ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

รู้จัก...“กล้วยเถื่อน" ไม้ป่ากินได้ กล้วยเถื่อน

#รู้จัก...“กล้วยเถื่อน" ไม้ป่ากินได้ กล้วยเถื่อน

รู้จัก...“กล้วยเถื่อน" กล้วยป่าไม้ป่ากินได้

กล้วยเถื่อนมีชื่อวิทยาศาสตร์ :​ 𝘔𝘶𝘴𝘢 𝘢𝘤𝘶𝘮𝘪𝘯𝘢𝘵𝘢 Colla subsp. 𝘮𝘢𝘭𝘢𝘤𝘤𝘦𝘯𝘴𝘪𝘴 (Ridl.) N.W.Simmonds วงศ์ : Musaceae

ชื่อเรียกอื่น ๆ : กล้วยชี้ (พังงา นครศรีธรรมราช), กล้วยป่า (ทั่วไป),กล้วยเถื่อนน้ำมัน (ภาคใต้)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก ลำต้นเทียมสูง 2.5–3.5 เมตร ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปขอบขนาน กว้าง 40–60 เซนติเมตร ยาว 2–3 เมตร ก้านใบยาว 40–55 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อ ออกที่ปลายยอด

ช่อดอกตั้ง ปลายโน้มลง มีหลายช่อดอกย่อย (หวี) มีกาบปลีระหว่างช่อดอกย่อย ผลรูปทรงกระบอก ปลายสอบ โคนมน เมล็ดสีดำ เส้นผ่านศูนย์กลาง 5–6 มิลลิเมตร

ประโยชน์ : หยวกและหัวปลี ลวกจิ้มน้ำพริก ต้มกะทิ ใส่แกงไก่ ใส่แกงส้ม หัวปลี ชุบแป้งทอด ใส่ทอดมัน

ผลสุก รับประทานได้ เป็นอาหารของสัตว์ป่า ใบ ใช้ห่อของ ในทางสมุนไพร ยางสมานแผล ห้ามเลือด ผลดิบแก้ท้องเสีย ผลสุกเป็นยาระบาย หัวปลีขับน้ำนม ปลูกเป็นไม้เบิกนำฟื้นฟูป่า

ข้อมูลเพิ่มเติม

กล้วยป่าเป็นกล้วยชนิดหนึ่งซึ่งมีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นต้นตระกูลของกล้วยที่รับประทานได้ในปัจจุบัน ร่วมกับกล้วยตานี (Musa balbisiana) 

ถูกเพาะปลูกโดยมนุษย์ครั้งแรกเมื่อ 8,000 ปีก่อน เป็นพืชชนิดแรกที่มนุษย์นำมาปลูกเลี้ยง

กล้วยป่ามีชื่อพื้นเมืองอื่นอีกดังนี้: กล้วยไข่ (กลาง,เหนือ) กล้วยเถื่อน (ใต้) กล้วยเถื่อนน้ำมัน (ใต้) กล้วยลิง (อุตรดิตถ์) กล้วยหม่น (เชียงใหม่) และปิซังอูตัน (มลายู ปัตตานี) 

ตัวอย่าง...กล้วยลาตุนดัน (Latundan bananas) หรือกล้วยตุนดัน (Tundan) กล้วยไหม (Silk bananas) ปีซังรายาเซอเระห์ (Pisang raja sereh) กล้วยมันซานา (Manzana bananas) กล้วยแอปเปิ้ล (Apple bananas) เป็นกล้วยลูกผสมที่พบในฟิลิปปินส์ เป็นกล้วยสายพันธุ์ที่พบได้ทั่วไปในฟิลิปปินส์ คู่กับ กล้วยลากาตันและกล้วยซาบา

รายการบล็อกของฉัน