ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2565

บันยันต้นไม้ประจำชาติอินเดีย

บันยัน (อังกฤษ: banyan, banyan tree, banian) เป็นสกุลย่อยของไม้ในสกุล Ficus โดยจัดอยู่ในสกุลย่อย Urostigma ในวงศ์ Moraceae (โดยปกติแล้วจะหมายถึง นิโครธ (F. benghalensis)

ซึ่งเป็นต้นไม้ประจำชาติอินเดีย

ลักษณะส่วนใหญ่ของไม้ในสกุลย่อยนี้ คือ ส่วนใหญ่เป็นแบบกึ่งอิงอาศัย มีรากอากาศ ไม่มีรากตามข้อ ดอกแยกเพศร่วมต้น แผ่นใบด้านล่าง

มีต่อมไขที่โคนเส้นกลางใบ 1 ต่อมฟิกส์เกลี้ยง ออกเป็นคู่หรือออกเดี่ยว ๆ ตามซอกใบหรือตามกิ่ง พบน้อยออกตามลำต้น ใบประดับที่โคน 2-3 ใบ

ไม่มีใบประดับด้านข้าง ช่องเปิดมีใบประดับ 2-5 ใบ ปิดด้านบน ดอกเพศผู้เรียงกระจัดกระจายระหว่างดอกเพศเมีย หรืออยู่ใกล้ช่องเปิด

กลีบรวม 3-5 กลีบ เกสรเพศผู้ 1 อัน ยอดเกสรเพศเมียส่วนมากมี 1 อัน มีหลากหลายชนิด พบในประเทศไทยประมาณ 45 ชนิด นอกจากนิโครธแล้ว เช่น ไทรย้อยใบแหลม (Ficus benjamin), โพ (F. religiosa), ไทรย้อยใบทู่ (F. microcarpa) เป็นต้น

(The Great Banyan Tree) เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่เต็มไปด้วยต้นบันทรีโบราณอายุกว่า 250 ปี ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 14,000 ตารางเมตร ตั้งอยู่ในสวนพฤกษศาสตร์ Acharya Jagadish Chandra Bose ใกล้กับเมืองโกลกาตา เมืองหลวงของรัฐเบงกอลตะวันตก ประเทศอินเดีย และได้ชื่อว่าเป็นต้นไม้ที่มีขนาดกว้างที่สุดในโลก

ป่าไม้แน่นทึบสีเขียวตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ป่าสวนต้นบันยันอย่างเป็นระเบียบ รวมต้นบันยันเป็นแนวขอบยาวประมาณ 3,600 ต้น ตั้งอยู่เสมือนเป็นประตูที่แบ่งแยกโลกของบ้านเมืองและตึกคอนกรีตกับโลกของต้นไม้โบราณตามธรรมชาติที่ขึ้นอยู่เป็นชุดอย่างแข็งแรงและดูแข็งแกร่ง

ต้นบันยันหนึ่งต้นจะแผ่กิ่งก้านสาขาและแพร่ขยายรากไปอย่างกว้างขวาง พร้อมออกดอกออกใบให้ร่มเงาขนาดกว้างใหญ่ ทำให้สวนต้นบันยันกลายเป็นสถานที่คล้านสวน่าธารณะเพื่อให้ผู้คนอาศัยร่มเงาใหญ่และพักผ่อนหย่อนใจ ร่มรื่นมากที่สุดและเป็นส่วนที่มีต้นไม้หลากหลายนานาพันธุ์พร้อมด้วยนกหลากหลายสายพันธุ์พร้อมด้วยกระรอกกระแตอีกและสัตว์อื่นๆอีกมากมาย

รายการบล็อกของฉัน