ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2559

ต้น ไข่นกกระทา


ต้นไข่นกกระทา (Distylium indicum Benth.ex Clarke) เป็นไม้ต้นสูงไม่เกิน 8 เมตร 

ลำต้นมักคดงอ เปลือกเรียบสีนํ้าตาลอมเทา 

ใบเป็นชนิดใบเดี่ยวติดเรียงสลับรูปมนหรือรูปไข่กลับ กว้าง3-6 เซนติเมตร ยาว 6-14 เซนติเมตร ปลายใบหยัก คอดเป็นติ่งแหลม โคนใบมนหรือสอบเล็กน้อย เนื้อใบค่อนข้างหนาเกลี้ยง ท้องใบมักเป็นคราบขาว เส้นใบย่อยจะเชื่อมต่อกัน กลายเป็นเส้นขอบใน ดอกสีขาวหรือเหลืองอ่อน เป็นประเภทดอกเปลือย คือไม่มีกลีบดอกและกลีบรองกลีบดอกรองรับ ออกรวมกันเป็นช่อสั้น ๆ 

ผลเป็นชนิดผลแห้ง รูปป้อม ๆ ผิวแข็ง พอแห้งจะแตกตามรอยประสานทางปลายผล

ไข่นกกระทา พบครั้งแรกในประเทศไทย ประมาณปี 2517 ที่บริเวณห้วยนํ้าพรม ภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ต่อมาพบที่ ภูกระดึง จังหวัดเลย และ เขาเขียว จังหวัดชลบุรี ส่วนใหญ่จะพบบริเวณใกล้ห้วยในป่าดงดิบทั้งนั้น และมีปริมาณน้อยมาก 

เป็นที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งว่า ตามกิ่งของต้นไข่นกกระทานั้น จะมีปมสีนํ้าตาลที่เกิดจากการกระทำของเชื้อรา หรือแมลงบางชนิดติดอยู่ดูคล้าย ๆ กับเป็นผลของต้นไข่นกกระทา ปกติไข่นกกระทาจะออกดอกเป็นผลระหว่างเดือนมกราคม ถึงเมษายน ตามหอพรรณไม้ต่าง ๆ ของไทย มีตัวอย่างเก็บอยู่เพียง 3 หมายเลขเท่านั้น แสดงว่าค่อนข้างหายาก

รายการบล็อกของฉัน