ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2565

ทุเรียนสีรุ้ง

เคยเห็นแต่ทุเรียนสีดำ สีแดง สีชมพู แต่ทุเรียนนี้เขาบอกเป็นสีรุ้ง ขอนำเสนอ ทุเรียนสีรุ้งบ้างนะครับ..ส่วนใครอยากจะกินทุเรียนอะไรๆก็กินๆเข้าไป มันเข้าไปกองอยู่ในท้องเข้าไปรวมในกระเพาะ  แล้วมันก็ไปร่วมอยู่ที่เดียวกัน  ส่วนความเอร็ดอร่อยมันขึ้นอยู่กับบุคคลขึ้นอยู่กับลิ้นสัมผัส ผสม จมูกรับรู้กลิ่น แต่ ถ้าลิ้นเสียพิการจมูกไม่ได้กลิ่นคุณจะกินอะไรมันก็ไม่อร่อยหรอก สุดท้ายมันก็ย่อยออกมาเป็นกาก อุจจาระ เหมือนไปกัน

ทุเรียนสีรุ้ง

เมื่อประมาณเดือนเมษายนที่ผ่าน นิตยสาร Trubus ของอินโดนีเซียได้ไปเยี่ยมสวนทุเรียนที่ปาปัว ซึ่่งเป็นจังหวัดทางตะวันตกของอินโดนีเซีย และคาดว่าทุเรียนสีรุ้ง หรือทุเรียน Pelangi นี้สามารถพัฒนาไปเป็นทุเรียนคุณภาพเยี่ยมได้ในอนาคต

โอกาสนี้เคหการเกษตรจึงได้นำข้อมูลบางส่วนมาแลกเปลี่ยนให้เกษตรกรชาวสวนทุเรียนตลอดจนชาวสวนไม้ผลอื่นๆ ของไทยได้ชมความหลากหลายของพันธุ์ทุเรียนอินโดนีเซีย ซึ่งสีของเนื้อผลออกแดงระเรื่อดูน่ารับประทานเป็นอย่างยิ่ง

  ทุเรียนสีรุ้ง (Pelangi)

     ทุเรียน Pelangi หรือทุเรียนสีรุ้ง มีเนื้อประมาณ 33-38% ของผลทุเรียน เนื้อหวานหอมคล้ายคาราเมล เป็นที่ชื่นชอบของคอทุเรียนในอินโดฯ อีกทั้งให้ผลผลิตสูงประมาณ 600 ผลต่อต้นในหนึ่งฤดูกาล น้ำหนักต่อผลเฉลี่ยประมาณ 2 กิโลกรัม ให้ผลผลิตปีละ 2 ครั้ง โดยเนื้อทุเรียนรสชาติหอมหวานคล้ายคาราเมลนี้มีเนื้อสีเหลืองทองแดง ปนด้วยสีชมพูและแดง ซึ่งบางครั้งมีสีแดงเข้ม

ทุเรียนสีรุ้งในอินโดนีเซียพันธุ์ต่างๆ

พันธุ์มาร่อน (Maron) จากบันยุวังกี ทางตะวันออกของอินโดนีเซีย           

พันธุ์เทรทส์ (Tretes) 

พันธุ์บูลันกัน (Bulungan) จากกาลิมันตัน ทางตะวันออกของอินโดฯ         

พันธุ์ไลซิน (Licin) 

พันธุ์เซ็กซี่พิงค์ (Sexy Pink) 

พันธุ์ราจา ไตรราซา (Raja Trirasa)             

พันธุ์วายุท (Wayut)

ทุเรียนสายรุ้งเหล่านี้ถูกจำหน่ายไปยังเมืองต่างๆ เช่น บูลันกัน กาลิมันตัน บันยุวังกี และมะหนกวารี เป็นต้น

เคหการเกษตร 

รายการบล็อกของฉัน