ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันอาทิตย์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2566

พังกาหัวสุมดอกแดงเปลือกแห้งใช้ในการฟอกย้อมหนังและแหอวน ลำต้น ใช้ทำเสาเพราะทนทานต่อการทำลายของปลวกและเพรียง



พังกาหัวสุมดอกแดงเปลือกแห้งใช้ในการฟอกย้อมหนังและแหอวน ลำต้น ใช้ทำเสาเพราะทนทานต่อการทำลายของปลวกและเพรียง


สปีชีส์ของพืช
พังกาหัวสุมดอกแดง หรือโกงกางหัวสุม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bruguiera gymnorrhiza; อังกฤษ: Black mangrove, อาฟรีกานส์: Swart-wortelboom, โฮซา: Isikhangati, ซูลู: Isihlobane) เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Rhizophoraceae เปลือกต้นแตกเป็นแนวยาว สีน้ำตาลหรือสีดำ โคนต้นมีพูพอนสูง มีรากหายใจ ใบเดี่ยว สีเขียวเข้ม ท้องใบสีอ่อน ก้านใบสีเหลืองอมน้ำตาล


 ดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบ กลีบเลี้ยงสีแดง ดอกตูมรูปร่างเป็นทรงกระสวย กลีบดอกสีขาวอมชมพู ผลคล้ายลูกข่าง งอกตั้งแต่อยู่บนต้น ฝักคล้ายกระสวย อ่อนเป็นสีเขียวเข้ม แก่แล้วเป็นสีม่วงออกดำ


ข้อมูลเบื้องต้น พังกาหัวสุมดอกแดง, การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ ...


การใช้ประโยชน์
เปลือกแห้งมีแทนนินถึง 35% ใช้ในการฟอกย้อมหนังและแหอวน สารโพลบาฟีนในเปลือกลำต้นให้สีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม ใช้ทำเสาเพราะทนทานต่อการทำลายของปลวกและเพรียง เปลือกใช้ทำกาว มีฤทธิ์เป็นยาฝาดสมาน แก้ท้องเสีย ใช้กินกับหมาก ในมัลดีฟส์ นำฝักของพังกาหัวสุมดอกแดงไปต้มแล้วรับประทานเป็นผัก ซึ่งเป็นที่นิยมมากกว่าฝักถั่วขาว

กล้วยเลือด เราได้ยินชื่อกล้วยชนิดนี้เราก็รู้สึกสยดสยองแล้วนะครับกล้วยเลือด


กล้วยเลือด
เราได้ยินชื่อกล้วยชนิดนี้เราก็รู้สึกสยดสยองแล้วนะครับกล้วยเลือด
มันคงจะเป็นอะไรที่เกี่ยวกับเลือดหรือเหมือนเลือดไม่อย่างนั้นเขาคงไม่ตั้งชื่อว่าปุ้ยเลือดแน่นอนเดี๋ยวเรามาดูรายละเอียดของกล้วยชนิดนี้กันเลยดีกว่านะครับว่ามันจะแปลกประหลาดขนาดไหน


กล้วยเลือดหรือกล้วยมณี (blood banana; ชื่อวิทยาศาสตร์: Musa acuminata var. zebrina) เป็นสายพันธุ์หนึ่งของกล้วยป่า เป็นพืชพื้นเมืองในเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ใช้เป็นไม้ประดับ ใบมีรอยสีแดงคล้ำ ผลที่มีเมล็ดน้อยรับประทานได้


ข้อมูลเบื้องต้น กล้วยเลือด, การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ ...
การจัดจำแนกและการตั้งชื่อ
กล้วยเลือดเป็นสายพันธุ์ย่อยของกล้วยป่า Musa acuminata เคยจัดจำแนกเป็นสปีชีส์ต่างหากในชื่อ Musa zebrina and Musa sumatrana บางครั้งจัดจำแนกผิดพลาดเป็นพันธุ์ (cultivar)

กล้วยเลือดมีชื่อสามัญภาษาอังกฤษหลายชื่อ ได้แก่ Blood bananas red banana tree (บางครั้งจะสับสนกับ red banana ซึ่งเป็นชื่อสามัญของกล้วยพันธุ์หนึ่ง) seeded red banana, Sumatra ornamental banana และ maroon-variegated banana ภาษาสเปนเรียกว่า banano rojo ภาษาญี่ปุ่นเรียก ゼブリナバナナ (zeburina banana) และภาษาเวียดนามเรียก chuối kiểng


ต้นที่ไม่มีรอยสีแดงที่ Longwood Gardens

รอยสีแดงบนใบ


ช่อดอก

วันจันทร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2566

‘พื้นที่สีเขียว’ ทำให้เซลล์มนุษย์ ‘แก่’ ช้าลง งานวิจัยใหม่จากสหรัฐอเมริกาเผยให้เห็นอีกคุณประโยชน์หนึ่งของธรรมชาติ


 ‘พื้นที่สีเขียว’ ทำให้เซลล์มนุษย์ ‘แก่’ ช้าลง งานวิจัยใหม่จากสหรัฐอเมริกาเผยให้เห็นอีกคุณประโยชน์หนึ่งของธรรมชาติ ผู้คนจำนวนมากที่อาศัยอยู่ในละแวกใกล้เคียงกับสิ่งแวดล้อมที่ดีจะมีอัตราการแก่ตัวของเซลล์ช้าลงกว่าคนทั่วไป

ศาสตราจารย์ Aaron Hipp และทีมวิจัยจาก กรมการจัดการนันทนาการและการท่องเที่ยวแห่งรัฐนอร์ธแคโรไลนา สหรัฐอเมริกา ได้ศึกษาข้อมูทางการแพทย์จาก 7,800 คนที่มีอยู่ในศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติระหว่างปี 1999-2002 เพื่อดูว่าปริมาณพื้นที่สีเขียวมีผลอย่างไรกับร่างกายอีกบ้าง


นอกเหนือไปจากประโยชน์อื่น ๆ เช่นลดความเครียด ลดเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือทำให้สุขภาพจิตดีขึ้น การสัมผัสกับพื้นที่สีเขียวยังให้ประโยชน์อีกอย่างคือ ทำให้เซลล์ของเราแก่ช้าลง คนที่มีพื้นที่สีเขียวในละแวกใกล้เคียงเพิ่มขึ้น 5% ทำให้เซลล์แก่ช้าลง 1%

“ยิ่งพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้นมากเท่าไหร่ เซลล์ก็จะแก่ช้าลงเท่านั้น” ศาสตราจารย์ Aaron Hipp บอก “การวิจัยของเรากำลังแสดงให้เห็นว่าสถานที่ที่เราอยู่อาศัย สิ่งที่เราเผชิญ ปริมาณการออกกำลังกาย สิ่งที่เรากิน สิ่งเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบต่อความเร็วในการเสื่อมโทรมของ ‘โทรโลเมียร์’” 

พื้นที่สีเขียวทำให้เราแก่ช้าลงได้อย่างไร? - เมื่อนักวิทยาศาสตร์พูดถึงความแก่ พวกเขาหมายถึงเซลล์ที่มี ‘โทรโลเมียร’ (Telomeres) สั้นลง มันเป็นชิ้นส่วนที่มีรูปร่างคล้ายหมวก ห่อหุ้มอยู่บนปลายโครโมโซม 46 ชิ้นของเซลล์แต่ละเซลล์ 

นักวิทยาศาสตร์ยังไม่แน่ใจว่ามันทำหน้าที่อะไรกันแน่ แต่งานวิจัยหลายชิ้นที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่า ถ้าโทโลเมียร์ยังมีสภาพสมบูรณ์ โครโมโซมจะสามารถแบ่งตัวเองได้ต่อไปและเซลล์ก็สามารถทำงานได้ตามปกติ กลับกันหากโทโลเมียร์สั้นลง (เสื่อมสภาพ) เซลล์จะทำงานได้น้อยลงจนตายในที่สุด 

ด้วยเหตุนี้สภาพของโทโลเมียร์จึงเป็นตัวชี้วัดหนึ่งของ ‘ความแก่’ ทางวิทยาศาสตร์ได้ “เทโลเมียร์ที่ยาวกว่านั้นมักจะเป็นเทโลเมียร์ที่อายุน้อยกว่า หรือเป็นเทโลเมียร์ที่ปกป้องและมีประโยชน์มากกว่า มันกำลังปกป้องเซลล์นั้นจากกระบวนการชรา” ศาสตราจารย์ Hipp อธิบาย


นักวิจัยเชื่อกันว่าคนที่อยู่ใกล้พื้นที่สีเขียวมีสุขภาพกาย สุขภาพใจ มีอากาศเย็นกว่า มีอากาศสะอาดมากกว่า ทั้งหมดทั้งมวลนี้ทำให้ร่างกายของคนในพื้นที่เสียงทำงานได้อย่างปกติมากกว่า เซลล์จึงมีการเสื่อมสภาพช้ากว่า ทำให้แก่ช้าลงไปด้วย ดังนั้นหากใครอยากแก่ช้าลง คงต้องหาเวลาไปพื้นที่สีเขียวเยอะ ๆ 

“โดยทั่วไปแล้วพื้นที่สีเขียวเกี่ยวข้องกับผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่ดีขึ้น” Peter James นักวิทยาศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อมจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด กล่าว “และนี่คือการใช้ความยาวเทโลเมียร์เป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพถึงความชรา” 

วันจันทร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

ฉันรักต้นกล้วย ชายชาวญี่ปุ่นปลูกต้นกล้วยกลางถนน 2 ปี จนเพิ่งถูกจับ


ฉันรักต้นกล้วย ชายชาวญี่ปุ่นปลูกต้นกล้วยกลางถนน 2 ปี จนเพิ่งถูกจับ

เวรกรรมปลูกต้นกล้วยก็โดนจับที่ญี่ปุ่นข่าวนี้เป็นข่าวที่รู้สึกขัดกับหลักการของคนรักต้นไม้เลยนะครับ

ต้นกล้วยมันไม่มีพิษมีภัยหรอกถ้าปลูกมันแล้วรู้จักดูแลรักษามันพยายามไม่ให้มันเป็นลุกล้ำหรือพยายามดัดแต่งใบต้นกล้วยให้มันหรือไม่อย่างนั้นก็หาที่ดินว่างๆปลูกต้นกล้วยเป็นพืชที่ปลูกแล้วมีคุณประโยชน์มากมายทั้งให้ร่มเงาผลสุกกินได้โตเร็วและทำให้ทัศนียภาพให้มีความเป็นธรรมชาติได้ดีและเห็นผลเร็ว

ชายชาวญี่ปุ่นรายหนึ่งปลูกต้นกล้วย 3 ต้น บริเวณเกาะกลางถนนบริเวณถนนสายหลักในเมืองคุระเมะ โดยเขารดน้ำทุกวันเป็นเวลา 2 ปี ก่อนที่จะมีใครสังเกตเห็นการมีอยู่ของมัน


เมื่อเร็ว ๆ นี้ ชายวัย 50 ปี จากเมืองคุรุเมะ จังหวัดฟุกุโอกะ ได้รับคำสั่งให้ถอนต้นกล้วย 3 ต้น ที่เขาปลูกและดูแลอย่างผิดกฎหมายบริเวณเกาะกลางถนนในเมืองที่พลุกพล่านมาเป็นเวลานานกว่า 2 ปี


ยังไม่ชัดเจนว่าทำไมชายผู้นี้ถึงตัดสินใจที่จะปลูกกล้วยในที่สาธารณะ แต่ในที่สุดมันก็เริ่มเติบโตขึ้นจนส่งผลต่อทัศนวิสัยของผู้ใช้รถใช้ถนน

แน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องยากสำหรับเจ้าหน้าที่ในการหาตัวผู้กระทำผิด เนื่องจากเขามารดน้ำต้นกล้วยเหล่านี้ทุกวันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งตลอดสองปีที่ผ่านมา

สุดท้าย เขาได้รับคำสั่งให้ย้ายต้นกล้วยออก หรือไม่ก็เสี่ยงต่อการโดนจำคุกสูงสุด 1 ปี หรือจ่ายค่าปรับ 500,000 เยน (ประมาณ 117,000 บาท)


“มันเหงา… ผมรู้สึกเหงาเมื่อไม่มีกล้วยแสนสวยของผม” ชายคนนั้นบอกกับนักข่าวหลังจากต้องรื้อต้นกล้วยทั้ง 3 ต้นออก

ต้นกล้วยแห่งคุรุเมะได้กลายเป็นไวรัลที่ได้รับความสนใจไปทั่วประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลาหลายสัปดาห์ จนกระทั่งวันที่รื้อถอนต้นกล้วยออก ก็มีทีมงานข่าวหลายสำนักมาทำข่าว



สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ชายผู้นี้พยายามกินกล้วยดิบในขณะที่ให้สัมภาษณ์นักข่าว มันเป็นสีเขียวเกินกว่าจะกินได้ แต่เขาก็กินมันอยู่ดี


ส่วนเรื่องราวของชายคนนี้ก็จบลงแบบแฮปปี้เอ็นดิ้ง เนื่องจากต้นกล้วยของเขา 2 ต้น ได้บ้านใหม่เป็นสวนของชายวัย 80 ปี ที่สาบานว่าจะดูแลมันเป็นอย่างดี ส่วนอีกต้นเขาได้มอบมันให้เป็นของขวัญวันเกิดเพื่อนของเขาเป็นที่เรียบร้อย

แต่ก็ขอชื่นชมชายชาวญี่ปุ่นคนนี้นะครับที่รักธรรมชาติและพยายามดูแลต้นกล้วยเหล่านี้ถึงแม้ว่ามันจะเป็นการผิดกฎหมายก็ตามแต่เขาก็ยังมีจิตสำนึกที่ดีเกี่ยวกับธรรมชาติและสภาพแวดล้อม


ช็อค! ชายหนุ่มแค่อยากกินกล้วย แต่กลับเจอตัวประหลาดฝังอยู่ข้างใน อยู่ในผลกล้วย มันคือตัวอะไร


ช็อค! ชายหนุ่มแค่อยากกินกล้วย แต่กลับเจอตัวประหลาดฝังอยู่ข้างใน
อยู่ในผลกล้วย มันคือตัวอะไร


แต่ก็ยอมรับว่าถ้าใครกินกล้วยเข้าไปเจอตัวนี้ที่อยู่ในผลกล้วย  บางทีคุณอาจจะโชคร้ายถูกเจ้าตัวประหลาดนี้กัดปากก็ได้

ถ้าคุณเป็นคนที่ชอบกินกล้วยเป็นชีวิตจิตใจแล้วล่ะก็ แนะนำว่าไม่ควรดูคลิปนี้เด็ดขาด เพราะมันอาจทำร้ายจิตใจคุณ และทำให้คุณเลิกกินกล้วยไปหลายวันก็เป็นได้

เมื่อชายหนุ่มผู้ใช้ Youtube นามว่า Mngzkhuel อยากกินกล้วย แต่สิ่งที่เขาเจอ อาจทำให้เขาหันไปกินแอปเปิ้ลแทน ลองไปดูว่าเขาเจออะไรในกล้วยกันแน่


ใครที่เจอเจ้าแมงมุม 8 ขาทะลุออกมาจากของกินแบบนี้ ไม่ว่าจะเป็นกล้วยหรืออะไรก็ตาม คงช็อคแน่ๆ หลังจากดูคลิปนี้แล้ว ของดกินกล้วยไปก่อน จนกว่าจะทำใจได้นะครับ เหอะๆๆ

มันทะลุออกมาจากผลกล้วยดีไม่ดีอาจจะมาเกาะปากคุณแล้วก็มุดเข้าไปในคอลงไปอยู่ในท้องเลยก็ได้นะครับ


วันเสาร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

มะกอกออลิฟ มีทั้งสรรพคุณทางสมุนไพร ชาวกรีกถือว่ามะกอกออลิฟเป็นสัญลักษณ์แทนอิสรภาพและความหวัง


มะกอกออลิฟ มีทั้งสรรพคุณทางสมุนไพร ชาวกรีกถือว่ามะกอกออลิฟเป็นสัญลักษณ์แทนอิสรภาพและความหวัง

มะกอกนะครับไม่ใช่มะละกอเดี๋ยวจะเข้าใจผิดกันมะละกอก็คือมะละกอมะละกอกก็คือมะกอกเรามาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่านะครับ

ระวังสับสนกับ มะกอกฝรั่ง
มะกอกออลิฟ (อังกฤษ: olive; ชื่อวิทยาศาสตร์: Olea europaea) เป็นมะกอกชนิดที่นำมาทำน้ำมันมะกอก เป็นพืชท้องถิ่นในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นไม้ยืนต้น ลำต้นออกสีเทาออกขาวนวล ต้นโค้งงอ ดอกสีขาวครีมขนาดเล็ก กลิ่นหอม ผลเล็กเท่านิ้วหัวแม่มือ ผลดิบสีเขียว ผลสุกเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดงหรือสีม่วง


ข้อมูลเบื้องต้น มะกอกออลิฟ

มะกอกออลิฟ ทะเลเดดซี จอร์แดน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ:Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ:Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ:Asterids
อันดับ:Lamiales
วงศ์:Oleaceae
สกุล:Olea
สปีชีส์:O.  europaea
ชื่อทวินามOlea europaeaL.



ผลมะกอกสีดำ


ต้นมะกอกโบราณในกรีซ

การเก็บเกี่ยวมะกอกในคริสต์ศตวรรษที่ 
การใช้ประโยชน์
เนื้อมะกอกออลิฟรับประทานได้แต่มีรสเฝื่อนเพราะมีสารอัลคาลอยด์ จึงต้องนำไปดองเกลือก่อนรับประทาน น้ำมันมะกอกออลิฟใช้ปรุงอาหารแทนน้ำมันพืชหรือเนย ใช้ผสมในน้ำสลัด และใช้เป็นยารักษาโรคทางเดินอาหาร บำรุงกระดูก บำรุงผม


คุณค่าทางอาหาร
ผลมะกอกออลิฟสีเขียว 100 กรัม ประกอบไปด้วย :

แคลอรี 145
ไขมัน (กรัม): 15.32
คาร์โบไฮเดรต (กรัม): 3.84
เส้นใย (กรัม): 3.3
โปรตีน (กรัม): 1.03
คอเลสเตอรอล (มิลลิกรัม): 0

ความเชื่อ
ชาวกรีกถือว่ามะกอกออลิฟเป็นสัญลักษณ์แทนอิสรภาพและความหวัง กีฬาโอลิมปิกสมัยโบราณจะใช้มงกุฎใบมะกอกออลิฟประดับศีรษะให้นักกีฬาที่ชนะการแข่งขัน สหประชาชาติยังใช้ช่อมะกอกออลิฟเป็นสัญลักษณ์บนธงเพื่อสื่อถึงเสรีภาพและมิตรภาพ ชาวยิวใช้น้ำมันมะกอกออลิฟถูตัวในพิธีทางศาสนา


สรุปแล้วมันก็เป็นผลไม้หรืออะไรชนิดหนึ่งนะครับแต่คนไปให้คุณค่าความเชื่อสารพัดที่จะสรรหาใส่ลงไปในลูกผลมะกอกนี้ สรรพคุณทางสมุนไพรสารพัดประโยชน์ของผลไม้ชนิดนี้ที่ชื่อว่ามะกอกออลิฟ เราควรจะอนุรักษ์และแพร่พันธุ์เพื่อให้โลกเราได้มีสีเขียวต่อไปจะดีกว่านะครับความเชื่ออะไรต่างๆนานามันก็คือตำนานต้นไม้มันก็คือต้นไม้แค่นั้นแหละ

วันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2566

“ย่านางแดง” สมุนไพรพื้นบ้าน ที่ไม่ควรมองข้ามสรรพคุณทางยาสมุนไพรมากมาย


“ย่านางแดง” สมุนไพรพื้นบ้าน ที่ไม่ควรมองข้ามสรรพคุณทางยาสมุนไพรมากมาย 

เครือขยัน หรือย่านางแดง 
นี่ก็เป็นสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่น่าจะหาปลูกเพราะสรรพคุณทางยาสมุนไพรมากมาย สมุนไพรไทยที่มีเอกลักษณ์และสรรพคุณทางสมุนไพรที่แตกต่างกันออกไปเป็นเป็นจุดเด่นที่หาไม่ได้ง่ายๆ
โดยเฉพาะสมุนไพรที่ชื่อว่าเครือขยัน หรือย่านางแดง 


ชื่อวิทยาศาสตร์: Bauhinia strychnifolia เป็นไม้เลื้อยในสกุลชงโค และวงศ์ถั่ว จัดเป็นพืชถิ่นเดียวในประเทศไทย เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง เปลือกรากขรุขระมีสีน้ำตาลเข้มถึงดำ มีรอยบากตามขวางเล็กๆทั่วไป เนื้อไม้ภายในรากสีน้ำตาลแดง 


เถาแบน มีร่องตรงกลาง เปลือกสีออกเทาน้ำตาล เมื่อแก่เถากลม สีน้ำตาลแดง ใบรูปไข่แกมขอบขนาน ผิวใบมัน สีเขียวเข้ม ปลายใบเว้าตื้น กึ่งเรียวแหลมถึงมีติ่งหนาม โคนใบกลมถึงรูปหัวใจตื้น ขอบใบเรียบ ผิวเกลี้ยงทั้งสองด้าน

ข้อมูลเบื้องต้น เครือขยัน, การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ ...

ในทางยาสมุนไพรมีฤทธิ์แก้ท้องเสีย ฝาดสมาน ใช้ ใบ เถา และราก เป็นยาเช่นเดียวกับย่านางแต่มีฤทธิ์แรงกว่า ใช้ถอนพิษยาเมา ยาเบื่อ ยาสั่ง แก้ไข้พิษทั้งปวง 


ขับพิษโลหิตและน้ำเหลือง แก้ท้องผูก ใช้ฝนกับน้ำ หรือต้มน้ำดื่ม ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้เป็นส่วนผสมของยาบำรุงโลหิต สำหรับสตรีหลังคลอด ขณะอยู่ไฟ ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น


อ่านมาจนถึงบรรทัดสุดท้ายเห็นคุณประโยชน์ของย่านางแดงแล้วรู้สึกว่ามันเป็นอะไรที่พิเศษมากๆเลยนะครับสำหรับต้นไม้ชนิดนี้ถ้าเป็นไปได้ก็หามาปลูกประจำบ้านไว้สักต้นสองต้นแถมยังมีดอกที่สวยงามด้วยนะครับ

บุกคางคกสรรพคุณทางยาสมุนไพรและให้คุณค่าทางอาหาร สามารถนำมาทำอาหารได้มากมาย


บุกคางคกสรรพคุณทางยาสมุนไพรและให้คุณค่าทางอาหาร สามารถนำมาทำอาหารได้มากมายถ้ารู้จักใช่พืชสมุนไพรชนิดนี้

บุกคางคก
ชื่อก็ไม่รู้ว่ามันจะเหมือนกับคางคกหรือเปล่าบุกคางคกแต่หารู้ไม่บุกชนิดนี้มีสรรพคุณทางยาและใช้เป็นอาหารได้อย่างดีถ้ารู้จักใช้และวิธีการนำมาใช้
บุกคางคก ชื่อวิทยาศาสตร์: Amorphophallus paeoniifolius (Dennst.) Nicolson. เป็นพืชในวงศ์ Araceae ชื่ออื่นๆ ได้แก่ มันซูรัน (กลาง) บุกคุงคก (ชลบุรี) เบีย เบือ บุกหนาม บุกหลวง (แม่ฮ่องสอน) หัวบุก (ปัตตานี) บักกะเดื่อ(สกลนคร) กระบุก(บุรีรัมย์) บุกรอ หัววุ้น เป็นพืชล้มลุก เจริญเติบโตในฤดูฝน 


และพักตัวในฤดูหนาว มีหัวใต้ดินขนาดใหญ่ สีน้ำตาล อายุหลายปี ลำต้นกลม อวบน้ำ ผิวขรุขระ มีลายสีเขียวสีแดงใบเดี่ยว ออกที่ปลายยอด ใบแผ่ออกคล้ายกางร่มแล้วหยักเว้าเข้าหาเส้นกลางใบ ขอบใบจักเว้าลึก กลม อวบน้ำ ดอกออกเป็นช่อแทงขึ้นมาจากหัวใต้ดิน บริเวณโคนต้น เป็นแท่งมีลายสีเขียวหรือสีแดงแกมสีน้ำตาล ดอกช่อ แทงออกมาจากหัวใต้ดิน 


ช่อดอกมีกาบหุ้ม ลักษณะเป็นแท่งสีแดงแกมน้ำตาล ก้านช่อดอกสั้น มีใบประดับ รูปกรวยหุ้มช่อดอก ขอบหยักเป็นคลื่น และบานออก ปลายช่อ ดอกเป็นรูปกรวยคว่ำขนาดใหญ่ ยับเป็นร่องลึก สีแดงอมน้ำตาลหรือสีม่วงเข้ม ดอกตัวผู้อยู่ตอนบน ดอกตัวเมียอยู่ตอนล่าง 

มีกลิ่นเหม็นคล้ายซากสัตว์เน่า ผลรูปทรงรียาว มีจำนวนมากติดกันเป็นช่อ หัวบุกมีลักษณะค่อนข้างกลม เนื้อในหัวสีชมพูสด เหลืองอมชมพู หรือขาวเหลือง ผลสด เนื้อนุ่ม เมื่ออ่อนสีเขียว สุกแล้วเป็นสีเหลือง สีส้มจนถึงแดง


หัวบุก
บุกคางคก, 
บุกคางคกเป็นพืชพื้นเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบตั้งแต่ ศรีลังกา ไปจนถึงอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ลำต้นของบุกคางคก ใส่แกงเป็นอาหารได้ ในรัฐเบงกอลตะวันตก ประเทศอินเดีย นำหัวไปทอดหรือใส่ในแกงกะหรี่ ลำต้นรับประทานเป็นผัก ชาวญี่ปุ่นใช้ทำอาหารลดความอ้วน หัวบุกมีสารสำคัญคือ กลูโคแมนแนน (glucomannan) เป็นโพลีแซคคาไรด์ มีคุณสมบัติคล้ายเพกติน ในทางยาสมุนไพร หัว ใช้กัดเสมหะ แก้เลือดจับเป็นก้อน หุงกับน้ำมัน ใส่บาดแผล กัดฝ้าและกัดหนองดี นำหัวมาต้มกับน้ำ แก้โรคตับ 


โรคท้องมาน ยากัดเสมหะ แก้ไอใช้แก้พิษงู ใช้เป็นยาแก้แผลไฟไหม้และน้ำร้อนลวก ช่วยลดระดับน้ำตาลในเส้นเลือด รักษาโรคเบาหวาน. การใช้ประโยชน์ด้านอุตสาหกรรมแปรรูป อุตสาหกรรมการแปรรูปส่วนใหญ่มี3รูปแบบ คือ แผ่นบุกแห้ง ผงวุ้นบุกหรือผงวุ้นกลูโคแมนแนนจะนำไปเป็นส่วนผสมอาหารหลายชนิด และบรรจุแคปซูลและในรูปผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสุขภาพสำเร็จรูป พร้อมนำไปประกอบอาหาร หรือนำไปรับประทานได้ทันที เช่น แท่งวุ้น เส้นวุ้น. 

สารพิษในบุก ยางที่พบในหัวบุก ลำต้นและใบ ประกอบด้วยสารแคลเซียมออกซาเลต (calcium oxalate) หากสัมผัสกับผิวหนังจะทำให้เกิดอาการคัน หากข้อตาจะทำให้เกิดการระคายเคือง มีการแสบตาอย่างรุนแรงและอาจทำให้ตาบอดได้ 
ข้อห้ามสำหรับการรับประทานบุก คือ หัวบุกจะมีรสเผ็ด เป็นยาร้อน มีพิษ ออกฤทธิ์ต่อม้าม ตับ และระบบทางเดินอาหาร ดังนั้น ในกลุ่มคนที่ ม้าม ตับ และระบบทางเดินอาหาร ไม่ดี ควรหลีกเลี่ยงรับประทาน และไม่รับประทานมากเกินไป



สมุนไพรทุกชนิดนะครับมีประโยชน์มันก็ต้องมีโทษควบคู่กันไป...ถ้ารู้การนำใช้และวิธีการใช้ที่จะนำมาทำเป็นยาหรือนำมารับประทาน..ก่อนเป็นดีที่สุดนะครับเรียนรู้เอาไว้ก็ก็จะเป็นประโยชน์ต่อตัวเองและบุคคลอื่น

วันอาทิตย์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2566

มะลิก้านแดงเป็นไม้ดอกหอม สามารถนำไปสกัดทำน้ำหอมได้


มะลิก้านแดงเป็นไม้ดอกหอม สามารถนำไปสกัดทำน้ำหอมได้


ดอกคงจะหอมมากเลยนะครับมะลิก้านแดงแต่ไม่รู้ว่ากลิ่นจะคล้ายดอกมะลิหรือเปล่าอยากดมกลิ่นมันมากเลยคงจะหอมคงจะหอมฟุ้งจรุ่งใจมากเลยนะครับใครเคยดมดอกมะลิก้านแดงช่วยมาพรรณาความหอมให้หน่อยนะครับ


มะลิก้านแดง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Jasminum grandiflorum) เป็นพืชพันธุ์พื้นเมืองวงศ์มะลิในเอเชียใต้ คาบสมุทรอาหรับ (โอมาน, ซาอุดีอาระเบีย) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา (เอริเทรีย, เอธิโอเปีย, จิบูตี, โซมาเลีย, ซูดาน) ทะเลสาบแอฟริกัน (เคนยา, ยูกันดา, รวันดา) 

มณฑลยูนนานและมณฑลเสฉวนของประเทศจีน มีการปลูกและใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศกินี, ประเทศมัลดีฟส์, ประเทศมอริเชียส, เรอูนียง, เกาะชวา, หมู่เกาะคุก, รัฐเชียปัส, ลาตินอเมริกาและแถบทะเลแคริบเบียน

ข้อมูลเบื้องต้น มะลิก้านแดง, การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ ...
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่มเลื้อย กิ่งก้านสีเขียว มีใบประกอบแบบขนนก ช่อใบออกตรงข้ามเป็นคู่ ก้านใบแผ่ออกเป็นครีบแคบๆ ใบย่อยมี 5-9 ใบ รูปรีแกมสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ใบย่อยปลายก้าน มีขนาดใหญ่ที่สุด ขนาดกว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 2.5-3.5 ซม. 


ดอก สีขาวแกมม่วง ด้านหลังกลีบมีสีชมพูอมม่วง ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง หรือกิ่งด้านข้าง ช่อดอกไม่แน่น กลีบรองดอกสีเขียว 5 กลีบ รูปขอบขนานแคบปลายแหลม กลีบดอกตอนโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ยาว 2-2.5 ซม. ตอนปลายแยกเป็น 5 กลีบ

รายการบล็อกของฉัน