ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Eleiodoxa conferta
(Griff.) Burr.
ชื่อวงศ์ : ARECACEAE (PALMAE)
(Griff.) Burr.
ชื่อวงศ์ : ARECACEAE (PALMAE)
กะลุมพีมีชื่อแตกต่างกันออกไป
กะลุมพี,หลุมพี(นราธิวาส,ปัตตานี),กะลูบี,กลูบี,ลูบี(มลายู นราธิวาส)
กะลุมพี,หลุมพี(นราธิวาส,ปัตตานี),กะลูบี,กลูบี,ลูบี(มลายู นราธิวาส)
เมื่อเรารู้แล้วว่า ชื่อของลุมพี จะมีชื่อแตกต่างกันออกไปแล้ว ลุมพี มีลักษณะกันอย่างไรบ้างครับ
ลุมพี เป็นพืชพวกปาล์ม จำพวกระกำ ลำต้นสั้น แตกหน่อเป็นกอใหญ่ ออกดอกผลแล้วตายไป ใบประกอบแบบขนนก เรียงเวียนสลับ ก้านใบ และกาบใบมีหนามยาวแหลมเรียงเป็นแผง แกนกลางใบประกอบมีหนามยาวแหลมทางด้านล่าง ใบย่อยรูปเรียวยาว ปลายแหลม ไม่มีก้าน โคนติดที่ก้านรวม เรียงเป็นระเบียบ 2 ข้างก้านใบประกอบ ใบย่อยบริเวณตอนกลางก้านช่อใบยาวกว่าใบย่อยที่โคน และปลายก้านช่อใบ ดอกแยกเพศ อยู่ต่างต้น ขนาดเล็ก สีแดง ออกเป็นช่อเชิงลด ตั้งตรง แยกแขนง มีกาบหุ้มช่อหลายกาบ ผลรูปไข่กลับ ปลายตัด โคนสอบ เปลือกบางเป็นเกล็ดเล็ก ๆ เรียงเกยซ้อนกัน ผลสุกสีเหลืองถึงแสด ผลหนึ่งมักมี 1 เมล็ด เมล็ดค่อนข้างกลม เนื้อหุ้มเมล็ดนุ่มหนา สีเหลืองส้ม มีการกระจายพันธุ์ในภาคใต้ของประเทศไทย
แหล่งที่พบ
มีข้อสันนิษฐานหนึ่งว่าชื่อจังหวัดกระบี่ มาจากคำว่ากะลุมพี หรือกลูบี เพราะสมัยก่อนเต็มไปด้วยต้นหลุมพี
มีข้อสันนิษฐานหนึ่งว่าชื่อจังหวัดกระบี่ มาจากคำว่ากะลุมพี หรือกลูบี เพราะสมัยก่อนเต็มไปด้วยต้นหลุมพี
หลุมพีชอบขึ้นตามธรรมชาติในป่าดงดิบ ซึ่งเป็นป่าพรุของจังหวัดภาคใต้ที่มีฝนตกชุก เช่น จังหวัดกระบี่ พืชชนิดนี้ไม่มีผู้ใดนิยมปลูกจะหาได้จากป่าเท่านั้น และจะออกผลชุกในฤดูฝนของทุกปี
นอกจากวิธีการดำเนินชีวิตของคนภาคใต้หรือจังหวัดกระบี่ ที่เกี่ยวกับลุมพี แล้ว ลุมพียังมีความสำพันธ์กับชุมชน กำดำรงชีวิต ความเป็นอยู่ กับการนำมาใช้ประโยชน์มากมายหลายๆอย่างได้อีกด้วย
ความสัมพันธ์กับชุมชน
ใช้ประกอบอาหารได้หลายประเภท ตามความนิยมของผู้บริโภค ถ้าเป็นผลแก่ใช้ปรุงรสแทนมะนาว เช่น แกงส้มและแกงเหลือง และเหมาะอย่างยิ่งโดยเฉพาะการปรุงอาหารในขณะอยู่ป่า หรืออาจใช้รับประทานเป็นของว่าง โดยปอกเปลือกแล้วซอย ก่อนนำไปแช่น้ำเกลือประมาณ ๑-๒ วัน ชิมดูให้มีรสเปรี้ยวพอเหมาะ แล้วจึงรับประทานกับน้ำจิ้ม น้ำปลาหวานหรือจิ้มพริกกับเกลือ หรือดองโดยการเคี่ยวน้ำเชื่อม ตั้งทิ้งไว้ให้เย็นแล้วน้ำหลุมพีที่แช่น้ำเกลือแล้วใส่ลงไปแช่ในน้ำเชื่อมที่ตั้งไว้ให้เย็นประมาณ ๑ คืน ก็รับประทานได้ เวลารับประทานอาจใส่น้ำแข็งลงไปเล็กน้อย ทำให้มีรสชาติแปลกออกไป
ในทางสมุนไพร จะใช้ผลตำคั้นเอาน้ำผสมน้ำตาลและเกลือจิบกัน ขับเสมหะแก้ไอ
ใช้ประกอบอาหารได้หลายประเภท ตามความนิยมของผู้บริโภค ถ้าเป็นผลแก่ใช้ปรุงรสแทนมะนาว เช่น แกงส้มและแกงเหลือง และเหมาะอย่างยิ่งโดยเฉพาะการปรุงอาหารในขณะอยู่ป่า หรืออาจใช้รับประทานเป็นของว่าง โดยปอกเปลือกแล้วซอย ก่อนนำไปแช่น้ำเกลือประมาณ ๑-๒ วัน ชิมดูให้มีรสเปรี้ยวพอเหมาะ แล้วจึงรับประทานกับน้ำจิ้ม น้ำปลาหวานหรือจิ้มพริกกับเกลือ หรือดองโดยการเคี่ยวน้ำเชื่อม ตั้งทิ้งไว้ให้เย็นแล้วน้ำหลุมพีที่แช่น้ำเกลือแล้วใส่ลงไปแช่ในน้ำเชื่อมที่ตั้งไว้ให้เย็นประมาณ ๑ คืน ก็รับประทานได้ เวลารับประทานอาจใส่น้ำแข็งลงไปเล็กน้อย ทำให้มีรสชาติแปลกออกไป
ในทางสมุนไพร จะใช้ผลตำคั้นเอาน้ำผสมน้ำตาลและเกลือจิบกัน ขับเสมหะแก้ไอ
ความสำคัญทางเศรษฐกิจ
เนื่องจากทางภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัดกระบี่ มีผู้นิยมบริโภคกันมาก โดยสามารถนำมาปรุงอาหารได้ตามต้องการ ที่นิยมทำกันมากในจังหวัดกระบี่ คือ การดอง และจิ้มกินกับพริกเกลือเป็นอาหารว่าง จึงนับเป็นการเสริมรายได้ของชาวกระบี่อีกด้วย
นอกจากการดอกและการจิ้มกินกับพริกเกลือแล้ว
เนื่องจากทางภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัดกระบี่ มีผู้นิยมบริโภคกันมาก โดยสามารถนำมาปรุงอาหารได้ตามต้องการ ที่นิยมทำกันมากในจังหวัดกระบี่ คือ การดอง และจิ้มกินกับพริกเกลือเป็นอาหารว่าง จึงนับเป็นการเสริมรายได้ของชาวกระบี่อีกด้วย
นอกจากการดอกและการจิ้มกินกับพริกเกลือแล้ว
ลุมพี ยังสามารถทำเป็น หลุ่มพีเชื่อมได้
เรามาดูวิธีการทำ หลุมพีเชื่อมกันดีกว่าครับ
หลุมพีเชื่อม
หลุมพีเชื่อม
เครื่องปรุง
1. ผลหลุมพีสด (ผลแก่เมล็ดข้างในสีดำ
2. น้ำตาลทราย ? ก.ก.
3. น้ำ
4. เกลือป่น 2 ช้อนชา,
1. ผลหลุมพีสด (ผลแก่เมล็ดข้างในสีดำ
2. น้ำตาลทราย ? ก.ก.
3. น้ำ
4. เกลือป่น 2 ช้อนชา,
วิธีทำ
1. ผลหลุมพีแก่ปลอกเปลือกล้างน้ำให้สะอาด ใช้มีดกรีดผลหลุมพี
2. น้ำประมาณ 1/3 ของภาชนะที่ใส่ ตั้งไฟให้เดือด ใส่ผลหลุมพีต้มให้เดือดอีกครั้ง ประมาณ 10 นาที แล้วเทน้ำทิ้งให้หมด (เพื่อลดความเปรี้ยวของผลหลุมพี)
3. น้ำตาล ? ก.ก. น้ำ 1 แก้ว ใส่ภาชนะตั้งไฟเคี่ยวให้เป็นยางมะตูม
4. นำผลหลุมพีที่เตรียมไว้ใส่ภาชนะ ต้มจนกว่าน้ำตาลเข้าเนื้อผลหลุมพี
5. ใส่เกลือป่น 1 ช้อนชา
6. เติมน้ำประมาณ 2 แก้ว ตั้งไฟให้เดือดแล้วยกลง
7. เวลารับประทาน รับประทานกับน้ำแข็ง
1. ผลหลุมพีแก่ปลอกเปลือกล้างน้ำให้สะอาด ใช้มีดกรีดผลหลุมพี
2. น้ำประมาณ 1/3 ของภาชนะที่ใส่ ตั้งไฟให้เดือด ใส่ผลหลุมพีต้มให้เดือดอีกครั้ง ประมาณ 10 นาที แล้วเทน้ำทิ้งให้หมด (เพื่อลดความเปรี้ยวของผลหลุมพี)
3. น้ำตาล ? ก.ก. น้ำ 1 แก้ว ใส่ภาชนะตั้งไฟเคี่ยวให้เป็นยางมะตูม
4. นำผลหลุมพีที่เตรียมไว้ใส่ภาชนะ ต้มจนกว่าน้ำตาลเข้าเนื้อผลหลุมพี
5. ใส่เกลือป่น 1 ช้อนชา
6. เติมน้ำประมาณ 2 แก้ว ตั้งไฟให้เดือดแล้วยกลง
7. เวลารับประทาน รับประทานกับน้ำแข็ง
คุณค่าทางโภชนาการและสรรพคุณ:
เนื้อหุ้มเมล็ดรสเปรี้ยวจัด นำมาปรุงเป็นเครื่องดื่ม และปรุงรสอาหารได้ดี
เนื้อหุ้มเมล็ดรสเปรี้ยวจัด นำมาปรุงเป็นเครื่องดื่ม และปรุงรสอาหารได้ดี