไปด้วยธรรมชาติ ประกอบกับคุณสมบัติของต้นสนที่มีอายุยืนทนทาน ซึ่งแตกต่างกับต้นไม้อื่นๆ ในภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียนนี้ที่มีการเจริญเติบโตลดลงจากสภาพอากาศ รวมถึงผลจากการรณรงค์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

วารสาร Ecology รานงานว่า การค้นพบต้นสนโบราณแสดงให้เห็นว่ามันสามารถเอาชีวิตรอดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างสุดขั้วมาหลายพันปี จากในยุคที่อากาศเย็นจัดไปจนถึงยุคอากาศอบอุ่นและแห้งแล้ง ซึ่งช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจการปรับตัวของต้นไม้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปัจจุบันที่กำลังเป็นปัญหาสำคัญได้มากขึ้น
Oliver Konterform จากมหาวิทยาลัย Mainz เยอรมนี ผู้ที่เคยค้นพบต้นสนที่เก่าแก่ที่สุดในยุโรปก่อนหน้านี้อายุกว่า 1,075 ปีทางตอนเหนือของประเทศกรีซ ได้กล่าวว่า อายุของต้นไม้เป็นสิ่งที่น่าประทับใจ ที่มันได้ผ่านช่วงชีวิตมนุษย์ในพื้นทีมาหลายพันปีก่อน

รายงานระบุต่อว่า ในช่วงที่สังคมเปลี่ยนจากยุคเกษตรกรรมมาเป็นสังคมเมืองมากขึ้น ทำให้ป่าถูกบุกรุกและถูกทำลายมากขึ้นโดยฝีมือมนุษย์ แต่ว่าบริเวณป่าที่ค้นพบต้นสนโบราณนี้อยู่ห่างไกลที่มนุษย์เข้าถึงยาก ทำให้มันไม่ถูกทำลายและยังคงมีชีวิตอยู่ นอกจากนี้อุทยานแห่งชาติ Pollino มีต้นสนนับพันๆ ต้น อายุกว่า 500-600 ปี ซึ่งยังพบว่ามีอีกราวๆ 3 ต้นคาดว่าจะมีอายุมากกว่าพันปี

เห็ดพอร์ชินี

เห็ดพอร์ชินี วัตถุดิบชั้นเยี่ยมในอาหารยุโรป

เห็ดพอร์ชินี (Porcini mushrooms) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Boletus edulis เป็นเห็ดที่กระจายพันธุ์ทั่วไปทางตอนเหนือของยุโรป เอเชีย และอเมริกาเหนือ มีการนำไปเพาะในแอฟริกาใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์

ถือเป็นเห็ดที่มีขนาดใหญ่ ดอกเห็ดมีขนาดตั้งแต่ 7-30 เซนติเมตร ลำต้นจะเป็นสีขาวหรือสีเหลืองมีขนาดความสูงประมาณ 25 เซนติเมตร ความหนา 10 เซนติเมตร และอาจมีน้ำหนักมากถึง 3 กิโลกรัม

เห็ดพอร์ชินีเป็นเห็ดที่มีไขมันต่ำช่วยในการย่อยคาร์โบไฮเดรต มีโปรตีนสูง วิตามิน เกลือแร่ และใยอาหาร 

นิยมนำไปทำเป็นซุป พาสต้า รีซอตโต ในช่วงนอกฤดูกาลมีขายทั่วไปตามตลาดในรูปเห็ดแห้งหรือแช่ในน้ำมันมะกอก
(Porcini mushrooms)


เห็ดหลินจือยักษ์หนัก 4.2 กิโลกรัม ถูกพบในประเทศจีน

เห็ดหลินจือยักษ์หนัก 4.2 กิโลกรัม ถูกพบในประเทศจีน

cgtn เผยเรื่องราวที่เกิดขึ้นเมื่อ 19 เมษายน 2561 ที่ผ่านมา ชาวบ้านอำเภอน่าหย่ง มณฑลกุ้ยโจว ต่างพากันฮือฮากับเห็ดหลินจือยักษ์ที่เก็บได้ในป่าลึกบนภูเขา เห็ดดังกล่าวมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ 80 เซนติเมตร หนัก 4.2 กิโลกรัม

คุณยายเฉินหลันเฟยซึ่งเป็นผู้อาวุโสคนหนึ่งในหมู่บ้านระบุว่า “ฉันอายุ 75 ปีแล้ว ไม่เคยเห็นเห็ดหลินจือขนาดใหญ่เท่านี้มาก่อนเลย” 

“เมื่อสมัยเด็กๆ ฉันเคยได้ยินคนเฒ่าคนแก่เล่าให้ฟังถึงเห็ดหลินจือยักษ์แบบนี้ละ แต่ก็ไม่เคยได้เห็นของจริงเลยจนวันนี้” เธอเล่าพลางลูบคลำเห็ดหลินจือยักษ์ด้วยรอยยิ้มดีใจ
เห็ดหลินจือ เป็นยาจีน ที่ใช้กันมานานกว่า 2,000 ปี นับตั้งแต่สมัยจักรพรรดิฉินซีฮ่องเต้เป็นต้นมา เห็ดหลินจือเป็นของหายากมีคุณค่าสูงในทางสมุนไพรจีน

เห็ดหลินจือได้ถูกบันทึกไว้ว่า มีขึ้นอยู่ตามธรรมชาติมาก กว่า 100 สายพันธุ์ และสำหรับสายพันธุ์ที่นิยมมีสรรพคุณทางยาดีที่สุดคือ กาโนเดอร์ม่า ลูซิดั่ม (Ganoderma lucidum) หรือสายพันธุ์สีแดง

วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564

Truffle เห็ดที่แพงที่สุดในโลก

เห็ดทรัฟเฟิล เห็ดที่แพงที่สุดในโลก
เห็ดทรัฟเฟิล (Truffle) เป็นหนึ่งในเห็ดที่หายากมากที่สุดในโลก มันจะโตอยู่ใต้ดินบริเวณรากของต้นโอ๊กและต้นบีช นิยมใช้สุนัขและหมูในการค้นหาเห็ด 
เพราะเห็ดมีกลิ่นเฉพาะตัวที่หมูและสุนัขสามารถหาเจอ

สำหรับเห็ดทรัฟเฟิลที่มีราคาแพงที่สุดนั้นเป็นเห็ดทรัฟเฟิลสีขาว 
ใน 2010 มีการประมูล
ทรัฟเฟิลสีขาวที่มีน้ำหนักเกือบ 1 กิโลกรัม ด้วยราคาสูงถึง 330,000 USD 
สำหรับเห็ดทรัฟเฟิลดำมีมูลค่ารองลงมากจากเห็ดทรัฟเฟิลสีขาว
Truffle

ศรีตรัง หนึ่งในต้นไม้ที่สวยที่สุดในโลก



ค้นหา
Jacaranda mimosifolia หรือ ศรีตรัง เป็นไม้ต้นผลัดใบขนาดกลางในวงศ์แคหางค่าง มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ แต่เนื่องจากออกดอกเป็นช่อใหญ่และมีสีสวยงามจึงได้รับการนำไปปลูกเป็นไม้ประดับอย่างกว้างขวางทั่วโลก ช่อดอกของศรีตรังนั้นเกิดที่ปลายยอด ดอกสีม่วง เมื่อบานพร้อมกันจะกลายเป็นพุ่มสีม่วงงดงาม

พระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) ได้นำศรีตรังชนิด J. obtusifolia มาปลูกที่เมืองตรังเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2444 

ปัจจุบันศรีตรังชนิดนี้เป็นชนิดที่นิยมปลูกกันทั่วไปในประเทศไทย ทั้งยังได้รับการกำหนดให้เป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานและดอกไม้ประจำจังหวัดตรัง
เมื่อ 22 ปีก่อน ผู้เขียนมีโอกาสเดินทางไปประเทศอินเดียเป็นครั้งแรก ถึงวันนี้เวลาที่ล่วงเลยไปเนิ่นนานทำให้ความทรงจำเกี่ยวกับการเดินทางครั้งนั้นเลือนหายไปแทบหมดสิ้น เหลือเพียงสิ่งที่สำคัญและประทับใจจริงๆ เพียงไม่กี่อย่าง และหนึ่งในความทรงจำที่เหลืออยู่จากการเดินทางครั้งนั้นก็คือ ดอกไม้ชนิดหนึ่ง

จำได้ว่ามีโอกาสเข้าไปเยี่ยมชมสวนสาธารณะแห่งหนึ่ง ได้พบต้นไม้กำลังออกดอกสีม่วง เต็มไปทั้งต้นไม่มีใบเหลืออยู่เลย ใต้ต้นที่เป็นลานโล่งนั้นมีดอกไม้ร่วงลงมาคลุมอยู่ มองเป็นพรมสีม่วงเต็มไปทั้งบริเวณ ดูงดงามจับใจ

ผู้เขียนเข้าไปยืนอยู่ใต้ต้นไม้นั้น มีดอกไม้ร่วงหล่นลงมาเป็นระยะๆ ผู้เขียนยื่นมือออกไป หงายฝ่ามือขึ้นสักพักก็ปรากฏว่ามีดอกไม้ร่วงหล่นมาใส่มือของผู้เขียนดอกหนึ่ง ซึ่งผู้เขียนได้เก็บรักษาเอาไว้เป็นอย่างดี และนำกลับมาเมืองไทยด้วย เพราะเชื่อว่าเป็นดอกไม้ที่นางไม้ประจำต้นไม้นั้นมอบให้ผู้เขียนเป็นพิเศษ

ผู้เขียนได้ถามเจ้าหน้าที่ในสวนสาธารณะแห่งนั้นถึงชื่อของต้นไม้นี้ คำตอบก็คือ JACARANDA ผู้เขียนจึง จำได้ว่าเป็นต้นไม้ที่คนไทยรู้จักกันในนาม "ศรีตรัง" นั่นเอง
ศรีตรัง : ไม้งามจากแดนไกล
ศรีตรังมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Jacaranda filicifolia D. Don. อยู่ในวงศ์ Bigoniaceae เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นสูงราว 10 เมตร ลำต้นค่อนข้างเปลา กิ่งก้านค่อนข้างโปร่ง เปลือกมีสีน้ำตาลซีด

ใบ
เป็นใบรวมแบบ 2 ชั้น กลุ่มใบจับกันเป็นแผงคล้ายใบเฟิร์น หรือหางนกยูง ยาวราว 30 - 40 เซนติเมตร ใบย่อยยาวราว 7 เซนติเมตร ออกตามก้านไปเป็นคู่ ๆ แผงละประมาณ 30 - 35 ใบ

 
ดอก
ออกเป็นข้อแขนงขนาดใหญ่มีปลายกิ่ง ช่อดอกรูปพีระมิด โคนดอกเชื่อมติดกัน ดอกคล้ายระฆัง ปลายดอกแยกเป็น 5 กลีบ ขนาดยาวราว 5 เซนติเมตร กลีบดอกสีน้ำเงินอมม่วง มีเกสรตัวผู้อยู่บนกลางดอกมีสีเหลือง หรือส้ม

ศรีตรังมีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ โดยเฉพาะประเทศบราซิล นำเข้ามาปลูกครั้งแรกในประเทศไทย โดยพระยารัษฎานุประดิษฐ์ สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต เมื่อราว 100 ปีมาแล้ว โดยปลูกครั้งแรกที่จังหวัดตรัง จึงได้รับการตั้งชื่อภายหลังว่า "ศรีตรัง" นับเป็นชื่อที่ไพเราะ และได้ความหมายเหมาะสมอย่างยิ่ง

ศรีตรัง เป็นต้นไม้ที่ปลูกได้ง่าย ชอบแดดกลางแจ้ง และขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด ออกดอกปีละครั้ง ช่วงฤดูหนาว ต่อฤดูร้อน หากอากาศค่อนข้างแห้งแล้งจะทิ้งใบจนหมดมีแต่ดอกดูงดงามยิ่ง ดังที่ผู้เขียนได้ความประทับใจที่ไม่เคยลืมเลือนมาจนทุกวันนี้

ข้าวโพดที่สวยที่สุดในโลก ข้าวโพดอัญมณี

🌱มารู้จักข้าวโพดที่สวยที่สุดในโลก ข้าวโพดอัญมณี

ข้าวโพดที่เห็นนี้ไม่ใช่ข้าวโพดธรรมดาทั่วไปเหมือนที่เรากิน แต่เป็นข้าวโพดอัญมณีหรือแฟนซีก็ว่า
ได้มีชื่อว่า Glass Gem Corn จะเรียกว่าเป็นข้าวโพดที่สวยงามที่สุดในตอนนี้เลย 

ขนาดเห็นครั้งแรกยังคิดว่าน่าจะเป็นของปลอมหรือแต่งภาพเติมสีให้สวยแน่ๆ แต่ที่แท้แล้วมันคือข้าวโพดของจริงและกินได้ด้วย
สวยจนร้องว้าว! ข้าวโพดอัญมณี ที่เห็นแล้วจะต้องตะลึง 
Glass Gem Corn ส่วนจุดต้นกำเนิดของข้าวโพดอัญมณีเริ่มขึ้นเมื่อ นายคาร์ล บาร์นส์ เกษตรกรชาวไอริชที่อพยพมาอาศัยอยู่ในโอคลาโฮมา สหรัฐฯ 

เขามีความสามารถด้านการเพาะพันธุ์ข้าวโพดจนสังเกตุเห็นว่าเมล็ดข้าวโพดในไร่ของเขามีสีที่ดูแตกต่างไปจากปกติ  เขาจึงเริ่มศึกษาอย่างจริงจัง จนประสบความสำเร็จได้ข้าวโพดอัญมณีที่ไม่เคยมีใครมีมาก่อนตอนยุค 90’s
Glass Gem Corn

จนมาในปี 2553 ก่อนที่นายคาร์ลจะจากโลกนี้ไป เขาได้ฝากข้าวโพดอัญมณีไว้กับ นายเกรก สโคน 

นักเพาะพันธ์ข้าวโพดเพื่อไม่ให้พันธ์พันธ์ไปและความหวังของนายคาร์ลก็เป็นจริง เมื่อข้าวโพดอัญมณีเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย 

ในปี2555 เป็นต้นมา  ตอนนี้ประเทศเราก็มีเกษตรกรหลายเจ้าขายเมล็ดข้าวโพดอัญมณีกันแล้ว ใครชอบจะลองซื้อมาปลูกกัน
ข้าวโพดอัญมณี ที่เห็นแล้วจะต้องตะลึง Glass Gem Corn 

รายการบล็อกของฉัน