ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2565

สาบหมา หรือพาพั้งดำในภาษาไทใหญ่พืชรุกรานอันตรายทั้งพืชและสัตว์


สาบหมา หรือพาพั้งดำในภาษาไทใหญ่ ชื่อวิทยาศาสตร์: Ageratina adenophora เป็นพืชล้มลุกในวงศ์ Asteraceae ชื่อสามัญที่รู้จักกันทั่วไปคือ eupatory, sticky snakeroot, crofton weed, และ Mexican devil ลำต้นสีม่วงแดง ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปไข่ หรือรูปสามเหลี่ยม ขอบใบหยัก ปลายแหลม ดอกเป็นช่อกลม ดอกย่อยสีขาว อัดแน่นเป็นกระจุกกลม ผลแห้ง มีขนสีขาวจำนวนมาก ชาวไทใหญ่ใช้ใบขยี้ห้ามเลือด รากต้มรักษาโรคกระเพาะ

สาบหมาเป็นพืชที่มีฤทธิ์ทางอัลลีโลพาทีชัดเจน สารสกัดด้วยมทานอลจากใบยับยั้งการงอกและการเจริญของไมยราบเครือ ข้าวน้ำรู โสนขน ผักโขมหนาม ผักโขมหัด ถั่วผี หญ้าปากควาย หงอนไก่ป่า กะหล่ำปลี คะน้า และข้าวพันธุ์ กข 23 ได้สารสกัดด้วยเมทานอลจากส่วนเหนือดินยับยั้งการเจริญของผักโขมหนาม ปืนนกไส้ กระดุมใบใหญ่ หงอนไก่ป่า หญ้าขจรจบ โสนขนและหญ้าปากควาย


สำหรับในประเทศไทย ต้นสาบหมาเริ่มระบาดเข้ามาสู่ประเทศไทยจากประเทศพม่าและทางตอนใต้ของจีน ซึ่งในปัจจุบันพบว่าระบาดในพื้นที่ที่สูง จากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 500-600 เมตรขึ้นไป  โดยการระบาดพบมากในพื้นที่ภูเขาทางภาคเหนือของประเทศไทย เช่น บริเวณยอดดอยสุเทพ ดอยปุย ดอยตุง ดอยเชียงดาว ดอยอ่างขาง และดอยอินทนนท์ เป็นต้น จังหวัดที่พบมีการระบาดคือ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิษฐ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และเลย

ต้นสาบหมามีอันตรายต่อปศุสัตว์ จากการที่ม้าบริโภคต้นสาบหมาอย่างต่อเนื่องก่อให้เกิดโรคปอดเรื้อรังหรือที่รู้จักกันว่า Numinbah Horse Sickness หรือ Tallebudgera Horse Disease...

นอกจากต้นสาบหมาจะส่งผลเสียต่อปศุสัตว์แล้วยังส่งผลเสียต่อพืชอีกด้วย อันเนื่องมาจากสารสกัดที่ได้จากต้นสาบหมาเป็นสารที่ส่งผลกระทบต่อพืชชนิดอื่นๆคือ สารแอลลิโลพาธิค (Allelopathy)  สารแอลลิโลพาธิคพบในทุกส่วนของต้นสาบหมา  โดยมีปริมาณสูงในใบและต้นลำต้น รวมทั้งสามารถถูกสกัดออกมาได้ดีด้วยสารละลายเมทานอลนอกจากต้นสาบหมาจะส่งผลเสียต่อปศุสัตว์แล้วยังส่งผลเสียต่อพืชอีกด้วย อันเนื่องมาจากสารสกัดที่ได้จากต้นสาบหมาเป็นสารที่ส่งผลกระทบต่อพืชชนิดอื่นๆคือ สารแอลลิโลพาธิค

 (Allelopathy)  สารแอลลิโลพาธิคพบในทุกส่วนของต้นสาบหมา  โดยมีปริมาณสูงในใบและต้นลำต้น รวมทั้งสามารถถูกสกัดออกมาได้ดีด้วยสารละลายเมทานอล จากผลทางการศึกษาสารแอลลิโลพาธิคกับพืชจำนวน 19 ชนิด พบว่าสารแอลลิโลพาธิคจากต้นสาบหมาเพียงแค่ 1 กรัมมีผลต่อการยับยั้งของการงอกของเมล็ดทุกชนิด และส่งผลกระทบต่อการเจริญของรากและการเจริญของต้นของพืช 


พืชชนิดนี้สามารถแพร่กระจายเหมือนกับพืชทั่วไป โดยที่ลำต้นสามารถงอกรากและเติบโตเมื่อสัมผัสกับผิวดิน ซึ่งทำให้มันสามารถแพร่พันธุ์ได้อย่างรวเร็ว เมล็ดของมันก็เช่นกันจะถูกนำพาไปโดยลมและน้ำ


อีกสาเหตุที่ต้นสาบหมาสามารถกระจายพันธุ์ได้อย่างดีคือ สภาพท้องที่และภูมิอากาศของเมืองไทยที่เอื้อต่อการเจริญเติบโต เนื่องจากต้นสาบหมาเป็นพืชที่เจริญได้ดีในที่โล่งแดดจัด 

รายการบล็อกของฉัน