ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันศุกร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2563

Coccoloba gigantifolia ใบไม้ไซส์ยักษ์

ใบไม้ไซส์ยักษ์
 ขนาดเท่าตัวคนจากป่าแอมะซอนนี้ ผ่านการเดินทางและเฝ้ารอนานกว่าทศวรรษกว่าจะได้การระบุว่าเป็นสายพันธุ์ใหม่เมื่อปี 2019 ในชื่อ Coccoloba gigantifolia 

พืชหายากชนิดนี้เป็นที่รู้จักในหมู่นักพฤกษศาสตร์ มากว่า 35 ปีจากการสำรวจป่าแอมะซอนในส่วนของประเทศบราซิลในปี 1982 
ในครั้งนั้นมีรายงานว่าพบพืชในสกุล Coccoloba ที่มีลักษณะพิเศษด้วยขนาดใบที่ยาวได้ถึง 2.5 เมตร แต่ในครั้งนั้นทำได้เพียงบันทึกเอาไว้ ไม่สามารถเก็บตัวอย่างมาได้เพราะใบที่ใหญ่เกินกว่าจะเอามาอัดแห้งและต้นพืชที่เจอไม่มีดอก ผลและเมล็ดให้เก็บมาเพาะศึกษา เพื่อยืนยันชนิดพันธุ์

ต่อมาในปี 1993 ก็มีนักวิจัยมาพบพืชชนิดนี้อีกครั้ง แต่เช่นเคย ไม่มีผลและเมล็ดให้เก็บกลับมา จนกระทั่งปี 2005 Rogerio Gribel และคณะสามารถเก็บเมล็ดและตัวอย่างดอกแห้งกลับไปได้ ทว่าตัวอย่างที่มีกลับไม่ให้ข้อมูลเพียงพอที่จะระบุชนิดพันธุ์ได้ 
จึงต้องนำเมล็ดที่ได้มาเพาะและรอถึง 13 ปี กระทั่งมีดอกและผลออกมาจากตัวอย่างพืชที่เพาะไว้ จนนำมาสู่การวิเคราะห์ตัวอย่างและระบุชนิดพันธุ์ จนถึงชื่อวิทยาศาสตร์ให้พืชชนิดนี้ได้ในที่สุด
เรียกว่ารอกันข้ามทศวรรษทีเดียว

วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

สนามฟุตบอลโรงเรียนมัธยมของจีน มีต้นไม้อายุเก่าแก่กว่า 100 ปีขึ้นอยู่กลางสนาม แล้วจะเล่นบอลอย่างไร

สนามฟุตบอลโรงเรียนมัธยมของจีน มีต้นไม้อายุเก่าแก่กว่า 100 ปีขึ้นอยู่กลางสนาม แล้วจะเล่นบอลอย่างไรล่ะแบบนี้!!
นักเรียนที่โรงเรียนมัธยม Yucai ของกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ต้องระมัดระวังในการเล่นฟุตบอลที่สนามของโรงเรียนเป็นอย่างมาก 

เนื่องจากว่าบริเวณภายในสนามบอลของโรงเรียนแห่งนี้มีต้นไม้ขนาดใหญ่ที่เจริญเติบโตอยู่กลางสนามบอล ซึ่งไม่สามารถเคลื่อนย้ายหรือตัดออกไปได้ เนื่องจากว่าต้นไม้ต้นนี้มีอายุเก่าแก่กว่า 100 ปีนั่นเอง
โรงเรียนมัธยม Yucai แห่งนี้ล้อมรอบไปด้วยอาคารที่มีอายุเก่าแก่ โดยพื้นที่ว่างทั้งหมดของโรงเรียนก็มีแค่สนามบอลแห่งนี้เท่านั้น ซึ่งก่อนหน้าที่จะมาสร้างโรงเรียน ทางคณะผู้บริหารก็ได้ยื่นเรื่องเพื่อขอเคลื่อนย้ายหรือตัดต้นไม้ต้นนี้ทิ้งไปซะ 
เนื่องจากมันเกะกะและเป็นอุปสรรคในการทำกิจกรรมของเด็กนักเรียน แต่ทางการก็ไม่อนุญาตโดยให้เหตุผลว่า ต้นไม้ต้นนี้มีอายุเก่าแก่กว่า 100 ปีและถือเป็นมรดกของชาติ ซึ่งหากเคลื่อนย้ายไปที่อื่นก็เกรงว่ารากของมันจะได้รับความเสียหาย และไม่สามารถเจริญเติบโตได้อีกต่อไป

👉ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้ทางโรงเรียนมัธยม Yucai ต้องจำใจสร้างสนามฟุตบอล โดยมีต้นไม้ 100 ปีแห่งนี้อยู่ในสนาม ซึ่งเด็กๆ ที่โรงเรียนต่างก็บอกว่ารู้สึกหงุดหงิดเล็กน้อย เวลาที่เล่นฟุตบอลแต่มีต้นไม้ต้นนี้ขวางเอาไว้ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการส่งบอล แต่ไม่ต้องเป็นห่วง หากมีการแข่งขันขึ้นเมื่อไหร่ ก็จะย้ายไปแข่งกันที่สนามอื่น เพราะสนามที่โรงเรียนมัธยม Yucai แห่งนี้มีไว้เพื่อฝึกซ้อมเท่านั้น


Yucai school
เรียบเรียง : Da

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

การบูชายัญสุดโหดของชนเผ่าMkodosด้วยการจับคนมาให้ต้นไม้กิน

🍀ตำนานพิธีกรรมสุดสยอง! 
การบูชายัญสุดโหดของชนเผ่า ‘Mkodos’ ด้วยการจับคนมาให้ต้นไม้กิน
ตำนานแห่งต้นไม้กินคนนั้นแทบจะมีอยู่ในทุกมุมโลก โดยชนเผ่าต่างๆ ที่อาศัยอยู่กับธรรมชาตินั้น ได้ให้ความนับถือพวกมันไม่ต่างจากเทพเจ้าเลยแม้แต่น้อย 

ดังเช่นเรื่องราวที่เรากำลังจะพาทุกท่านไปชม เรื่องราวนี้เกิดขึ้นในแถบแอฟริกาตะวันออก ถูกบันทึกในหนังสือที่เขียนโดยอดีตผู้ว่าการรัฐมิชิแกน เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในทศวรรษ 1870 ที่การเดินทางออกสำรวจป่าดงดิบทั่วโลกยังเป็นที่นิยม

เรื่องราวนั้นเล่าถึงนักผจญภัยสองคนนามว่า “คาร์ล ลิเค” และ “เฮนดริก” ทั้งคู่ได้เดินทางไปสำรวจเกาะใหญ่แห่งหนึ่งในแถบแอฟริกาตะวันออก โดยได้พบกับสมาชิกของเผ่า Mkodos ซึ่งดำรงชีพด้วยการอาศัยอยู่ในถ้ำกันเป็นกลุ่ม หลังจากที่ทำความคุ้นเคยจนเผ่า Mkodos ไม่มีทีท่าว่าจะทำร้ายแล้ว พวกเขาก็ได้ขอพำนักอยู่ร่วมภายในเผ่าเพื่อทำการเก็บข้อมูลต่างๆ

หลังจากการเลี้ยงต้อนรับในยามค่ำคืนผ่านไป ความสัมพันธ์ระหว่างคนเมืองและชาวเผ่าดูเหมือนว่าจะมีความไว้เนื้อเชื่อใจกันเป็นอย่างดี หัวหน้าเผ่าจึงได้ทำการชักชวนให้ทั้งสองคนเข้าร่วมพิธีกรรมที่แสนสำคัญของเผ่า นั่นก็คือการ “บูชายัญ” ให้เทพเจ้าแห่งป่า ทั้งคู่ก็ตอบตกลงเพราะพิธีกรรมเช่นนี้ไม่ได้หาดูกันได้ง่ายๆ พิธีบูชายัญถูกจัดขึ้นในรุ่งเช้าของวันถัดมา ทั้งคู่เดินตามชาวเผ่าเข้าไปในป่าลึกซึ่งใช้เวลากว่า 2 ชม.จึงถึงจุดหมาย

สิ่งที่อยู่ตรงหน้าของพวกเขานั้นคือต้นไม้ที่มีลักษณะคล้ายกับต้นสับปะรด แต่มันมีขนาดที่ใหญ่กว่ามาก กะคร่าวๆ ด้วยสายตาก็เกือบ 3 เมตร ที่พื้นนั้นนั้นมีใบทอดวางอยู่กับพื้นประมาณ 8 ใบ แต่ละใบนั้นเต็มไปด้วยหนาม ตรงกลางของลำต้นมีลักษณะคล้ายกับอ่างน้ำ 

ซึ่งพวกเขาได้รับอนุญาตให้เดินไปดูใกล้ๆ และพบว่าภายในอ่างกลางลำต้นนั้นมีของเหลวใสๆ อยู่ด้านในและมีเส้นขนสีเขียวลักษณะคล้ายกับเกสรยาวๆ ยื่นออกมาจากขอบแอ่ง ซึ่งขณะที่พวกเขากำลังจะเอานิ้วมือลงไปแตะก็ถูกห้ามโดยให้เหตุผลว่า“มันยังมีพิษอยู่

จากนั้นก็ถึงเวลาทำพิธี ทั้งสองคนได้เห็นชนเผ่า Mkodos นำเด็กสาววัยรุ่นเดินมายังต้นไม้ลึกลับ โดยเธอมีอาการขัดขืนอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งไม่สามารถที่จะหนีได้เพราะว่ามีคนที่ถืออาวุธคอยกันไว้ไม่ให้หนี เธอถูกสั่งให้เอามือไปแตะเกสรสีเขียวที่ยื่นออกมาที่ขอบอ่าง...

 ภาพที่ทั้งสองคนเห็นก็คือ ใบที่ทอดวางอยู่บนพื้นนั้นพุ่งเข้ามาหาพร้อมกับรัดตัวเด็กสาวอย่างรุนแรง หนามแทงลงไปในเนื้อทำให้เลือดของเธอไหลออกมาผสมกับของเหลวที่อยู่ในอ่างกลางลำต้น
เมื่อเลือดไหลลงมาผสมแล้ว ชาวเผ่าที่ยืนมุงก็ต่างวิ่งเข้าไปตักของเหลวที่ผสมกับเลือดกินในทันที
ทั้งสองคนถูกชักชวนให้กินด้วยแต่ภาพที่อยู่ตรงหน้านั้นมันโหดซะจนพวกเขานั้นไม่กล้ากิน จึงต้องขอยืนดูอยู่ห่างๆ หลังจากที่คนในเผ่ากินของเหลวที่อยู่ในอ่างเข้าไปนั้น 
ไม่นานพวกเขาก็มีอาการคลุ้มคลั่งขึ้นมาและทำการมีเพศสัมพันธ์แบบหมู่กันบริเวณต้นไม้กินคน ส่วนนักสำรวจทั้งสองคนได้แยกตัวและเดินออกมาแบบเงียบๆ

เทพเจ้าแห่งป่า
พิธีดำเนินไปกว่า 6 ชั่วโมงกว่าที่คนทั้งหมดจะออกมาจากจุดที่มีต้นไม้กินคน นักสำรวจทั้งสองคนได้ขอร้องให้คนในเผ่าพามาสังเกตและจดบันทึกทุกวัน และพบว่าตั้งแต่ที่ต้นไม้ได้เหยื่อสังเวยนั้น ใบที่ทอดลงกับพื้นดินนั้นรัดตัวเหยื่อกว่า 10 วันก่อนที่จะปล่อยร่างลงพื้นดิน ส่วนเรื่องของของเหลวที่ผสมเลือดนั้น ชาวเผ่าเล่าว่าพอกินเข้าไปแล้วพวกเขาจะรู้สึกมีวิญญาณธรรมชาติเข้ามาสิงสู่ในร่างกายและบังคับให้พวกเขาทำในสิ่งที่เห็นเพื่อเป็นการบูชาต่อจิตวิญญาณแห่งป่าตามความเชื่อ

เรื่องราวนี้ฟังดูเหนือธรรมชาติจนเกินไปจนทำให้มีคนกล่าวว่ามันเป็นเพียงนิยายสร้างแรงบันดาลใจของนักผจญภัยเท่านั้น แต่ก็ยังมีผู้ที่คงตามหาเจ้าต้นไม้กินคนที่ว่านี้ แต่ทำอย่างไรก็ยังหาไม่เจอสักที

เรียบเรียง : S

The Mongee Banana กล้วยที่สามารถทานได้ทั้งเปลือก ของดีญี่ปุ่น


มารู้จักThe Mongee Banana 
กล้วยที่สามารถทานได้ทั้งเปลือก ของดีญี่ปุ่น
กล้วย เป็นผลไม้ทานง่ายที่มีคุณค่าทางโภชนาการมากมาย นอกจากมันจะมีประโยชน์แล้ว รสชาติของกล้วยยังดีอีกด้วย จึงไม่แปลกที่คนส่วนใหญ่มักนำผลไม้ชนิดนี้ไปปรุงอาหาร คาวก็ดี หวานก็ดี หรือแม้แต่กินกันสดๆ เลยก็ยังอร่อยเหาะ แต่คุณเคยคิดมั้ยว่า มันจะดีกว่ามั้ยถ้าเราสามารถกินกล้วยเลยโดยไม่ต้องเสียเวลาปอกเปลือก วันนี้ Campus-Star จะพาคุณไปดู มารู้จัก! The Mongee Banana กล้วยที่สามารถทานได้ทั้งเปลือก ของดีญี่ปุ่น! นี่เรื่องจริงไม่ได้โม้

The Mongee Banana กล้วยที่กินได้ทั้งเปลือก…
The Mongee Banana เป็นกล้วยที่ปลูกได้เฉพาะในจังหวัดโอคายามะ ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งในแต่ละอาทิตย์นั้นจะสามารถจัดจำหน่ายได้อาทิตย์ละ 10 ผล เท่านั้น ราคาอยู่ที่ลูกละ 648 เยน คิดเป็นเงินไทยประมาณ 194 บาท ความพิเศษของกล้วยชนิดนี้ที่ทำให้ใครๆ ก็อยากลิ้มลองก็คือ มันสามารถกินได้ทั้งเปลือก!

โดยไอเดียเจ๋งๆ อย่างกล้วยที่กินได้ทั้งเปลือกนั้น เป็นความคิดของ D&T Farms พวกเขาได้ใช้กรรมวิธีที่มีชื่อว่า Freeze Thaw Awakening ซึ่งนั่นก็คือ การสกัด DNA ของกล้วยออกมาเพื่อให้ได้สายพันธุ์โบราณที่สามารถปลูกในหน้าหนาวได้ แล้วพวกเขาก็ประสบความสำเร็จในที่สุด ด้วยความที่ไม่ได้ปลูกในอากาศร้อนชื้น พวกเขาจึงไม่ประสบกับปัญหาแมลงก่อกวน แถมยังปลูกด้วยวิธีแบบออร์แกนิกอีกต่างหาก

ด้วยกรรมวิธีต่างๆ ทำให้กล้วยชนิดนี้หวานกว่ากล้วยชนิดอื่นๆ ตัวเนื้อกล้วยจะเหนียวกว่าและมีกลิ่นแรง เปลือกสามารถทานได้แต่จะมีรสชาติขมนิดๆ เหนียวกว่าเนื้อ 

แต่ถ้ากินด้วยกันทั้งเปลือกทั้งเนื้อรสชาติจะเข้ากันได้มากกว่า

วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563

สุดแปลกต้นยูคาลิปตัสสีรุ้ง สีสันสวยงามมาก

ค้นหา
Custom Search
สุดแปลก!! ต้นยูคาลิปตัสสีรุ้ง สีสันสวยงามมาก


โลกของเรานั้นเต็มไปด้วยบรรดาสัตว์น้อยใหญ่และพืชพันธุ์นาๆ ชนิด บางครั้งเรานั้นจินตนาการไปไม่ถึงด้วยซ้ำว่า ความอัศจรรย์ของธรรมชาตินั้นมัจะสุดยอดถึงเพียงนี้ อย่างเช่นต้นไม้ที่เรานำมาให้ได้ชมกันในวันนี้ครับ นี่คือต้นไม้ที่มีชื่อว่า Eucalyptus deglupta หรือที่เรียกว่า  

ยูคาลิปตัสสีรุ้ง หนึ่งในต้นไม้ที่สวยและแปลกที่สุดในโลก ด้วยความพิเศษที่ไม่เหมือนใคร เปลือกบนลำต้นของต้นไม้ชนิดนี้จะมีสีสันมากมายดูคล้ายกับสีรุ้ง

ซึ่งเกิดจาก ชั้นเปลือกไม้ที่มีสีสันต่างกัน จึงทำให้ได้สีที่แปลกตาออกมา โดยจะมีทั้งสีน้ำเงิน สีส้ม สีม่วง สีม่วงเข้มแกมน้ำตาล

Eucalyptus deglupta เป็นต้นไม้ที่พบได้ทั่วไปในนิวบริเทน นิวกินี เกาะซูลาเวซี มินดาเนา ปัจจุบันเริ่ใได้รับความสนใจนำไปปลูกเป็นต้นไม้ประดับทั่วโลก แต่ลำต้นนั้นสูงใหญ่ จึงอาจจะต้องใช้พื้นที่ในการปลูกมากเป็นพิเศษครับ


นับเป็นความสุดยอดของธรรมชาติที่น่าอัศจรรย์สำหรับต้นไม้เปลือกหลากสีสันต้นนี้ นับเป็นหนึ่งในต้นไม้ที่สวยและแปลกที่สุดในโลก สุดยอดจริงๆ ครับ

วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ดอกเห็ดที่มีลักษณะคล้ายกับร่มชูชีพ

ดอกเห็ดที่มีลักษณะคล้ายกับ
ร่มชูชีพ
ค้นหา
Custom Search
Marasmius rotula เป็นสายพันธุ์เห็ดที่พบได้มากทางซีกโลกเหนือ ยุโรป อเมริกา และทางเหนือของเอเชีย 

พบครั้งแรกโดยนักพฤกษศาสตร์ชาวอิตาลี ในปี 1772 ดอกเห็ดจะมีสีขาวบาง คล้ายร่มชูชีพ มีขนาดประมาณ 2 เซนติเมตร สูงตั้งแต่ 1-8 เซนติเมตร
Marasmius rotula เติบโตได้ดีบนไม้ที่ผุ เป็นเห็ดที่ไม่มีพิษ แต่ไม่นิยมนำมาทานกัน 
ความพิเศษของมันคือมันสามารถคงสภาพอยู่ได้นาน เมื่ออากาศแห้งดอกเห็ดจะเหี่ยวไม่เน่าเปื่อย ถ้ามีความชื้นสูงดอกเห็ดที่เหี่ยวสามารถคืนสภาพกลับเป็นดอกสดได้และสามารถมีอายุได้นานประมาณ 3 สัปดาห์
Marasmius rotula 


Ackee ผลไม้มีพิษ แต่นิยมนำมาปรุงเป็นอาหาร

Ackee ผลไม้มีพิษ แต่นิยมนำ
มาปรุงเป็นอาหาร
ค้นหา
Custom Search
Ackee ถูกจัดให้เป็นหนึ่งในอาหารที่อันตรายแต่ยังเป็นที่นิยมอยู่ Ackee มีชื่อวิทยาศาตร์ว่า Blighia sapida เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดทางตะวันตกของแอฟริกา และเป็นผลไม้
ประจำชาติประเทศจาเมกา

หากใครที่ไม่รู้ถึงวิธีการรับประทานที่ถูกต้องนั้นอาจเกิดอาการวิงเวียนศีรษะ อาเจียน และอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต การรับประทานที่ปลอดภัยนั้นต้องรอให้ผลสุกจนกลายเป็นสีแดง และผลิออกจนเห็นเม็ดในสีดำ แล้วค่อยนำส่วนที่เป็นสีขาวมาปรุงเป็นอาหาร
ackee เป็นวัตถุดิบสำคัญในเมนู ackee and saltfish ซึ่งเป็นอาหารประจำชาติจาเมกา
แม้จะเป็นพืชที่สามารถทานได้
ackee
แต่ในเมล็ดของ ackee มีสารเคมี
ที่มีชื่อว่า  Hypoglycin A และ Hypoglycin ฺB   หากกินไป จะทำให้เกิดอาการทางการแพทย์ที่เรียกว่า Jamaican vomiting sickness ทำให้ร่างกายขาดพลังงาน และเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ทำให้ 
วิงเวียนศีรษะ อาเจียน และอาจ
ร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต
ackee and saltfish

วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ต้นไม้โดดเดี่ยวที่สุดในโลกมีร่องรอยกัมมันตรังสีชี้จุดเริ่มต้นยุคแห่งมนุษย์

ต้นไม้โดดเดี่ยวที่สุดในโลก มีร่องรอยกัมมันตรังสีชี้จุดเริ่มต้นยุคแห่งมนุษย์
ค้นหา
Custom Search

มีผู้ปลูกต้นสน Sitka spruce บนเกาะแคมป์เบลล์เมื่อปี 1905 ทำให้มันกลายเป็นสนต้นเดียวของเกาะมานับแต่นั้น

นักวิทยาศาสตร์จากออสเตรเลียและสหราชอาณาจักร ร่วมกันเสนอให้ต้นสนสปรูซพันธุ์ซิตกา (Sitka spruce )ต้นหนึ่ง ที่มีอยู่เพียงต้นเดียวบนเกาะแคมป์เบลล์ของนิวซีแลนด์ ได้เป็น "หมุดทอง" (Golden spike) หรือเครื่องหมายบ่งบอกจุดเริ่มต้นยุคทางธรณีวิทยาใหม่ที่มนุษย์เป็นตัวการสำคัญในการกำหนดสภาพแวดล้อมของโลก หรือที่เรียกว่าสมัยแอนโทรโพซีน (Anthropocene epoch)

ศาสตราจารย์คริส เทอร์นีย์ จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐนิวเซาท์เวลส์ของออสเตรเลีย และดร.มาร์ก มาสลิน จากยูนิเวอร์ซีตี คอลเลจ ลอนดอน (ยูซีแอล) ของสหราชอาณาจักร เผยผลการศึกษาต้นสนสปรูซดังกล่าวลงในวารสาร Scientific Reports โดยชี้ว่าต้นสนนี้มีร่องรอยของกัมมันตรังสีจากการทดลองระเบิดปรมาณูในช่วงทศวรรษ 1950-1960 ที่ชัดเจน ซึ่งบ่งบอกถึงผลกระทบจากการกระทำของมนุษย์ที่ฝังลึกลงไปในระบบนิเวศอย่างครอบคลุมทั่วโลก

จากการวิเคราะห์วงปีของต้นสนดังกล่าว พบการเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดของระดับคาร์บอน-14 ซึ่งเป็นสารกัมมันตรังสีที่ต้นไม้รับเข้าไปในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์ขณะสังเคราะห์แสง โดยช่วงที่มีการเพิ่มสูงขึ้นของคาร์บอน-14 อย่างฉับพลันนี้คือปี 1965 หลังการบังคับใช้สนธิสัญญาห้ามทดลองนิวเคลียร์ในชั้นบรรยากาศโลกได้ไม่นาน

ต้นสนต้นนี้เป็นหลักฐานที่แสดงถึงจุดเปลี่ยนผ่านจากสมัยโฮโลซีน เข้าสู่สมัยแอนโทรโพซีนได้อย่างชัดเจนที่สุด เท่าที่เคยมีการเสนอกันมา เพราะได้บันทึกข้อมูลที่แสดงถึงการเร่งตัวขึ้นอย่างรวดเร็วฉับพลัน หรือ Great Acceleration ของกิจกรรมมนุษย์ ซึ่งส่งผลกระทบอย่างลึกซึ้งกว้างขวางครอบคลุมไปทั่วโลก" ศาสตราจารย์เทอร์นีย์กล่าว
ด้านดร.มาสลินบอกว่า การที่ต้นสนนี้อยู่ในจุดที่ห่างไกลที่สุดของซีกโลกใต้ ทำให้มันเป็นตัวชี้วัดที่ดีว่ากิจกรรมของมนุษย์ในยุคทางธรณีวิทยาใหม่ เช่นอุตสาหกรรมและการพัฒนาเทคโนโลยีซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นในซีกโลกเหนือ 

ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อโลกทั้งใบ ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์สำคัญที่ชี้ว่า เราได้เข้าสู่ยุคสมัยที่การกระทำของมนุษย์คือปัจจัยหลักในการกำหนดสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมของโลกแล้ว ต้นสนสปรูซต้นดังกล่าว ได้ชื่อว่าเป็น "ต้นไม้โดดเดี่ยวที่สุดในโลก" เพราะไม่ใช่พืชประจำถิ่นของเกาะในแถบมหาสมุทรแอนตาร์กติก แต่มีผู้นำมาปลูกไว้ในปี 1905 ทำให้มันเป็นต้นสนเพียงต้นเดียวบนเกาะ ส่วนไม้ยืนต้นที่อยู่ใกล้ที่สุดนั้น อยู่ที่หมู่เกาะโอคแลนด์ซึ่งห่างออกไปราว 200 กิโลเมตร

ปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดอย่างชัดเจนในหมู่ผู้เชี่ยวชาญว่า สมัยแอนโทรโพซีนเริ่มขึ้นเมื่อวันเวลาใดกันแน่ โดยก่อนหน้านี้มีผู้เสนอว่าสมัย (epoch) ดังกล่าว ควรจะนับเริ่มต้นจากหมุดหมายที่เป็นเหตุการณ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ลูกแรก 
(Trinity test) ในปี 1945 อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่เห็นว่าช่วงทศวรรษ 1950-1960 หลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง ควรเป็นช่วงที่สมัยแอนโทรโพซีนได้เริ่มต้นขึ้นแล้วอย่างแท้จริง

พบต้นไม้อายุ 9550 ปี ในประเทศสวีเดน ถือเป็นต้นไม้ที่อายุมากที่สุดในโลก

ค้นหา
Custom Search

เมื่อ4 ปี ที่แล้ว3 ปี ที่แล้ว
ได้มีการค้นพบต้นไม้ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่ประเทศสวีเดน คาดว่าอายุประมาณ 9,550 ปี ถือเป็นต้นไม้ที่ผ่านยุคผ่านสมัยมามากมาย

ต้นไม้ชนิดนี้คือต้น Spruce เป็นไม้สนชนิดหนึ่งที่นิยมเอาไปทำเป็นกีต้าร์ เพราะมันจะได้เสียงที่ดีกว่าไม้ชนิดอื่นๆ เริ่มแรกนั้นต้นไม้ชนิดนี้
ถือเป็นชนิดใหม่ที่ขึ้นในสวีเดนเลย แต่หลังจากค้นพบต้นนี้แล้ว มันก็กลายเป็นต้นไม้ที่มีค่าขึ้นมาทันที

ต้นสนชนิดนี้ถูกเรียกอีกอย่างว่าต้น Old Tjikko ถูกพบในภูเขาฟูลูในเมือง Dalarna ผ่านการหาอายุโดยใช้คาร์บอนแล้วพบว่าเป็นต้นไม้ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด ประมาณ 8,000 ถึง 9,550 ปีเลยทีเดียว

และนี่คือคือภาพของต้นไม้ต้นนั้น
เคล็ดลับอายุยืนของมันก็คือการสร้างกิ่งไม้ออกมาเพื่อทดแทนส่วนที่ตายไปเรื่อยๆ มันทำแบบนี้อยู่ตลอด จึงทำให้มันมีอายุยืนมาจนถึงตอนนี้
ต้นไม้อายุ 9550 ปี ในประเทศสวีเดน ถือเป็นต้นไม้ที่อายุมาก
ที่สุดในโลก
เดิมทีแล้วต้นสนก็มีอายุยืนมากแล้ว โดยต้นที่มีอายุมากที่สุดที่เคยพบคือ 4,000 ถึง 5,000 ปี แต่เจ้า Old Tjikko นี้มันแก่ยิ่งกว่านั้นอีก

ทุ่งดอกลูพินภายในอุทยานแห่งชาติเมาท์คุก

ทุ่งดอกลูพินภายในอุทยานแห่งชาติเมาท์คุก
ค้นหา
Custom Search
อุทยานแห่งชาติเมาท์คุก 
(Mount Cook National Park) 
ตั้งอยู่บริเวณเกาะใต้ของประเทศนิวซีแลนด์ ครอบคลุมพื้นที่กว่า 700 ตามรางกิโลเมตร และกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ มีธารน้ำแข็งปกคลุมอยู่ โดยมียอดเขาคุกเป็นจุดที่สูงที่สุดมีความสูงถึง 3,753 เมตร

เมาท์คุกถือภูเขาที่สูงที่สุดของประเทศนิวซีแลนด์ ภายในอุทยานมีพืชกว่า 400 ชนิด โดยเฉพาะต้นลูพินที่มีดอกหลากหลายสีขึ้นเรียงรายกันอยู่ รวมไปถึงสัตว์อีกหลายชนิด
ลูพินเป็นพืชดอกที่อยู่ในสกุลลูพินนัส (Lupinus) ในวงศ์ถั่วที่มีด้วยกันทั้งหมดราว 200 ถึง 600 สปีชีส์ ส่วนใหญ่เป็นพืชยืนต้นสูงราว 0.3 ถึง 1.5 เมตร
แต่บางชนิตก็เป็นพืชปีเดียว
ลูพินเป็นทั้งดอกไม้ป่าและไม้บ้าน โครงสร้างของพุ่มและดอกมีลักษณะเด่นเหมาะแก่การปลูกตกแต่งสวน สีก็มีแทบทุกสีที่รวมทั้งเหลือง ชมพู แดง ม่วงน้ำเงิน ม่วงแดง และขาว
(Mount Cook National Park) 

วันพุธที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2563

นักวิจัยออสเตรเลียค้นพบว่าชนเผ่าพื้นเมืองปลูกกล้วยตั้งแต่ 2,000 ปีที่แล้ว


นักวิจัยพบจุลชีวินดึกดำบรรพ์ (microfossil) เครื่องมือหิน ถ่าน และซากกำแพง

นักโบราณคดีพบร่องรอยการทำสวนกล้วยของชนเผ่าพื้นเมืองออสเตรเลียซึ่งคาดว่าเกิดขึ้นเมื่อ 2,145 ปีที่แล้ว

สวนกล้วยนี้ตั้งอยู่บนเกาะเล็ก ๆ บริเวณช่องแคบทอร์เรส ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือทวีปออสเตรเลีย นักวิจัยพบจุลชีวินดึกดำบรรพ์ (microfossil) เครื่องมือหิน ถ่าน และซากกำแพง ที่บริเวณดังกล่าว

👉การค้นพบนี้ลบล้างความเชื่อเดิมที่ว่าชนเผ่าพื้นเมืองออสเตรเลียเป็นผู้ล่าสัตว์และหาของป่าอย่างเดียว

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียและมหาวิทยาลัยซิดนีย์เผยแพร่การค้นพบที่เกาะแมบอูยัก (Mabuyag Island) นี้ เมื่อวันที่ 12 ส.ค.

"งานวิจัยของเราเผยว่าบรรพบุรุษของชาวเกิมอูลกัล (Goegmulgal) แห่งเกาะแมบอยูยัก ได้ทำการเพาะปลูกด้วยเทคนิคที่ซับซ้อนและหลากหลายในฝั่งตะวันตกของช่องแคบทอร์เรสมาอย่างน้อย 2,000 ปีแล้ว" โรเบิร์ต วิลเลียม หัวหน้าทีมนักวิจัยระบุ

เขาบอกว่าในเชิงประวัติศาสตร์ ช่องแคบทอร์เรสเป็นเหมือน "เส้นแบ่ง" ระหว่างชนพื้นเมืองในนิวกินี-ซึ่งปัจจุบันคือส่วนหนึ่งของอินโดนีเซียและปาปัวนิวกินี-ที่ทำการเกษตรกรรม และชนพื้นเมืองในออสเตรเลียที่เป็นผู้ล่าสัตว์และหาของป่าอย่างเดียว

👉การค้นพบนี้ลบล้างความเชื่อเดิมที่ว่าชนเผ่าพื้นเมืองออสเตรเลียเป็นผู้ล่าสัตว์และหาของป่าอย่างเดียว

วิลเลียมบอกว่า การค้นพบครั้งนี้พิสูจน์ว่าช่องแคบทอร์เรสเป็นเหมือน "สะพานหรือตัวกรอง" ของวิถีการปลูกพืชของทั้งสองพื้นที่ ไม่ใช่เส้นแบ่ง

ระบบเกษตรกรรมนี้สะท้อนอาหารการกินท้องถิ่นหลัก ๆ ในช่วงเวลานั้นเช่น มัน เผือก และกล้วย

"อาหารเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมชนเผ่าพื้นเมืองและงานวิจัยนี้ได้แสดงให้เห็นว่าวิถีเหล่านี้ที่มีมาเป็นเวลานาน"

ชาวอะบอริจินและชาวเกาะช่องแคบ ทอร์เรสมักถูกเข้าใจผิดอย่างกว้างขวางว่าเป็นผู้เร่ร่อนไปตามที่ต่าง ๆ เพื่อล่าสัตว์และหาของป่าอย่างเดียวก่อนที่อังกฤษจะเข้าไปล่าอาณานิคม

นักประวัติศาสตร์หลายคนบอกว่า อังกฤษปฏิเสธหลักฐานที่ชี้ว่าพวกเขามีระบบเกษตรกรรมเป็นของตัวเองเพื่อที่จะสามารถอ้างได้ว่าพื้นที่บริเวณนั้นไม่มีใครลงหลักปักฐานอาศัยอยู่

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เริ่มมีงานวิจัยที่ทำให้คนทราบถึงการทำเกษตรกรรม วิศวกรรม และการก่อสร้าง ของชนเผ่าพื้นเมืองออสเตรเลียในช่วงก่อนการล่าอาณานิคมกันมากขึ้นเรื่อย ๆ

วันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2563

Bird’s Nest fungi เห็ดรังนกกระจอก

เหมือนรังนก แต่แท้จริงแล้วนี่คือดอกเห็ด!!!
ค้นหา
Custom Search
Bird’s Nest fungi เห็ดรังนก หรือเห็ดรังนกกระจอก เป็นเห็ดสายพันธุ์ Nidulariaceae  มีอยู่ด้วยกันหลายสายพันธุ์ และมีหลากสี ตั้งแต่สีน้ำตาลอ่อนไปจนถึงน้ำตาลเข้มจนเกือบเป็นสีดำ พบในเขตป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง เกิดบนขอนไม้ผุ

ลักษณะดอกเห็ดคล้ายถ้วย หรือรังนกมีไข่เล็กๆ อยู่ข้างใน ขอบปากถ้วยมีความกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ผิวด้านนอกสีน้ำตาลอ่อนปกคลุมไปด้วยเส้นขนหยาบสั้นๆ ผิวด้านในสีดำหรือเทาอมน้ำตาลหรือสีดำ มีเส้นลายนูนยาวขนานกันจากขอบปากถ้วยลงไปที่โคนก้านดอก
Bird’s Nest fungi เป็นสายพันธุ์เห็ดที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ แล้ว เห็ดรังนกยังช่วยบำรุงดินในพื้นที่โดยรอบอีกด้วย
Bird’s Nest fungi 

ต้นไม้ฆาตกร Pisonia brunoniana

ค้นหา
Custom Search
ต้นไม้ฆาตกร!? พบกับ ‘Pisonia brunoniana’ พืชที่ล่อลวงนกให้มากินอาหาร

โดยปกติแล้ว…พืชส่วนใหญ่นั้นเกิดมาเป็นทั้งที่อยู่อาศัยและอาหารสำหรับนก ที่นอกจากจะคล้ายกำจัดแมลงรบกวนให้แล้ว ยังเป็นผู้ช่วยในเรื่องการขยายพันธุ์ของพืชด้วย แต่นั่นคงไม่ใช่กับพืชอย่าง Pisonia brunoniana หรือที่ได้ฉายาว่า ต้นไม้ฆาตรกร เพราะมันเป็นพืชไม่กี่ชนิดที่สามารถสังหารนกมาแล้วนับไม่ถ้วน ซึ่งนกที่มาติดกับดักฝักเมล็ดของต้นพีโซเนีย จนหนีไปไหนไม่ได้ 

และทำให้มันแห้งตายกลายเป็นศพบนต้นไม้ ซึ่งสาเหตุนั้นก็ยังไม่แน่ชัด ว่าเพราะเหตุใดต้นไม้ชนิดนี้ถึงได้ทำให้นกมาแห้งตายบนต้น โดยที่มันไม่ได้รับสารอาหารใดๆ

แต่ได้มีข้อสันนิษฐานว่า ต้นไม้ชนิดนี้อาจเติบโตด้วยมูลของนก และการทำให้นกมาติดอยู่บนต้น จะช่วยให้ต้นไม้ได้รับมูลจากนกอย่างแน่นอนขึ้น


วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2563

พบฟอสซิลผืนป่ายุคดีโวเนียนในจีน กว้างเท่าสนามฟุตบอล 35 สนาม มีอายุกว่า 419 ล้านปี


ค้นหา
Custom Search
เมื่อวันที่ 8 สิงหาคมที่ผ่านมา ทีมนักวิทยาศาสตร์ของประเทศจีนได้ออกมาประกาศการค้นพบฟอสซิลผืนป่าโบราณอายุกว่า 419 ล้านปี โดยเผยแพร่ผ่านวารสารวิทยาศาสตร์
Current Biology

ฟอสซิลผืนป่าที่ถูกพบในครั้งนี้ ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่บ้านซินหาง ของมณฑลอานฮุย โดยเป็นป่าจากยุคดีโวเนียน ที่เต็มไปด้วยต้นไม้ที่ไม่มีกิ่งรูปร่างคล้ายปาล์มที่ชื่อ “Lycopsid” และกินพื้นที่พอๆ กับสนามฟุตบอล 35 สนามต่อกัน(ราวๆ 250,000 ตารางเมตร)

 

ภาพจำลองป่าซินหางในอดีตจากข้อมูลที่มีอ้างอิงจากข้อมูล
ในรายงาน ร่องรอยของผืนป่าแห่งนี้ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกในเหมืองดินเหนียวใกล้หมู่บ้าน โดยอยู่ในสภาพของซากดึกดำบรรพ์ที่ปรากฏให้เห็นในผนังของเหมือง

และเมื่อทำการขุดออกมา ทีมนักวิทยาศาสตร์ก็พบกับโครงสร้างของลำต้นของต้นไม้และซากดึกดำบรรพ์ที่เหมือนลูกสนซึ่งมาทราบในภายหลังว่าเป็นของต้น Lycopsid นั่นเอง
 

หนึ่งในซากดึกดำบรรพ์ที่ถูกพบ

“ความหนาแน่นที่สูงและขนาดต้นไม้ที่เล็กของป่าแห่งนี้ ทำให้ป่าซินหางมีความคล้ายกับทุ่งอ้อยมาก แม้ว่าพืชในป่าซินหางจะกระจายเป็นหย่อมๆ ก็ตาม” คุณ Deming Wang หนึ่งในผู้ทีมนักวิทยาศาสตร์ผู้ค้นพบป่ากล่าว

คุณ Wang กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า ป่าซินหางนั้นอาจเป็นไปได้ว่าในอดีตจะมีสภาพคล้ายป่าชายเลนตามแนวชายฝั่งเช่นกัน เนื่องจากป่าแห่งนี้ตั้งถูกในสภาพแวดล้อมที่คล้ายกันและยังมีบทบาทต่อระบบนิเวศที่เหมือนกันอีกด้วย

ป่าในลักษณะนี้ จนถึงปัจจุบันถูกพบอยู่เพียงแค่ 3 แห่งทั่วโลกเท่านั้น โดยอีกสองแห่งที่เหลือตั้งอยู่ที่สหรัฐอเมริกา และประเทศนอร์เวย์ และนับว่าเป็นป่าที่มีความสำคัญในการศึกษาระบบนิเวศโบราณมากที่สุดกลุ่มหนึ่งของโลกเลย
 

โดยทีมนักวิทยาศาสตร์ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการตรวจสอบป่าที่ถูกค้นพบ จะทำให้พวกเขาได้รับข้อมูลเกี่ยวกับเหตุผลที่ว่า ทำไมปริมาณของคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศของยุคดีโวเนียนถึงลดลงได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะช่วยให้เราทราบถึงเหตุผลของการเกิดยุคน้ำแข็งคะรูต่อไป


รายการบล็อกของฉัน