ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2558

ตะขบไทย


ตะขบไทย
ตะขบไทย ชื่อสามัญ Coffee plum, Indian cherry, Indian plum, East Indian plum, Rukam, Runeala plum
ตะขบไทย ชื่อวิทยาศาสตร์ Flacourtia jangomas (Lour.) Raeusch. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Flacourtia cataphracta Roxb. ex Willd.)
ปัจจุบันจัดอยู่ในวงศ์สนุ่น (SALICACEAE)
สมุนไพรตะขบไทย มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ครบ (ปัตตานี), มะเกว๋นควาย (ภาคเหนือ), ตะขบควาย (ภาคกลาง), กือคุ (มลายู ปัตตานี) เป็นต้น

ลักษณะของตะขบไทย
ต้นตะขบไทย จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง แตกกิ่งก้านสาขาที่เรือนยอดของต้น เรือนยอดเป็นรูปไข่ทึบ โคนต้นเป็นพูพอน เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลอ่อนอ่อน แตกลอนเป็นแผ่นบาง ๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด พบขึ้นได้ตามป่าราบ ป่าโปร่ง ป่าดิบแล้ง และตามป่าผลัดใบ ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 300-800 เมตร

ใบตะขบไทย ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนสลับ ลักษณะของใบกลมคล้ายกับใบพุทรา โดยมีลักษณะเป็นรูปรี รูปไข่แกมรูปขอบขนาน หรือรูปหอกกลับ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนหรือสอบ ส่วนขอบใบจักตื้น ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3.5-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-13 เซนติเมตร แผ่นใบบางเป็นสีเขียว ผิวใบด้านบนเป็นสีเขียวเป็นมัน
ดอกตะขบไทย ดอกเป็นสีขาวอมเหลืองและมีกลิ่นหอม ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะสั้นตามซอกใบ ดอกเป็นแบบแยกเพศ อยู่ต่างต้นกัน ดอกเพศผู้มีกลีบดอก 5 กลีบ และมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีเขียว มีขนทั้งสองด้าน มีเกสรเพศผู้จำนวนมาก ส่วนดอกเพศเมียจะคล้ายกับดอกเพศผู้ มีรังไข่เป็นรูปคนโท เกสรเพศเมียมี 2  ออกดอกในช่วงประมารเดือนกุมภาพันธ์

ผลตะขบไทย ผลเป็นผลสดแบบมีเนื้อ ลักษณะของผลเป็นลูกกลม ๆ ขนาดเท่าลูกพุทรา ขนาดประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร ผลเมื่อสุกเป็นสีแดงหรือสีม่วง เมื่อแก่เป็นสีดำ ผลมีรสหวานฝาดเล็กน้อย ภายในมีเมล็ดหายเมล็ด ติดผลในช่วงประมาณเดือนเมษายน
สรรพคุณของตะขบไทย
รากมีรสฝาดเล็กน้อย ใช้ปรุงเป็นยาขับเหงื่อ (ราก)
รากมีสรรพคุณเป็นยากล่อมเสมหะและอาจม (ราก)
เนื้อไม้มีรสฝาด ใช้ทำเป็นยาแก้ท้องร่วง แก้บิด มูกเลือด (เนื้อไม้)
เปลือก แก่น และใบ ใช้เป็นยารักษาอาการปวดเมื่อยตามตัว แก้โรคเหน็บชา รักษาอาการปวดข้อ
แก้เส้นเอ็นพิการ (เปลือก,แก่น,ใบ)

ประโยชน์ของตะขบไทย
ผลสุกมีรสฝาดหวาน ใช้รับประทานได้
ตะขบไทยเป็นไม้ชนิดหนึ่งที่สามารถนำใบมาใช้ในการย้อมสีได้ โดยใช้อัตราส่วนของใบสดต่อน้ำ 1:2 เมื่อนำไปสกัดใช้ใบสด 15 กรัม ย้อมเส้นไหมได้ 1 กิโลกรัม สีเส้นไหมที่ได้จะขึ้นอยู่กับวิธีการสกัดสีและการใช้สารช่วยติดสีชนิดต่าง ๆ ซึ่งการสกัดสีโดยใช้ใบสดนะมาต้มกับน้ำนาน 1 ชั่วโมง กรองเอาแต่น้ำ นำมาย้อมเส้นไหมด้วยวิธีการย้อมร้อน 1 ชั่วโมง และแช่ในสารละลายช่วยติดสีจุนสีหลังย้อมจะได้เส้นไหมสีน้ำตาลเขียว ส่วนการใช้จุนสีขณะย้อมจะได้เส้นไหมสีน้ำตาลเขียวเช่นกัน แต่ถ้านำมาสกัดน้ำสีด้วยวิธีการคั้นเอาน้ำ กรองเอาแต่น้ำ แล้วย้อมเส้นไหมด้วยวิธีการย้อมร้อน และแช่สารละลายช่วยติดสีจุนสีหลังย้อมจะได้เส้นไหมสีเขียวขี้ม้าใช้ปลูกทั่วไป ปลูกเป็นไม้ให้ร่มเงาในสวนผลไม้หรือตามสวนป่าเพื่อเป็นอาหารของนก

รายการบล็อกของฉัน