ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2558

3 พันธุ์ไม้ ที่ช่วยให้คุณหลับสบาย

3 พันธุ์ไม้ ที่เมื่อได้ดมกลิ่มหอมของดอกไม้นี้จะช่วยให้คุณหลับสบาย ฝันดี ฝันหวาน ตลอดทั้งคืน
มันคงจะเป็นเรื่องดีหากต้นไม้ไม่ได้เป็นเพียงแค่ช่วยทำให้บ้านของคุณดูดีแต่กลับทำ
ให้คุณสุขภาพดีเพราะมันยังช่วยบรรเทาและทำให้จิตใจของคุณสงบลง เลยอยากแนะนำพันธุ์ไม้3ชนิดที่จะช่วยให้คุณหลับสบายซึ่งจะส่งผลดีทั้งต่อร่างกายและจิตใจหลังตื่นนอน

1.ต้นมะลิ จากการศึกษาของมหาวิทยาลัย WheelingJesuitกลิ่นของดอกมะลิทำให้การนอนหลับมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอีกทั้งยังช่วยปรับทัศนคติและลดความวิตกกังวลหลังจากตื่นนอนขึ้นมา
ในตอนเช้าได้อีกด้วยกลิ่นของดอกมะลิไม่ได้ทำให้คุณนอนหลับได้เยอะขึ้นแต่มันทำให้คุณนอนหลับได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ดังนั้นนอกจากมะลิจะเป็นพืชที่มอบความ
สวยงามให้กับบ้านแล้ว ด้วยความหลากหลายพันธุ์ของมันจึงทำให้เราสามารถเลือกมะลิมาปลูกไว้ในบริเวณบ้านได้มากขึ้น มะลิลาอาจเป็นไม้เถาที่เติบโตได้ดีในดิน หรือมะลิบางพันเป็นไม้พุ่มเตี้ยที่คุณสามารถนำมาปลูกประดับไว้ภายในบ้านได้อย่างเหมาะสมกลมกลืน

2.ต้นพุดซ้อน กลิ่นหอมของดอกพุดซ้อนสามารถทำให้คุณนอนหลับได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.ลาเวนเดอร์ หลายคนได้กลิ่นลาเวนเดอร์จากน้ำยา ครีม สบู่และแชมพู และเรามักจะเห็นว่าคนส่วนใหญ่เลือกใช้กลิ่นลาเวนเดอร์เป็นส่วนผสมในของที่ใช้ภายในห้องน้ำ เนื่องจากกลิ่นของมันช่วยลดความเครียด ทำให้ผู้ที่ได้รับกลิ่นรู้สึกผ่อนคลาย นอกจากนี้ลาเวนเดอร์ยังถูกนำมาใช้เป็นเสมือนสมุนไพรสำหรับช่วยบำบัดโรคนอนไม่หลับ ภาวะซึมเศร้า และความรู้สึกวิตกกังวล ซึ่งมีผลการวิจัยยืนยันมาแล้วว่าเมื่อเราสูดดมกลิ่นของลาเวนเดอร์แล้วจะทำให้จิตใจของเราสงบลงดังนั้นนี่จึงเป็นพันธุ์ไม้อีกหนึ่งชนิดที่จะทำให้คุณนอนหลับได้โดยไม่ต้องพึงยา
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มักประสบปัญหานอนไม่หลับ ลองนำต้นไม้เหล่านี้มาปลูกไว้ในบ้านสักต้น กลิ่นของมันจะช่วยลดความตึงเครียดและทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลาย หลับสบายตลอดคืน
เรียบเรียงข้อมูลบางส่วนจาก menlove

ต้นบุกคางคกออกดอกคล้ายพระพุทธรูป

 ชาวบ้านตื่นตะลึงจนตาเหลือก!!!!! ต้นบุกคางคกออกดอกคล้ายพระพุทธรูป
ชาวบ้านกำแพงเพชรฮือฮาดอกไม้ประหลาดคล้ายพระพุทธรูป แห่เดินขบวนนำพวงมาลัย ธูปเทียน
ไปกราบไหว้บูชาขอเลขเด็ดจาก"เจ้าพ่อบุกคางคก"

ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดกำแพงเพชรได้รับแจ้งจากนางวารี ฤทธิ์อำไพ สมาชิกสภาเทศบาลตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน ว่าพบดอกไม้ประหลาดที่บ้านใหม่ศรีสุวรรณ์ หมู่ 25 ตำบลคลองน้ำไหล จึงไปตรวจสอบข้อเท็จจริงพบชาวบ้านที่ทราบข่าวต่างมามุงดูดอกไม้ประหลาดด้วยความสนใจ โดยมีพวงมาลัยและธูปปักอยู่เป็นจำนวนมาก
นางเฉลา ชาววังฆ้อง อายุ 50 ปี เผยว่า ตนมีอาชีพทำไร่ทำนา โดยบ้านดังกล่าวเป็นของนางแดง ชาววังฆ้อง มารดาของตน อายุ 78 ปี  ส่วนดอกไม้ลักษณะประหลาดที่เห็นเกิดจากต้นบุกคางคกที่อยู่บนเขาที่ชาวบ้านนำไปแกงหรือต้มกินได้ ซึ่งได้มีการนำมาปลูกไว้ใกล้บ่อน้ำข้างบ้านหลายปีแล้ว ซึ่งปกติจะออกดอกเหมือนต้นบุกทั่วไป แต่เมื่อ 2-3 วันก่อน ต้นบุกคางคกเพิ่งจะออกดอกมาและพบว่ามีรูปร่างประหลาดคล้ายพระพุทธรูป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับดอกไม้ประหลาดนี้งอกเพิ่มจากส่วนลำต้นบุกคางคกสูงจากพื้นดินประมาณ 40 ซม. ส่วนล่างเป็นลำต้นสีเขียว ลักษณะบานออกเป็นพานพุ่มสีม่วงเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 30 ซม. ซ้อนด้วยช่อสีเหลืองอ่อน โดยมีพุ่มคล้ายกับพระพุทธรูปสีม่วงเข้มอยู่ด้านบนสุด ซึ่งนับว่าแปลกประหลาดแต่สวยงามมากซึ่งไม่เคยพบเห็นมาก่อน  ส่วนชาวบ้านที่มาดูความแปลกประหลาดต่างวิพากษณ์วิจารณ์พร้อมกับนำพวงมาลัย และธูปมากราบไหว้บูชาขอโชคลาภตามธรรมเนียม
บุกคางคก หรือ STANLEY" S WATER-AMORPHOPHALLUS  CAM-PANULATUS BL. EX DECNE อยู่ในวงศ์ ARACEAE เป็นไม้ล้มลุก งอกงามดีในช่วงฤดูฝนและตายในต้นฤดูหนาว  แต่จะมีหัวฝังอยู่ใต้ดิน เมื่อมีฝนตกลงมาจะงอกงามขึ้นอีกเป็นวัฏจักรทุกๆปี ก้านใบยาวได้ 150-180 ซม. อวบน้ำ ใบกางออกคล้ายร่ม ก้านใบมีลายสีเขียวและน้ำตาล ดอกสีแดง "ผล" เนื้อนุ่ม สีแดง ขยายพันธุ์ด้วยหัว มีชื่อเรียก ตามท้องถิ่นอีกเยอะ เช่น มันชูรัน บุกบ้าน และอีลอก เป็นต้น
บุกคางคก จัดเป็นพืชโบราณชนิดหนึ่งที่พบขึ้นทุกภาคของประเทศไทย โดยในทางอาหารชาวชนบทสมัยก่อนนิยมเอาต้นอ่อนปอกเปลือกออก และใบอ่อนปรุงเป็นอาหารคล้ายๆ กับบอน ส่วนใหญ่ทำแกงส้ม แกงเลียง และทำห่อหมก รสชาติอร่อยมาก แต่ก่อนนำไปปรุงเป็นอาหารจะต้องเอาไปต้มก่อน โดยใส่ลงไปตอนที่น้ำกำลังเดือดเพื่อให้หมดพิษคล้ายกับหัวกลอยจะได้ไม่มีอาการคันเมื่อปรุงเป็นอาหารรับประทาน ปัจจุบันไม่นิยมรับประทานกันแล้ว เนื่องจากมีขั้นตอนก่อนปรุงอาหารยุ่งยากเกินไป
ในทางสมุนไพร ตำรายาแผนไทยระบุว่า หัวมีสารจำพวกแป้งชนิด GLUCOMANNAN ซึ่งมีปริมาณและชนิดแตกต่างกันไป แล้วแต่ ชนิดของบุก หรือ "บุกคางคก" พบว่าสามารถลดระดับ "คอเลสเทอรอล" ในสัตว์ทดลอง และ ใช้กับผู้ป่วย "โรคเบาหวาน" เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ นอกจากนั้นยังมีรายงานว่า สารสกัด "แอลกอฮอล์" จากหัวสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ "วัณโรค" ในหลอดแก้วด้วย ตำรายาพื้นบ้าน หัว ใช้กัดเสมหะ กัดเถาดานและเลือดก้อน หรือใช้หุงเป็นน้ำมันใส่บาดแผลกัดฝ้ากัดหนองได้

วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ต้นดอกกระเทียมเถา

กระเทียมเถา
ต้นกระเทียมเถา ไม้เลื้อยกลิ่นรุนแรงเหมือนชื่อ "กระเทียม"   แต่เพราะดอกสีสวย
จึงพอจะกลบเกลื่อนกลิ่นฉุนๆได้.
ชื่อวิทยาศาสตร์: Pachyptera hymenaea., A. Gentry
ชื่อวงศ์: BIGNONIACEAE
ชื่อสามัญ: Garlic Vine
ชื่อพื้นเมือง: -
ลักษณะทั่วไป:
ต้น เป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็ง ขนาดกลาง มีลำต้นเป็นเถาใหญ่ แข็งแรง สามารถเลื้อยไปได้ไกลมากกว่า 10 เมตร เถาอ่อนและส่วนยอดจะเป็นสีเขียว ส่วนเถาแก่จะเป็นสีน้ำตาล ผิวเรียบเกลี้ยง
ใบ มีใบประเภทใบประกอบ มีใบย่อย 1 คู่ ออกตรงข้ามกันตามข้อต้น เป็นไม้ใบบางแต่แข็งกระด้างใบรีหรือมน หรือใบรูปไข่ขอบใบเรียบ ปลายใบและโคนใบแหลม ก้านใบสั้น มีมือเกาะอยู่ระหว่างใบย่อยแต่ละคู่ในขณะ
ที่ใบยังอ่อน
ดอก ออกเป็นช่อตามข้อต้น หรือตามโคนกาบใบ ช่อหนึ่งจะมีประมาณ 10-20 ดอก กลีบเลี้ยง 5 กลีบลักษณะดอกจะเป็นรูปกรวยปากบาน หรือรูปแตร มีกลีบดอกแยกออกเป็น 5 กลีบ เมื่อดอกบานใหม่ ๆ จะเป็นสีขาว แล้วจะกลายเป็นสีชมพูและสีม่วง เมื่อแก่จัด มีเกสรตัวผู้ภายในดอก 4 อัน สั้น 2 อัน และยาวอีก 2 อัน ในช่วงที่ออกดอก กระเทียมเถาจะทิ้งใบหมด
ฝัก แบน กว้าง รูปขอบขนาน ปลายแหลม ฝักแก่จะแตกออกตามรอยประสานทั้ง 2 ด้าน
เมล็ด มีจำนวนมาก แบน ด้านข้างมีปีกบางใสทั้ง 2 ด้าน
ฤดูกาลออกดอก: ออกดอกปีละครั้ง เดือน พฤศจิกายน - กุมภาพันธุ์ หรือออกดอกในช่วงฤดูฝน-ฤดูหนาว
การขยายพันธุ์: การปักชำ การตอน การทาบกิ่ง และเพาะเมล็ด
การปลูก: ปลูกลงดิน โดยไม่นิยมปลูกลงกระถางและเหมาะที่จะปลูกตามซุ้มประตูบ้าน ริมรั้วบ้าน หรือสวนภายในบ้าน และสวนสาธารณะ เป็นต้น
การดูแลรักษา: ปลูกในดินร่วนปนทราย หรือในดินร่วนซุย ชอบแสงแดดจัด ต้องการน้ำปานกลาง
ส่วนที่มีกลิ่นหอม: ใบมีกลิ่นคล้ายกระเทียม
การใช้ประโยชน์: 
- ไม้ประดับ
- บริโภค
ถิ่นกำเนิด: เม็กซิโก ถึงบราซิล
แหล่งที่พบ: ทุกภาคของประเทศไทย
ส่วนที่ใช้บริโภค: ใบอ่อน
การปรุงอาหาร: ใบอ่อน นำมารับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก

วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ต้นไม้กินคน (Man-eating tree)

ต้นไม้กินคน.

พูด ถึง ต้นไม้กินคน (Man-eating tree) มันมีอยู่ในนิยายหลายเรื่อง และเรื่องเล่ามาช้านานแล้ว แต่ปัญหาที่นักธรรมชาติวิทยาต่างสงสัยกันคือ มันมีจริงอยู่บนโลกใบนี้หรือเปล่า?

จริงอยู่ที่พวกต้นไม้กินสัตว์(Carnivorous-plants) มีอยู่จริง และมีหลายชนิดด้วย แต่มันกินแค่แมงและสัตว์เล็กๆเท่านั้น แต่พวกสัตว์ใหญ่ๆ นั้น นักพฤกษศาสตร์บอกว่ามันไม่เคยปรากฏ

แต่ทว่า เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 19 คาร์ล ลิช (Karl Liche) นักเดินทางชาวเยอมันได้เขียนจดหมายถึง ดร.โอเมเลียส เฟรดโลวสกี้ เขาเล่าเรื่องเหลือเชื่อ ที่เขาท่องเที่ยวบนเกาะมาดากัสคาร์และได้พบกับต้นไม้กินคน..........

เขา กับเพื่อนเฮนดริกที่เป็นล่าม ได้ทำความรู้จักฉันมิตรกับพวกปิกมี่เผ่าฮึมโกโด ชนเผ่าที่อาศัยอยู่ในถ้ำ คนพวกนี้เป็นชนเผ่าล้าหลังที่ยังเปลือยกายอยู่ พวกเขาชวนคาร์กร่วมพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จากนั้นก็พากันเดินเข้าไปในป่าทึบแล้วไปหยุดตรงที่โล่งตรงคุ้มลำธาร ที่นั้นมีต้นไม้ประหลาดขึ้นต้นหนึ่ง ซึ่งพวกฮึมโดโดเรียกมันว่า เตเป (Tepe)
คาร์ล ลิช ได้พรรณนารูปร่างลักษณะที่พิลึกพิลั่นของมันว่า
“ลองนึกภาพสับประรดสูงแปดฟุตและใหญ่ตามสัดส่วน แต่เป็นสีน้ำตาลเข้ม ดูแล้วแข็งเหมือนเหล็ก ใบแปดใบย้อยลงมาจากลำต้น แต่ละใบยาวราวสิบเอ็ดฟุต และเรียวจนแหลม ใบสีเขียวคล้ำเหี่ยวห้อยและเหนียวมากเหมือนเสี้ยนโอ๊ก มีของเหลวใสรสหวานดื่มแล้วทำให้เมามายซึม
ออกมาที่แอ่งกลางยอดมีมือพัน ยาวแปดฟุตสีเขียว
มีขนยาวออกมาทุกทิศทุกทาง มีรยางค์สีขาวเกือบใสหกใบชูสูงขึ้นไปในอากาศ หมุนและบิดไปมาไม่หยุดนิ่ง แต่ก็ยังชูตั้งอยู่อย่างนั้น มันสูงห้าหกฟุต บางขนาดใบกก และอ่อนเหมือนขนนก.............”

“การเฝ้าของข้าพเจ้าถูกขัดจังหวะลงด้วย
พวกพื้นเมืองที่เดินส่งเสียงไปรอบๆ ต้นไม้ด้วยน้ำเสียโหยหวน เขาท่องมนต์ที่ล่ามของข้าพเจ้าบอกว่าเพื่อขอลุแก่โทษปีศาจที่ยิ่งใหญ่ประจำ ต้นไม้ ขณะที่ยังคงกรีดร้องและท่องมนต์กระชั้นขึ้นนี้ พวกเขาก็ล้อมหญิงสาวคนหนึ่งใช้หลาวแหลมๆ จี้เธอ เธอไต่ขึ้นไปตามลำต้นอย่างช้าๆ สีหน้าหมดหวังและขึ้นไปยืนอยู่บนปลายยอด ซิก! ซิก! (ดื่ม! ดื่ม!) เสียงคนร้องตะโกณบอก เธอก้มลงดื่มน้ำเหนียวข้นในเบ้าแล้วยืนขึ้นใหม่ด้วยใบหน้าบ้าคลั่งและแขน สั่นระริก เธอทำเหมือนกระโดดลงมา แต่มิได้กระโดด


ต้นไม้ กินคน.ที่เห็นนิ่งเฉยและดูเหมือนตายกลับมีชีวิตขึ้นมาอีกครั้ง รยางค์ที่เรียวและบอบบางของมันสั่งระริกดั่งความโกรธเกรี้ยวของอสรพิษที่ กำลังหิวกระหายอยู่เหนือตัวของเธอ แล้วเหมือนด้วยสัญชาตญาณของปีศาจ มันมัดเธอด้วยการรัดรอบคอและแขนรอบแล้วรอบเล่า ขณะเดียวกันเสียงเกลียดร้องด้วยความหวาดกลัวของเธอก็ค่อยแผ่วลง กลายเป็นเสียงครางอึกๆ อักๆ มือพันที่ดูเหมือนงูสีเขียวตัวใหญ่พากันชูขึ้นและหดตัวรัดรอบเธอวงแล้ววง เล่า รัดแน่นๆ เข้าอย่างรวดเร็วและเหนียวแน่นเหมือนงูอนาคอนดารัดเหยื่อไม่มีผิด

แล้ว ตอนนี้ใบใหญ่ๆ ของมันก็ค่อยๆ ยกขึ้นช้าๆ และแข็งขึ้น เหมือนแขนของปั่นจั่นยกตัวเองขึ้นบนอากาศ ขึ้นไปหาใบอื่นและปิดหุ้มรัดเหยื่อที่ตายแล้วด้วยพลังอันเงียบเชียบ เห็นโคนของใบไม้เหล่านี้เบียดเข้าหากันแน่นๆ เข้า มีของเหลวคล้ายน้ำผึ้งผสมเลือดไหลออกมาตามลำต้น พอเห็นดังนี้พวกคนป่ารอบๆ ตัวข้าพเจ้าก็ไชโยโห่ร้องออกมาอย่างบ้าคลั่ง วิ่งเข้าห้อมล้อมต้นไม้ ใช้ใบไม้ ใช้มือรองของเหลวมาดื่ม บ้างก็ใช้ลิ้นเลียจนมึนเมา จากนั้นก็มีพิธีกรรมที่อุจาดตามมาอีกจนไม่สามารถบรรยายได้ตามมา

ใบไม้ ของต้นไม้ใหญ่คงอยู่ตำแหน่งตั้งขึ้นข้างบนแบบนั้นอยู่สิบวัน เมื่อข้าพเจ้ากลับมาในเช้าวันหนึ่งมันก็กลับตกลงเหมือนเดิม มือที่พันก็เหยียดยาวอย่างเดิม และนอกจากกะโหลกขาวที่ตกอยู่ที่โคนต้นแล้วก็ไม่มีอะไรอื่นเปลี่ยนแปลง”

จดหมายฉบับนี้ถูกส่งในนิตยสารภาษาเยอรมันชื่อ Graefe und Walther เมื่อปี 1878 หลัง จากนั้นก็มีผู้แปลลงในหนังสือพิมพ์เมล์ที่ออกที่เมืองมัทราส อินเดีย และลงในหนังสือพิมพ์เวิลด์ ของกรุงนิวยอร์ก และในนิตยสารรียิสเตอร์ของออสเตรเลียเมื่อ ปี 1880 ทำ ให้เรื่องของต้นไม้กินคนกลายเป็นสนใจของสาธารณชน แต่พวกนักพฤษศาสตร์และนักสำรวจหลายคนไม่ยอมรับเรื่องนี้เพราะอ่านแล้วมัน เหมือนนิยายเกินไป อีกทั้งคนชื่อลิชก็เป็นใครก็ไม่รู้ ทำให้เรื่องของต้นไม้กินคนจึงค่อยๆ เงียบหายไป

ต้นไม้กินคนเพิ่งจะกลับมาฮือฮากันอีกครั้งเมื่อหนังสือพิมพ์อเมริกันวิกลี่ ฉบับวันที่ 26 กันยายน 1920 นำ มาลงเป็นเรื่องแทรกวันอาทิตย์ โดยปัดฝุ่นจดหมายของลิชมาเล่าใหม่ ให้ตื่นเต้นมากขึ้น พร้อมลงภาพประกอบเป็นสาวผมทองอยู่ในวงรัดของต้มไม้กินคน จนเป็นที่สนใจของผู้คนจำนวนมาก ไม่เว้นแม้กระทั้งผู้ว่าการรัฐมิชิแกน เชส ซาลมอน ออสบอร์น ที่อุตสาห์ลงทุนไปที่มาดากัสคาร์ เพื่อไปเห็นต้นไม้กินคนด้วยตาของตัวเอง

ถึง แม้ออสบอร์นจะไม่พบต้นไม้กินคนมาที่สมหวังก็ตาม แต่คนพื้นเมืองบนเกาะนั้นแทบทุกคนบอกว่าเคยพบต้นไม้ดังกล่าว เขาบอกว่าต้นไม้นี้มีอยู่จริง
แต่กระนั้นพวกนักพฤกษสาสตร์ก็ทนความรำคาญออกมาโต้ว่า “ถ้าเจอมันจริง พวกตนจะให้เงินรางวัลหมื่นเหรียญ”เลยก็มี

และไม่รู้เพราะเงินรางวัลหรือเปล่า? ที่ทำให้นักผจญภัยที่หิวเงินต่างตามล่าต้นไม้กินคน แอล เฮิร์สต์ อดีตนายทหารอังกฤษ เดินทางไปเกาะมาดามกัสคาร์เมื่อปี 1935 แม้ เขาไม่พบชนเผ่าฮึมโกโด แต่ใช้ว่าล้มเหลว เพราะเขาเจอคนที่บอกเรื่องราวว่า มันคือ ต้นไม้กินคน ที่เรียกมันว่า ต้นไม้ปีสาจ ที่ดักและกินคนมีอยู่จริง จากนั้นเขาก็ท่องเที่ยวค้นหาอยู่บนเกาะนานถึงสีเดือน จนกระทั้งพบต้นไม้ดังกล่าว เขาได้ถ่ายภาพมาด้วย เป็นรูปต้นไม้ใหญ่มีกระดูกสัตว์เกลื่อนรอบลำต้น แต่เขาไม่สามารถเอาต้นเป็นๆ มาได้ เพราะเขาไม่รู้ว่าจะขนออกมาอย่างไร

แต่ นักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่ยอมเชื่อภาพถ่ายเหล่านั้น หาว่าเฮิร์สต์ทำปลอมขึ้นมา เพื่อพิสูจน์ความจริง เฮิร์สต์ได้เดินทางไปที่เกาะมาดากัสคาร์อีกครั้ง แต่ทว่า คราวนี้ เขาไปลับไม่กลับมาอีกเลย ทำให้เรื่องของต้นไม้กินคนยังคงความลึกลับและน่าค้นหาจนถึงปัจจุบัน

ขอบคุณข้อมูลจาก internetและmenlove
ขอบคุณภาพประกอบจาก internet

รายการบล็อกของฉัน